คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มนูพงศ์ รุจิกัณหะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 259 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15227/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษคดียาเสพติดเมทแอมเฟตามีน โดยพิจารณาปริมาณสารบริสุทธิ์และหน่วยการใช้ เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย
คดีนี้โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 15 เม็ด น้ำหนักสุทธิ 1.36 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 0.339 กรัม ซึ่งมียาเสพติดจำนวนสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไปไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ จึงต้องรับฟังว่าเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึงสามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัม แม้จำนวนหน่วยการใช้จะมีปริมาณตามที่กำหนดในมาตรา 15 วรรคสาม (2) ก็ตาม แต่ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ก็มิได้กำหนดบทลงโทษในกรณีที่มีเมทแอมเฟตามีนจำนวนสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไปไว้ กรณีจึงต้องลงโทษตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13740/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมและใช้เอกสารราชการ (หนังสือรับรองผลงาน) ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา แม้ผู้ลงนามไม่ใช่เจ้าหน้าที่
เอกสารที่จำเลยที่ 2 ทำปลอมขึ้นและนำไปใช้เป็นหนังสือรับรองผลงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ห. ซึ่งตาม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มาตรา 60 วรรคหนึ่ง กำหนดให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลควมคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลตามกฎหมาย ดังนี้ ผู้ที่จะลงลายมือชื่อรับรองผลงานตามหนังสือดังกล่าวจึงเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ห. และมาตรา 65 วรรคหนึ่ง ของพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดว่าในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา หนังสือรับรองผลงานจึงเป็นเอกสารที่ออกโดยเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ จึงเป็นเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 1 (8) แม้ผู้ที่ลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองผลงานดังกล่าวมิใช่นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ห. ก็ไม่ทำให้เป็นเพียงเอกสารดังที่จำเลยที่ 2 ฎีกา การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานปลอมหนังสือรับรองผลงานอันเป็นเอกสารราชการและใช้หนังสือรับรองผลงานอันเป็นเอกสารราชการปลอมตาม ป.อ. มาตรา 265, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12116/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้ทางจำเป็นและการพิสูจน์ทางออกสู่ทางสาธารณะของที่ดิน หากไม่มีทางออกตามกฎหมาย สิทธิภาระจำยอมอาจเกิดขึ้น
ก. ยกที่ดินเนื้อที่ 5 ไร่ ให้แก่กระทรวงการคลังเพื่อใช้ประโยชน์ในราชการกรมตำรวจ ที่ดินส่วนนี้จำเลยที่ 1 ใช้จัดตั้งสถานีวิทยุตำรวจตระเวนชายแดนค่ายพระเจ้าตากนับแต่ได้รับการยกให้ในปี 2528 มีการกันที่ดินไว้เป็นทางสาธารณประโยชน์เพื่อเชื่อมจากที่ดินจำเลยที่ 1 สู่ทางหลวงแผ่นดินสายตาก - เถิน (พหลโยธิน) ซึ่งเป็นทางสาธารณะไว้ก่อนตั้งแต่ ก. แสดงเจตนายกที่ดินให้แก่กระทรวงการคลัง จึงไม่ใช่กรณีที่ดินจำเลยที่ 1 มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจผ่านที่ดินโจทก์ซึ่งล้อมอยู่ออกไปสู่ทางสาธารณะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ได้ แม้ทางเข้าที่ดินจำเลยที่ 1 ผ่านทางสาธารณประโยชน์ซึ่งเชื่อมต่อกับถนนพหลโยธินมีความสูงชันกว่ากันมาก ก็เป็นความสูงชันแตกต่างระหว่างทางสาธารณะด้วยกัน มิใช่ความสูงชันของที่ดินจำเลยที่ 1 กับทางสาธารณะ จำเลยทั้งสองจึงมิอาจถือประโยชน์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสอง ได้เช่นกัน ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชนะคดีโดยวินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็น หากจำเลยทั้งสองยังติดใจในประเด็นเรื่องทางภาระจำยอมอยู่ แม้จำเลยทั้งสองไม่จำเป็นต้องอุทธรณ์ก็ตาม แต่ก็ต้องยกขึ้นเป็นประเด็นในคำแก้อุทธรณ์ เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัย เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ตั้งประเด็นในเรื่องทางภาระจำยอมไว้ จึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11848/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิคัดค้านราคาขายทอดตลาด: การสละสิทธิ & การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเพื่อประวิงคดี
แม้จำเลยที่ 2 เพิ่งมาดูแลการขายทรัพย์พิพาทในการขายทอดตลาดครั้งที่ 2 และเพิ่งคัดค้านราคาเป็นครั้งแรกก็ตาม แต่จำเลยทั้งสองถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทที่นำมาจำนองแก่โจทก์ร่วมกันและอาศัยอยู่บ้านเดียวกัน จึงเชื่อว่าจำเลยที่ 2 ควรรู้ว่าจำเลยที่ 1 คัดค้านราคาในการขายทอดตลาดครั้งแรกเพื่อตนและเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้มีกรรมสิทธิ์รวมไว้แล้ว การที่จำเลยที่ 2 มิได้มาดูแลการขายทอดตลาดครั้งแรกและมิได้คัดค้านราคาในการขายทอดตลาดครั้งแรกด้วยนั้นเท่ากับจำเลยที่ 2 สละสิทธิที่จะคัดค้านราคาสำหรับการขายทอดตลาดครั้งต่อๆ มาด้วยคงมีเพียงสิทธิหาผู้ที่จะเสนอซื้อทรัพย์พิพาทในราคาที่จำเลยที่ 2 ต้องการมาเสนอซื้อในการขายทอดตลาดทรัพย์สินครั้งต่อไป แต่จำเลยที่ 2 ก็หากระทำไม่ หรือไม่อาจหาบุคคลเช่นว่านั้นได้ กลับมีพฤติการณ์สลับกับจำเลยที่ 1 มาคัดค้านราคา เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตประวิงการบังคับคดีให้เนิ่นช้าออกไป เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่จำต้องเลื่อนการขายทอดตลาดออกไปตามบทบัญญัติมาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่งอีกเพราะได้เลื่อนมาแล้วครั้งหนึ่งตามคำคัดค้านของจำเลยที่ 1 แล้ว คดีไม่มีเหตุเพิกถอนการขายทอดตลาดซึ่งกระทำโดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11848/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิคัดค้านการขายทอดตลาดโดยไม่สุจริตเพื่อประวิงคดี ถือเป็นการสละสิทธิ
จำเลยที่ 2 เพิ่งมาดูแลการขายทรัพย์พิพาทในการขายทอดตลาดครั้งที่ 2 และเพิ่งคัดค้านราคาเป็นครั้งแรก แต่จำเลยที่ 2 ควรรู้ว่าจำเลยที่ 1 คัดค้านราคาในการขายทอดตลาดครั้งแรกไว้ ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อตนและเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้มีกรรมสิทธิ์รวมไว้แล้ว เท่ากับจำเลยที่ 2 สละสิทธิที่จะคัดค้านราคาสำหรับการขายทอดตลาดครั้งต่อๆ มาด้วย แต่ยังคงมีสิทธิหาผู้ที่จะเสนอซื้อทรัพย์พิพาทในราคาที่จำเลยที่ 2 ต้องการมาเสนอซื้อในการขายทอดตลาดทรัพย์สินครั้งต่อไป จำเลยที่ 2 ก็หากระทำไม่หรือไม่อาจหาบุคคลเช่นว่านั้นได้ กลับมีพฤติการณ์สลับกับจำเลยที่ 1 มาคัดค้านราคา เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตประวิงการบังคับคดีให้เนิ่นช้าออกไป เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่จำต้องเลื่อนการขายทอดตลาดออกไปอีกเพราะได้เลื่อนมาแล้วครั้งหนึ่งตามคำคัดค้านของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ดังนัย ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง จึงไม่มีเหตุเพิกถอนการขายทอดตลาดซึ่งกระทำโดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11260/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลริบทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดอาญา แม้ไม่มีบทบัญญัติเฉพาะในกฎหมายอาญา
แม้ศาลจะสั่งให้ริบรถยนต์กระบะของกลางสำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2584 มาตรา 29 ทวิ ไม่ได้ เพราะไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายดังกล่าวบัญญัติไว้โดยตรงแต่ก็ไม่มีบทบัญญัติใดที่แสดงให้เห็นว่าไม่ต้องการให้นำบทบัญญัติในภาค 1 แห่ง ป.อ. มาใช้บังคับ ทั้งตาม ป.อ. มาตรา 33 ก็ได้บัญญัติให้ศาลมีอำนาจริบทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดได้ นอกเหนือจากอำนาจริบตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ดังนั้น เมื่อรถยนต์กระบะของกลางเป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 กับพวกได้ใช้ในการกระทำความผิด ศาลก็มีอำนาจริบรถยนต์กระบะของกลางได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) การที่จำเลยที่ 1 กับพวกใช้รถยนต์กระบะของกลางเป็นพาหนะใช้ในการขนกล้วยไม้ป่าจำนวน 320 ต้น น้ำหนัก 31 กิโลกรัม ซึ่งเป็นของป่าหวงห้ามที่มีไว้ในครอบครองเพื่อการค้า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ลักษณะการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 กับพวก นอกจากเป็นเหตุทำให้กล้วยไม้ป่าอาจสูญพันธุ์ไปจากป่าของประเทศไทยแล้ว ยังมีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพต่างๆ ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ จึงสมควรริบรถยนต์กระบะของกลาง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2553)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10757/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีกู้ยืมเงินของผู้ดูแลเงินฝากกลุ่มออมทรัพย์ แม้เงินไม่ใช่ของตนเอง
สัญญากู้ยืมเงินเป็นแบบฟอร์มหนังสือสัญญากู้ยืมเงินของสมาคมกลุ่มออมทรัพย์ และโจทก์ลงลายมือชื่อในช่องประธานคณะกรรมการอำนวยการ (ผู้ให้กู้ยืม) แสดงให้เห็นว่าเงินที่กู้ยืมกันไม่ใช่เงินส่วนตัวของโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นผู้ดูแลรักษาเงินที่สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ฝากไว้เพราะโจทก์มีฐานะเป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการหรือประธานที่ปรึกษากลุ่มออมทรัพย์ โจทก์จึงเข้าครอบครองเงินนั้นมีหน้าที่ส่งคืนเงินจำนวนเดียวกันกับที่กลุ่มออมทรัพย์รับฝากไว้แก่ผู้ฝากให้ครบจำนวน เมื่อโจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินที่รับฝากนี้แม้ไม่ใช่ของโจทก์ไป โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยผู้กู้ยืมชำระเงินคืนได้โดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจจากผู้ใดก่อนเพราะเป็นการฟ้องคดีโดยอาศัยสิทธิของตนเองตามสัญญากู้ยืม ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรง แม้ ก. กู้ยืมเงินโจทก์นำมาใช้เพื่อกิจการของศูนย์สาธิตการตลาดของหมู่บ้านซึ่ง ก. เป็นประธานศูนย์มิใช่การกู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ส่วนตัวก็ตาม ศูนย์สาธิตการตลาดไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่อาจรับผิดทางแพ่งต่อผู้ใดตามกฎหมายได้ ดังนี้ ผู้กู้ยืมต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเป็นส่วนตัว โจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9790/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นกลบเกลื่อนการกู้ยืมเงิน ศาลเพิกถอนสัญญาได้
โจทก์ทั้งสองและจำเลยมีเจตนาทำสัญญากู้ยืมเงินกัน มิได้มีเจตนาที่จะทำสัญญาซื้อขายและสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท สัญญาดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง และเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินที่โจทก์ทั้งสองกู้เงินจากจำเลยโดยให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยยึดถือเป็นประกัน ถือว่าสัญญาซื้อขายและสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้เงินที่ทำกันเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยซึ่งถูกอำพรางไว้จึงต้องบังคับตามสัญญากู้เงินที่เป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง เมื่อโจทก์ทั้งสองผ่อนชำระหนี้เงินกู้แก่จำเลยเกินกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ทั้งสองกู้จากจำเลยแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิยึดหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินพิพาทไว้ ต้องคืนแก่โจทก์ทั้งสองและต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ทั้งสองด้วย แต่ที่โจทก์ทั้งสองขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โดยปลอดจำนองหรือภาระผูกพันใด ๆ นั้น มีผลทำให้คำพิพากษากระทบต่อสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่คู่ความในคดี ย่อมไม่อาจกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9534/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดวันคดีถึงที่สุดเพื่อออกหมายจำคุก: การขยายเวลาฎีกา และผลต่อการบังคับคดี
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้จำเลยที่ 1 และที่ 4 ฟังเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2547 และอ่านให้โจทก์ฟังเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2547 โจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา ศาลอนุญาตถึงวันที่ 24 กันยายน 2547 จำเลยที่ 1 และที่ 4 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดโดยให้ระบุว่าให้ถึงที่สุดในวันที่ 9 สิงหาคม 2547 เห็นว่า แม้คดีต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่โจทก์ก็อาจดำเนินการให้มีการอนุญาตหรือรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 และไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย โจทก์จึงอาจฎีกาได้ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาต คดีจึงเป็นที่สุดเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของวันสุดท้ายที่โจทก์อาจยื่นฎีกาได้คือวันที่ 24 กันยายน 2547 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดในวันที่ 24 กันยายน 2547

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8561/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การแก้ไขบทลงโทษเล็กน้อยและลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ทำให้ไม่สามารถฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 6 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295, 297 ประกอบมาตรา 83 การกระทำเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 297 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุก 9 เดือน เพิ่มโทษหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92 เป็นจำคุก 12 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 6 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 6 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบมาตรา 83 จำคุก 9 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 4 เดือน 15 วัน ยกคำขอให้เพิ่มโทษเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แก้ไขบทลงโทษ โดยไม่ได้แก้ไขโทษและยกคำขอให้เพิ่มโทษ อันเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยที่ 6 ไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 6 ฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษนั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 3 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
of 26