พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9037/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ภาษีฯ เกิดหลังฟื้นฟูกิจการ ไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ ฟ้องได้เลย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ก็แต่โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าวไว้ในส่วนนี้ แม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หรือเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้วแต่คดียังอยู่ระหว่างพิจารณาก็ตาม ทั้งนี้ ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้พร้อมสำเนาต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 1 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งสำเนาคำขอรับชำระหนี้ให้ผู้ทำแผนโดยไม่ชักช้า มาตรา 90/27 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เจ้าหนี้อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ ถ้ามูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ แม้ว่าหนี้นั้นจะยังไม่ถึงกำหนดหรือมีเงื่อนไขก็ตาม เว้นแต่หนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดีหรือหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ วรรคสามบัญญัติว่า หนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือผู้บริหารชั่วคราวก่อขึ้น หนี้ที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดตาม มาตรา 90/12 (8) หรือ (11) และหนี้ภาษีอากรหรือหนี้อื่นอันมีลักษณะเดียวกันซึ่งเกิดตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผน เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแผนโดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ... และมาตรา 90/61 บัญญัติว่า เจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการผู้ใดไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ ตามมาตรา 90/26 หรือมาตรา 90/27 วรรคสาม แล้วแต่กรณี เจ้าหนี้ผู้นั้นย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ไม่ว่าการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จะเป็นผลสำเร็จตามแผนหรือไม่ เว้นแต่ (1) แผนจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น หรือ (2) ศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จากบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่า หนี้ซึ่งมูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลล้มละลายมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการนั้นแม้จะยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม หากเจ้าหนี้ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใน 1 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผน เจ้าหนี้ผู้นั้นย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ไม่ว่าการฟื้นฟูกิจการจะเป็นผลสำเร็จตามแผนหรือไม่ เว้นแต่แผนจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นหรือศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเท่านั้น
หนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามฟ้องนั้น แม้ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 8 จะบัญญัติให้ผู้รับประเมินชำระค่าภาษีปีละครั้งตามค่ารายปีของทรัพย์สิน โดยมาตรา 18 บัญญัติให้ ค่ารายปีที่ล่วงมาแล้วนั้นให้เป็นหลักสำหรับคำนวณค่าภาษีที่จะต้องเสียในปีต่อมาก็ตาม แต่จำเลยจะต้องชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินก็ต่อเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบแล้ว ตามความในภาค 3 เรื่อง วิธีดำเนินการประเมินและจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งผู้รับประเมินจะต้องเสียภาษีใน 30 วัน นับแต่วันได้รับการแจ้งรายการประเมินตามมาตรา 38 วรรคหนึ่ง หากพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่แจ้งให้จำเลยทราบจำนวนค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน จำเลยก็ยังไม่ต้องชำระแต่อย่างใด หนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจึงเกิดขึ้นเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินและแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า หนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2554 อันเป็นวันที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผน และภายหลังที่มีการโฆษณาคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผน เมื่อหนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินมิได้กำหนดไว้ในแผน โจทก์จึงสามารถฟ้องเป็นคดีต่อศาลภาษีอากรกลางได้ โดยไม่จำต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้แต่อย่างใด
หนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามฟ้องนั้น แม้ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 8 จะบัญญัติให้ผู้รับประเมินชำระค่าภาษีปีละครั้งตามค่ารายปีของทรัพย์สิน โดยมาตรา 18 บัญญัติให้ ค่ารายปีที่ล่วงมาแล้วนั้นให้เป็นหลักสำหรับคำนวณค่าภาษีที่จะต้องเสียในปีต่อมาก็ตาม แต่จำเลยจะต้องชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินก็ต่อเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบแล้ว ตามความในภาค 3 เรื่อง วิธีดำเนินการประเมินและจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งผู้รับประเมินจะต้องเสียภาษีใน 30 วัน นับแต่วันได้รับการแจ้งรายการประเมินตามมาตรา 38 วรรคหนึ่ง หากพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่แจ้งให้จำเลยทราบจำนวนค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน จำเลยก็ยังไม่ต้องชำระแต่อย่างใด หนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจึงเกิดขึ้นเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินและแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า หนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2554 อันเป็นวันที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผน และภายหลังที่มีการโฆษณาคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผน เมื่อหนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินมิได้กำหนดไว้ในแผน โจทก์จึงสามารถฟ้องเป็นคดีต่อศาลภาษีอากรกลางได้ โดยไม่จำต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8410/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาอุทธรณ์ทุกประเด็น การลงโทษฐานครอบครองยาเสพติดไม่เข้าข่ายบทหนักตาม พ.ร.บ.มาตรการฯ
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดสถานหนักตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10 ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษจำคุก ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยส่งให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาโดยชอบแล้ว ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ว่ามีเหตุที่จะลงโทษจำเลยสถานหนักตามที่โจทก์อุทธรณ์หรือไม่ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ คงวินิจฉัยเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลย ถือว่าศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง, 186 (6) (8)
คำว่า ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10 บัญญัติไว้ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" หมายความว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติด... โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนและกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะระวางโทษเป็นสามเท่าตามมาตรา 10 แห่งบทกฎหมายดังกล่าว
คำว่า ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10 บัญญัติไว้ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" หมายความว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติด... โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนและกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะระวางโทษเป็นสามเท่าตามมาตรา 10 แห่งบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7958/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาบุกรุกและการทำร้ายร่างกาย: ศาลฎีกาวินิจฉัยแยกความผิดและพิจารณาเจตนาของผู้กระทำ
จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกบุกรุกเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายในเวลากลางคืนโดยมีอาวุธ ถือได้ว่าเป็นความผิดสำเร็จไปแล้วกระทงหนึ่ง การที่จำเลยที่ 1 เห็นผู้เสียหายตบหน้าจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 1 จึงใช้โซ่ที่ถือมาตีศีรษะผู้เสียหายไป 1 ครั้ง ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายซึ่งเป็นเจตนาที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ แยกต่างหากจากเจตนาบุกรุกในตอนแรกได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7344/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตยาเสพติด (เมทแอมเฟตามีน) แม้ไม่มีพยานเห็นโดยตรง แต่มีหลักฐานเชื่อมโยงถึงการผสมและอัดเม็ดเพื่อจำหน่าย
จำเลยนำผงยาพาราเซตามอลปรุงแต่งสีและกลิ่นผสมกับผงเมทแอมเฟตามีนและใช้อุปกรณ์คล้ายจุกเติมลมยางรถยนต์ที่มีตัวอักษร wy พร้อมด้วยตะเกียบบดอัดเป็นเม็ด การกระทำของจำเลยต้องด้วย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4 ที่นิยามคำว่า "ผลิต" ไว้หมายความว่า ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ การกระทำของจำเลยเป็นการผสม ปรุง แปรสภาพ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการผลิตเมทแอมเฟตามีนตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแล้ว และมีลักษณะเป็นการเพิ่มจำนวนในการแพร่กระจายเมทแอมเฟตามีน เมื่อจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่ผลิตขึ้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7208/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องครอบครองที่ดิน: โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยโอนสิทธิหากจำเลยไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินโดยซื้อคืนมาจากผู้รับซื้อฝากหรือจำนองจากจำเลย โจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมา แต่ไม่สามารถขอรับหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดินหรือเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทได้เพราะยังมีชื่อจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ขอให้บังคับจำเลยไปโอนสิทธิครอบครองหรือสละสิทธิที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ หากไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติตามไม่ได้ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยหรือมีคำพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองดีกว่า ตามคำฟ้องของโจทก์ โจทก์อ้างว่าตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทหรือกระทำสิ่งใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ทั้งการที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยไปโอนสิทธิครอบครองหรือสละสิทธิในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ไม่มีกรณีที่จะพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ได้ เพราะกรณีตามฟ้องจำเลยไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องไปโอนสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ ศาลมีอำนาจวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ มาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7016/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนองหลังผู้จำนองเสียชีวิต, เบี้ยปรับภาษีอากร และการประเมินที่ถูกต้องตามกฎหมาย
แม้โจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี หลังจากรู้ว่า ก. ตายก็ตาม แต่โจทก์ผู้รับจำนองยังสามารถใช้สิทธิบังคับจำนองได้ เพราะเหตุดังกล่าวไม่ทำให้หนี้ตามสัญญาจำนองระงับสิ้นไปตามที่ระบุไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 744
ป.รัษฎากร มาตรา 67 ตรี ได้กำหนดบทลงโทษให้ผู้เสียภาษีชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยที่ 1 เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 26 อีก
บทบัญญัติใน ป.รัษฎากร มาตรา 89 มิได้มุ่งหมายให้ลงโทษผู้กระทำผิดเรียงตามอนุมาตราไป แต่มุ่งหมายให้ลงโทษตามอนุมาตราที่กำหนดเบี้ยปรับสูงสุดเพียงอนุมาตราเดียว จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (2) (3) (4) หรือ (10) เพียงอนุมาตราเดียวซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์สามารถเรียกเก็บเบี้ยปรับได้สูงสุด
สำหรับกรณีเบี้ยปรับตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (8) และ (9) ทั้งสองกรณี เป็นการเสียเบี้ยปรับที่สามารถแยกจากบทบัญญัติตามมาตรา 89 (2) (3) (4) (10) ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (8) หรือ (9) อีกฐานหนึ่ง
ป.รัษฎากร มาตรา 67 ตรี ได้กำหนดบทลงโทษให้ผู้เสียภาษีชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยที่ 1 เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 26 อีก
บทบัญญัติใน ป.รัษฎากร มาตรา 89 มิได้มุ่งหมายให้ลงโทษผู้กระทำผิดเรียงตามอนุมาตราไป แต่มุ่งหมายให้ลงโทษตามอนุมาตราที่กำหนดเบี้ยปรับสูงสุดเพียงอนุมาตราเดียว จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (2) (3) (4) หรือ (10) เพียงอนุมาตราเดียวซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์สามารถเรียกเก็บเบี้ยปรับได้สูงสุด
สำหรับกรณีเบี้ยปรับตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (8) และ (9) ทั้งสองกรณี เป็นการเสียเบี้ยปรับที่สามารถแยกจากบทบัญญัติตามมาตรา 89 (2) (3) (4) (10) ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (8) หรือ (9) อีกฐานหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การบังคับคดีตามข้อตกลง, ห้ามใช้วิธีขายทอดตลาด
โจทก์และจำเลยทั้งสามทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า จำเลยทั้งสามยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องและตกลงร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยทั้งสามตกลงชำระหนี้โจทก์โดยนำทรัพย์จำนองจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ภายใน 30 วัน หากผิดนัด ยินยอมให้โจทก์ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้ทันทีเพียงประการเดียว ไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่ามีการตกลงกันให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ได้สองวิธีคือ นำทรัพย์จำนองตีราคาชำระหนี้ หรือนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ การที่สัญญาระบุว่าจำเลยทั้งสามรับว่าเป็นหนี้และตกลงร่วมกันหรือแทนกันชำระหนี้ก็เป็นเพียงการยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้มูลหนี้เดิมระงับ โจทก์และจำเลยทั้งสามต้องผูกพันกันตามมูลหนี้ใหม่โจทก์ชอบที่จะบังคับคดีโดยถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย โจทก์หามีสิทธิเลือกบังคับคดีด้วยวิธีการยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาชำระหนี้ตามมูลหนี้เดิมแก่โจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5621/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการประกอบกิจการวีซีดีผิดกฎหมาย และต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม
ความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยนและจำหน่ายแผ่นวีซีดีและแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 เมื่อจำเลยที่ 1 ประกอบกิจการดังกล่าวโดยไม่ได้รับใบอนุญาตก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว ส่วนที่ต่อมาระหว่างเจ้าพนักงานตำรวจตรวจพบการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 จึงเข้าจับกุม แต่จำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันต่อสู้ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ นับเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ ต่างกรรมต่างวาระกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยร่วมกระทำความผิดตั้งแต่สามคนขึ้นไป และฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยนและจำหน่ายแผ่นวีซีดีและแผ่นดีวีดีภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91
โจทก์บรรยายฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานมีภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 78 ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานดังกล่าวตามฟ้องด้วย แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ได้ปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานนี้เป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
โจทก์บรรยายฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานมีภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 78 ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานดังกล่าวตามฟ้องด้วย แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ได้ปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานนี้เป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4494/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีเครื่องหมายการค้าและยาปลอม, ความน่าเชื่อถือพยานหลักฐาน, การพิสูจน์เจตนาผู้กระทำผิด
พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 119 วรรคสอง กำหนดโทษสำหรับผู้กระทำความผิดฐานขายหรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยาปลอมโดยไม่รู้ว่าเป็นยาปลอมไว้ให้ปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงห้าพันบาท ซึ่งโจทก์จะต้องฟ้องคดีและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันกระทำความผิด มิฉะนั้นคดีเป็นอันขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) แต่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดนี้ล่วงเลยกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่วันกระทำความผิดแล้ว คดีโจทก์ในข้อหานี้จึงขาดอายุความ
ผู้รับมอบอำนาจช่วงโจทก์ร่วมและพนักงานของโจทก์ร่วมเบิกความตรงกันว่า เหตุที่พยานทั้งสองทราบว่าสินค้ายาของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมก็โดยการตรวจสอบเปรียบเทียบกับสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าจริง ซึ่งจะมีความแตกต่างกันอยู่ 4 ประการ ซึ่งเมื่อพิจารณากล่องบรรจุสินค้า ฉลาก และขวดยาของสินค้ายาของปลอมและที่แท้จริงเปรียบเทียบกันแล้วเห็นว่าคล้ายกันมาก ผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์ทราบว่ายาของปลอมมีลักษณะอย่างไรก็เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของโจทก์ร่วมเป็นคนชี้ส่วนสำคัญให้ดู ทั้งเภสัชกรและผู้ตรวจวิเคราะห์ยาของกลางก็เบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลยว่า หากเห็นแต่ยาของกลางเพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นยาที่แท้จริงหรือยาปลอม และพนักงานสอบสวนก็ไม่สามารถระบุว่ายาใดเป็นยาปลอมหรือยาที่แท้จริงเพราะไม่ทราบรายละเอียดของตัวยาที่ผสมอยู่ แสดงว่าสินค้ายาคาโตซาลที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของกลางคล้ายกับสินค้าที่แท้จริงมาก ถ้าไม่ทราบถึงรายละเอียดข้อแตกต่างมาก่อนก็เป็นการยากที่จะสังเกตได้เอง ดังนี้แม้จำเลยจะเป็นสัตวแพทย์และเป็นผู้มีสินค้าของกลางไว้เพื่อจำหน่ายก็ไม่แน่ว่าจะได้สังเกตว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า
ผู้รับมอบอำนาจช่วงโจทก์ร่วมและพนักงานของโจทก์ร่วมเบิกความตรงกันว่า เหตุที่พยานทั้งสองทราบว่าสินค้ายาของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมก็โดยการตรวจสอบเปรียบเทียบกับสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าจริง ซึ่งจะมีความแตกต่างกันอยู่ 4 ประการ ซึ่งเมื่อพิจารณากล่องบรรจุสินค้า ฉลาก และขวดยาของสินค้ายาของปลอมและที่แท้จริงเปรียบเทียบกันแล้วเห็นว่าคล้ายกันมาก ผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์ทราบว่ายาของปลอมมีลักษณะอย่างไรก็เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของโจทก์ร่วมเป็นคนชี้ส่วนสำคัญให้ดู ทั้งเภสัชกรและผู้ตรวจวิเคราะห์ยาของกลางก็เบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลยว่า หากเห็นแต่ยาของกลางเพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นยาที่แท้จริงหรือยาปลอม และพนักงานสอบสวนก็ไม่สามารถระบุว่ายาใดเป็นยาปลอมหรือยาที่แท้จริงเพราะไม่ทราบรายละเอียดของตัวยาที่ผสมอยู่ แสดงว่าสินค้ายาคาโตซาลที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของกลางคล้ายกับสินค้าที่แท้จริงมาก ถ้าไม่ทราบถึงรายละเอียดข้อแตกต่างมาก่อนก็เป็นการยากที่จะสังเกตได้เอง ดังนี้แม้จำเลยจะเป็นสัตวแพทย์และเป็นผู้มีสินค้าของกลางไว้เพื่อจำหน่ายก็ไม่แน่ว่าจะได้สังเกตว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายระยะเวลาบังคับคดีประกัน: ศาลมีอำนาจพิจารณาเหตุพิเศษได้ แม้มีข้อจำกัดทางกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้คัดค้านขยายระยะเวลาบังคับคดีเนื่องจากเจ้าหน้าที่ศาล ได้ทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นขอให้ขยายระยะเวลาการบังคับคดี เนื่องจากระยะเวลาการบังคับคดีใกล้จะครบกำหนดแล้ว รายงานดังกล่าวถือว่าเป็นเพียงรายงานเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่ศาลที่เสนอต่อศาลว่า คดีนี้ใกล้จะครบระยะเวลาการบังคับคดีเท่านั้น ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิจารณาข้อเท็จจริงต่างๆ ภายในสำนวนและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่จะปรากฏให้เห็นว่ามีเหตุผลใดที่จะต้องขยายระยะเวลาการบังคับคดีออกไป หากมีข้อเท็จจริงที่มีพฤติการณ์พิเศษ ศาลชั้นต้นก็สามารถอนุญาตให้ผู้คัดค้านขยายระยะเวลาบังคับคดีออกไปได้ ไม่จำเป็นต้องถือข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามรายงานของเจ้าหน้าที่ศาลเท่านั้น
ผู้คัดค้านในฐานะหัวหน้าสำนักงานศาลยุติธรรมตามกฎหมายให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาประกัน ซึ่งมีการแก้ไขให้อำนาจผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในกรณีนี้เมื่อปี 2547 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 แต่ตามกฎหมายเดิมและกฎหมายปัจจุบันก็ยังให้อำนาจพนักงานอัยการในการบังคับคดีแก่นายประกันที่ผิดสัญญาประกันตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498มาตรา 11 (8) ในคดีนี้ผู้ร้องทั้งสองผิดสัญญาประกันตั้งแต่ปี 2541 ไม่ปรากฏว่ามีการบังคับคดีแก่ผู้ร้องทั้งสองก่อนหน้านี้ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงให้เห็นว่า เกิดจากการที่ผู้คัดค้านไม่เร่งรีบบังคับคดีหรือปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใด แต่เหตุที่ไม่มีการบังคับคดีเนื่องจากผู้คัดค้านเพิ่งมีอำนาจตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ทั้งยังมีคดีทำนองเดียวกันที่ใกล้จะครบระยะเวลาการบังคับอีกจำนวนหลายร้อยคดี หากปล่อยให้เลยกำหนดระยะเวลาการบังคับคดีก็จะเกิดความเสียหายต่อประโยชน์ราชการส่วนรวมได้ ดังนั้น พฤติการณ์ต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นย่อมถือมีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลชั้นต้นสามารถที่จะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการบังคับคดีได้
ผู้คัดค้านในฐานะหัวหน้าสำนักงานศาลยุติธรรมตามกฎหมายให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาประกัน ซึ่งมีการแก้ไขให้อำนาจผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในกรณีนี้เมื่อปี 2547 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 แต่ตามกฎหมายเดิมและกฎหมายปัจจุบันก็ยังให้อำนาจพนักงานอัยการในการบังคับคดีแก่นายประกันที่ผิดสัญญาประกันตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498มาตรา 11 (8) ในคดีนี้ผู้ร้องทั้งสองผิดสัญญาประกันตั้งแต่ปี 2541 ไม่ปรากฏว่ามีการบังคับคดีแก่ผู้ร้องทั้งสองก่อนหน้านี้ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงให้เห็นว่า เกิดจากการที่ผู้คัดค้านไม่เร่งรีบบังคับคดีหรือปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใด แต่เหตุที่ไม่มีการบังคับคดีเนื่องจากผู้คัดค้านเพิ่งมีอำนาจตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ทั้งยังมีคดีทำนองเดียวกันที่ใกล้จะครบระยะเวลาการบังคับอีกจำนวนหลายร้อยคดี หากปล่อยให้เลยกำหนดระยะเวลาการบังคับคดีก็จะเกิดความเสียหายต่อประโยชน์ราชการส่วนรวมได้ ดังนั้น พฤติการณ์ต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นย่อมถือมีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลชั้นต้นสามารถที่จะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการบังคับคดีได้