พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชู้สามี-ละเมิด-ค่าทดแทน:สิทธิภริยาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากชู้ได้ แม้มีการหย่า
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่2แสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์กับจำเลยที่1ซึ่งเป็นสามีโจทก์ในทางชู้สาวตั้งแต่พ.ศ.2518ตลอดมาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ถือว่าจำเลยที่2ประพฤติตนเป็นชู้ของสามีผู้อื่นทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างมากเกี่ยวกับเกียรติยศชื่อเสียงและความทุกข์ทรมานทางจิตใจเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172แล้วส่วนความเสียหายแต่ละอย่างเป็นจำนวนเท่าใดเป็นรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้และคดีไม่ขาดอายุความเพราะจำเลยที่2กระทำละเมิดต่อเนื่องกันมายังมิได้หยุดกระทำจนถึงขณะฟ้อง จำเลยที่2แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่ามีความสัมพันธ์กับจำเลยที่1สามีโจทก์ในทำนองชู้สาวโดยโจทก์มิได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้จำเลยที่1อุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องจำเลยที่2ฉันภริยาโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1523วรรคสองได้โดยไม่จำต้องคำนึงว่าโจทก์กับจำเลยที่1ตกลงหย่ากันเองหรือศาลพิพากษาให้หย่ากัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนจากการแสดงตนในทำนองชู้สาว และอายุความคดี
การที่จำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีโจทก์อยู่ร่วมเรือนเดียวกัน ไปไหนมาไหนด้วยกัน บุตรของโจทก์และจำเลยที่ 1เคยเห็นจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 นอนร่วมเตียงเดียวกัน จำเลยที่ 2เคยไปบ้านของมารดาจำเลยที่ 1 พร้อมกับจำเลยที่ 1 ในวันเทศกาล สำคัญเช่น วันปีใหม่ และวันสงกรานต์ มีพฤติการณ์เป็นที่ประจักษ์ทั่วไปว่ามีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวต่อกัน การกระทำของจำเลยที่ 2ดังกล่าวจึงเป็นการแสดงตนโดยเปิดเผยว่าตนมีความสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 ในทำนองชู้สาว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง แม้โจทก์จะได้ทราบถึงความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวของจำเลยทั้งสองตั้งแต่กลางปี 2525 ก็ตาม แต่ความสัมพันธ์ดังกล่าวยังเกิดขึ้นอยู่ต่อมามิได้หยุดการกระทำและสิ้นไปจนถึงปี 2528 ฉะนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องคดีเรียกค่าทดแทนภายในปี 2528 คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1529.