พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3699-3739/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวชที่ไม่ชอบตามกฎหมายเถรสมาคมและการละเมิดเสรีภาพในการนับถือศาสนา
เมื่อจำเลยอุทธรณ์แต่เพียงว่า คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ว่าเสรีภาพในการนับถือศาสนาต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2534 มาตรา 27 และไม่เป็นไปตามมาตรา 5ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับดังกล่าวเท่านั้นจึงไม่ใช่กรณีที่ศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264ดังนี้ ศาลอุทธรณ์จึงไม่ต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวและส่งความเห็นไปเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัยและศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวที่จำเลยอุทธรณ์ได้ จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 เพราะการกระทำ ของ จำเลยเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 38 ที่ว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพ บริบูรณ์ในการนับถือศาสนาและในการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย จำเลยเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาและก่อนจำเลยจะมีพรรษา ครบ 10 พรรษา จำเลยได้ทำหน้าที่ดังเช่นอุปัชฌาย์โดยจำเลย บวชให้แก่ผู้อื่น ทำหน้าที่เป็นพระผู้รับนำเข้าหมู่ เป็นพระผู้ใหญ่ ในการบวช รวมทั้งเป็นผู้มอบเครื่องแต่งกายและอัฐบริขารโดยจำเลยไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปชฌาย์ตาม กฎมหาเถรสมาคมซึ่งขัดต่อ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 23 ที่ใช้บังคับขณะเกิดเหตุที่บัญญัติว่าการแต่งตั้ง ถอดถอนพระอุปัชฌาย์ เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาสผู้ช่วยเจ้าอาวาส พระภิกษุอันเกี่ยวกับตำแหน่งปกครองสงฆ์ตำแหน่งอื่น ๆ และไวยาวัจกร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม และกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 7(พ.ศ. 2506) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 18 และมาตรา 23 แห่ง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. 2505 ข้อ 4 บัญญัติว่า พระอุปัชฌาย์หมายความว่า พระภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่เป็นประธาน และรับผิดชอบในการให้บรรพชาอุปสมบทตามบทบัญญัติ แห่งกฎมหาเถรสมาคม และข้อ 12 บัญญัติให้พระอุปัชฌาย์ มีหน้าที่บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรได้เฉพาะตนและ เฉพาะภายในเขตตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 4 แห่งกฎมหาเถรสมาคม ดังนี้ เมื่อจำเลยไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ตาม กฎมหาเถรสมาคมฉบับดังกล่าว การบวชของผู้ที่จำเลย บวชให้ จึงเป็นการบวชที่ไม่ชอบ และผู้นั้นย่อมไม่มีสิทธิ แต่งกายหรือใช้เครื่องหมายที่แสดงว่าเป็นภิกษุสามเณร ในพระพุทธศาสนา ผู้ที่จำเลยบวชให้จึงต้องมีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 ส่วนจำเลยซึ่งเป็นผู้บวชและทำหน้าที่เป็นพระผู้รับนำเข้าหมู่เป็นผู้มอบเครื่องแต่งกายและอัฐบริขารให้แก่จำเลยอื่น จึงเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้อื่นในการกระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 ประกอบด้วย มาตรา 86 พระธรรมวินัยมีถ้อยคำและความหมายอย่างไรเป็นปัญหาข้อเท็จจริง กฎมหาเถรสมาคมซึ่งออกมาเพื่อประดิษฐานพระธรรมวินัยให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและจำนวนพุทธศาสนิกชนที่เพิ่มขึ้นและมิได้ขัดต่อพระธรรมวินัยเมื่อกฎมหาเถรสมาคมดังกล่าวออกโดยชอบด้วยกฎหมายเพราะอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. 2505 มาตรา 23 จึงใช้บังคับได้ บุคคลทุกคนจำเป็นต้องอนุวัตปฏิบัติตาม จะโต้เถียงว่าขัดหรือแย้งกับพระธรรมวินัยและไม่ยอมปฏิบัติตามไม่ได้ แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540มาตรา 38 จะบัญญัติว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา มีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนาบัญญัติ แต่ก็ได้บัญญัติแสดงความมุ่งหมายไว้ด้วยว่าการใช้เสรีภาพดังกล่าวจะต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เมื่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. 2505 บัญญัติขึ้นโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ป้องกันมิให้บุคคลผู้มีเจตนาไม่สุจริตอาศัยร่มเงาพระพุทธศาสนาหาประโยชน์ใส่ตน อันเป็นต้นเหตุให้เสื่อมศรัทธาแก่ผู้ที่มี ศรัทธาอยู่แล้ว และไม่ก่อเกิดศรัทธาแก่ผู้ที่ไม่มีศรัทธามาก่อนบุคคลทุกคนจึงต้องปฏิบัติตามกฎหมายให้ต้องตามเจตนารมณ์ จำเลยบวชเป็นพระภิกษุในฝ่ายธรรมยุตนิกายเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2513 และในปี 2516 ได้สวดญัตติเข้าเป็นพระภิกษุในฝ่ายมหานิกายซึ่งแสดงว่าจำเลยได้ยอมรับที่จะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. 2505 และกฎมหาเถรสมาคมมาก่อน และในช่วง เวลาดังกล่าวจำเลยก็สามารถปฏิบัติธรรมได้ไม่ปรากฏว่า จำเลยถูกกลั่นแกล้งจากใครอย่างไรและถึงขนาดไม่อาจ ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยได้ เมื่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505มาตรา 18 บัญญัติให้มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและไม่ปรากฏบทบัญญัติมาตราใดให้สิทธิพระภิกษุสงฆ์ไทยประกาศแยกตนให้มีผลประดุจสังฆเภทไม่ยอมอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ได้การที่จำเลยขอลาออกจากการปกครองของมหาเถรสมาคม และแยกตัวมาตั้งพุทธสถานสันติอโศก แล้วดำเนินการบวชบุคคลอื่นเป็นพระภิกษุโดยวางกฎระเบียบต่าง ๆ และพยายามปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย แม้จะเป็นเวลานานเท่าใด การประกาศของจำเลยก็ไม่ทำให้จำเลยกับพวกพ้นจากการปกครองของมหาเถรสมาคมและไม่ต้องปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเพิกถอนคำวินิจฉัย คตส. เหตุขัดต่อธรรมนูญการปกครองฯ และเป็นการออกกฎหมายย้อนหลัง
(คำสั่งศาลฎีกาที่ 1131/2536 ประชุมใหญ่) คดีตามประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 6 ศาลแพ่งไม่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดด้วยตนเอง นอกจากทำความเห็นไปยัง ศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย และประกาศดังกล่าวได้บัญญัติให้นำ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายและศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเช่นนั้นได้ ปัญหาที่ว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 หรือไม่ซึ่งเกิดขึ้นในการพิจารณาคดีของศาล มิใช่ปัญหาเกิดขึ้นในวงงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือคณะรัฐมนตรีขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติวินิจฉัยตามมาตรา 30 วรรคสองและมิใช่เป็นการกระทำหรือปฏิบัติตามที่บัญญัติในมาตรา 31แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534ทั้งมิใช่ปัญหาว่าบทบัญญัติของกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534มาตรา 5 และมาตรา 206 วรรคแรกเช่นเดียวกันอำนาจในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงตกอยู่แก่ ศาลตามหลักกฎหมายทั่วไป แม้ขณะที่ออกประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ไม่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือธรรมนูญการปกครองใช้บังคับแต่ระหว่าง ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับอยู่ได้มีประกาศ ใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534เมื่อประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 มีผลเป็นการตั้งคณะบุคคลที่มิใช่ศาลให้มีอำนาจทำการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเช่นเดียวกับศาล ทั้งออกและใช้กฎหมายที่มีโทษทางอาญาย้อนหลังไปลงโทษบุคคล เป็นการขัดต่อประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 จึงขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534มาตรา 30 วรรคแรก ใช้บังคับมิได้ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534มาตรา 32 เป็นการรับรองโดยทั่วไปว่า ประกาศหรือคำสั่งของ รสช.มีผลให้ใช้บังคับได้เช่นกฎหมายเท่านั้นมิได้บัญญัติรับรองไปถึงว่าให้ใช้บังคับได้แม้เนื้อหาตามประกาศหรือคำสั่งนั้นขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 และเมื่อประกาศ รสช.ฉบับที่ 26ข้อ 2 ข้อ 6 ใช้บังคับไม่ได้ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรมาตรา 30 แล้ว จึงมิใช่กฎหมายที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2534 จึงจะนำมาตรา 222 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 มาใช้ให้มีผลบังคับ ต่อไปมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจ คตส. ตามประกาศ รสช. ที่ 26 และผลบังคับใช้ทางกฎหมายหลังการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล
(คำสั่งศาลฎีกาที่ 921/2536) ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 26 ข้อ 6 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 26ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2534 กำหนดวิธีพิจารณาพิเศษให้ศาลแพ่งดำเนินการพิจารณาคดีตามประกาศดังกล่าว โดยไม่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดด้วยตนเองได้ นอกจากทำความเห็นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย ดังนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินที่เกี่ยวกับผู้ร้องย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายในคดีดังกล่าวได้ เพราะตามความในข้อ 6ได้บัญญัติให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม และอำนาจของศาลในการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายก็มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายได้ ขณะที่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติออกประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 26 เป็นช่วยเวลาที่ไม่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือธรรมนูญการปกครองฉบับใดใช้บังคับ ต่อมาระหว่างที่ประกาศฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับอยู่นั้น ไม่มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพ.ศ. 2534 ดังนั้น ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 26 ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากับพระราชบัญญัติจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534และจะขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพ.ศ. 2534 ไม่ได้ ตามหลักกฎหมายทั่วไป ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีจึงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดจะใช้บังคับแก่คดีได้หรือไม่เพียงใด ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น ๆ ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ด้วย เว้นแต่จะมีบทกฎหมายใดโดยเฉพาะบัญญัติให้อำนาจ นี้ไปตกอยู่แก่องค์กรอื่น กรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อที่ว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ใดขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534หรือไม่มิได้เกิดขึ้นในวงงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือเกิดขึ้นโดยคณะรัฐมนตรีขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติวินิจฉัยตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534มาตรา 30 และถ้อยคำที่ว่า "การกระทำหรือการปฏิบัติ"ตามมาตรา 31 ก็ไม่หมายความรวมถึงบทบัญญัติของกฎหมายด้วย ทั้งขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้องนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้สิ้นสภาพไปแล้ว และแม้ในขณะที่ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหานี้ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534แล้ว แต่บทบัญญัติมาตรา 5 และ 206 วรรคแรกของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 ก็แสดงว่าคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยเฉพาะในปัญหาว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 หรือไม่ เท่านั้น อำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 หรือไม่จึงตกอยู่แก่ศาลตามหลักกฎหมายทั่วไป ดังนั้นศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคำร้องของผู้ร้องได้โดยไม่ต้องส่งไปให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญพิจารณา คำวินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินหรือคตส. ตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 มีผลให้ทรัพย์สินที่ คตส.วินิจฉัยว่าได้มาโดยมิชอบหรือมีเพิ่มขึ้นผิดปกติตกเป็นของแผ่นดิน อันเป็นการลงโทษรับทรัพย์ในทางอาญาโดยที่มิได้ให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลอื่นซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงนำคดีไปฟ้องร้องให้เป็นอย่างอื่นได้ อำนาจของคตส.ดังกล่าวเป็นอำนาจเด็ดขาด แม้ต่อมาจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมประกาศฉบับดังกล่าวโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 26ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2534 ก็ตามแต่บทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ก็มิได้แก้ไขให้มีทางเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของ คตส.ในข้อที่ว่านักการเมืองคนนั้น ๆมีทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิชอบหรือมีเพิ่มขึ้นผิดปกติและร่ำรวยผิดปกติ ผิดวิสัยของผู้ประกอบอาชีพโดยสุจริตเพราะตามข้อ 6 วรรคสาม (1)(2) เพียงแต่ให้ศาลฎีกามีอำนาจสั่งเพิกถอนคำวินิจฉัยของ คตส.ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่แสดงให้ศาลว่าตนได้มาโดยชอบเท่านั้น อำนาจของ คตส.ดังกล่าวจึงเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีซึ่งตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยเป็นอำนาจของศาลในอันที่จะดำเนินการตามกฎหมาย ประกาศฉบับดังกล่าวข้อ 2 และข้อ 6 จึงมีผลเป็นการตั้งคณะบุคคลที่มิใช่ศาลให้มีอำนาจทำการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเช่นเดียวกับศาล ย่อมขัดต่อประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้ เพราะรัฐธรรมนูญทุกฉบับมีบทบัญญัติให้การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลและการตั้งศาลขึ้นใหม่เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งโดยเฉพาะแทนศาลที่มีอยู่ตามกฎหมายจะกระทำมิได้ ทรัพย์สินของผู้ร้องที่ถูกยึด และตกเป็นของแผ่นดินตามคำวินิจฉัยของ คตส.เป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องได้มาหรือมีเพิ่มขึ้นก่อนที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 26 ข้อ 6 ใช้บังคับ จึงเป็นการออกและใช้กฎหมาย ที่มีโทษในทางอาญาย้อนหลังไปลงโทษแก่ผู้ร้องซึ่งรัฐธรรมนูญทุกฉบับมีบทบัญญัติห้ามออกกฎหมายที่มีโทษในทางอาญาให้มีผล ย้อนหลัง เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน อันถือได้เป็นประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยเมื่อประกาศฉบับดังกล่าว ข้อ 2 และข้อ 6 ขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 มาตรา 30จึงใช้บังคับมิได้เป็นเหตุให้คำวินิจฉัยของ คตส.ที่อาศัยอำนาจตามประกาศฉบับนั้น ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 26 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2534มาตรา 3 ไม่มีผลบังคับไปด้วย ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 มาตรา 32เป็นเพียงการรับรองโดยทั่วไปว่า ประกาศหรือคำสั่งของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติมีผลให้ใช้บังคับได้เช่นกฎหมายเท่านั้นมิได้บัญญัติรับรองไปถึงว่าให้ใช้บังคับได้แม้เนื้อหาตามประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 เพราะปัญหาว่าประกาศหรือคำสั่งของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติใช้บังคับได้เพียงใด ต่างกรณีกันกับปัญหาที่ว่าประกาศหรือคำสั่งนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 ใช้บังคับมิได้ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 มาตรา 30 วรรคแรกแล้ว จึงมิใช่กฎหมายที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 จึงไม่อาจนำมาตรา 222 มาบังคับใช้แก่กรณีนี้เพื่อให้ประกาศฉบับดังกล่าวข้อ 2 และข้อ 6 ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2534 ไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้วินิจฉัยการขัดแย้งระหว่างประกาศ คตส. กับประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตย และความชอบด้วยกฎหมายของประกาศ รสช.
ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 6 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 26 เป็นวิธีพิจารณาพิเศษซึ่งกำหนดให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลมผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย และศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24(เทียบนัยฎีกาที่ 146/2530) ตามหลักกฎหมายทั่วไป ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีจึงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดจะใช้บังคับแก่คดีได้หรือไม่เพียงใดและย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น ๆ ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ด้วย เว้นแต่จะมีบทกฎหมายใดโดยเฉพาะบัญญัติให้อำนาจนี้ไปตกอยู่แก่องค์การอื่น ระหว่างที่ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 มีผลใช้บังคับได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพ.ศ. 2534 ซึ่งตามมาตรา 30 วรรคสอง บัญญัติให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติในขณะนั้นเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าการกระทำหรือการปฏิบัติใดขัดต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพ.ศ. 2534 หรือไม่ ถ้อยคำที่ว่า "การกระทำหรือการปฏิบัติ"ไม่หมายความรวมถึงบทบัญญัติของกฎหมายด้วย ทั้งขณะผู้ร้องยื่นคำร้อง สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้สิ้นสภาพไปแล้ว และแม้ในขณะที่ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหานี้ได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 แล้ว แต่ตามมาตรา 206 วรรคแรกและมาตรา 5 ก็แสดงว่าคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยเฉพาะในปัญหาว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 หรือไม่เท่านั้น ดังนั้น อำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 หรือไม่ จึงตกอยู่แก่ศาลตามหลักกฎหมายทั่วไป (ตามนัยฎีกาที่ 766/2505,222/2506 และ225/2506) คำวินิจฉัยของ คตส.ตามประกาศรสช. ฉบับที่ 26ข้อ 2 และข้อ 6 มีผลให้ทรัพย์สินที่ คตส.วินิจฉัยว่าได้มาโดยมิชอบหรือมีเพิ่มขึ้นผิดปกติตกเป็นของแผ่นดิน เป็นการลงโทษริบทรัพย์สินในทางอาญา โดยที่มิได้ให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลอื่นซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงนำคดีไปฟ้องร้องให้เป็นอย่างอื่นได้ อำนาจของ คตส.