พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1300/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์เพื่อชำระหนี้และการกระทำที่ไม่เป็นความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารและโกงเจ้าหนี้
การที่ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและชำระหนี้แก่จำเลยในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้นเป็นการกระทำตามคำสั่งศาลในชั้นบังคับคดีเพื่อนำเงินที่ศาลมีคำสั่งให้ยึดไว้ชั่วคราวในคดีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดไว้ในอีกคดีหนึ่งไปเฉลี่ยให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีก่อนเห็นว่าหนี้ตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายก็คัดค้านไม่ให้จำเลยนี้เข้ามาเฉลี่ยทรัพย์ได้การกระทำของจำเลยจึงไม่เข้าลักษณะอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา185หรือมาตรา187 สำหรับปัญหาที่ว่าจำเลยมีความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา264และมาตรา265หรือไม่นั้นจากคำเบิกความของป. และท. จะเห็นได้ว่าได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้โดยรู้ว่าท. ค้างชำระหนี้เงินกู้แก่จำเลยแม้จะฟังว่ากหรือจำเลยกรอกข้อความลงในเอกสารที่มีลายมือชื่อของป.กับท. แล้วนำเอกสารดังกล่าวฟ้องเรียกเงินกู้ก็เป็นการกรอกข้อความลงในเอกสารซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยเชื่อด้วยความสุจริตและได้กรอกลงไปตรงตามความเป็นจริงทั้งได้รับความยินยอมจากเจ้าของลายมือชื่อแล้วสัญญากู้ดังกล่าวย่อมไม่เป็นเอกสารปลอมการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้จะต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือผู้อื่นได้รับชำระหนี้แต่ตามข้อเท็จจริงในคดีปรากฎว่าท. ยอมรับว่าเคยกู้เงินจากจำเลยและยังค้างชำระหนี้อยู่ใกล้เคียงกับจำนวนตามที่จำเลยฟ้องจริงแสดงว่าจำเลยเป็นเจ้าหนี้อยู่จริงเมื่อไม่ปรากฎพฤติการณ์ระหว่างจำเลยกับป. อันส่อเจตนาเพื่อมิให้กรมตำรวจในฐานะเจ้าหนี้ของป. ได้รับชำระหนี้แล้วการกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหลังหย่า: การโอนทรัพย์สินโดยผู้มีกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ไม่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยที่ 2 เพียงผู้เดียวมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทโดยจำเลยที่ 1 มิได้มีกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยแต่อย่างใดดังนั้นแม้จำเลยที่ 2 โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทให้จำเลยที่ 3 จำเลยทั้งสามย่อมไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 187
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและการไม่มีความผิดทางอาญา
จำเลยที่ 2 เพียงผู้เดียวมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทโดยจำเลยทื่ 1มิได้มีกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยแต่อย่างใด ดังนั้นแม้จำเลยที่ 2 โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทให้จำเลยที่ 3 จำเลยทั้งสามย่อมไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 187
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้: จำเลยที่ 2 ไม่มีส่วนรู้เห็น จึงไม่มีความผิด
จำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าตึก ซึ่งจำเลยที่ 1 นำมาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำไว้กับโจทก์ในศาล และโอนทรัพย์สินอื่นที่โจทก์นำยึดไว้ให้จำเลยที่ 2 ทางไต่สวนไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้รู้เห็นในเรื่องที่จำเลยที่ 1 ได้นำสิทธิการเช่าตึกดังกล่าวไปค้ำประกันการชำระหนี้ไว้กับโจทก์ และการที่จำเลยที่ 2ร้องขัดทรัพย์ขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดก็เป็นการใช้สิทธิทางศาลตามกฎหมาย คดีสำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีมูล.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2054/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โกงเจ้าหนี้: การโอนทรัพย์สินหลายครั้งถือเป็นความผิดหลายกรรม แม้มีเจตนาเดียว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดสามกระทง จำคุกกระทงละ 1 ปี รวมจำคุกคนละ 3 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดกระทงเดียว จำคุกคนละ 1 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
จำเลยโอนที่ดินทั้ง 3 แปลงตามฟ้องรวม 3 ครั้งด้วยกัน แม้ว่าจำเลยจะมีเจตนาเพียงประการเดียวที่จะไม่ให้โจทก์บังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก็ตามแต่การโอนที่ดินไปแต่ละครั้งนั้น ก็เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้สำเร็จแล้วทุกครั้ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกัน มิใช่กรรมเดียว
จำเลยโอนที่ดินทั้ง 3 แปลงตามฟ้องรวม 3 ครั้งด้วยกัน แม้ว่าจำเลยจะมีเจตนาเพียงประการเดียวที่จะไม่ให้โจทก์บังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก็ตามแต่การโอนที่ดินไปแต่ละครั้งนั้น ก็เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้สำเร็จแล้วทุกครั้ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกัน มิใช่กรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2054/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโกงเจ้าหนี้โดยการโอนทรัพย์สินหลายครั้ง แม้มีเจตนาเดียว ศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดสามกระทงจำคุกกระทงละ1ปีรวมจำคุกคนละ3ปีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดกระทงเดียวจำคุกคนละ1ปีเป็นการแก้ไขเล็กน้อยต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218. จำเลยโอนที่ดินทั้ง3แปลงตามฟ้องรวม3ครั้งด้วยกันแม้ว่าจำเลยจะมีเจตนาเพียงประการเดียวที่จะไม่ให้โจทก์บังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่1ก็ตามแต่การโอนที่ดินไปแต่ละครั้งนั้นก็เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้สำเร็จแล้วทุกครั้งการกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันมิใช่กรรมเดียว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในรถ, การยักย้ายทรัพย์สินหลีกเลี่ยงการยึด, โจทก์เป็นผู้เสียหายโดยตรง, อำนาจฟ้องคดีอาญา
โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถแท็กซี่คันพิพาท ได้ร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องเรียกรถดังกล่าวคืนจากจำเลยต่อศาลแพ่ง พร้อมกับขอให้ศาลมีคำสั่งยึดรถนั้นไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาศาลแพ่งได้มีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ทั้งสอง แต่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดรถแท็กซี่ดังกล่าวไม่ได้เพราะจำเลย ยักย้ายรถไปไว้ที่อื่น โจทก์ทั้งสองย่อมเสียหายโดยตรงกรณีเช่นนี้จำเลยยักย้ายรถไปไว้ที่อื่นก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปยึด จึงมิใช่เป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่เป็นการกระทำต่อโจทก์ทั้งสองโดยตรง โจทก์ทั้งสองจึงเป็น ผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 187ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักย้ายทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดี ถือเป็นการกระทำโดยตรงต่อเจ้าของทรัพย์สิน ผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องอาญา
โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถแท็กซี่คันพิพาท ได้ร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องเรียกรถดังกล่าวคืนจากจำเลยต่อศาลแพ่งพร้อมกับขอให้ศาลมีคำสั่งยึดรถนั้นไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ศาลแพ่งได้มีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ทั้งสอง แต่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดรถแท็กซี่ดังกล่าวไม่ได้ เพราะจำเลย ยักย้ายรถไปไว้ที่อื่น โจทก์ทั้งสองย่อมเสียหายโดยตรง กรณีเช่นนี้จำเลยยักย้ายรถไปไว้ที่อื่นก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปยึด จึงมิใช่เป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่เป็นการกระทำต่อโจทก์ทั้งสองโดยตรง โจทก์ทั้งสองจึงเป็น ผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 187ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1089/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายโดยตรงจากการทำลายทรัพย์สินที่ถูกยึด
เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไปยึดทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดฯจำเลยที่ 1 ในคดีเดิม แล้วมอบให้จำเลยที่ 1 ในคดีนี้ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ในคดีเดิมเป็นผู้รักษาทรัพย์ เมื่อศาลมีคำสั่งให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด ปรากฏว่าทรัพย์บางรายการมีสภาพชำรุด ทำให้เสื่อมราคา ดังนี้หากจำเลยที่ 1 กระทำการใด ๆ แก่ทรัพย์ที่ยึดให้เสียหาย ผู้ที่เสียหายย่อมได้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีและโจทก์ในคดีเดิม โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีเดิมในฐานะผู้ค้ำประกันและเป็นผู้นำยึดทรัพย์จะต้องรับผิดใช้หนี้มากน้อยเพียงใด ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอากับจำเลยที่ 1 ในคดีเดิมได้ตามกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ 1โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่1ผู้รักษาทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 187
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1089/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลย
เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไปยึดทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฯ จำเลยที่ 1 ในคดีเดิม แล้วมอบให้จำเลยที่ 1 ในคดีนี้ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ในคดีเดิมเป็นผู้รักษาทรัพย์ เมื่อศาลมีคำสั่งให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด ปรากฏว่าทรัพย์บางรายมีสภาพชำรุด ทำให้เสื่อมราคา ดังนี้ หากจำเลยที่ 1 กระทำการใด ๆ แก่ทรัพย์ที่ยึดใช้เสียหาย ผู้ที่เสียหายย่อมได้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีและโจทก์ในคดีเดิม โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีเดิมในฐานะผู้ค้ำประกันและเป็นผู้นำยึดทรัพย์จะต้องรับผิดใช้หนี้มากน้อยเพียงใด ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอากับจำเลยที่ 1 ในคดีเดิมได้ตามกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ผู้รักษาทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 187