พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1690/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคุ้มครองลิขสิทธิ์เป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ การบรรยายฟ้องต้องระบุระยะเวลาการคุ้มครอง
องค์ประกอบความผิดในส่วนการกระทำตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (1) (2) คือ การทำซ้ำหรือดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ และองค์ประกอบความผิดในส่วนการกระทำตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) คือ การขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย งานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น และองค์ประกอบทั้งสองมาตราในส่วนของงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นนั้น ต้องเป็นงานสร้างสรรค์ที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครอง โดยได้มาตามเงื่อนไขของกฎหมายและต้องอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ด้วย เพราะลิขสิทธิ์เป็นสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองภายในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น หลังจากพ้นกำหนดอายุการคุ้มครองแล้ว งานลิขสิทธิ์จะตกเป็นงานที่สาธารณชนสามารถใช้ประโยชน์จากงานนั้นได้โดยไม่เป็นความผิด ดังนี้ องค์ประกอบความผิดที่ว่า งานอันมีลิขสิทธิ์ต้องอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามกฎหมายนั้นจึงเป็นสาระสำคัญ การที่จะรู้ว่างานอันมีลิขสิทธิ์ใดยังอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์หรือไม่ ก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 หากผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดาก็จะมีอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตลอดอายุผู้สร้างสรรค์และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปี หากผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคลก็จะมีอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้น แต่ถ้ามีการโฆษณางานในระยะเวลาดังกล่าว อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาครั้งแรก เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลได้ลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานดังกล่าวเมื่อใด หรือมีการโฆษณางานหรือไม่ หากมีการโฆษณางาน โจทก์ได้มีการโฆษณางานครั้งแรกเมื่อใด จึงไม่มีข้อเท็จจริงในส่วนที่แสดงให้เห็นว่าลิขสิทธิ์ดังกล่าวอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์หรือไม่ จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19480/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: หลักเกณฑ์ลักษณะบ่งเฉพาะ และอำนาจศาลในการพิจารณา
การพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ถือเป็นการตรวจสอบบรรดาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยภาครัฐเพื่อการควบคุมและกำกับดูแลว่าเครื่องหมายการค้าที่ยื่นขอจดทะเบียนดังกล่าวเป็นเครื่องหมายอันพึงรับจดทะเบียนได้หรือไม่ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 ถึง 8 ทั้งนี้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนผู้บริโภคมิให้เกิดความสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า และรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีอำนาจตรวจสอบความถูกต้องชอบด้วยกฎหมายของเครื่องหมายการค้าที่ยื่นขอจดทะเบียนในชั้นต้นว่าเป็นเครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้หรือไม่ และอาจมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 ถึง 17 เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งใด ๆ ตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวแล้ว ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ตามมาตรา 18 อันเป็นการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำขอจดทะเบียนในชั้นที่สูงขึ้น ซึ่งในบทบัญญัติตามมาตรา 96 (1) ให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีอำนาจและหน้าที่วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมาตรา 101 วรรคสอง ได้บัญญัติถึงวิธีพิจารณาอุทธรณ์และคำร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ากำหนด และตามระเบียบคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าว่าด้วยวิธีพิจารณาอุทธรณ์และคำร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียน พ.ศ.2545 ข้อ 18 กำหนดให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีอำนาจพิจารณาทบทวนคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายและจะพิจารณาวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอื่นนอกจากที่ปรากฏในคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็ได้ เห็นได้ว่าบทบัญญัติของกฎหมายประสงค์ให้อำนาจแก่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าในการวินิจฉัยเกี่ยวกับความถูกต้องชอบด้วยกฎหมายของเครื่องหมายการค้าที่ยื่นขอจดทะเบียนนั้นว่าเป็นเครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนตามกฎหมายได้หรือไม่ เช่นเดียวกันกับการวินิจฉัยในชั้นของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า มิได้ถูกจำกัดให้ต้องพิจารณาเฉพาะประเด็นที่มีการยกขึ้นโต้แย้งคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าแต่เพียงอย่างเดียว เพราะมิฉะนั้นแล้วจะทำให้กลไกในการตรวจสอบในชั้นคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่มีประสิทธิภาพและต้องถูกจำกัดโดยคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือผู้ยื่นคำขอซึ่งไม่น่าจะใช่เจตนารมณ์ของกฎหมาย ดังนี้ เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าพิจารณาแล้วเห็นว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นคำที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง จึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ย่อมมีอำนาจให้ระงับการจดทะเบียนได้
เครื่องหมายการค้าคำว่า CLAIROL HERBAL ESSENCES เป็นการใช้กลุ่มของคำในอักษรโรมันอย่างเดียวกับที่ปรากฏในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในลักษณะประดิษฐ์ที่ได้รับการจดทะเบียนไว้แล้ว ผลิตภัณฑ์ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า CLAIROL HERBAL ESSENCES ได้มีการจำหน่ายในหลายประเทศทั่วโลก มียอดขายปีละหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับในประเทศไทยมีวางจำหน่ายในร้านค้าทั่วไปทั้งร้านขนาดย่อมและขนาดใหญ่รวมถึงซุปเปอร์มาร์เก็ต ทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักกว้างขวางและทำให้เข้าถึงผู้บริโภคง่าย โจทก์ได้ทำการโฆษณาผลิตภัณฑ์ CLAIROL HERBAL ESSENCES อย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 10 ปี ผ่านสื่อต่าง ๆ หลายรูปแบบ ทำให้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศไทยและต่างประเทศ นอกจากนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่า CLAIROL HERBAL ESSENCES ในลักษณะประดิษฐ์ ที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้วยังได้รับการจดแจ้งให้เป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปตามมาตรา 8 (10) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ในส่วนแชมพู CLAIROL HERBAL ESSENCES ครองตลาดแชมพูเพื่อความสวยงามในอันดับที่ 7 มียอดขายปีละประมาณ 300,000,000 บาท เครื่องหมายการค้าคำว่า CLAIROL HERBAL ESSENCES ของโจทก์จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้าที่มีการจำหน่าย เผยแพร่ และโฆษณาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานพอสมควรจนทำให้สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักและเข้าใจว่าสินค้าของโจทก์แตกต่างไปจากสินค้าของบุคคลอื่น อันถือได้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้อันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 7 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 โดยโจทก์ไม่ต้องแสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้คำว่า HERBAL ESSENCES
เครื่องหมายการค้าคำว่า CLAIROL HERBAL ESSENCES เป็นการใช้กลุ่มของคำในอักษรโรมันอย่างเดียวกับที่ปรากฏในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในลักษณะประดิษฐ์ที่ได้รับการจดทะเบียนไว้แล้ว ผลิตภัณฑ์ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า CLAIROL HERBAL ESSENCES ได้มีการจำหน่ายในหลายประเทศทั่วโลก มียอดขายปีละหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับในประเทศไทยมีวางจำหน่ายในร้านค้าทั่วไปทั้งร้านขนาดย่อมและขนาดใหญ่รวมถึงซุปเปอร์มาร์เก็ต ทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักกว้างขวางและทำให้เข้าถึงผู้บริโภคง่าย โจทก์ได้ทำการโฆษณาผลิตภัณฑ์ CLAIROL HERBAL ESSENCES อย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 10 ปี ผ่านสื่อต่าง ๆ หลายรูปแบบ ทำให้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศไทยและต่างประเทศ นอกจากนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่า CLAIROL HERBAL ESSENCES ในลักษณะประดิษฐ์ ที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้วยังได้รับการจดแจ้งให้เป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปตามมาตรา 8 (10) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ในส่วนแชมพู CLAIROL HERBAL ESSENCES ครองตลาดแชมพูเพื่อความสวยงามในอันดับที่ 7 มียอดขายปีละประมาณ 300,000,000 บาท เครื่องหมายการค้าคำว่า CLAIROL HERBAL ESSENCES ของโจทก์จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้าที่มีการจำหน่าย เผยแพร่ และโฆษณาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานพอสมควรจนทำให้สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักและเข้าใจว่าสินค้าของโจทก์แตกต่างไปจากสินค้าของบุคคลอื่น อันถือได้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้อันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 7 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 โดยโจทก์ไม่ต้องแสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้คำว่า HERBAL ESSENCES
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18297-18298/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนสิทธิบัตร: ผู้มีส่วนได้เสียต้องใช้สิทธิขอตรวจสอบก่อนฟ้อง และต้องแสดงให้เห็นถึงการถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรง
กระบวนการใช้สิทธิขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรเป็นกระบวนการทางเลือก หากบุคคลผู้มีส่วนได้เสียเลือกที่จะใช้สิทธิยื่นขอให้มีการตรวจสอบความสมบูรณ์ของอนุสิทธิบัตรตามมาตรา 65 ฉ แล้ว ย่อมต้องผูกพันในกระบวนการที่ตนเลือกใช้สิทธิและไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องศาลจนกว่ากระบวนการดังกล่าวจะสิ้นสุดและนำคดีขึ้นสู่ศาลตามมาตรา 72 และ 74 และไม่อาจนำเรื่องเดียวกันมาฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรดังกล่าวได้อีก เพราะหากนำคดีเรื่องเดียวกันมาฟ้องร้องได้อีกก็จะมีผลเท่ากับเป็นการอนุญาตให้มีการพิสูจน์สิทธิในเรื่องเดียวกันซ้ำซ้อน
โจทก์ที่ 1 ยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ของจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 2 ก็ยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์โจทก์ที่ 1 แสดงว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 2 อาจเป็นการประดิษฐ์ที่มีข้อถือสิทธิและรูปลักษณะของสิ่งประดิษฐ์ที่เหมือนกันหรือคล้ายกันที่อาจทำให้แต่ละฝ่ายเสื่อมเสียสิทธิในการแสวงหาประโยชน์อันเนื่องมาจากอีกบุคคลหนึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรโดยตรง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ที่มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 65 ทวิ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 ฉ โจทก์ที่ 1 จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ได้ โจทก์ที่ 1 ต้องรอให้กระบวนการตรวจสอบพิสูจน์การประดิษฐ์ที่ได้รับอนุสิทธิบัตรว่ามีลักษณะตามที่กำหนดไว้ตามมาตรา 65 ทวิ หรือไม่ ตามที่โจทก์ที่ 1 ใช้สิทธิเลือกให้เสร็จสิ้นก่อน แล้วจึงจะนำคดีฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้พิจารณาคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของคณะกรรมการสิทธิบัตรตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 72 และ 74 เมื่อปรากฏว่าในขณะยื่นฟ้องยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบของจำเลยที่ 1 เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 แจ้งผลการตรวจสอบของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาให้โจทก์ที่ 1 ทราบ และโจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาต่อคณะกรรมการสิทธิบัตร คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่ 1 ที่จะนำคดีมาฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ได้อีก โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 2 บรรยายฟ้องโดยไม่ปรากฏรายละเอียดพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ทำให้โจทก์ที่ 2 ต้องเสื่อมเสียสิทธิในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์ที่โจทก์ที่ 2 มีอยู่โดยตรง และเป็นการโต้แย้งสิทธิในการใช้ประโยชน์จากการประดิษฐ์ที่โจทก์ที่ 2 อ้างในคำฟ้อง หากจะฟังว่าคำฟ้องของโจทก์ที่ 2 เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรก็ย่อมไม่เพียงพอที่จะถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 แม้โจทก์ที่ 2 จะอ้างความไม่สมบูรณ์ของอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 เนื่องจากขาดความใหม่ตามมาตรา 65 ทวิ และกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ร้องทุกข์กล่าวหาว่าโจทก์ที่ 2 ละเมิดอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์ที่ 2 ถูกยึดและขัดขวางการจำหน่าย ผลิตซึ่งเครื่องเติมน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องเติมน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลยที่ 2 มาด้วยก็ตาม หากเป็นจริงก็เป็นเพียงทำให้โจทก์ที่ 2 อยู่ในฐานะบุคคลใด ๆ ที่จะกล่าวอ้างความไม่สมบูรณ์ขึ้นอ้างในกรณีที่จะถูกบังคับใช้สิทธิจากผู้ทรงสิทธิในอนุสิทธิบัตรดังกล่าวเท่านั้น ไม่ถึงขนาดที่จะทำให้มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรได้ คำฟ้องของโจทก์ที่ 2 ไม่ใช่คำฟ้องของบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่ได้ใช้สิทธิยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 65 นว วรรคสอง แต่เป็นการที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสำคัญ โดยอ้างเหตุการจดทะเบียนและออกอนุสิทธิบัตรให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ชอบ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้ยื่นคำขอให้มีการตรวจสอบการประดิษฐ์ที่ได้รับอนุสิทธิบัตรตามมาตรา 65 ฉ คำวินิจฉัยดังกล่าวย่อมไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 2 ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเช่นกัน
โจทก์ที่ 1 ยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ของจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 2 ก็ยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์โจทก์ที่ 1 แสดงว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 2 อาจเป็นการประดิษฐ์ที่มีข้อถือสิทธิและรูปลักษณะของสิ่งประดิษฐ์ที่เหมือนกันหรือคล้ายกันที่อาจทำให้แต่ละฝ่ายเสื่อมเสียสิทธิในการแสวงหาประโยชน์อันเนื่องมาจากอีกบุคคลหนึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรโดยตรง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ที่มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 65 ทวิ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 ฉ โจทก์ที่ 1 จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ได้ โจทก์ที่ 1 ต้องรอให้กระบวนการตรวจสอบพิสูจน์การประดิษฐ์ที่ได้รับอนุสิทธิบัตรว่ามีลักษณะตามที่กำหนดไว้ตามมาตรา 65 ทวิ หรือไม่ ตามที่โจทก์ที่ 1 ใช้สิทธิเลือกให้เสร็จสิ้นก่อน แล้วจึงจะนำคดีฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้พิจารณาคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของคณะกรรมการสิทธิบัตรตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 72 และ 74 เมื่อปรากฏว่าในขณะยื่นฟ้องยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบของจำเลยที่ 1 เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 แจ้งผลการตรวจสอบของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาให้โจทก์ที่ 1 ทราบ และโจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาต่อคณะกรรมการสิทธิบัตร คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่ 1 ที่จะนำคดีมาฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ได้อีก โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 2 บรรยายฟ้องโดยไม่ปรากฏรายละเอียดพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ทำให้โจทก์ที่ 2 ต้องเสื่อมเสียสิทธิในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์ที่โจทก์ที่ 2 มีอยู่โดยตรง และเป็นการโต้แย้งสิทธิในการใช้ประโยชน์จากการประดิษฐ์ที่โจทก์ที่ 2 อ้างในคำฟ้อง หากจะฟังว่าคำฟ้องของโจทก์ที่ 2 เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรก็ย่อมไม่เพียงพอที่จะถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 แม้โจทก์ที่ 2 จะอ้างความไม่สมบูรณ์ของอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 เนื่องจากขาดความใหม่ตามมาตรา 65 ทวิ และกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ร้องทุกข์กล่าวหาว่าโจทก์ที่ 2 ละเมิดอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์ที่ 2 ถูกยึดและขัดขวางการจำหน่าย ผลิตซึ่งเครื่องเติมน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องเติมน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลยที่ 2 มาด้วยก็ตาม หากเป็นจริงก็เป็นเพียงทำให้โจทก์ที่ 2 อยู่ในฐานะบุคคลใด ๆ ที่จะกล่าวอ้างความไม่สมบูรณ์ขึ้นอ้างในกรณีที่จะถูกบังคับใช้สิทธิจากผู้ทรงสิทธิในอนุสิทธิบัตรดังกล่าวเท่านั้น ไม่ถึงขนาดที่จะทำให้มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรได้ คำฟ้องของโจทก์ที่ 2 ไม่ใช่คำฟ้องของบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่ได้ใช้สิทธิยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 65 นว วรรคสอง แต่เป็นการที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสำคัญ โดยอ้างเหตุการจดทะเบียนและออกอนุสิทธิบัตรให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ชอบ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้ยื่นคำขอให้มีการตรวจสอบการประดิษฐ์ที่ได้รับอนุสิทธิบัตรตามมาตรา 65 ฉ คำวินิจฉัยดังกล่าวย่อมไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 2 ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15083/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการต่างประเทศ ต้องรับผิดตามสัญญา แม้ไม่ใช่ผู้ขนส่งเอง
จำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ที่เข้าทำสัญญาขนส่งกับโจทก์แทนจำเลยที่ 2 ตัวการ ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์แต่ลำพังตนเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 ที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้ตัวแทนต้องรับผิดตามสัญญา แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ใช่ผู้ขนส่งอื่น โดยทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเลตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 3 ก็ตาม ก็หาได้เป็นข้อยกเว้นความรับผิดของตัวแทนที่ทำสัญญาแทนตัวการซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศตามบทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 824 ไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ด้วย
โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 อย่างลูกหนี้ร่วม จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้อง ทั้งที่โจทก์ชนะคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงไม่ถูกต้อง ให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกินให้โจทก์
โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 อย่างลูกหนี้ร่วม จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้อง ทั้งที่โจทก์ชนะคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงไม่ถูกต้อง ให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกินให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15081/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบตาม พ.ร.บ.ขนส่งต่อเนื่องฯ
สำเนาใบตราส่งระบุข้อความตอนบนว่า ใบตราส่งสำหรับการขนส่งในมหาสมุทรหรือขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (BILL OF LADING FOR OCEAN TRANSPORT OR MULTIMODAL TRANSPORT) จำเลยที่ 4 และที่ 5 ขนส่งสินค้าจากสถานีตรวจปล่อยสินค้าลาดกระบังทางรถยนต์ไปยังท่าเรือแหลมฉบัง และขนส่งสินค้าจากท่าเรือดังกล่าวไปยังท่าเรืออะปาปา ประเทศไนจีเรีย ซึ่งตามใบจองระวางเรือระบุให้ขนส่งสินค้าจากลาดกระบังไปท่าเรือแหลมฉบัง และจากท่าเรือดังกล่าวไปจนถึงท่าเรือปลายทาง การขนส่งในคดีนี้เป็นการรับขนของโดยมีรูปแบบการขนส่งทางบกกับการขนส่งทางทะเล โดยในส่วนของการขนส่งทางบกนั้นเป็นการขนส่งข้ามจังหวัด มิใช่เพียงการขนส่งกันภายในท่าเรือซึ่งมีระยะทางไม่มาก อันเป็นรูปแบบการขนส่งที่แตกต่างกันสองรูปแบบในสัญญาขนส่งเดียวกันจากสถานที่รับของในประเทศไทยไปยังสถานที่ส่งมอบของในประเทศไนจีเรียเป็นการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ การใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบของผู้เอาประกันภัยต่อจำเลยจึงมีอายุความ 9 เดือน นับแต่วันที่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้ส่งมอบของหรือควรจะส่งมอบของตามมาตรา 38 วรรคหนึ่ง ข้อเท็จจริงปรากฏจากรายงานสำรวจความเสียหายว่า สินค้าถูกขนส่งถึงปลายทางที่ท่าเรืออะปาปาเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2551 และมีการเรียกร้องความเสียหายแก่ผู้ขนส่งเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 จึงฟังได้ว่า ผู้ประกอบการขนส่งน่าจะส่งมอบของในช่วงเวลาดังกล่าวแล้ว และเมื่อนับถึงวันฟ้องคดีนี้ในวันที่ 12 มกราคม 2552 ย่อมเกินกว่า 9 เดือน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ จำเลยที่ 1 ย่อมยกเอาเหตุสิทธิเรียกร้องขาดอายุความขึ้นปฏิเสธการชำระหนี้แก่โจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/10
ที่โจทก์แก้อุทธรณ์ว่า ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนประกอบกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในประเทศไทยจึงไม่สามารถอ้าง พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 ให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองได้นั้น เห็นว่า การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบเป็นเพียงวิธีการควบคุมการประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบให้เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพเท่านั้น หาได้มีผลเปลี่ยนแปลงการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบตามความหมายในบทนิยาม พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 4 ให้เป็นอย่างอื่นแต่อย่างใด
ที่โจทก์แก้อุทธรณ์ว่า ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนประกอบกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในประเทศไทยจึงไม่สามารถอ้าง พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 ให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองได้นั้น เห็นว่า การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบเป็นเพียงวิธีการควบคุมการประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบให้เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพเท่านั้น หาได้มีผลเปลี่ยนแปลงการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบตามความหมายในบทนิยาม พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 4 ให้เป็นอย่างอื่นแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15078/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องขนส่งต่อเนื่อง: ผลกระทบต่อลูกหนี้ร่วมเมื่อมีการยกอายุความโดยจำเลยร่วม
ผู้ขายติดต่อจำเลยที่ 2 ผ่านจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนประกอบกิจการในประเทศไทยของจำเลยที่ 2 ให้ขนส่งสินค้าไปยังเมือง Kotka ประเทศฟินแลนด์ โดยจำเลยที่ 1 ออกและลงชื่อในใบตราส่งฉบับแรกให้ ซึ่งใบตราส่งดังกล่าวระบุไว้ด้านขวาของหัวกระดาษว่า Combined Transport Bill of Lading อันเป็นใบตราส่งที่ใช้กับการขนส่งหลายรูปแบบ ระบุสถานที่รับสินค้าและสถานที่บรรทุกลงเรือคือ กรุงเทพมหานคร สถานที่ขนถ่ายขึ้นจากเรือคือ เมืองโกเทนเบิร์ก ประเทศสวีเดน และสถานที่ส่งมอบสินค้าคือเมือง Kotka ประเทศฟินแลนด์ และได้ความว่าต้องขนส่งด้วยรถบรรทุกจากเมืองโกเทนเบิร์กเพื่อไปยังสถานที่ส่งมอบสินค้าดังกล่าว การขนส่งสินค้าดังกล่าวเป็นการขนส่งทางเรือและทางบกต่อเนื่องกันจนถึงปลายทางอันเป็นการทำสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบตาม พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 7 และมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แล้ว เมื่อสัญญาขนส่งสินค้าระหว่างผู้ขายกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ แม้ใบตราส่งฉบับหลัง จะเป็นใบตราส่งสำหรับการขนส่งสินค้าทางทะเลก็เป็นเรื่องนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่มีผลกระทบถึงสัญญาขนส่งสินค้าระหว่างผู้ขายกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่อย่างใด
การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบเป็นเพียงวิธีการควบคุมการประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบให้เป็นไป โดยมีประสิทธิภาพเท่านั้น การที่ไม่พบชื่อจำเลยทั้งสี่เป็นผู้ขึ้นทะเบียนไว้ หาได้มีผลตามกฎหมายที่จะต้องถือว่าจำเลยทั้งสี่เป็นผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลดังที่โจทก์อุทธรณ์แต่อย่างใด คดีนี้จึงมีอายุความฟ้องร้อง 9 เดือน นับแต่วันที่ได้ส่งมอบของหรือควรจะส่งมอบของตามนัย พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 38 วรรคแรก ประกอบมาตรา 37
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ใช้บริการของจำเลยที่ 3 เป็นผู้ปฏิบัติตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำกับผู้ขาย และความเสียหายของสินค้าพิพาทเกิดจากการวางสินค้าไว้ในที่เปิดโล่งขณะที่เกิดฝนตกหนักในระหว่างการขนส่งช่วงใดช่วงหนึ่งก่อนที่ผู้ขนส่งทางบกได้รับมอบสินค้าบรรทุกขึ้นรถที่เมืองโกเทนเบิร์ก เมื่อมีเพียงจำเลยที่ 3 เท่านั้นที่เป็นผู้ขนส่งในช่วงทางเรือจากกรุงเทพมหานครไปยังเมืองโกเทนเบิร์ก จึงฟังได้ว่าสินค้าพิพาทเสียหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 อย่างลูกหนี้ร่วมต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมการที่จำเลยที่ 3 ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความ 9 เดือน ตาม พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 38 วรรคแรก ขึ้นต่อสู้ในคำให้การจะมีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ร่วมคนอื่นด้วยหรือไม่นั้น เห็นว่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/29 ฝ่ายลูกหนี้จะต้องยกเรื่องอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้เมื่อถูกฝ่ายเจ้าหนี้ดำเนินคดีฟ้องร้องให้ชำระหนี้ ศาลจึงจะยกฟ้องในเหตุนี้ได้ แต่การยกอายุความขึ้นต่อสู้ของลูกหนี้นั้น แม้ตามปกติลูกหนี้ผู้นั้นซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีจะต้องยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ด้วยตนเองจึงจะถือว่ามีผลตามบทกฎหมายดังกล่าว แต่ในการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล เมื่อลูกหนี้หลายคนถูกฟ้องร้องให้รับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในลักษณะที่ลูกหนี้หลายคนเป็นลูกหนี้ร่วมและเป็นจำเลยร่วมกันนั้น ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) บัญญัติว่าในกรณีที่ลูกหนี้ร่วมหลายคนซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมให้ชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้จะมีผลเท่ากับว่าลูกหนี้ร่วมคนอื่นยกอายุความขึ้นต่อสู้ด้วย และเป็นกรณีที่ถือได้ว่าลูกหนี้ร่วมคนอื่นยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/29 ดังกล่าวข้างต้นแล้ว การที่จำเลยที่ 3 ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงมีผลเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมยกอายุความขึ้นต่อสู้ด้วย แม้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะขาดนัดยื่นคำให้การก็ตาม
การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบเป็นเพียงวิธีการควบคุมการประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบให้เป็นไป โดยมีประสิทธิภาพเท่านั้น การที่ไม่พบชื่อจำเลยทั้งสี่เป็นผู้ขึ้นทะเบียนไว้ หาได้มีผลตามกฎหมายที่จะต้องถือว่าจำเลยทั้งสี่เป็นผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลดังที่โจทก์อุทธรณ์แต่อย่างใด คดีนี้จึงมีอายุความฟ้องร้อง 9 เดือน นับแต่วันที่ได้ส่งมอบของหรือควรจะส่งมอบของตามนัย พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 38 วรรคแรก ประกอบมาตรา 37
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ใช้บริการของจำเลยที่ 3 เป็นผู้ปฏิบัติตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำกับผู้ขาย และความเสียหายของสินค้าพิพาทเกิดจากการวางสินค้าไว้ในที่เปิดโล่งขณะที่เกิดฝนตกหนักในระหว่างการขนส่งช่วงใดช่วงหนึ่งก่อนที่ผู้ขนส่งทางบกได้รับมอบสินค้าบรรทุกขึ้นรถที่เมืองโกเทนเบิร์ก เมื่อมีเพียงจำเลยที่ 3 เท่านั้นที่เป็นผู้ขนส่งในช่วงทางเรือจากกรุงเทพมหานครไปยังเมืองโกเทนเบิร์ก จึงฟังได้ว่าสินค้าพิพาทเสียหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 อย่างลูกหนี้ร่วมต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมการที่จำเลยที่ 3 ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความ 9 เดือน ตาม พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 38 วรรคแรก ขึ้นต่อสู้ในคำให้การจะมีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ร่วมคนอื่นด้วยหรือไม่นั้น เห็นว่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/29 ฝ่ายลูกหนี้จะต้องยกเรื่องอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้เมื่อถูกฝ่ายเจ้าหนี้ดำเนินคดีฟ้องร้องให้ชำระหนี้ ศาลจึงจะยกฟ้องในเหตุนี้ได้ แต่การยกอายุความขึ้นต่อสู้ของลูกหนี้นั้น แม้ตามปกติลูกหนี้ผู้นั้นซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีจะต้องยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ด้วยตนเองจึงจะถือว่ามีผลตามบทกฎหมายดังกล่าว แต่ในการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล เมื่อลูกหนี้หลายคนถูกฟ้องร้องให้รับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในลักษณะที่ลูกหนี้หลายคนเป็นลูกหนี้ร่วมและเป็นจำเลยร่วมกันนั้น ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) บัญญัติว่าในกรณีที่ลูกหนี้ร่วมหลายคนซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมให้ชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้จะมีผลเท่ากับว่าลูกหนี้ร่วมคนอื่นยกอายุความขึ้นต่อสู้ด้วย และเป็นกรณีที่ถือได้ว่าลูกหนี้ร่วมคนอื่นยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/29 ดังกล่าวข้างต้นแล้ว การที่จำเลยที่ 3 ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงมีผลเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมยกอายุความขึ้นต่อสู้ด้วย แม้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะขาดนัดยื่นคำให้การก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12430/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงให้ชำระหนี้แทนบุคคลภายนอกที่มิได้ตกลงด้วย ไม่ผูกพันทายาทตามพินัยกรรม
ข้อความตามข้อตกลงข้อ 2 เป็นเรื่องนาง ก. ผู้รับสัญญาตกลงกับโจทก์ว่าหากผู้รับสัญญาได้จำหน่ายหรือขายที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่ผู้อื่น ผู้รับสัญญาจะต้องชำระเงิน 3,000,000 บาท แก่โจทก์ทันทีที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ทางทะเบียน ซึ่งหมายถึงเป็นการจำหน่ายหรือขายในขณะที่นาง ก. ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น เพราะหนี้การชำระเงินดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ทางทะเบียน ไม่อาจตีความข้อตกลงดังกล่าวว่า การที่นาง ก. ทำพินัยกรรมยกที่ดินให้บุคคลอื่นเป็นการจำหน่ายหรือขายที่ดินพิพาทด้วย เหตุนี้ ข้อความต่อมาตามข้อตกลงที่ระบุให้ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์นั้นไม่ว่าจะเป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมหรือผู้อื่นก็ตามจะต้องเป็นผู้ชำระเงินแทนนาง ก. เต็มตามจำนวนเงิน 3,000,000 บาท แก่โจทก์นั้น จึงเป็นข้อตกลงแยกต่างหากจากข้อแรก ซึ่งมีความหมายว่าผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ไม่ว่าจะเป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมหรือผู้อื่นก็ตามต้องรับผิดชำระหนี้ 3,000,0000 บาท แก่โจทก์แทนนาง ก. ด้วยอันเป็นข้อตกลงที่จะมีผลบังคับเอาแก่บุคคลภายนอกที่มิใช่คู่สัญญาให้ต้องรับผิดต่อคู่สัญญาทั้ง ๆ ที่บุคคลภายนอกมิได้ตกลงด้วยนั้นย่อมกระทำมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11407/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกคืนเงินที่จ่ายเกินจากเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินให้แก่จำเลยโดยผิดหลง ทำให้จำเลยได้รับเงินเกินไปโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย และทำให้โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้แบ่งให้แก่เจ้าหนี้ และผู้มีส่วนได้เสียเสียเปรียบ โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายจึงมีสิทธิเรียกเอาเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลยเพื่อนำไปจ่ายแก่ผู้มีสิทธิต่อไป เป็นการเรียกเงินอันเนื่องมาจากการที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ตามคำพิพากษาของศาลตามกฎหมายในการรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อเจ้าหนี้และผู้มีส่วนได้เสียได้รับการชดใช้จากลูกหนี้ตามขั้นตอนของการบังคับคดีแพ่ง เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ซึ่งมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10256/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายฝากที่ดิน: ผลของการพิสูจน์ไม่ได้ว่าการซื้อขายเป็นการฉ้อฉล ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ และการละเมิดสิทธิเจ้าของ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทกับโจทก์ โดยไม่ไถ่ถอนคืนภายในกำหนด โจทก์ให้จำเลยทำนาในที่ดินพิพาทต่อมา ภายหลังโจทก์แจ้งให้จำเลยออกไปแต่จำเลยเพิกเฉย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยทำสัญญาขายฝากที่ดินแก่ บ. จำเลยไม่รู้จักโจทก์และไม่มีเจตนาขายฝากที่ดินให้แก่โจทก์ การขายฝากเป็นการกระทำโดยฉ้อฉลถึงขนาดต่อจำเลย ทำให้นิติกรรมการขายฝากเป็นโมฆะทั้งหมด โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามกฎหมาย ดังนี้ คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยขายฝากที่ดินแปลงพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ ส่วนประเด็นที่ว่าการขายฝากเป็นการกระทำโดยการฉ้อฉลต่อจำเลย อันจะทำให้การขายฝากตกเป็นโมฆะทั้งหมด จำเลยมิได้ให้การว่า ใครเป็นคนทำการฉ้อฉลและจำเลยถูกกลฉ้อฉลอย่างไร จึงทำให้การขายฝากตกเป็นโมฆะ คำให้การของจำเลยจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง และไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่าการขายฝากเป็นการกระทำโดยฉ้อฉลต่อจำเลยหรือไม่ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าการขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยกรณีไม่มีการฉ้อฉลต่อจำเลย การขายฝากจึงเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ เมื่อจำเลยอยู่ในที่ดินแปลงพิพาทโดยไม่มีสิทธิจึงต้องเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์มีสิทธิขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9939/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของลิขสิทธิ์ในการได้รับเงินค่าปรับกึ่งหนึ่งจากการละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 76 เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษาจำนวนกึ่งหนึ่งเพื่อบรรเทาความเสียหายและให้ถือเป็นการชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่งส่วนหนึ่ง เมื่อศาลพิพากษาลงโทษปรับจำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้า ก็ต้องพิพากษาให้จ่ายเงินค่าปรับเป็นจำนวนกึ่งหนึ่งของค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษาให้แก่ผู้เสียหายทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วย