คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไมตรี ศรีอรุณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5572/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้โดยไม่สุจริต ทำให้เจ้าหนี้เดิมเสียเปรียบ และมีสิทธิเพิกถอนการโอนได้
แม้สิทธิการเป็นเจ้าหนี้ของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจะเป็นเพียงบุคคลสิทธิ แต่การที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 5 เพื่อตีใช้หนี้ค่าวัสดุก่อสร้างให้จำเลยที่ 5 ไปโดยจำเลยที่ 5 รู้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้โจทก์และรับชำระราคาบางส่วนจากโจทก์แล้วนั้น เป็นการทำนิติกรรมที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 โจทก์จึงมีสิทธิขอเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้การโอนที่ดินพิพาทจะได้มีการจดทะเบียนแล้ว แต่เมื่อจำเลยที่ 5 รับโอนไว้โดยไม่สุจริต จำเลยที่ 5 ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติมาตรา 1300 ซึ่งบัญญัติห้ามมิให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์เฉพาะกรณีผู้รับโอนเสียค่าตอบแทนและรับโอนมาโดยสุจริต เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5526/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช็ค: ผู้ทรงเช็คพิพาทตามกฎหมายคือใคร? กรณีบริษัทฟ้องแทนกรรมการ
ผู้ใดจะเป็นผู้ทรงเช็คตามกฎหมายย่อมต้องถือตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 ซึ่งหมายถึงบุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครองโดยฐานะเป็นผู้รับเงินหรือเป็นผู้รับสลักหลังถ้าและเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ผู้ถือก็นับว่าเป็นผู้ทรงเช่นกัน ดังนั้น ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏขณะที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่าย ผู้ทรงเช็คพิพาทในขณะนั้นคือ พ. น. และ จ. หาใช่โจทก์ร่วมซึ่งมีฐานะเป็นบุคคลต่างหากจากบุคคลทั้งสามไม่ แม้บุคคคลทั้งสามจะมีความสัมพันธ์ในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ร่วมในการรับเช็คพิพาทมาดังที่โจทก์ร่วมกล่าวอ้างก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลทำให้โจทก์ร่วมมีฐานะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตามกฎหมายแต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่าขณะที่ธนาคารตามเช็คพิพาทปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาท โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ย่อมไม่มีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5489/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีอาญาและการหักลบเวลาเดินทางตามกฎหมาย
คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา แม้โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 เวลา 13.55 น. ซึ่งนับแต่เวลาจับกุมวันที่ 26 พฤษภาคม 2551 เวลา 13.10 น. โจทก์ยื่นฟ้องคดีต่อศาลเป็นระยะเวลา 48 ชั่วโมง 45 นาที ก็ตาม แต่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 7 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เมื่อมีการจับตัวผู้ต้องหาแล้ว ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแขวงให้ทันภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ แต่มิให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ต้องหาจากที่จับมายังที่ทำการของพนักงานสอบสวน จากที่ทำการของพนักงานสอบสวนและหรือจากที่ทำการของพนักงานอัยการมาศาลเข้าในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนั้นด้วย เมื่อข้อเท็จจริงตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาปรากฏว่า หลังจากจำเลยถูกจับกุมเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2551 เวลา 13.30 นาฬิกา แล้ว ในวันเดียวกันเวลา 15.40 นาฬิกา จำเลยจึงถูกควบคุมตัว แสดงว่าเจ้าพนักงานตำรวจใช้เวลาในการนำตัวผู้ต้องหาเดินทางมายังที่ทำการของพนักงานสอบสวนเป็นเวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที ประกอบกับยังมีระยะเวลาที่ต้องใช้ในการนำตัวจำเลยพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนจากที่ทำการของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลคลองสานมายังที่ทำการของพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และจากที่ทำการของพนักงานอัยการมาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอีกด้วย เมื่อรวมระยะเวลาที่ใช้ไปในการนำตัวผู้ต้องหาเดินทางไปยังสถานที่ดังกล่าวทั้งหมดแล้วเชื่อว่าต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง เมื่อกฎหมายมิให้นับเวลาเดินทางตามปกติดังกล่าวเข้าในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ เห็นได้ว่าโจทก์ยื่นฟ้องคดีภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงตามกฎหมาย การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ประทับฟ้องด้วยเหตุดังกล่าวจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5421/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำสั่งอายัดทางไปรษณีย์ต้องพิสูจน์อายุและสถานะของผู้รับแทนตามกฎหมาย
การส่งคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 278/1 และมาตรา 76 เจ้าพนักงานบังคับคดีแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าได้ส่งคำสั่งอายัดให้แก่ผู้ร้องโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับตามที่อยู่ในหนังสือรับรอง มีผู้รับแทนตามเอกสารท้ายหนังสือของเจ้าพนักงานบังคับคดีฉบับลงวันที่ 14 มีนาคม 2549 โดยไม่ปรากฏรายละเอียดว่าบุคคลผู้รับแทนนั้นมีอายุเกิน 20 ปี ซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือสำนักทำการงานของผู้ร้องหรือไม่ ข้อเท็จจริงย่อมไม่เป็นการเพียงพอที่จะฟังว่าได้มีการส่งคำสั่งอายัดให้แก่ผู้ร้องถูกต้องตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5222/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีอาญาและการบังคับใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในศาลทรัพย์สินทางปัญญา
ความผิดอาญาที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จึงต้องนำวิธีพิจารณาความอาญา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาใช้บังคับแก่คดี ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มาตรา 26
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 7 วรรคหนึ่ง ให้โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ แต่มิให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ต้องหาจากที่จับมายังที่ทำการของพนักงานสอบสวน จากที่ทำการของพนักงานสอบสวนและหรือจากที่ทำการของพนักงานอัยการมาศาลเข้าในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5222/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีอาญาในศาลแขวง และการนับเวลาเดินทางของผู้ต้องหา
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ แต่มิได้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ต้องหาจากที่จับมายังที่ทำการของพนักงานสอบสวน จากที่ทำการของพนักงานสอบสวนและหรือจากที่ทำการของพนักงานอัยการมาศาลเข้าในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนั้นด้วยตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจา ระบุวัน เดือน ปี และเวลาจับเป็นวันที่ 26 พฤษภาคม 2551 เวลา 13 นาฬิกา วัน เดือน ปี และเวลาควบคุมเป็นวันเดียวกัน เวลา 14.40 นาฬิกา จึงต้องถือว่าวันที่ 26 พฤษภาคม 2551 เวลา 14.40 นาฬิกา เป็นเวลาที่นำตัวจำเลยจากที่จับมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน ซึ่งยังมิได้นับเวลาที่นำตัวจำเลยจากที่ทำการของพนักงานสอบสวนและหรือจากที่ทำการของพนักงานอัยการมาศาลเข้ารวมในกำหนดเวลาด้วย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 เวลา 13.55 นาฬิกา จึงเห็นได้ชัดว่าขณะโจทก์ยื่นฟ้องยังอยู่ภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาจับกุมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณหนี้ที่ถูกต้องและชัดเจนเป็นสาระสำคัญในการฟ้องคดี หากโจทก์ไม่สามารถแสดงรายละเอียดการหักชำระหนี้ได้อย่างชัดเจน ศาลอาจยกฟ้องได้
พยานโจทก์เบิกความอ้างถึงการกู้ยืมเงินของจำเลยตามฟ้องเพียงฉบับเดียว ทั้งยืนยันว่าจำเลยผ่อนชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน เดือนละ 4,375 บาท รวม 30 เดือน หลังจากนั้นจำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์อีก เมื่อถึงวันฟ้องจำเลยค้างชำระดอกเบี้ยเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี แต่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยเพียง 5 ปี เป็นเงิน 262,500 บาท รวมทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยที่จำเลยต้องชำระจำนวน 612,500 บาท ส่วนหนี้เงินกู้ยืมตามสัญญารายอื่น ๆ เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดจากการที่พยานโจทก์ดังกล่าวตอบคำถามติงของทนายโจทก์ โดยโจทก์มิได้นำสืบว่าเป็นการชำระหนี้รายอื่นอย่างไร มากน้อยเพียงใด อันจะเป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์คำนวณยอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระมาถูกต้องแล้ว แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะมีการคิดคำนวณยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระเป็นรายเดือนและยอดหนี้ที่ค้างชำระไว้ชัดเจน แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความชัดเจนว่า เมื่อจำเลยผ่อนชำระหนี้คืนโจทก์เป็นงวด ๆ โจทก์นำเงินดังกล่าวไปหักชำระหนี้ที่ค้างอย่างไร คงเหลือที่ค้างชำระเท่าใดและเป็นการหักชำระหนี้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ ถือว่า โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระต่อโจทก์เป็นจำนวนที่แน่นอนไม่ได้ ดังนี้ศาลจึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยให้โจทก์นำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณหนี้ค้างชำระและหักชำระหนี้ตามกฎหมายแพ่ง จำเป็นต้องแสดงรายละเอียดการชำระหนี้ที่ชัดเจน
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์โดยให้ตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยและให้ชำระดอกเบี้ยเดือนละครั้ง จำเลยไม่ผ่อนชำระให้แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์อีกและได้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมทั้งสองฉบับสัญญาครั้งละครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้จำเลยยังเป็นหนี้เงินกู้ยืมตามสัญญาฉบับอื่นๆ อีกหลายฉบับ โดยโจทก์มิได้แสดงให้เห็นว่าโจทก์คำนวณยอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระมาถูกต้องแล้ว เมื่อโจทก์มิได้แสดงให้เห็นว่าโจทก์คำนวณยอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระมาถูกต้องแล้ว เมื่อจำเลยเป็นหนี้อยู่หลายจำนวนรวมกันและชำระหนี้รวมกันแต่ละเดือนก็ไม่มีบทกฎหมายใดสนับสนุนว่าห้ามมิให้นำ ป.พ.พ. มาตรา 329 ที่ให้นำเงินที่จำเลยชำระไปหักใช้ดอกเบี้ยก่อนส่วนที่เหลือจึงนำไปชำระหนี้ต้นเงินซึ่งเป็นหนี้ประธานมาใช้บังคับ
แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะมีการคิดคำนวณยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระเป็นรายเดือน และยอดหนี้ที่ค้างชำระไว้ชัดเจน แต่ไม่ได้ความว่า เมื่อจำเลยผ่อนชำระหนี้คืนโจทก์เป็นงวดๆ โจทก์นำเงินดังกล่าวไปหักชำระหนี้ที่ค้างอย่างไร คงเหลือที่ค้างชำระเท่าใดและเป็นการหักชำระหนี้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่จึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ได้เพราะไม่มีจำนวนหนี้ค้างชำระที่แน่นอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณหนี้ค้างชำระที่ไม่ชัดเจน ทำให้ศาลไม่สามารถพิพากษาให้รับผิดได้
คำฟ้องของโจทก์มีการคิดคำนวณยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระเป็นรายเดือนและยอดหนี้ที่ค้างชำระไว้ชัดเจน แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความชัดเจนว่า เมื่อจำเลยผ่อนชำระหนี้คืนโจทก์เป็นงวด ๆ โจทก์นำเงินดังกล่าวไปหักชำระหนี้ที่ค้างอย่างไร คงเหลือที่ค้างชำระเท่าใดและเป็นการหักชำระหนี้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ ถือว่าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระต่อโจทก์เป็นจำนวนที่แน่นอนไม่ได้ กรณีเช่นนี้จึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ได้เพราะไม่มีจำนวนหนี้ค้างชำระที่แน่นอน ศาลจึงพิพากษายกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมายื่นฟ้องใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4772/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุฎีกาไม่ชัดแจ้ง ไม่โต้แย้งประเด็นอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เพราะไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าการขาดนัดพิจารณาของจำเลยที่ 1 มิได้เป็นไปโดยจงใจ และโจทก์นำดอกเบี้ยหรือเบี้ยปรับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายรวมเข้ากับต้นเงินเป็นทุนทรัพย์ในคำฟ้อง จึงตกเป็นโมฆะ ฎีกาของจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ถือไม่ได้ว่าเป็นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
of 27