เป็นอำนาจเด็ดขาด และเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีซึ่งตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยเป็นอำนาจของศาล จึงมีผลเป็นการตั้งคณะบุคคลที่มิใช่ศาลให้มีอำนาจทำการพิจารณาพิพากษาคดีเช่นเดียวกับศาล ย่อมขัดต่อประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยนอกจากนี้ทรัพย์สินของผู้ร้องที่ถูกยึดและตกเป็นของแผ่นดินตามคำวินิจฉัยของ คตส. เป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องได้มาหรือมีเพิ่มขึ้นก่อนที่ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 6 ใช้บังคับจึงเป็นการออกและใช้กฎหมายที่มีโทษในทางอาญาย้อนหลังไปลงโทษแก่ผู้ร้อง ซึ่งรัฐธรรมนูญทุกฉบับมีบทบัญญัติห้ามเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน อันถือได้ว่าเป็นประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอีกประการหนึ่งด้วย ประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 จึงใช้บังคับมิได้ (ตามนัยฎีกาที่ 222/2506) และเป็นเหตุให้คำวินิจฉัยของคตส. ไม่มีผลบังคับไปด้วย ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 มาตรา 32เป็นเพียงการบัญญัติรับรองโดยทั่วไปว่า ประกาศหรือคำสั่งรสช. มีผลให้ใช้บังคับได้เช่นกฎหมายเท่านั้น มิได้บัญญัติรับรองไปถึงว่าให้ใช้บังคับได้แม้เนื้อหาตามประกาศหรือคำสั่ง รสช. ดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 แต่อย่างไร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยความชอบธรรมของประกาศ รสช. และการคุ้มครองสิทธิจากกฎหมายย้อนหลัง
ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 6 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 26เป็นวิธีพิจารณาพิเศษซึ่งกำหนดให้นำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย และศาล-ฎีกามีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 (เทียบนัยฎีกาที่ 146/2530)
ตามหลักกฎหมายทั่วไป ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี จึงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดจะใช้บังคับแก่คดีได้หรือไม่เพียงใดและย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น ๆ ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ด้วย เว้นแต่จะมีบทกฎหมายใดโดยเฉพาะบัญญัติให้อำนาจนี้ไปตกอยู่แก่องค์กรอื่น
ระหว่างที่ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 มีผลใช้บังคับ ได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2534 ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของธรรมนูญการปกครอง-ราชอาณาจักร พ.ศ.2534 ซึ่งตามมาตรา 30 วรรคสอง บัญญัติให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติในขณะนั้นเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าการกระทำหรือการปฏิบัติใดขัดต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2534 หรือไม่ ถ้อยคำที่ว่า "การกระทำหรือการปฏิบัติ"ไม่หมายความรวมถึงบทบัญญัติของกฎหมายด้วย ทั้งขณะผู้ร้องยื่นคำร้อง สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้สิ้นสภาพไปแล้ว และแม้ในขณะที่ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหานี้ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534 แล้ว แต่ตามมาตรา206 วรรคแรก และมาตรา 5 ก็แสดงว่าคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยเฉพาะในปัญหาว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534 หรือไม่ เท่านั้น ดังนั้น อำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญ-การปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2534 หรือไม่ จึงตกอยู่แก่ศาลตามหลักกฎหมายทั่วไป (ตามนัยฎีกาที่ 766/2505, 222/2506 และ 225/2506)
คำวินิจฉัยของ คตส. ตามประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 2และข้อ 6 มีผลให้ทรัพย์สินที่ คตส.วินิจฉัยว่าได้มาโดยมิชอบหรือมีเพิ่มขึ้นผิดปกติตกเป็นของแผ่นดิน เป็นการลงโทษริบทรัพย์สินในทางอาญา โดยที่มิได้ให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลอื่นซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงนำคดีไปฟ้องร้องให้เป็นอย่างอื่นได้ อำนาจของ คตส. เป็นอำนาจเด็ดขาด และเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีซึ่งตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยเป็นอำนาจของศาล จึงมีผลเป็นการตั้งคณะบุคคลที่มิใช่ศาลให้มีอำนาจทำการ-พิจารณาพิพากษาอรรถคดีเช่นเดียวกับศาล ย่อมขัดต่อประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้ทรัพย์สินของผู้ร้องที่ถูกยึดและตกเป็นของแผ่นดินตามคำวินิจฉัยของ คตส. เป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องได้มาหรือมีเพิ่มขึ้นก่อนที่ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 6 ใช้บังคับ จึงเป็นการออกและใช้กฎหมายที่มีโทษในทางอาญาย้อนหลังไปลงโทษแก่ผู้ร้อง ซึ่งรัฐธรรมนูญทุกฉบับมีบทบัญญัติห้ามเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน อันถือได้ว่าเป็นประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอีกประการหนึ่งด้วย ประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 จึงใช้บังคับมิได้ (ตามนัยฎีกาที่ 222/2506) และเป็นเหตุให้คำวินิจฉัยของ คตส. ไม่มีผลบังคับไปด้วย
ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2534 มาตรา 32เป็นเพียงการบัญญัติรับรองโดยทั่วไปว่า ประกาศหรือคำสั่ง รสช. มีผลให้ใช้บังคับได้เช่นกฎหมายเท่านั้น มิได้บัญญัติรับรองไปถึงว่าให้ใช้บังคับได้แม้เนื้อหาตามประกาศหรือคำสั่ง รสช. ดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพ.ศ.2534 แต่อย่างไร
ตามหลักกฎหมายทั่วไป ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี จึงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดจะใช้บังคับแก่คดีได้หรือไม่เพียงใดและย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น ๆ ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ด้วย เว้นแต่จะมีบทกฎหมายใดโดยเฉพาะบัญญัติให้อำนาจนี้ไปตกอยู่แก่องค์กรอื่น
ระหว่างที่ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 มีผลใช้บังคับ ได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2534 ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของธรรมนูญการปกครอง-ราชอาณาจักร พ.ศ.2534 ซึ่งตามมาตรา 30 วรรคสอง บัญญัติให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติในขณะนั้นเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าการกระทำหรือการปฏิบัติใดขัดต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2534 หรือไม่ ถ้อยคำที่ว่า "การกระทำหรือการปฏิบัติ"ไม่หมายความรวมถึงบทบัญญัติของกฎหมายด้วย ทั้งขณะผู้ร้องยื่นคำร้อง สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้สิ้นสภาพไปแล้ว และแม้ในขณะที่ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหานี้ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534 แล้ว แต่ตามมาตรา206 วรรคแรก และมาตรา 5 ก็แสดงว่าคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยเฉพาะในปัญหาว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534 หรือไม่ เท่านั้น ดังนั้น อำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญ-การปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2534 หรือไม่ จึงตกอยู่แก่ศาลตามหลักกฎหมายทั่วไป (ตามนัยฎีกาที่ 766/2505, 222/2506 และ 225/2506)
คำวินิจฉัยของ คตส. ตามประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 2และข้อ 6 มีผลให้ทรัพย์สินที่ คตส.วินิจฉัยว่าได้มาโดยมิชอบหรือมีเพิ่มขึ้นผิดปกติตกเป็นของแผ่นดิน เป็นการลงโทษริบทรัพย์สินในทางอาญา โดยที่มิได้ให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลอื่นซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงนำคดีไปฟ้องร้องให้เป็นอย่างอื่นได้ อำนาจของ คตส. เป็นอำนาจเด็ดขาด และเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีซึ่งตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยเป็นอำนาจของศาล จึงมีผลเป็นการตั้งคณะบุคคลที่มิใช่ศาลให้มีอำนาจทำการ-พิจารณาพิพากษาอรรถคดีเช่นเดียวกับศาล ย่อมขัดต่อประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้ทรัพย์สินของผู้ร้องที่ถูกยึดและตกเป็นของแผ่นดินตามคำวินิจฉัยของ คตส. เป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องได้มาหรือมีเพิ่มขึ้นก่อนที่ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 6 ใช้บังคับ จึงเป็นการออกและใช้กฎหมายที่มีโทษในทางอาญาย้อนหลังไปลงโทษแก่ผู้ร้อง ซึ่งรัฐธรรมนูญทุกฉบับมีบทบัญญัติห้ามเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน อันถือได้ว่าเป็นประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอีกประการหนึ่งด้วย ประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 จึงใช้บังคับมิได้ (ตามนัยฎีกาที่ 222/2506) และเป็นเหตุให้คำวินิจฉัยของ คตส. ไม่มีผลบังคับไปด้วย
ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2534 มาตรา 32เป็นเพียงการบัญญัติรับรองโดยทั่วไปว่า ประกาศหรือคำสั่ง รสช. มีผลให้ใช้บังคับได้เช่นกฎหมายเท่านั้น มิได้บัญญัติรับรองไปถึงว่าให้ใช้บังคับได้แม้เนื้อหาตามประกาศหรือคำสั่ง รสช. ดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพ.ศ.2534 แต่อย่างไร