พบผลลัพธ์ทั้งหมด 259 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12247/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นหลังทรัพย์สินจำนองยังไม่ขายได้ และการขยายระยะเวลาบังคับคดี
แม้การบังคับคดีตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความกำหนดให้ต้องบังคับเอาแก่ทรัพย์สินจำนองก่อน หากไม่ครบจำนวนหนี้จึงจะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาห้องชุดทรัพย์สินจำนองของจำเลยที่ 1 จำนวน 595,045 บาท และในวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ยึดห้องชุดของจำเลยที่ 2 เพิ่มเติมจำเลยทั้งสองเป็นหนี้ตามคำพิพากษา 1,346,641.92 บาท หากขายทอดตลาดห้องชุดทรัพย์สินจำนองของจำเลยที่ 1 ไปตามราคาดังกล่าวก็ยังคงเหลือหนี้ตามคำพิพากษาอีกมากเพียงพอสมควรแก่การให้ยึดห้องชุดของจำเลยที่ 2 เพื่อบังคับชำระหนี้แก่โจทก์เพิ่มเติม และโจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดห้องชุดทรัพย์สินจำนองของจำเลยที่ 1 ภายหลังจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความประมาณ 2 ปี 6 เดือน แต่ยังขายไม่ได้ ถือได้ว่าโจทก์ขอบังคับคดีแก่ทรัพย์จำนองภายในเวลาอันสมควร ประกอบกับจำเลยที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2555 ทำให้การจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 อาจล่าช้า นอกจากนี้ หากต้องรอให้มีการขายทอดตลาดห้องชุดทรัพย์สินจำนองของจำเลยที่ 1 เสร็จก่อนถึงจะกลับมายึดทรัพย์สินอื่นได้ก็เกือบครบ 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาเป็นเหตุให้โจทก์อาจเสียสิทธิในการบังคับคดีทั้ง ๆ ที่การขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนองยังไม่เสร็จสิ้นนั้นมิใช่เกิดจากความผิดของโจทก์ การยึดห้องชุดของจำเลยที่ 2 ไว้ก่อนแต่ยังไม่ต้องนำออกขายจนกว่ามีการขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนองเสร็จสิ้นและได้เงินไม่พอชำระหนี้จึงค่อยนำห้องชุดของจำเลยที่ 2 ออกขายทอดตลาดก็ไม่ขัดต่อขั้นตอนการบังคับคดีตามคำพิพากษาและก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โจทก์จึงมีสิทธินำยึดห้องชุดของจำเลยที่ 2 เพิ่มเติมได้
เมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ร้องขอให้บังคับคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้ว หลังจากนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีก็มีสิทธิดำเนินการบังคับคดีต่อไปจนเสร็จสิ้น แม้จะพ้นกำหนดเวลา 10 ปี ดังกล่าวแล้วก็ตามหรือไม่ทำให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหมดสิทธิในการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้ให้เสร็จแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อศาลฎีกาให้โจทก์มีสิทธินำยึดห้องชุดของจำเลยที่ 2 เพิ่มเติม กรณีถือได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนครบถ้วนภายในเวลาการบังคับคดีแล้ว จึงไม่มีเหตุขยายระยะเวลาบังคับคดีให้แก่โจทก์
เมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ร้องขอให้บังคับคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้ว หลังจากนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีก็มีสิทธิดำเนินการบังคับคดีต่อไปจนเสร็จสิ้น แม้จะพ้นกำหนดเวลา 10 ปี ดังกล่าวแล้วก็ตามหรือไม่ทำให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหมดสิทธิในการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้ให้เสร็จแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อศาลฎีกาให้โจทก์มีสิทธินำยึดห้องชุดของจำเลยที่ 2 เพิ่มเติม กรณีถือได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนครบถ้วนภายในเวลาการบังคับคดีแล้ว จึงไม่มีเหตุขยายระยะเวลาบังคับคดีให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10292/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีราคาหลักประกันในคดีล้มละลายต้องถูกต้องเหมาะสม หากต่ำเกินไปเพื่อหลีกเลี่ยงเกณฑ์การฟ้อง ศาลมีอำนาจตรวจสอบได้
ในการฟ้องคดีล้มละลายของเจ้าหนี้มีประกัน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2) บังคับให้โจทก์ต้องตีราคาหลักประกันมาในฟ้อง ซึ่งเมื่อหักกับจำนวนหนี้ของตนแล้ว เงินยังขาดสำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลไม่น้อยกว่าสองล้านบาท เนื่องจากเจ้าหนี้มีประกันย่อมมีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันของลูกหนี้ในอันที่จะบังคับชำระหนี้เอาแก่หลักประกันนั้นได้ก่อนเจ้าหนี้ไม่มีประกัน ซึ่งเมื่อนำราคาหลักประกันมาหักชำระหนี้แล้ว เงินยังขาดอยู่เท่าใด หนี้ส่วนที่เหลือย่อมเป็นหนี้ธรรมดาเฉกเช่นเดียวกับเจ้าหนี้ไม่มีประกัน ฉะนั้น การตีราคาหลักประกันจึงต้องถูกต้องเหมาะสมด้วย หากตีราคาหลักประกันต่ำเกินสมควรเพียงเพื่อจะให้จำนวนหนี้อยู่ในหลักเกณฑ์ในการฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายก็จะไม่เป็นธรรมแก่ลูกหนี้ ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาตรวจสอบการตีราคาหลักประกันของโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10287/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีล้มละลาย: ผลของการปรับโครงสร้างหนี้หลังมีคำพิพากษาและการรับสภาพหนี้
การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดร้อยเอ็ดมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามล้มละลาย ถือว่าเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุด ซึ่งมีกำหนดอายุความ 10 ปี อย่างไรก็ตามหลังจากศาลมีคำพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าวเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2542 โดยกำหนดให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้งวดแรกวันที่ 29 มิถุนายน 2542 แล้ว เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2548 จำเลยทั้งสามทำบันทึกข้อตกลงปรับโครงสร้างหนี้หลังมีคำพิพากษากับโจทก์ โดยยอมรับว่า ณ วันทำบันทึกจำเลยทั้งสามค้างชำระหนี้โจทก์เป็นต้นเงิน 1,900,000 บาท ดอกเบี้ย 1,780,000 บาท และตกลงให้นำดอกเบี้ยบางส่วนจำนวน 950,000 บาท ซึ่งเป็นดอกเบี้ยส่วนลดพักชำระหนี้ไว้เป็นเวลา 2 ปี ส่วนดอกเบี้ยค้างชำระที่เหลือจำนวน 830,000 บาท ตกลงพักชำระหนี้ไว้เป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี ในส่วนต้นเงินคงเหลือโจทก์ผ่อนผันการคิดอัตราดอกเบี้ยให้และให้ผ่อนชำระดอกเบี้ยกับต้นเงินเป็นงวดรายเดือน หากจำเลยทั้งสามผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดยอมให้โจทก์ยกเลิกการพักชำระดอกเบี้ยและยินยอมให้เปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยไปคิดอัตราตามคำพิพากษาหรือสัญญาประนีประนอมยอมความ และให้โจทก์ใช้สิทธิบังคับคดีได้ทันที บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นกรณีที่โจทก์ผ่อนผันการชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมให้แก่จำเลยทั้งสามเท่านั้น หาใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่อันทำให้หนี้เดิมตามคำพิพากษาระงับสิ้นไปไม่ แต่เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสามรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ อันทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และให้เริ่มนับอายุความใหม่ตามอายุความเดิมตั้งแต่เวลานั้นเป็นต้นไป ตามมาตรา 193/15 ดังนั้น เมื่อนับตั้งแต่อายุความสะดุดหยุดลงจนถึงวันฟ้องวันที่ 16 สิงหาคม 2555 ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10222/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจช่วงไม่ครบอากรแสตมป์ ไม่อาจใช้เป็นหลักฐานแสดงอำนาจฟ้องได้
ใบมอบอำนาจนั้น บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ของ ป.รัษฎากร กำหนดในข้อ 7 ว่า กรณี (ข) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียว ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 30 บาท และกรณี (ค) มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท หนังสือมอบอำนาจช่วงมีข้อความระบุชัดแจ้งว่า ส. ผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจให้ พ. หรือ ศ. ผู้รับมอบอำนาจช่วง ให้เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีแก่ลูกหนี้รายจำเลยและ อ. หรือ จ. ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาตามฟ้องแทนโจทก์ หนังสือมอบอำนาจช่วงนี้จึงมีลักษณะเป็นตราสารใบมอบอำนาจซึ่งต้องปฏิบัติตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7 ท้าย ป.รัษฎากรดังกล่าว ปรากฏตามหนังสือมอบอำนาจช่วงว่า โจทก์โดย ส. ผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจให้ พ. หรือ ศ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงดำเนินการฟ้องคดี ต่อสู้คดี ดำเนินกระบวนพิจารณา จำหน่ายสิทธิในคดีแพ่ง คดีอาญา คดีแรงงาน คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ คดีปกครอง คดีล้มละลาย คดีภาษีอากร คดีคุ้มครองผู้บริโภค และให้มีอำนาจดำเนินการอื่นตามที่ระบุไว้ในข้อ 1 และข้อ 2 ด้วย ดังนี้ การมอบอำนาจช่วงดังกล่าวของผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นการมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงฟ้องร้องคดีนี้และคดีเรื่องอื่นต่อจำเลยได้ จึงเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการได้มากกว่าครั้งเดียวโดยให้ผู้รับมอบอำนาจช่วง 2 คน ซึ่งต่างคนต่างกระทำการฟ้องคดีและกระทำการอื่น ๆ แทนโจทก์ได้ กรณี ต้องปิดอากรแสตมป์คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจช่วงคนละ 30 บาท รวม 60 บาท แต่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจช่วงมาเพียง 30 บาท ไม่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมาย หนังสือมอบอำนาจช่วงของโจทก์จึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ในขณะที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐาน ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 เมื่อหนังสือมอบอำนาจช่วงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ พ. หรือ ศ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ผู้รับมอบอำนาจช่วงดังกล่าวไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10200/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์หนี้และการใช้เอกสารสำเนาที่มีตราประทับรับรองในคดีล้มละลาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ซึ่งบัญญัติให้ศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายต่อไปโดยเร็ว กฎหมายว่าด้วยล้มละลายที่ใช้บังคับในปัจจุบันคือ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เนื่องจากคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ ผู้ร้องจึงมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบให้ฟังได้ว่า ลูกหนี้เป็นหนี้ผู้ร้องและมีเหตุตามกฎหมายให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด
ผู้ร้องกล่าวอ้างในคำร้องว่าได้ทำสัญญารับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพรายลูกหนี้มาจากธนาคาร ก. เจ้าหนี้เดิม แต่ในชั้นพิจารณาของศาลล้มละลายกลาง ผู้ร้องไม่มีสัญญาที่ทำระหว่างผู้ร้องกับเจ้าหนี้เดิมมาสนับสนุน มีเพียงคำเบิกความของพยานผู้ร้องปาก ว. กล่าวถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวสำเนาหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน สำเนาสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง สำเนาบันทึกข้อตกลงโอนสิทธิการรับจำนอง และสำเนาคำขอโอนซึ่งหากเป็นเอกสารที่ทำการจดทะเบียนตามกฎหมาย เป็นเอกสารมหาชนที่สามารถตรวจสอบได้ถึงความมีอยู่จริง ผู้ร้องก็ชอบที่จะขอให้เจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องเช่น เจ้าพนักงานที่ดินรับรองความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นก่อนนำเสนอเป็นพยานหลักฐานต่อศาล แต่ผู้ร้องกลับใช้ตรายางประทับรับรองสำเนาเอกสารอ้างเป็นพยานหลักฐานโดยไม่นำต้นฉบับเอกสารมาแสดง ที่ผู้ร้องอ้างว่าการใช้ตรายางประทับรับรองสำเนาเอกสารแทนการลงลายมือชื่อของผู้อำนวยการฝ่ายงานคดี มิใช่เป็นเรื่องที่ใครหรือผู้ใดจะมาใช้ตรายางประทับก็ได้ การประทับตราดังกล่าวต้องกระทำโดยได้รับความยินยอมจากผู้ร้องจึงสามารถกระทำได้ และได้กระทำมาเป็นปกติในคดีอื่นด้วยเช่นกันนั้น เป็นข้ออ้างที่ไม่มีกฎหมายสนับสนุน พยานหลักฐานของผู้ร้องไม่พอฟังว่าลูกหนี้เป็นหนี้ผู้ร้อง
ผู้ร้องกล่าวอ้างในคำร้องว่าได้ทำสัญญารับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพรายลูกหนี้มาจากธนาคาร ก. เจ้าหนี้เดิม แต่ในชั้นพิจารณาของศาลล้มละลายกลาง ผู้ร้องไม่มีสัญญาที่ทำระหว่างผู้ร้องกับเจ้าหนี้เดิมมาสนับสนุน มีเพียงคำเบิกความของพยานผู้ร้องปาก ว. กล่าวถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวสำเนาหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน สำเนาสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง สำเนาบันทึกข้อตกลงโอนสิทธิการรับจำนอง และสำเนาคำขอโอนซึ่งหากเป็นเอกสารที่ทำการจดทะเบียนตามกฎหมาย เป็นเอกสารมหาชนที่สามารถตรวจสอบได้ถึงความมีอยู่จริง ผู้ร้องก็ชอบที่จะขอให้เจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องเช่น เจ้าพนักงานที่ดินรับรองความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นก่อนนำเสนอเป็นพยานหลักฐานต่อศาล แต่ผู้ร้องกลับใช้ตรายางประทับรับรองสำเนาเอกสารอ้างเป็นพยานหลักฐานโดยไม่นำต้นฉบับเอกสารมาแสดง ที่ผู้ร้องอ้างว่าการใช้ตรายางประทับรับรองสำเนาเอกสารแทนการลงลายมือชื่อของผู้อำนวยการฝ่ายงานคดี มิใช่เป็นเรื่องที่ใครหรือผู้ใดจะมาใช้ตรายางประทับก็ได้ การประทับตราดังกล่าวต้องกระทำโดยได้รับความยินยอมจากผู้ร้องจึงสามารถกระทำได้ และได้กระทำมาเป็นปกติในคดีอื่นด้วยเช่นกันนั้น เป็นข้ออ้างที่ไม่มีกฎหมายสนับสนุน พยานหลักฐานของผู้ร้องไม่พอฟังว่าลูกหนี้เป็นหนี้ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9894/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดที่ไม่ถูกต้องและผลกระทบต่อการยกเลิกการล้มละลาย
คำสั่งศาลล้มละลายกลางที่ให้ยกคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยมิใช่คำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดที่อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคสอง (1) ถึง (5) จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ แต่ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาด จึงให้รับพิจารณาพิพากษาอุทธรณ์ของโจทก์ที่ต้องห้ามอุทธรณ์ดังกล่าวตามมาตรา 26 วรรคสี่
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หมายนัดให้โจทก์วางเงินค่าใช้จ่าย 10,000 บาท รวม 3 ครั้ง โดยหมายนัดฉบับแรกและฉบับที่สามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระบุที่อยู่อันมิใช่ภูมิลำเนาของโจทก์ มีเพียงหมายนัดฉบับที่สองที่ระบุตรงตามภูมิลำเนาของโจทก์ แต่ก็มีบุคคลอื่นรับหมายไว้แทน ในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จัดทำบัญชีแสดงรายรับ - จ่ายเงินเพื่อประกอบรายงานศาลขอให้มีคำสั่งปิดคดีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 133 และขอให้ศาลล้มละลายกลางส่งเงินค่าใช้จ่ายที่โจทก์วางไว้ต่อศาลส่วนที่เหลือไปให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เนื่องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยได้ ซึ่งจะครบกำหนดขยายระยะเวลาแบ่งทรัพย์สินครั้งที่ 1 ในวันที่ 11 ธันวาคม 2551 แสดงว่าในวันดังกล่าวเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่น่าจะมีกรณีต้องใช้จ่ายเงินเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยอีก แต่มิได้รายงานศาลขอขยายระยะเวลาแบ่งทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 124 วรรคสอง โดยรายงานศาลว่าโจทก์ได้รับหมายแจ้งให้วางเงินค่าใช้จ่ายทั้งสามครั้งโดยชอบแล้วไม่วางเงินค่าใช้จ่าย ขอให้มีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135 (1) หลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายแล้ว โจทก์ได้ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 29 เมษายน 2552 ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอวางเงินค่าใช้จ่าย 10,000 บาท ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กลับยอมรับไว้ ต่อมาได้หมายนัดแจ้งให้โจทก์รับคืนไปเป็นเงินเพียง 9,500 บาท แต่ก็ส่งไปยังสถานที่อันมิใช่ภูมิลำเนาของโจทก์ พฤติการณ์ของโจทก์น่าเชื่อว่าโจทก์มิได้ขัดขืนหรือละเลยไม่ให้ประกันตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้ง การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยตามมาตรา 135 (1) จึงเป็นการไม่ชอบ
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หมายนัดให้โจทก์วางเงินค่าใช้จ่าย 10,000 บาท รวม 3 ครั้ง โดยหมายนัดฉบับแรกและฉบับที่สามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระบุที่อยู่อันมิใช่ภูมิลำเนาของโจทก์ มีเพียงหมายนัดฉบับที่สองที่ระบุตรงตามภูมิลำเนาของโจทก์ แต่ก็มีบุคคลอื่นรับหมายไว้แทน ในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จัดทำบัญชีแสดงรายรับ - จ่ายเงินเพื่อประกอบรายงานศาลขอให้มีคำสั่งปิดคดีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 133 และขอให้ศาลล้มละลายกลางส่งเงินค่าใช้จ่ายที่โจทก์วางไว้ต่อศาลส่วนที่เหลือไปให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เนื่องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยได้ ซึ่งจะครบกำหนดขยายระยะเวลาแบ่งทรัพย์สินครั้งที่ 1 ในวันที่ 11 ธันวาคม 2551 แสดงว่าในวันดังกล่าวเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่น่าจะมีกรณีต้องใช้จ่ายเงินเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยอีก แต่มิได้รายงานศาลขอขยายระยะเวลาแบ่งทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 124 วรรคสอง โดยรายงานศาลว่าโจทก์ได้รับหมายแจ้งให้วางเงินค่าใช้จ่ายทั้งสามครั้งโดยชอบแล้วไม่วางเงินค่าใช้จ่าย ขอให้มีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135 (1) หลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายแล้ว โจทก์ได้ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 29 เมษายน 2552 ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอวางเงินค่าใช้จ่าย 10,000 บาท ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กลับยอมรับไว้ ต่อมาได้หมายนัดแจ้งให้โจทก์รับคืนไปเป็นเงินเพียง 9,500 บาท แต่ก็ส่งไปยังสถานที่อันมิใช่ภูมิลำเนาของโจทก์ พฤติการณ์ของโจทก์น่าเชื่อว่าโจทก์มิได้ขัดขืนหรือละเลยไม่ให้ประกันตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้ง การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยตามมาตรา 135 (1) จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6522/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันของผู้เยาว์: โมฆะหากไม่ได้รับอนุญาตจากศาล
จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันสองฉบับ เพื่อค้ำประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีต่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ร. เจ้าหนี้เดิม เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2540 และ 19 กุมภาพันธ์ 2540 ตามลำดับ ในขณะที่จำเลยที่ 3 อายุยังไม่ครบยี่สิบปีบริบูรณ์ จึงยังไม่บรรลุนิติภาวะตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 เพราะจำเลยที่ 3 เกิดวันที่ 11 มีนาคม 2520 การทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นการประกันโดยประการใด ๆ อันอาจมีผลให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ต้องถูกบังคับชำระหนี้หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ของบุคคลอื่น (จำเลยที่ 1) หรือแทนบุคคลอื่น (จำเลยที่ 1) จึงเป็นการทำนิติกรรมใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ ซึ่งตามมาตรา 1574 (10) แห่ง ป.พ.พ. ได้บัญญัติว่า ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต เมื่อโจทก์ไม่ได้แสดงพยานหลักฐานให้เห็นว่าในขณะที่จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกัน ผู้ใช้อำนาจปกครองของจำเลยที่ 3 ได้รับอนุญาตจากศาลให้จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันได้ การทำสัญญาค้ำประกัน จึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว ตกเป็นโมฆะและไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5845/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาเฉพาะการของผู้จัดการมรดก การส่งหมายที่ถูกต้อง และการเพิกถอนกระบวนพิจารณา
คำร้องขอของผู้ร้องระบุแต่แรกว่า ผู้ร้องอยู่บ้านเลขที่ 46/10 ถนนสุขุมวิท 105 ซอยลาซาล 14 (วงค์สวัสดิ์ 1) แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ทายาทหลายคนส่งจดหมายไปที่บ้านดังกล่าว ทั้งคดียักยอกทรัพย์มรดกที่ผู้ร้องเป็นโจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดก ผู้ร้องยืนยันที่อยู่บ้านเลขที่ 46/10 ประกอบกับผู้คัดค้านเบิกความตอบทนายผู้ร้องถามค้านรับว่า ผู้คัดค้านทราบว่าผู้ร้องอยู่ที่บ้านดังกล่าว พฤติการณ์ดังกล่าว แสดงว่าผู้ร้องเลือกเอาบ้านเลขที่ 46/10 เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการสำหรับการดำเนินคดีของผู้ร้อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 42 ดังนั้น การที่พนักงานเดินหมายปิดหมายนัดและสำเนาคำร้องขอของผู้คัดค้านเพื่อแจ้งกำหนดวันนัดไต่สวนตามทะเบียนราษฎร์ที่มีชื่อผู้ร้อง โดยผู้คัดค้านไม่ได้ส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องของผู้คัดค้านไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการของผู้ร้อง การปิดหมายนัดและสำเนาคำร้องไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 74 (2), 77 และมาตรา 79 ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องทราบนัดไต่สวนแล้ว เมื่อกรณีมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการส่งคำคู่ความ และทำให้กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงชอบที่จะสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 และเมื่อวินิจฉัยให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่การส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอของผู้คัดค้านแล้ว กรณีต้องย้อนไปดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวใหม่ให้ถูกต้องตามที่กฎหมายบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5845/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดตามภูมิลำเนาเฉพาะการของผู้ร้อง มีผลต่อความชอบด้วยกฎหมายของการพิจารณาคดี
ผู้ร้องได้เลือกเอาบ้านเลขที่ 46/10 โดยมีเจตนาปรากฏชัดแจ้งว่าให้เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการสำหรับในการดำเนินคดีของผู้ร้อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 42 การที่พนักงานเดินหมายไปปิดหมายนัดและสำเนาคำร้องขอของผู้คัดค้านเพื่อแจ้งกำหนดวันนัดไต่สวนตามทะเบียนราษฎร์ที่ผู้ร้องมีชื่ออยู่ โดยผู้คัดค้านไม่ได้นำส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องของผู้คัดค้านไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการของผู้ร้อง การปิดหมายนัดและสำเนาคำร้องขอของผู้คัดค้านจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 74 (2), 77 และ มาตรา 79 ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องทราบนัดไต่สวนแล้ว เมื่อกรณีปรากฏเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการส่งคำคู่ความ และทำให้กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นต่อมาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย จึงชอบที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 และเมื่อวินิจฉัยให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่การส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอของผู้คัดค้านแล้ว กรณีต้องย้อนไปดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวใหม่ให้ถูกต้องตามที่กฎหมายบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5057/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญจากเอกสารสิทธิปลอมและการคืนเงินค่าที่ดิน
เมื่อต้นปี 2534 รัฐบาลมีโครงการจัดหาที่ดินให้แก่ราษฎรมีที่ทำกิน จำเลยกว้านซื้อที่ดินที่ไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินหลายแปลงรวมทั้งที่ดินแปลงพิพาทแล้วไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2537 โดยอ้างหลักฐาน ส.ค. 1 เลขที่ 318 มี ห. เป็นผู้แจ้งการครอบครองซึ่งไม่เคยมีการเดินสำรวจที่ดินแปลงพิพาทมาก่อน ต่อมาวันที่ 28 มีนาคม 2537 มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ที่ดินแปลงพิพาทให้แก่จำเลย ครั้นวันที่ 6 กรกฎาคม 2537 จำเลยนำที่ดินแปลงพิพาทไปขายให้แก่โจทก์ ขั้นตอนตั้งแต่จำเลยจัดหาซื้อที่ดินไปจนกระทั่งนำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่โจทก์ใช้เวลาเพียงประมาณ 7 เดือน พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยรู้อยู่แล้วว่าตนเองไม่มีสิทธิในที่ดินแปลงพิพาทที่จะขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เฉพาะราย เพราะจำเลยเป็นนายหน้ากว้านซื้อที่ดินหลายแปลงจากผู้อื่นรวมทั้งที่ดินแปลงพิพาท จำเลยไม่ได้เป็นผู้ที่ได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินแปลงพิพาทอยู่ก่อนวันที่ ป. ที่ดิน พ.ศ.2497 ใช้บังคับ โดยไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินและไม่เคยแจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทไว้ต่อนายอำเภอท้องที่ แต่ร่วมกับเจ้าพนักงานที่ดินที่รู้เห็นกับการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยใช้ ส.ค. 1 ของที่ดินแปลงอื่นมาดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ที่ดินแปลงพิพาทซึ่งเป็นการไม่ชอบ ทั้งนี้เพื่อจะหลอกลวงให้โจทก์หลงเชื่อว่า ที่ดินแปลงพิพาทมีเอกสารสิทธิเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) มิฉะนั้นโจทก์จะไม่ตกลงซื้อที่ดินแปลงพิพาท การที่โจทก์เข้าทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยจึงเป็นการทำสัญญาโดยสำคัญผิดในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 จึงต้องคืนทรัพย์ฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าว มาตรา 412 ว่าด้วยลาภมิควรได้กำหนดให้ต้องคืนเต็มจำนวน ดังนั้น โจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินเต็มจำนวน และเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาเงินค่าที่ดินคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีอายุความ เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบว่ามีการทวงถามจำเลยให้ชำระเงินค่าที่ดินคืนเมื่อไร จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าที่ดินพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป