พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15995/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีค่าธรรมเนียมโรงแรม: ต้องเป็นนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.โรงแรมเท่านั้น
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครเป็นนายทะเบียน ผู้ว่าราชการจังหวัดระยองจึงเป็นนายทะเบียนในเขตท้องที่จังหวัดระยองตาม พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 และมีอำนาจหน้าที่ตามที่พระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ทั้งไม่มีกฎหมายใดให้บุคคลอื่นใช้อำนาจหน้าที่แทนได้
คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งประกอบธุรกิจโรงแรมในจังหวัดระยองชำระค่าธรรมเนียมต่อใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรมที่ค้างชำระ แต่โจทก์ไม่ใช่นายทะเบียนตาม พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การในประเด็นนี้ไว้โดยชัดแจ้ง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งประกอบธุรกิจโรงแรมในจังหวัดระยองชำระค่าธรรมเนียมต่อใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรมที่ค้างชำระ แต่โจทก์ไม่ใช่นายทะเบียนตาม พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การในประเด็นนี้ไว้โดยชัดแจ้ง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15686/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขสอบราคาซื้อขาย
คดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในกรณีที่จำเลยไม่ไปลงนามในสัญญาซื้อขายอันเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่จำเลยผู้เสนอราคาต้องปฏิบัติตามใบสอบราคา เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โดยโจทก์ได้บอกเลิกการสั่งซื้อรถยนต์จากจำเลยแล้ว ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 โจทก์บอกเลิกสัญญาและจำเลยได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2547 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2551 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13930/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากร: การประเมินต้นทุนซื้อทอง, การลดเบี้ยปรับ, และเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
กำหนดเวลาให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วัน ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) เป็นการกำหนดเวลาให้ฟ้องคดี แม้ไม่เป็นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ แต่ระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 (2) เป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ใน ป.รัษฎากร ศาลย่อมมีอำนาจขยายได้โดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17
บันทึกคำให้การที่โจทก์ขอคัดถ่ายสำเนาปรากฏรายละเอียดและเหตุผลในการตรวจสอบ รวมทั้งข้อมูลที่เจ้าพนักงานประเมินใช้ในการประเมิน ดังนี้ ย่อมฟังได้ว่าเหตุผลแห่งการประเมินเป็นที่รู้กันอยู่แล้วแก่โจทก์ จึงไม่จำต้องระบุในหนังสือแจ้งการประเมินถึงรายละเอียดและเหตุผลอีก ต้องด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 37 วรรคสาม (2) แล้ว
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์รับซื้อทองคำเก่าโดยใช้ราคาตลาดโลก แต่โจทก์ไม่สามารถชี้แจงที่มาของราคาตลาดโลกตามที่โจทก์อ้างซึ่งมีหลายราคา ทั้งโจทก์ไม่สามารถนำสืบอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐที่ใช้อ้างอิงในการรับซื้อ ตลอดจนไม่สามารถชี้แจงถึงค่าความเสี่ยงที่โจทก์อ้างคืออะไร และเป็นจำนวนเท่าใด การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ใช้ราคาประกาศของสมาคมค้าทองคำในการคำนวณต้นทุนจึงมีเหตุผลและเป็นธรรม
แม้ ป.รัษฎากร มาตรา 27 ทวิ ให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรวางระเบียบในการงดหรือลดเบี้ยปรับออกมาใช้ แต่ก็เป็นเพียงระเบียบที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องถือปฏิบัติ ไม่มีผลผูกพันศาลให้ต้องปฏิบัติตามระเบียบเช่นว่านั้น ศาลมีอำนาจพิจารณาว่าการลดหรืองดเบี้ยปรับนั้นถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ และมีอำนาจที่จะงดหรือลดได้เองในกรณีมีเหตุสมควรอีกด้วย
บันทึกคำให้การที่โจทก์ขอคัดถ่ายสำเนาปรากฏรายละเอียดและเหตุผลในการตรวจสอบ รวมทั้งข้อมูลที่เจ้าพนักงานประเมินใช้ในการประเมิน ดังนี้ ย่อมฟังได้ว่าเหตุผลแห่งการประเมินเป็นที่รู้กันอยู่แล้วแก่โจทก์ จึงไม่จำต้องระบุในหนังสือแจ้งการประเมินถึงรายละเอียดและเหตุผลอีก ต้องด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 37 วรรคสาม (2) แล้ว
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์รับซื้อทองคำเก่าโดยใช้ราคาตลาดโลก แต่โจทก์ไม่สามารถชี้แจงที่มาของราคาตลาดโลกตามที่โจทก์อ้างซึ่งมีหลายราคา ทั้งโจทก์ไม่สามารถนำสืบอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐที่ใช้อ้างอิงในการรับซื้อ ตลอดจนไม่สามารถชี้แจงถึงค่าความเสี่ยงที่โจทก์อ้างคืออะไร และเป็นจำนวนเท่าใด การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ใช้ราคาประกาศของสมาคมค้าทองคำในการคำนวณต้นทุนจึงมีเหตุผลและเป็นธรรม
แม้ ป.รัษฎากร มาตรา 27 ทวิ ให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรวางระเบียบในการงดหรือลดเบี้ยปรับออกมาใช้ แต่ก็เป็นเพียงระเบียบที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องถือปฏิบัติ ไม่มีผลผูกพันศาลให้ต้องปฏิบัติตามระเบียบเช่นว่านั้น ศาลมีอำนาจพิจารณาว่าการลดหรืองดเบี้ยปรับนั้นถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ และมีอำนาจที่จะงดหรือลดได้เองในกรณีมีเหตุสมควรอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13909/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องใหม่และไม่เคยเปิดเผยมาก่อน หากแบบเดิมเคยเผยแพร่แล้ว แม้มีรายละเอียดต่างกันเล็กน้อย ก็ไม่ถือเป็นสิทธิบัตรที่สมบูรณ์
พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 56 บัญญัติให้การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรม โดยมาตรา 57 บัญญัติว่า แบบผลิตภัณฑ์ใหม่นั้น ต้องไม่เป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักร หรือได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร หรือเคยมีประกาศโฆษณามาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตร หรือเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยมาแล้วดังกล่าว จนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบ ซึ่งมีขอบเขตของการพิจารณาแตกต่างจากการขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 5 โดยการประดิษฐ์ขั้นสูงขึ้นไม่ใช่ข้อสาระสำคัญที่ใช้ในการพิจารณาคำขอรับสิทธิบัตรประเภทนี้ ฉะนั้น การออกสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์จะพิจารณาเฉพาะความใหม่ของรูปทรงหรือลักษณะภายนอกของแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตร เปรียบเทียบกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการใช้หรือได้เปิดเผยอยู่แล้วโดยตรงว่ามีความแตกต่างกันชัดเจนที่สามารถดึงดูดความสนใจของประชาชนได้ ที่จำเลยที่ 1 อ้างมานั้นเป็นข้อแตกต่างกันในเรื่องโครงสร้างหรือกลไกวิธีการทำงานที่เป็นการเพิ่มประโยชน์ใช้สอยให้สะดวกมากขึ้น อันอาจเป็นข้อพิจารณาสำหรับการขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีอื่น ๆ ได้ แต่ไม่ใช่หลักสำคัญในการพิจารณาความใหม่ของการออกสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์นี้ ทั้งแบบพิมพ์อลูมิเนียมที่ใช้ในการตัดดอกไม้ที่ทำจากดินหรือตัวตัดดินนั้น โจทก์นำรูปแบบมาจากเอกสารทางวิชาการและนิตยสารที่มีการเผยแพร่ทั่วไป แบบพิมพ์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 2 ออกสิทธิบัตรให้จึงเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่มีการเปิดเผยสาระสำคัญของแบบผลิตภัณฑ์ในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยที่ 1 ขอรับสิทธิบัตร จึงไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่และเป็นสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13158/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมคบกันเพื่อครอบงำกิจการ และการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาจากการใช้ชื่อทางการค้า
โจทก์เป็นเจ้าของชื่อทางการค้าคำว่า "KLOSTER" และ "คลอสเตอร์" ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทย จำเลยมีสิทธิใช้ตราบเท่าที่บริษัท ท. ยังมีสิทธิผลิตเบียร์คลอสเตอร์ตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ และเมื่อสัญญาดังกล่าวสิ้นสุดลงโดยการบอกเลิกสัญญาของโจทก์โดยชอบเนื่องจากบริษัท ท. มีหนี้สินจำนวนมากอยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ จำเลยจึงต้องระงับการใช้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าคลอสเตอร์ของโจทก์ตั้งแต่วันถัดจากวันที่บอกเลิกสัญญา การที่จำเลยยังคงใช้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์หลังการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวจึงเป็นการกระทำละเมิดสิทธิในชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ที่โจทก์มีหนังสือห้ามจำเลยใช้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าคำว่า "คลอสเตอร์" โดยอ้างว่าจำเลยละเมิดสิทธิโจทก์จึงเป็นการกระทำโดยชอบ
การดำเนินการของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองเป็นการใช้ดุลพินิจบริหารจัดการบริษัทที่อยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการไปตามขั้นตอนของกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งคู่ความทุกฝ่ายมีโอกาสโต้แย้งคัดค้านในกระบวนการตามกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว หมวด 3/1 กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ มาตรา 90/1 ถึง 90/90 ได้โดยชอบอยู่แล้ว จนคดีในส่วนที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการยุติไปแล้วตามคำสั่งฟื้นฟูกิจการของศาลล้มละลายกลาง ถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองเป็นการกระทำเพื่อสมคบกันครอบงำกิจการของจำเลยโดยไม่สุจริต
ป.พ.พ. มาตรา 18 ให้สิทธิโจทก์ร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามจำเลยใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์เป็นของจำเลยเท่านั้น มิได้ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะบังคับให้จำเลยจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อจำเลยได้ คำขอบังคับของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นคำขอบังคับที่ไม่อาจทำได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
การดำเนินการของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองเป็นการใช้ดุลพินิจบริหารจัดการบริษัทที่อยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการไปตามขั้นตอนของกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งคู่ความทุกฝ่ายมีโอกาสโต้แย้งคัดค้านในกระบวนการตามกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว หมวด 3/1 กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ มาตรา 90/1 ถึง 90/90 ได้โดยชอบอยู่แล้ว จนคดีในส่วนที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการยุติไปแล้วตามคำสั่งฟื้นฟูกิจการของศาลล้มละลายกลาง ถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองเป็นการกระทำเพื่อสมคบกันครอบงำกิจการของจำเลยโดยไม่สุจริต
ป.พ.พ. มาตรา 18 ให้สิทธิโจทก์ร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามจำเลยใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์เป็นของจำเลยเท่านั้น มิได้ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะบังคับให้จำเลยจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อจำเลยได้ คำขอบังคับของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นคำขอบังคับที่ไม่อาจทำได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12342/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเพชรเพื่อขาย ไม่ใช่ยักยอกทรัพย์ หากผิดสัญญาทางแพ่ง
ตามรายการรับมอบเพชรมีการระบุราคาของเพชรแต่ละรายการไว้ และมีข้อความกำหนดเงื่อนไขว่า จำเลยจะต้องรับผิดชอบในความสูญหายและเสียหายของเพชรกับมีหน้าที่ต้องส่งมอบเพชรคืนเมื่อทวงถาม โดยไม่ปรากฏข้อตกลงในส่วนของค่าตอบแทนการขายที่จำเลยจะได้รับ ทั้งจำเลยก็ไม่ได้เป็นลูกจ้างของผู้เสียหาย ย่อมแสดงว่าจำเลยอาจนำเพชรไปเสนอขายในราคาที่สูงหรือต่ำกว่าที่กำหนดไว้ก็ได้ เพียงแต่ว่าเมื่อขายได้แล้วต้องส่งเงินแก่ผู้เสียหายตามราคาที่กำหนดกันไว้เท่านั้น การครอบครองทรัพย์ของจำเลยในลักษณะเช่นนี้จึงหาใช่เป็นการที่จำเลยได้รับมอบหมายให้ครอบครองเพชรดังกล่าวไว้ในฐานะตัวแทนผู้เสียหาย หากแต่เป็นกรณีครอบครองโดยอาศัยอำนาจแห่งสัญญาที่ผู้เสียหายกับจำเลยมีนิติสัมพันธ์ต่อกัน โดยผู้เสียหายให้จำเลยนำไปขาย เมื่อจำเลยไม่ส่งเงินที่ขายก็เป็นเรื่องผิดสัญญาในทางแพ่งเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 352
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11271/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันระหว่างบริษัทในเครือ ไม่ถือเป็นการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ยืมบริษัทในเครือทั้งสองหลายฉบับในวงเงินจำนวนมาก แต่โจทก์ก็มิได้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน และการทำสัญญาค้ำประกันก็เพื่อช่วยเหลือให้บริษัทในเครือทั้งสองได้รับเงินกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ อันเป็นการกระทำเฉพาะในระหว่างนิติบุคคลที่มีส่วนได้เสียผูกพันกันอยู่เท่านั้น แม้โจทก์ต้องใช้เงินให้แก่สถาบันการเงินตามสัญญาค้ำประกันแทนบริษัทในเครือทั้งสองเนื่องจากบริษัทในเครือทั้งสองล้มละลาย ซึ่งโจทก์สามารถหักวงเงินค้ำประกันดังกล่าวเป็นหนี้สูญนำไปเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องของภาษีเงินได้นิติบุคคล ไม่เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ การค้ำประกันของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์โดยการให้บริการค้ำประกันตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 (5) ที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10701/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้จากการพนันหวยใต้ดินเป็นเงินได้พึงประเมิน แม้ผิดกฎหมาย, การแก้ไขการประเมินโดยคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมาย
เงินได้จากการเล่นพนันสลากกินรวบ (หวยใต้ดิน) แม้เป็นเงินได้ที่มาจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็เข้าลักษณะเป็นเงินได้จากการอื่น นอกจากที่ระบุไว้ตามมาตรา 40 (1) ถึง (7) จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8)
เงินได้จากการพนันหวยใต้ดินไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ เมื่อโจทก์ทั้งสามไม่สามารถพิสูจน์ค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้ จึงไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายแก่โจทก์ทั้งสามได้ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิได้เป็นเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรตามประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมิน และผู้ที่ต้องเสียภาษีอากรได้อุทธรณ์การประเมินไว้ การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ โดยไม่หักค่าใช้จ่ายตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินมิใช่เป็นกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินและผู้อุทธรณ์มิได้อุทธรณ์การประเมิน แต่เป็นกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ทำการแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในส่วนของค่าใช้จ่ายให้ถูกต้อง แม้จะมีผลทำให้โจทก์ทั้งสามต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษีพิพาทเพิ่มขึ้นจากที่เจ้าพนักงานประเมินไว้ก็ตาม ทั้งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 31 วรรคสอง ก็บัญญัติว่า ในกรณีที่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสียภาษีอากรเพิ่มขึ้น ผู้อุทธรณ์จะต้องชำระภายในกำหนดเวลาเช่นเดียวกับวรรคก่อน ซึ่งกรณีดังกล่าวคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่จำต้องต้องยกเลิกการประเมินของจำเลยที่ 1 เพื่อให้ทำการประเมินใหม่ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เงินได้จากการพนันหวยใต้ดินไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ เมื่อโจทก์ทั้งสามไม่สามารถพิสูจน์ค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้ จึงไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายแก่โจทก์ทั้งสามได้ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิได้เป็นเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรตามประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมิน และผู้ที่ต้องเสียภาษีอากรได้อุทธรณ์การประเมินไว้ การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ โดยไม่หักค่าใช้จ่ายตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินมิใช่เป็นกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินและผู้อุทธรณ์มิได้อุทธรณ์การประเมิน แต่เป็นกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ทำการแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในส่วนของค่าใช้จ่ายให้ถูกต้อง แม้จะมีผลทำให้โจทก์ทั้งสามต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษีพิพาทเพิ่มขึ้นจากที่เจ้าพนักงานประเมินไว้ก็ตาม ทั้งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 31 วรรคสอง ก็บัญญัติว่า ในกรณีที่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสียภาษีอากรเพิ่มขึ้น ผู้อุทธรณ์จะต้องชำระภายในกำหนดเวลาเช่นเดียวกับวรรคก่อน ซึ่งกรณีดังกล่าวคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่จำต้องต้องยกเลิกการประเมินของจำเลยที่ 1 เพื่อให้ทำการประเมินใหม่ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9892/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับค่าปรับกึ่งหนึ่งจากผู้ละเมิดลิขสิทธิ์: เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิได้รับค่าปรับที่จำเลยชำระเพื่อบรรเทาความเสียหาย
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 76 เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษาจำนวนกึ่งหนึ่งเพื่อบรรเทาความเสียหายและถือเป็นการชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่งส่วนหนึ่ง เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางลงโทษปรับจำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าก็ต้องพิพากษาให้จ่ายเงินค่าปรับเป็นจำนวนกึ่งหนึ่งของค่าปรับที่จำเลยชำระตามคำพิพากษาฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9801/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์รายการโทรทัศน์: การสร้างสรรค์ การทดรองจ่าย และขอบเขตกรรมสิทธิ์
น. เป็นผู้คิดค้นรูปแบบรายการโทรทัศน์ประเภทสปอร์ตเรียลลิตี้ "THE WINNER" ซึ่งเป็นรายการโทรทัศน์จัดประกวดและคัดเลือกนักฟุตบอลให้เป็นตัวแทนประเทศไทยเพื่อทำการเผยแพร่ออกอากาศทางโทรทัศน์ แม้รูปแบบรายการโทรทัศน์ดังกล่าวที่ น. คิดขึ้นในขณะนำมาเสนอกับจำเลยจะยังไม่มีการแสดงออกทางความคิดจนเกิดเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 แต่ต่อมาได้มีการจดทะเบียนตั้งบริษัทโจทก์โดยมี น. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจโจทก์ โจทก์และจำเลยตกลงร่วมกันผลิตรายการโทรทัศน์ดังกล่าวและได้ทำบันทึกข้อตกลงระหว่างกัน โดยจำเลยตกลงที่จะชำระค่าตอบแทนให้แก่โจทก์ในการได้สิทธิผลิตและออกอากาศชุดรายการโทรทัศน์ดังกล่าว ข้อตกลงเกี่ยวกับการที่โจทก์อนุญาตให้สิทธิจำเลยผลิตรายการตามรูปแบบรายการดังกล่าวและนำไปออกอากาศจึงมีผลผูกพันและสามารถบังคับได้ตามกฎหมายระหว่างโจทก์และจำเลย
โจทก์แจ้งต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาว่าโจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุ ชื่อ "THE WINNER" ก่อนที่โจทก์จะได้สร้างสรรค์งานดังกล่าวซึ่งขณะนั้นไม่มีงานลิขสิทธิ์เกิดขึ้น การแจ้งดังกล่าวจึงไม่ทำให้โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว เพราะการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์นั้นจะต้องมีการสร้างสรรค์งานและเข้าเงื่อนไขตามที่บัญญัติไว้ตามกฎหมาย
โจทก์เป็นนิติบุคคลสัญชาติไทยเป็นผู้สร้างสรรค์งานโสตทัศนวัสดุเทปต้นฉบับรายการโทรทัศน์ "THE WINNER" ตอนที่ 1 ถึง 3 ก่อนที่จำเลยจะนำมาตัดต่อเพื่อออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ เป็นตอนที่ 1 ถึง 3 โจทก์จึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุเทปต้นฉบับรายการโทรทัศน์ตอนที่ 1 ถึงที่ 3 ดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 8 (2)
จำเลยได้มีการประชุมร่วมกับโจทก์และตกลงให้จำเลยตัดต่อเทปต้นฉบับเพื่อออกอากาศใหม่ ถือว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยทำการตัดต่อเทปตอนที่ 1 ถึง 3 ใหม่ตามการแสดงออกทางความคิดของจำเลยเพื่อออกอากาศ เป็นการที่โจทก์ยินยอมอนุญาตให้จำเลยดัดแปลงงานโสตทัศน์วัสดุเทปต้นฉบับรายการโทรทัศน์อันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยจึงมีลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุเทปโทรทัศน์รายการโทรทัศน์ที่ดัดแปลงแล้วนำออกอากาศในตอนที่ 1 ถึง 3 ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 11 จำเลยนำเทปรายการโทรทัศน์ตอนที่ 1 ถึง 3 ที่จำเลยได้ออกอากาศมาตัดต่อใหม่เป็นเทปรายการโทรทัศน์ดังกล่าวตอนที่ 4 ถึง 6 เป็นการที่จำเลยดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนเอง จำเลยจึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุเทปรายการโทรทัศน์ ตอนที่ 4 ถึงที่ 6 ดังกล่าว
เทปรายการโทรทัศน์ตอนที่ 7 ถึง 27 เป็นเทปรายการโทรทัศน์ที่จำเลยสร้างสรรค์ขึ้นภายหลังที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยผลิตรายการโทรทัศน์ดังกล่าวตามบันทึกข้อตกลง โดยโจทก์ให้สิทธิจำเลยในการผลิตและออกอากาศชุดรายการโทรทัศน์ "THE WINNER" ที่โจทก์เป็นเจ้าของสิทธิในรูปแบบรายการดังกล่าว โดยไม่ปรากฎข้อตกลงอื่นเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุเทปรายการโทรทัศน์ ที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ผลิต จำเลยซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์งานโสตทัศนวัสดุเทปรายการโทรทัศน์ตอนที่ 7 ถึง 27 ดังกล่าวจึงเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 8 (2)
โจทก์แจ้งต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาว่าโจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุ ชื่อ "THE WINNER" ก่อนที่โจทก์จะได้สร้างสรรค์งานดังกล่าวซึ่งขณะนั้นไม่มีงานลิขสิทธิ์เกิดขึ้น การแจ้งดังกล่าวจึงไม่ทำให้โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว เพราะการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์นั้นจะต้องมีการสร้างสรรค์งานและเข้าเงื่อนไขตามที่บัญญัติไว้ตามกฎหมาย
โจทก์เป็นนิติบุคคลสัญชาติไทยเป็นผู้สร้างสรรค์งานโสตทัศนวัสดุเทปต้นฉบับรายการโทรทัศน์ "THE WINNER" ตอนที่ 1 ถึง 3 ก่อนที่จำเลยจะนำมาตัดต่อเพื่อออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ เป็นตอนที่ 1 ถึง 3 โจทก์จึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุเทปต้นฉบับรายการโทรทัศน์ตอนที่ 1 ถึงที่ 3 ดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 8 (2)
จำเลยได้มีการประชุมร่วมกับโจทก์และตกลงให้จำเลยตัดต่อเทปต้นฉบับเพื่อออกอากาศใหม่ ถือว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยทำการตัดต่อเทปตอนที่ 1 ถึง 3 ใหม่ตามการแสดงออกทางความคิดของจำเลยเพื่อออกอากาศ เป็นการที่โจทก์ยินยอมอนุญาตให้จำเลยดัดแปลงงานโสตทัศน์วัสดุเทปต้นฉบับรายการโทรทัศน์อันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยจึงมีลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุเทปโทรทัศน์รายการโทรทัศน์ที่ดัดแปลงแล้วนำออกอากาศในตอนที่ 1 ถึง 3 ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 11 จำเลยนำเทปรายการโทรทัศน์ตอนที่ 1 ถึง 3 ที่จำเลยได้ออกอากาศมาตัดต่อใหม่เป็นเทปรายการโทรทัศน์ดังกล่าวตอนที่ 4 ถึง 6 เป็นการที่จำเลยดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนเอง จำเลยจึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุเทปรายการโทรทัศน์ ตอนที่ 4 ถึงที่ 6 ดังกล่าว
เทปรายการโทรทัศน์ตอนที่ 7 ถึง 27 เป็นเทปรายการโทรทัศน์ที่จำเลยสร้างสรรค์ขึ้นภายหลังที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยผลิตรายการโทรทัศน์ดังกล่าวตามบันทึกข้อตกลง โดยโจทก์ให้สิทธิจำเลยในการผลิตและออกอากาศชุดรายการโทรทัศน์ "THE WINNER" ที่โจทก์เป็นเจ้าของสิทธิในรูปแบบรายการดังกล่าว โดยไม่ปรากฎข้อตกลงอื่นเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุเทปรายการโทรทัศน์ ที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ผลิต จำเลยซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์งานโสตทัศนวัสดุเทปรายการโทรทัศน์ตอนที่ 7 ถึง 27 ดังกล่าวจึงเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 8 (2)