พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7817/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการปฏิบัติตามขั้นตอนการแจ้งและการยินยอมตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลใด ถ้าคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่าคดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องก่อนวันสืบพยานสำหรับศาลยุติธรรม แต่จำเลยที่ 3 ไม่ได้ยื่นคำร้อง เป็นกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงไม่อาจฎีกาในปัญหานี้ได้
เมื่อจำเลยที่ 3 รับว่าโจทก์ได้แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องเป็นหนังสือแก่จำเลยที่ 3 แล้ว โจทก์จึงยกการโอนสิทธิเรียกร้องขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยที่ 3 ได้ โดยไม่จำต้องให้จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยที่ 3 หรือจำเลยที่ 3 ต้องให้ความยินยอมด้วยเป็นลายลักษณ์อักษรและจำเลยที่ 1 ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินตามสัญญาจ้างทันที จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิจะมาระงับไม่ให้จำเลยที่ 3 จ่ายเงินให้โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 3 จ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ไป จึงไม่อาจบอกปัดความรับผิดโดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งให้ระงับการจ่ายเงิน
เมื่อจำเลยที่ 3 รับว่าโจทก์ได้แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องเป็นหนังสือแก่จำเลยที่ 3 แล้ว โจทก์จึงยกการโอนสิทธิเรียกร้องขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยที่ 3 ได้ โดยไม่จำต้องให้จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยที่ 3 หรือจำเลยที่ 3 ต้องให้ความยินยอมด้วยเป็นลายลักษณ์อักษรและจำเลยที่ 1 ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินตามสัญญาจ้างทันที จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิจะมาระงับไม่ให้จำเลยที่ 3 จ่ายเงินให้โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 3 จ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ไป จึงไม่อาจบอกปัดความรับผิดโดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งให้ระงับการจ่ายเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7535/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนรถประจำตำแหน่งถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร
ทางราชการจ่ายเงินค่าพาหนะเหมาจ่ายเป็นรายเดือนเท่ากันทุกเดือนแก่เฉพาะข้าราชการระดับสูงที่มีสิทธิได้รับรถประจำตำแหน่ง ถือเป็นเงินที่โจทก์ได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นจากการทำงานนอกเหนือไปจากเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งซึ่งคิดคำนวณเป็นเงินได้ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 39 และ 40 (1) ทั้งไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีตาม มาตรา 42 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ฯ ทั้งนี้เพราะการได้รับเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายฯ กับการได้รับรถประจำตำแหน่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ อันเป็นเหตุให้เกิดผลทางกฎหมายในอันที่จะถือเป็นเงินได้พึงประเมินหรือไม่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะเงินค่าตอบแทนเหมาจ่าย ฯ เป็นประโยชน์ที่ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์โดยตรง ไม่มีข้อบังคับหรือจำกัดการใช้จ่ายเงินนี้ของโจทก์แต่อย่างใดเลย โจทก์อาจนำไปซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์ลักษณะใด ประเภทใด ราคาเท่าใดโดยปราศจากข้อจำกัดและอาจเหลือเงินเป็นประโยชน์แก่ตน เมื่อพ้นตำแหน่งก็ยังมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในรถยนต์ที่ซื้อหรือเช่าซื้อเป็นประโยชน์เฉพาะตน แต่การได้รับรถประจำตำแหน่ง ผู้รับเพียงได้ใช้รถของทางราชการซึ่งต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยรถราชการ พ.ศ.2523 ข้อ 13 ที่กำหนดว่ารถประจำตำแหน่งให้ใช้ในการปฏิบัติราชการในตำแหน่งหน้าที่ หรือที่ได้รับมอบหมายโดยชอบหรืองานที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับงานในตำแหน่งหน้าที่หรือฐานะที่ดำรงตำแหน่งนั้น รวมตลอดถึงการใช้เพื่อเดินทางไปกลับระหว่างที่พักและสำนักงาน และเพื่อการอื่นที่จำเป็นและเหมาะสมแก่การดำรงตำแหน่งหน้าที่ในหมู่ราชการและสังคม คืออยู่ในข้อบังคับให้ใช้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นสำคัญ เปรียบได้กับกรณีข้าราชการใช้เครื่องใช้สำนักงาน ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศของทางราชการในการปฏิบัติหน้าที่ราชการเพื่อให้ได้ผลงานตามวัตถุประสงค์ตามระเบียบราชการ ผู้ได้รับรถประจำตำแหน่งต้องเป็นข้าราชการที่มีความรับผิดชอบสูงระดับรองอธิบดี อธิบดีและปลัดกระทรวงถือเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญยิ่งที่ทางราชการควรอำนวยความสะดวกให้เพื่อสามารถทุ่มเทเวลาทำงานให้ได้ประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการ และไม่มีเหตุอันสมควรต้องคิดแยกประโยชน์แก่ทางราชการและตัวบุคคลในกรณีนี้ ซึ่งในความเป็นจริงก็ไม่อาจแยกออกได้เพื่อคำนวณเป็นเงินได้เพื่อให้ข้าราชการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่อย่างใด และเมื่อพ้นตำแหน่งข้าราชการที่ได้รับรถประจำตำแหน่งก็ไม่มีสิทธิในรถประจำตำแหน่งอีกเลย
การที่หลักเกณฑ์การคำนวณค่าตอบแทนเหมาจ่าย ฯ ตามหนังสือของกระทรวงการคลังได้รวมถึงค่าซ่อมบำรุงรักษา ค่าน้ำมันหล่อลื่น ค่าเบี้ยประกันและค่าพนักงานขับรถนั้น เป็นแต่เพียงวิธีการคิดถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ผู้มีสิทธิได้รถประจำตำแหน่งจะต้องจ่ายหากต้องซื้อรถยนต์เป็นของตนเองแทนรถประจำตำแหน่งให้เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้มีสิทธิได้รถประจำตำแหน่งที่จะได้เงินดังกล่าวแทนเท่านั้น และหากโจทก์ซื้อรถยนต์กับต้องจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าว ก็เป็นกรณีที่โจทก์กับผู้ได้รับเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จากโจทก์ต่างมีเงินได้และต้องเสียภาษีจากเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนอันเป็นปกติในระบบจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายจึงหาเป็นการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อนไม่
การที่หลักเกณฑ์การคำนวณค่าตอบแทนเหมาจ่าย ฯ ตามหนังสือของกระทรวงการคลังได้รวมถึงค่าซ่อมบำรุงรักษา ค่าน้ำมันหล่อลื่น ค่าเบี้ยประกันและค่าพนักงานขับรถนั้น เป็นแต่เพียงวิธีการคิดถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ผู้มีสิทธิได้รถประจำตำแหน่งจะต้องจ่ายหากต้องซื้อรถยนต์เป็นของตนเองแทนรถประจำตำแหน่งให้เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้มีสิทธิได้รถประจำตำแหน่งที่จะได้เงินดังกล่าวแทนเท่านั้น และหากโจทก์ซื้อรถยนต์กับต้องจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าว ก็เป็นกรณีที่โจทก์กับผู้ได้รับเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จากโจทก์ต่างมีเงินได้และต้องเสียภาษีจากเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนอันเป็นปกติในระบบจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายจึงหาเป็นการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7193/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคืนรถเช่าซื้อหลังถูกริบ: การแบ่งแยกความรับผิดตามสัญญา และการใช้สิทธิโดยสุจริต
สัญญาเช่าซื้อได้ระบุแบ่งแยกสิทธิเรียกค่าเสียหายของเจ้าของหรือผู้ให้เช่าซื้อไว้ 2 กรณี คือ กรณีรถถูกริบโดยไม่ใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ ส่วนอีกกรณีหนึ่ง คือ กรณีที่รถถูกริบไปเพราะความผิดของผู้เช่าซื้อ ข้อสัญญาดังกล่าวยังไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อต้องการราคาเช่าซื้อเป็นสำคัญโดยผู้เช่าซื้อจะนำทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อไปใช้อย่างไรก็ได้ คดีจึงฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนรถกระบะของกลางเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่นอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและไม่อาจถือว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสาม ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอคืนของกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6806/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนของทางทะเล: อายุความ, ความรับผิดของตัวแทน, และอำนาจฟ้องของเจ้าของสินค้า
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ฟ้องคดีเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันส่งมอบของจึงขาดอายุความ 1 ปี ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 46 ทั้งหากเป็นกรณีละเมิดคดีโจทก์ก็ขาดอายุความ 1 ปี แล้วเช่นเดียวกันนั้น คดีนี้ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า ตามฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าให้ผู้รับตราส่งโดยผู้รับตราส่งไม่ได้เวนคืนต้นฉบับใบตราส่ง เป็นการที่ผู้ขนส่งปฏิบัติผิดสัญญารับขนของทางทะเล จำเลยในฐานะตัวแทนของผู้ขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศจึงต้องรับผิด ซึ่งในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ใน พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 และใน ป.พ.พ. ว่าด้วยการรับขน คดีของโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ดังนี้ อุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นข้อนี้มิได้โต้แย้งว่าคำวินิจฉัยของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางดังกล่าวนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ทั้งคำวินิจฉัยของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ชอบแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ปัญหาว่าจำเลยเป็นตัวแทนของบริษัท ส. ผู้ขนส่งตัวการซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่สิงค์โปร์หรือไม่ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบโดยจำเลยมิได้โต้แย้งเป็นอย่างอื่นว่า ในการขนส่งสินค้าพิพาทโจทก์จะแจ้งชนิด ประเภท ปริมาณสินค้าให้จำเลยทราบเพื่อจองระวางเรือ จำเลยจะแจ้งชื่อเรือ วันและสถานที่รับสินค้าเพื่อให้โจทก์ส่งมอบสินค้าตามกำหนดโดยจำเลยออกใบตราส่งในนามของบริษัท ส. ผู้รับขนและออกหนังสือรับรองระวางหรือตู้สินค้าให้โจทก์ หลังจากส่งสินค้าแต่ละคราวให้จำเลยแล้ว โจทก์จะนำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเรียกเก็บเงินระหว่างประเทศจากผู้ซื้อผ่านธนาคาร ก. ตามวิธีสากลทั่วไป ซึ่งจำเลยเองนำสืบรับว่า จำเลยเป็นตัวแทนผู้ขนส่งติดต่อประสานงานกับโจทก์ จำเลยลงชื่อในใบตราส่งแทนผู้ขนส่ง จำเลยประกอบกิจการเป็นตัวแทนและนายหน้าให้ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าทางทะเลและเป็นตัวแทนผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นในการดำเนินธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทะเล ดังนี้ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยทำสัญญารับขนของทางทะเลคดีนี้กับโจทก์แทนผู้ขนส่ง เมื่อปรากฏว่าผู้ขนส่งสินค้าพิพาทมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเลแต่ลำพังตนเอง ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 824 แม้จำเลยจะไม่ใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยหลุดพ้นความรับผิด
ปัญหาว่าจำเลยเป็นตัวแทนของบริษัท ส. ผู้ขนส่งตัวการซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่สิงค์โปร์หรือไม่ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบโดยจำเลยมิได้โต้แย้งเป็นอย่างอื่นว่า ในการขนส่งสินค้าพิพาทโจทก์จะแจ้งชนิด ประเภท ปริมาณสินค้าให้จำเลยทราบเพื่อจองระวางเรือ จำเลยจะแจ้งชื่อเรือ วันและสถานที่รับสินค้าเพื่อให้โจทก์ส่งมอบสินค้าตามกำหนดโดยจำเลยออกใบตราส่งในนามของบริษัท ส. ผู้รับขนและออกหนังสือรับรองระวางหรือตู้สินค้าให้โจทก์ หลังจากส่งสินค้าแต่ละคราวให้จำเลยแล้ว โจทก์จะนำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเรียกเก็บเงินระหว่างประเทศจากผู้ซื้อผ่านธนาคาร ก. ตามวิธีสากลทั่วไป ซึ่งจำเลยเองนำสืบรับว่า จำเลยเป็นตัวแทนผู้ขนส่งติดต่อประสานงานกับโจทก์ จำเลยลงชื่อในใบตราส่งแทนผู้ขนส่ง จำเลยประกอบกิจการเป็นตัวแทนและนายหน้าให้ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าทางทะเลและเป็นตัวแทนผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นในการดำเนินธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทะเล ดังนี้ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยทำสัญญารับขนของทางทะเลคดีนี้กับโจทก์แทนผู้ขนส่ง เมื่อปรากฏว่าผู้ขนส่งสินค้าพิพาทมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเลแต่ลำพังตนเอง ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 824 แม้จำเลยจะไม่ใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยหลุดพ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6435/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในความผิดอาญาต่างกรรมต่างวาระ แม้มีข้อเท็จจริงร่วมกัน สิทธิฟ้องไม่ระงับ
ความผิดข้อหามีไว้ในครอบครองเพื่อขายซึ่งยาสูบบุหรี่ซิกาแรต ซึ่งเป็นยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ตามกฎหมายกับข้อหามียาสูบที่ไม่ได้ปิดแสตมป์ไว้ในครอบครองเกินห้าร้อยกรัมตามฟ้องเป็นคดีก่อน และความผิดข้อหาเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งบุหรี่ซิกาแรตที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมซึ่งโจทก์แยกฟ้องมาเป็นคดีนี้ เป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาคนละฉบับกัน มีองค์ประกอบความผิดแตกต่างกัน กล่าวคือข้อหามีไว้ในครอบครองเพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ตามกฎหมายและข้อหามีไว้ในครอบครองเพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ไว้ในครอบครอง เป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 ส่วนความผิดข้อหาเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมในคดีนี้ เป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ซึ่งสามารถแยกเจตนาในการกระทำความผิดออกจากกันได้ ดังนั้นการกระทำความผิดของจำเลยในคดีก่อนจึงไม่ใช่การกระทำความผิดกรรมเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีนี้ แม้คดีก่อนศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยไปแล้ว ก็ไม่อาจถือได้ว่าศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมไม่ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5671/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้ให้เช่าซื้อในการขอคืนรถยนต์ที่ถูกใช้ในความผิด ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง
หลังจากที่ผู้ร้องทราบว่าเจ้าพนักงานยึดรถยนต์ของกลางเนื่องจากเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดแล้วอันเป็นเหตุที่ผู้ร้องอาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ตามข้อ 3. ของสัญญาเช่าซื้อ แต่ผู้ร้องก็ไม่ได้ใช้สิทธิดังกล่าว ยังคงรับชำระค่าเช่าซื้อต่อไป โดยผู้ร้องก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นข้อเท็จจริงว่าผู้เช่าซื้อไม่ได้ร่วมหรือเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดหรือยินยอมให้จำเลยที่ 1 กับพวกนำรถยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิด ผู้ร้องจึงไม่อาจบอกเลิกสัญญาได้ การที่ผู้ร้องยังคงรับชำระค่าเช่าซื้อโดยไม่บอกเลิกสัญญา และมาขอคืนรถยนต์ของกลาง ซึ่งหากศาลมีคำสั่งคืนรถยนต์ของกลางตามคำร้องของผู้ร้องและผู้เช่าซื้อได้ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน รถยนต์ของกลางย่อมตกเป็นของผู้เช่าซื้อ พฤติกรรมของผู้ร้องมีลักษณะเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าซื้อโดยต้องการได้แต่ค่าเช่าซื้อเท่านั้น ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในการขอคืนของกลาง เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนของกลาง ผู้ร้องย่อมมีภาระการพิสูจน์ว่าตนไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 กับพวก แต่ตามพยานหลักฐานที่ผู้ร้องนำสืบมากลับปรากฏพฤติการณ์การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้ร้อง จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 กับพวก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5452/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิเหนือผู้จดทะเบียนภายหลัง
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "JEPO" ซึ่งเคยส่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาจำหน่ายในประเทศไทยอันเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าในประเทศไทยก่อนที่จำเลยจะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าจำเลย ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 67 และการที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องภายใน 5 ปี นับแต่วันที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้จดทะเบียนเป็นการใช้สิทธิตามปกติ มิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
อนึ่ง บทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้ โดยไม่จำต้องให้จำเลยไปดำเนินการเพิกถอนคำขอจดทะเบียนหรือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแต่อย่างใด ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาบังคับให้จำเลยเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "JEPO" ตามคำขอเลขที่ 575049 ทะเบียนเลขที่ ค 267771 หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
อนึ่ง บทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้ โดยไม่จำต้องให้จำเลยไปดำเนินการเพิกถอนคำขอจดทะเบียนหรือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแต่อย่างใด ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาบังคับให้จำเลยเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "JEPO" ตามคำขอเลขที่ 575049 ทะเบียนเลขที่ ค 267771 หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5450/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีสัญญาซื้อขายปิโตรเลียมและการสนับสนุนปรับปรุงสถานีบริการ ไม่อยู่ในอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ
โจทก์เรียกค่าเสียหายและเบี้ยปรับจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาผู้แทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมกับโจทก์ และเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เงินคืนเนื่องจากจำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญาให้การสนับสนุนการปรับปรุงรูปแบบสถานีบริการ โดยไม่ปรากฏว่ามีกรณีพิพาทเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ หรือสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ สัญญาแต่งตั้งผู้แทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมก็ไม่ปรากฏว่ามีข้อสัญญาให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์อยู่ในสัญญาดังกล่าว ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ตามสัญญายืมทรัพย์สิน อุปกรณ์การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำหรับผู้แทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเอกสารท้ายอุทธรณ์นั้น ก็เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้อ้างมาในฟ้อง เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย คดีนี้จึงมิใช่คดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าหรือสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าตามนัยมาตรา 7 (3) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5447/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกัน การจดทะเบียน และการใช้ในต่างประเทศ ไม่อาจใช้เป็นเหตุรับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
แม้แนวความคิดของเครื่องหมายการค้าจะเป็นของโจทก์เองโดยมิได้มีการลอกแบบคิดของผู้อื่นมาก็ตาม แต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวมีความเหมือนหรือคล้ายกับของเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ย่อมเป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียน
มาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีอำนาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันให้แก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าหลายคนได้ หากเจ้าของเครื่องหมายการค้าหลายคนต่างได้ใช้มาแล้วด้วยกันโดยสุจริต หรือมีพฤติการณ์พิเศษที่สมควรรับจดทะเบียนให้ โดยเจ้าของเครื่องหมายการค้าหลายคนดังกล่าวต่างได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นมาแล้วด้วยกันโดยสุจริตในราชอาณาจักร ดังนั้นแม้โจทก์จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาแล้วในต่างประเทศเป็นเวลานานและนำไปใช้กับสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างกว้างขวางในประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าตามบทบัญญัติของมาตรานี้และกรณีไม่เข้าเงื่อนไขที่จะพิจารณาพฤติการณ์พิเศษเพื่อให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นตามบทกฎหมายดังกล่าวได้เช่นกัน
มาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีอำนาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันให้แก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าหลายคนได้ หากเจ้าของเครื่องหมายการค้าหลายคนต่างได้ใช้มาแล้วด้วยกันโดยสุจริต หรือมีพฤติการณ์พิเศษที่สมควรรับจดทะเบียนให้ โดยเจ้าของเครื่องหมายการค้าหลายคนดังกล่าวต่างได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นมาแล้วด้วยกันโดยสุจริตในราชอาณาจักร ดังนั้นแม้โจทก์จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาแล้วในต่างประเทศเป็นเวลานานและนำไปใช้กับสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างกว้างขวางในประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าตามบทบัญญัติของมาตรานี้และกรณีไม่เข้าเงื่อนไขที่จะพิจารณาพฤติการณ์พิเศษเพื่อให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นตามบทกฎหมายดังกล่าวได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5445/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีทรัพย์สินทางปัญญา: กฎหมายใหม่เป็นคุณแก่จำเลย แม้ฟ้องหลังยกเลิกกฎหมายเก่า ศาลต้องใช้กฎหมายใหม่บังคับ
จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการ มีดีวีดีและวีซีดีภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์ที่ภาพและเสียงของเรื่องไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานไว้ในสถานประกอบกิจการ และฐานผู้ได้รับอนุญาตมีภาพยนตร์ที่ไม่ได้แสดงเครื่องหมายการอนุญาต ประเภทภาพยนตร์และหมายเลขรหัสไว้ในสถานประกอบการเพื่อจำหน่ายอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาตรา 35 (1) และมาตรา 36 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2549 อันเป็นเวลาขณะที่ พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ยังใช้บังคับ ซึ่งความผิดตามมาตรา 35 (1) มีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และความผิดตามมาตรา 36 มีระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (4) จำเลยถูกฟ้องเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 ซึ่งขณะนั้น พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ใช้บังคับแล้วโดยมีผลยกเลิก พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 และการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 78 และมาตรา 43 ประกอบมาตรา 80 ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่มีระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาทและระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท โดยไม่มีโทษจำคุก จึงมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) ดังนั้น กฎหมายใหม่จึงเป็นคุณแก่จำเลยต้องใช้ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาบังคับใช้แก่การกระทำความผิดของจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 จึงต้องนำอายุความตามกฎหมายใหม่มาใช้บังคับแก่จำเลย เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว คดีนี้จึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป