พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2086/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับใช้กฎหมายอาญาเมื่อกฎหมายเปลี่ยนแปลงระหว่างการกระทำความผิด และการกำหนดโทษที่เหมาะสม
ตามมาตรา 2 ของ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ซึ่งบัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ทั้งฉบับ บัญญัติว่า "พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป" เมื่อมีการประกาศใช้วันที่ 4 มีนาคม 2551 การเริ่มต้นนับระยะเวลาจึงต้องเริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้น คือ 5 มีนาคม 2551 เป็นวันที่หนึ่ง ซึ่งจะครบ 90 วัน ในวันที่ 2 มิถุนายน 2551
คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพและข้อเท็จจริงยุติแล้วว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยประกอบกิจการจำหน่ายวีซีดีภาพยนตร์และแผ่นดิจิตอลวิดีโอดิสก์ภาพยนตร์ (ดีวีดีภาพยนตร์) โดยไม่ได้รับใบอนุญาต และขณะจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ยังคงมีผลใช้บังคับ เพียงแต่ขณะที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิจารณาคดีนี้อยู่นั้น กฎหมายฉบับดังกล่าวถูกยกเลิกไปแล้วโดยมาตรา 3 (4) แห่ง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 โดยยังให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดอยู่ถือไม่ได้ว่า พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ยกเลิกความผิดฐานนี้ แต่เป็นเรื่องที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิจารณาคดี อันเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย เมื่อระวางโทษในความผิดฐานดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มีเพียงโทษปรับโดยไม่มีโทษจำคุกจึงเป็นคุณมากกว่า ต้องใช้โทษตามกฎหมายดังกล่าวในส่วนที่ไม่มีโทษจำคุกมาบังคับแก่คดี สำหรับในส่วนของโทษปรับ เมื่อโทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ลงโทษปรับได้เพียงไม่เกินสองหมื่นบาทแต่โทษตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 กำหนดโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท ทั้งยังให้ปรับต่อไปรายวันอีกวันละหนึ่งหมื่นบาท จึงต้องใช้โทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาบังคับแก่คดี
คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพและข้อเท็จจริงยุติแล้วว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยประกอบกิจการจำหน่ายวีซีดีภาพยนตร์และแผ่นดิจิตอลวิดีโอดิสก์ภาพยนตร์ (ดีวีดีภาพยนตร์) โดยไม่ได้รับใบอนุญาต และขณะจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ยังคงมีผลใช้บังคับ เพียงแต่ขณะที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิจารณาคดีนี้อยู่นั้น กฎหมายฉบับดังกล่าวถูกยกเลิกไปแล้วโดยมาตรา 3 (4) แห่ง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 โดยยังให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดอยู่ถือไม่ได้ว่า พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ยกเลิกความผิดฐานนี้ แต่เป็นเรื่องที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิจารณาคดี อันเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย เมื่อระวางโทษในความผิดฐานดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มีเพียงโทษปรับโดยไม่มีโทษจำคุกจึงเป็นคุณมากกว่า ต้องใช้โทษตามกฎหมายดังกล่าวในส่วนที่ไม่มีโทษจำคุกมาบังคับแก่คดี สำหรับในส่วนของโทษปรับ เมื่อโทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ลงโทษปรับได้เพียงไม่เกินสองหมื่นบาทแต่โทษตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 กำหนดโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท ทั้งยังให้ปรับต่อไปรายวันอีกวันละหนึ่งหมื่นบาท จึงต้องใช้โทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาบังคับแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2072/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า 'CHICLETS CRUNCH' มีลักษณะบ่งเฉพาะ แม้ 'CRUNCH' หมายถึงลักษณะสินค้า แต่โจทก์สละสิทธิ ทำให้เครื่องหมายการค้าเป็นที่รู้จักและแตกต่าง
โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "CHICLETS CRUNCH" เพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 30 รายการสินค้า หมากฝรั่ง ลูกอม ขนมหวาน แม้คำว่า "CRUNCH" ซึ่งแปลว่าเคี้ยว เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าดังกล่าวโดยตรง แต่โจทก์ได้แสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในคำดังกล่าวแล้ว และโจทก์ใช้คำว่า "CRUNCH" ประกอบกับคำว่า "CHICLETS" ซึ่งเป็นคำประดิษฐ์ที่ไม่มีในพจนานุกรม โดยตัวอักษรของทั้งสองคำมีขนาดเท่ากันและเรียงต่อกันเป็นลำดับ สาธารณชนย่อมทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าภายในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแตกต่างจากสินค้าอื่น เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในความผิดเดียวกันสิทธิระงับ, ริบของกลางตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
ตามฟ้องของโจทก์ในคดีนี้และคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2495/2551 หมายเลขแดงที่ อ.3571/2551 เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551 เวลากลางวัน จำเลยเสนอ จำหน่าย และมีไว้เพื่อจำหน่ายสินค้าเสื้อยี่ห้อลาคอสท์ที่เป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของผู้เสียหาย เหตุเกิดที่ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งทั้งสองคดีตามที่โจทก์ฟ้องเป็นการกระทำในเรื่องเดียวกัน เกิดขึ้นในเวลา สถานที่ และกระทำต่อผู้เสียหายรายเดียวกัน จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2495/2551 หมายเลขแดงที่ อ.3571/2551 ก่อนคดีนี้แล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไป ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
โจทก์ฟ้องขอให้ริบของกลางแต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้เองตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง เมื่อสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของผู้อื่น จึงให้ริบตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 115
โจทก์ฟ้องขอให้ริบของกลางแต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้เองตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง เมื่อสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของผู้อื่น จึงให้ริบตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 115
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2069/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษซ้ำตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์: การพ้นโทษด้วยการชำระค่าปรับ และความหมายของการพ้นโทษ
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 73 บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำความผิดต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อพ้นโทษแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปีกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัตินี้อีกต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น" บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้ระบุว่าการพ้นโทษจะต้องเป็นการพ้นโทษจำคุกอย่างเดียว การปรับก็ถือว่าเป็นโทษอย่างหนึ่งตามป.อ. มาตรา 18 (4) ดังนั้น แม้คดีก่อนศาลจะลงโทษจำคุกและรอการลงโทษให้จำเลย แต่ปรากฏว่า คดีนั้นศาลก็ได้ลงโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่งด้วย เมื่อมีการชำระค่าปรับครบถ้วนในวันเวลาใด ย่อมถือว่าจำเลยได้พ้นโทษในวันที่ชำระค่าปรับนั้นแล้ว ได้ความว่าขณะกระทำความผิดคดีนี้ จำเลยยังชำระค่าปรับในคดีก่อนไม่ครบถ้วน จึงเป็นกรณีที่จำเลยยังไม่ได้พ้นโทษในคดีก่อนและเมื่อกลับมากระทำความผิดคดีนี้ ซึ่งแม้จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เช่นเดียวกันก็ไม่อาจระวางโทษสองเท่าแก่จำเลยตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 73 ได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางระวางโทษสองเท่าแก่จำเลยตามมาตรานี้ จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1867/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายทางกาย แม้ไม่มีเจตนาทำร้าย แต่ผลที่เกิดขึ้นย่อมคาดการณ์ได้ และความผิดฐานพาอาวุธมีอายุความ
จำเลยใช้อาวุธมีดปลายแหลมจี้ขู่ผู้เสียหายและเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายและรถยนต์ของบิดาของผู้เสียหายที่อยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายไปและเมื่อการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายเป็นผลให้จำเลยก็ต้องรับโทษหนักขึ้น แม้จำเลยจะฎีกาว่า ผู้เสียหายได้รับบาดแผลที่ต้นแขนซ้ายจากมีดของจำเลยเนื่องจากอุบัติเหตุ จำเลยไม่มีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายซึ่งสอดคล้องกับที่ผู้เสียหายเบิกความ ผู้เสียหายไม่ทราบว่าไปโดนคมมีดตอนไหน เข้าใจว่าคงจะโดนตอนที่กลับตัวมาไขกุญแจรถ บาดแผลจึงไม่ได้เกิดจากจำเลยมีเจตนาใช้มีดทำร้ายผู้เสียหายก็ตามก็ไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะการที่จำเลยจะรับโทษหนักขึ้นด้วยเหตุที่ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายนั้น จำเลยไม่จำต้องกระทำโดยมีเจตนา เพียงแต่พิจารณาว่าผลที่ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายนั้น เป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ตาม ป.อ. มาตรา 63 หรือไม่ เมื่อการที่จำเลยใช้มีดปลายแหลมจี้ผู้เสียหาย การที่ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายจากมีดนั้น จึงย่อมเป็นผลธรรมดาที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยแล้ว จำเลยมีความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กาย
อนึ่ง ความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท จึงมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2545 เมื่อนับแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2543 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยกระทำผิดแล้วเป็นเวลาเกิน 1 ปี ความผิดฐานนี้จึงขาดอายุความที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ด้วยจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
อนึ่ง ความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท จึงมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2545 เมื่อนับแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2543 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยกระทำผิดแล้วเป็นเวลาเกิน 1 ปี ความผิดฐานนี้จึงขาดอายุความที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ด้วยจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1867/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์ทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตราย ผลของการกระทำเป็นเหตุให้เกิดอันตรายตามธรรมชาติ และอายุความความผิดพาอาวุธ
จำเลยใช้อาวุธมีดปลายแหลมจี้ขู่ผู้เสียหายและเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายและรถยนต์ของบิดาของผู้เสียหายไป เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายจำเลยก็ต้องรับโทษหนักขึ้น แม้ผู้เสียหายได้รับบาดแผลที่ต้นแขนซ้ายจากมีดของจำเลยเนื่องจากอุบัติเหตุ จำเลยไม่มีเจตนาทำร้ายผู้เสียหาย ก็ไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะการที่จำเลยจะรับโทษหนักขึ้นด้วยเหตุที่ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายนั้น จำเลยไม่จำต้องกระทำโดยมีเจตนา เพียงแต่พิจารณาว่าผลที่ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายนั้น เป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ตาม ป.อ. มาตรา 63 หรือไม่ เมื่อจำเลยใช้มีดปลายแหลมจี้ผู้เสียหายการที่ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายจากมีดนั้นจึงย่อมเป็นผลธรรมดาที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายตามมาตรา 339 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1829/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์ การเผยแพร่ต่อสาธารณชน และบทลงโทษตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
ความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27 (2) และมาตรา 28 (2) ต้องเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยตรง การกระทำของจำเลยตามฟ้องโจทก์ที่ว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายทั้งสองโดยการนำแผ่นวิดีโอซีดีคาราโอเกะที่บันทึกเสียงเพลงและภาพงานเพลงซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายทั้งสองมาทำซ้ำ ถ่ายโอนข้อมูลบันทึกลงในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วนำออกขาย หรือมีไว้เพื่อขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการทำซ้ำดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อการค้า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายทั้งสอง จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27 (1) และมาตรา 28 (1) เท่านั้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27 (2) และมาตรา 28 (2) ด้วยไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม: เงินจอง/ดาวน์รถยนต์เช่าซื้อถือเป็นประโยชน์ที่ผู้ขายได้รับและต้องนำมารวมคำนวณ
โจทก์ซื้อรถยนต์จากผู้จำหน่ายรถยนต์มาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองในราคาที่หักเงินจองหรือเงินดาวน์ที่ลูกค้าหรือผู้เช่าซื้อจ่ายให้แก่ผู้จำหน่ายรถยนต์ก่อนทำสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่นำไปให้ลูกค้าเช่าซื้อโดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนในส่วนนี้ ถือว่าโจทก์ได้รับประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินตามมูลค่าเงินจองหรือเงินดาวน์ที่โจทก์ไม่ต้องจ่ายให้แก่ผู้จำหน่ายรถยนต์ เงินจองหรือเงินดาวน์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของราคารถยนต์ที่โจทก์ไม่ต้องจ่ายให้แก่ผู้จำหน่ายรถยนต์ จึงเป็นประโยชน์ใดๆ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79 วรรคสอง จึงต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าของฐานภาษีตามสัญญาให้เช่าซื้อระหว่างโจทก์กับลูกค้าหรือผู้เช่าซื้อด้วย
เจ้าพนักงานประเมินได้รับอนุมัติจากสรรพากรภาค 3 ซึ่งปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ให้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มรายโจทก์สำหรับเดือนภาษีตุลาคมถึงเดือนภาษีธันวาคม 2537 และเดือนภาษีมกราคมถึงเดือนภาษีกรกฎาคม 2538 แม้จะเกิน 2 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี แต่เมื่ออนุมัติภายใน 5 ปี และโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มในวันที่ 1 มิถุนายน 2542 การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 88/6 วรรคท้าย
เจ้าพนักงานประเมินได้รับอนุมัติจากสรรพากรภาค 3 ซึ่งปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ให้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มรายโจทก์สำหรับเดือนภาษีตุลาคมถึงเดือนภาษีธันวาคม 2537 และเดือนภาษีมกราคมถึงเดือนภาษีกรกฎาคม 2538 แม้จะเกิน 2 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี แต่เมื่ออนุมัติภายใน 5 ปี และโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มในวันที่ 1 มิถุนายน 2542 การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 88/6 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม: เงินจองรถยนต์เป็นส่วนหนึ่งของฐานภาษี และข้อยกเว้นการอนุมัติประเมินเกิน 2 ปี
โจทก์ซื้อรถยนต์จากผู้จำหน่ายรถยนต์มาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง ในราคาที่หักเงินจองที่ผู้เช่าซื้อจ่ายให้แก่ผู้จำหน่ายรถยนต์แล้วโจทก์ขายให้แก่ผู้เช่าซื้อ โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์โดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนในส่วนนี้ ถือได้ว่าโจทก์ได้รับประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินตามมูลค่าเงินจอง เงินจองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของราคารถยนต์จึงเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าของฐานภาษีตามสัญญาให้เช่าซื้อระหว่างโจทก์กับผู้เช่าซื้อด้วย
เจ้าพนักงานประเมินได้รับอนุมัติจากอธิบดีฯ แม้จะเกิน 2 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี แต่เมื่ออนุมัติภายใน 5 ปี เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมิน
เจ้าพนักงานประเมินได้รับอนุมัติจากอธิบดีฯ แม้จะเกิน 2 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี แต่เมื่ออนุมัติภายใน 5 ปี เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องแจ้งประเมินภายใน 5 ปี นับจากวันยื่นแบบพิมพ์ หากเกินกำหนด การประเมินเป็นโมฆะ
จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินก่อนปี 2548 ที่พบเป็นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีใด และมิใช่ปี 2540 ถึง 2544 ที่พิพาทหรือไม่ คำให้การของจำเลยจึงไม่แสดงโดยชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือบางส่วนเป็นคำให้การที่ไม่ชอบ ถือได้ว่าจำเลยยอมรับข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับห้องชุดพิพาทประจำปีภาษี 2540 ถึง 2544 ต่อจำเลยตามกำหนดเวลาของกฎหมายแล้ว คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉันว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีพิพาทต่อจำเลยภายในกำหนดหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะอุทธรณ์ตามกฎหมายอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีพิพาทภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 19 แล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องประเมินค่ารายปีและค่าภาษีแจ้งไปยังโจทก์ภายใน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ ไม่ว่าการประเมินนั้นจะเป็นเพราะโจทก์แจ้งค่ารายปีไม่ถูกต้อง หรือมีทรัพย์สินบางรายการต้องนำมาคำนวณเพิ่มเติมหรือเพราะโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ถูกต้อง แต่จำเลยยังมิได้ดำเนินการประเมินก็ตาม แม้สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรจะมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 แต่การที่จำเลยจะใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจากโจทก์ในกรณีนี้ได้ กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์ก่อน เมื่อจำเลยแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์เกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีภาษีพิพาทที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ เป็นการประเมินเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาตามมาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (2) เป็นผลให้การประเมินและคำชี้ขาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีพิพาทภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 19 แล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องประเมินค่ารายปีและค่าภาษีแจ้งไปยังโจทก์ภายใน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ ไม่ว่าการประเมินนั้นจะเป็นเพราะโจทก์แจ้งค่ารายปีไม่ถูกต้อง หรือมีทรัพย์สินบางรายการต้องนำมาคำนวณเพิ่มเติมหรือเพราะโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ถูกต้อง แต่จำเลยยังมิได้ดำเนินการประเมินก็ตาม แม้สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรจะมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 แต่การที่จำเลยจะใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจากโจทก์ในกรณีนี้ได้ กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์ก่อน เมื่อจำเลยแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์เกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีภาษีพิพาทที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ เป็นการประเมินเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาตามมาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (2) เป็นผลให้การประเมินและคำชี้ขาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย