พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอในคดีอาญา แม้ข้อเท็จจริงสอดคล้อง แต่โจทก์มิได้ขอลงโทษในบทมาตรานั้น
การกระทำของจำเลยตามข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 ซึ่งโจทก์ระบุไว้ในคำขอท้ายฟ้อง ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยกับศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยเป็นทำนองเห็นพ้องด้วยและตามคำฟ้องของโจทก์นอกจากขอให้ลงโทษฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 แล้วยังพอแปลได้ว่าโจทก์บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดเพื่อจะมิให้การเป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลตาม ป.อ. มาตรา 187 ไว้ด้วย แต่โจทก์ไม่ได้ระบุ ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 187 ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง แสดงว่า โจทก์ไม่ประสงค์จะให้ศาลลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว แม้การกระทำของจำเลยที่สร้างภาระจำนองเพิ่มมากขึ้นดังกล่าวจะเป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาเป็นการทำให้เสียหาย ทำลาย หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ที่จะถูกบังคับ เพื่อจะมิให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามยอม อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 187 ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัย ก็ไม่อาจพิพากษาให้ลงโทษจำเลยตามความผิดตาม ป.อ. มาตรา 187 ที่โจทก์ไม่ได้ระบุไว้ในคำขอท้ายฟ้องได้เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ที่ศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสม แต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด อันจะทำให้ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 187 นั้น เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ต้องห้ามตาม ป.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยในข้อนี้ฟังขึ้น ส่วนฎีกาข้ออื่นของจำเลยไม่จำต้องวินิจฉัย เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป พิพากษากลับเป็นว่า ให้ยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8589/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยตามกฎหมายยาเสพติด: ศาลต้องยึดตามคำขอในฟ้อง และตีความข้อยกเว้นใน ป.วิ.อ. มาตรา 192 อย่างเคร่งครัด
โจทก์บรรยายฟ้องโดยชัดแจ้งว่า จำเลยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กับมีคำขอท้ายคำฟ้อง ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100 และขอให้ระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น แสดงว่าโจทก์ระบุสถานะจำเลยว่าเป็นบุคคลตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100 และขอให้ระวางโทษจำเลยเป็นสามเท่าตามบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าวด้วย หาใช่ระวางโทษจำเลยเป็นสามเท่าตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น ซึ่งการที่ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100 ต้องได้ความว่าเป็นกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ หรือข้าราชการ หรือพนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษ หรือสนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว อันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 แต่จำเลยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมีสถานะถือเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10 ซึ่งต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเช่นกัน แต่เป็นกฎหมายอีกฉบับหนึ่งแยกต่างจากกัน เมื่อโจทก์ไม่ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10 ไว้ จึงไม่อาจระวางโทษจำเลยเป็นสามเท่าตามบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าวได้ เพราะเป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 3
ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ถือเป็นข้อยกเว้นของวรรคหนึ่ง จึงต้องตีความวรรคห้าโดยเคร่งครัด เมื่อวรรคห้าระบุว่าเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด จะตีความขยายไปถึงกรณีที่อ้างกฎหมายผิดทั้งฉบับหาได้ไม่ เพราะถ้ากฎหมายต้องการเช่นนั้นก็คงระบุไว้ว่า โจทก์อ้างบทกฎหมายผิด ซึ่งย่อมครอบคลุมตลอดถึงการอ้างความผิดหรือบทมาตราผิดอยู่ในตัวด้วย ที่โจทก์อ้างว่าคดีนี้อ้างบทมาตราผิดและศาลสามารถลงโทษจำเลยตามบทมาตราของกฎหมายที่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า จึงไม่ถูกต้อง ดังนั้น ศาลจะลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10 ไม่ได้ เพราะขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ถือเป็นข้อยกเว้นของวรรคหนึ่ง จึงต้องตีความวรรคห้าโดยเคร่งครัด เมื่อวรรคห้าระบุว่าเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด จะตีความขยายไปถึงกรณีที่อ้างกฎหมายผิดทั้งฉบับหาได้ไม่ เพราะถ้ากฎหมายต้องการเช่นนั้นก็คงระบุไว้ว่า โจทก์อ้างบทกฎหมายผิด ซึ่งย่อมครอบคลุมตลอดถึงการอ้างความผิดหรือบทมาตราผิดอยู่ในตัวด้วย ที่โจทก์อ้างว่าคดีนี้อ้างบทมาตราผิดและศาลสามารถลงโทษจำเลยตามบทมาตราของกฎหมายที่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า จึงไม่ถูกต้อง ดังนั้น ศาลจะลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10 ไม่ได้ เพราะขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญา: ข้อผิดพลาดในการอ้างบทกฎหมาย-ฐานความผิด ศาลมีอำนาจปรับบท-แก้ไขฐานความผิดได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันเก็บหา นำออกไปและทำด้วยประการใด ๆ อันทำให้เสื่อมสภาพซึ่งไม้ภายในเขตอุทยานแห่งชาติ และนำอาวุธปืนเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ อันเข้าลักษณะเป็นความผิดตามมาตรา 16 (2) (15) แห่ง พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 และมีบทลงโทษตามมาตรา 24, 26 และ 27 โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับความผิดดังกล่าวชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว แต่ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) บัญญัติว่า ฟ้องต้องมี "อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด" ที่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องเพียงแต่อ้างบทลงโทษตามมาตรา 24, 25 และ 27 โดยไม่ได้อ้างบทความผิดตามมาตรา 16 มาด้วย กรณีเช่นนี้ไม่ถึงกับเป็นเรื่องเกินคำขอเสียทีเดียวหรือเป็นเรื่องที่มิได้กล่าวในฟ้อง และไม่ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษตามฐานความผิดดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ แต่อย่างใด เมื่อข้อหาความผิดหนึ่งต้องมีบทความผิดกับบทลงโทษประกอบเข้าด้วยกัน โดยอาจจะอยู่ในมาตราเดียวกันหรือแยกกันอยู่คนละมาตราก็ได้ การที่โจทก์เพียงอ้างมาตราในกฎหมายที่เป็นบทความผิดหรือบทลงโทษเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นเรื่องโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดอย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานความผิดนั้นสมตามฟ้อง ทั้งบทลงโทษที่บัญญัติไว้ก็เชื่อมโยงไปถึงบทความผิด อันเห็นได้ถึงบทมาตราที่ถูกต้องครบถ้วน และการกระทำตามฟ้องเป็นความผิดตามกฎหมายเช่นใด ก็อยู่ในขั้นตอนปรับบทกฎหมายอันเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่อยู่ในอำนาจของศาล ดังนั้น ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตามฐานความผิดที่ถูกต้องนี้ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคห้า
ความผิดฐานมีเลื่อยโซ่ยนต์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 นั้น นอกจากโจทก์ไม่ได้อ้างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะเลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2551 อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นมาในคำขอท้ายฟ้องแล้ว กรณีปรากฏอีกด้วยว่ากฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดให้ "เลื่อยโซ่ยนต์" หมายความว่า "(1) เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกลที่ผลิตและประกอบสำเร็จรูปเพื่อการใช้งานที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว" อันเป็นการกำหนดไว้เฉพาะการมีเลื่อยโซ่ยนต์ที่มีลักษณะเช่นนี้เท่านั้นที่ต้องมีใบอนุญาตจากนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ ถ้าไม่มีใบอนุญาตจึงจะมีความผิดตามมาตรา 4 วรรคหนึ่ง และมีบทลงโทษตามมาตรา 17 วรรคหนึ่ง แต่ฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏเลยว่าเลื่อยโซ่ยนต์คดีนี้มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดไว้ ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับความผิดดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) และ (6) แม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับสารภาพก็รับฟังไม่ได้ว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 17 วรรคหนึ่ง จึงต้องพิพากษายกฟ้องความผิดข้อนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215, 225 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานมีเลื่อยโซ่ยนต์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 นั้น นอกจากโจทก์ไม่ได้อ้างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะเลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2551 อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นมาในคำขอท้ายฟ้องแล้ว กรณีปรากฏอีกด้วยว่ากฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดให้ "เลื่อยโซ่ยนต์" หมายความว่า "(1) เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกลที่ผลิตและประกอบสำเร็จรูปเพื่อการใช้งานที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว" อันเป็นการกำหนดไว้เฉพาะการมีเลื่อยโซ่ยนต์ที่มีลักษณะเช่นนี้เท่านั้นที่ต้องมีใบอนุญาตจากนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ ถ้าไม่มีใบอนุญาตจึงจะมีความผิดตามมาตรา 4 วรรคหนึ่ง และมีบทลงโทษตามมาตรา 17 วรรคหนึ่ง แต่ฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏเลยว่าเลื่อยโซ่ยนต์คดีนี้มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดไว้ ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับความผิดดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) และ (6) แม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับสารภาพก็รับฟังไม่ได้ว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 17 วรรคหนึ่ง จึงต้องพิพากษายกฟ้องความผิดข้อนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215, 225 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6858/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษตามกฎหมายยาที่แก้ไขใหม่ แม้โจทก์อ้างอิงกฎหมายเก่า และความผิดฐานมีไว้เพื่อขายซึ่งยาอันตราย
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 4, 32, 107 พ.ร.บ.ยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2522 ซึ่งมาตรา 4 ที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2522 ได้ถูกยกเลิกไปตาม พ.ร.บ.ยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2530 นั้น เห็นว่า แม้โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองโดยอ้าง พ.ร.บ.ยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2522 ซึ่งถูกยกเลิกและแก้ไขใหม่แล้ว และมิได้อ้าง พ.ร.บ.ยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2530 ที่แก้ไขใหม่ แต่คำว่า ขาย ตามมาตรา 4 ซึ่งแก้ไขใหม่ยังคงหมายความรวมถึงมีไว้เพื่อขายและถือเป็นความผิด ดังนั้นการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงยังเป็นความผิดตามบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ การที่โจทก์ยังคงขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2522 เป็นเพียงการอ้างบทบัญญัติกฎหมายผิดพลาดไปเท่านั้น แม้โจทก์จะไม่อ้างบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ และข้อเท็จจริงฟังว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้อง ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งสองตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 32 จะต้องมีการขายยาแผนปัจจุบันที่เป็นยาอันตรายจริง ๆ หรือไม่ เห็นว่า พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 4 ได้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "ขาย" หมายความว่า ขายปลีก ขายส่ง จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ในทางการค้า และให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายด้วย ฉะนั้น การขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งยาแผนปัจจุบันที่เป็นยาอันตรายในระหว่างที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ จึงเป็นความผิดอย่างเดียวกัน หาใช่ต้องมีการขายกันจริง
การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 32 จะต้องมีการขายยาแผนปัจจุบันที่เป็นยาอันตรายจริง ๆ หรือไม่ เห็นว่า พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 4 ได้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "ขาย" หมายความว่า ขายปลีก ขายส่ง จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ในทางการค้า และให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายด้วย ฉะนั้น การขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งยาแผนปัจจุบันที่เป็นยาอันตรายในระหว่างที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ จึงเป็นความผิดอย่างเดียวกัน หาใช่ต้องมีการขายกันจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7760/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาต และการปรับบทกฎหมายอาญาตามประกาศคณะปฏิวัติ
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายองค์ประกอบความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9 ไว้ชัดเจนว่า จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน ทั้งนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต ต่อมากิ่งอำเภอเกาะจันทร์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินดังกล่าวภายใน 30 วัน แต่จำเลยเพิกเฉย ต่อมากิ่งอำเภอเกาะจันทร์ได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่พักอาศัยภายใน 7 วัน จำเลยได้รับคำสั่งแล้วไม่ดำเนินการรื้อถอน ถือได้ว่าโจทก์บรรยายถึงการกระทำผิดของจำเลยครบถ้วนแล้วตามมาตรา 9 และมาตรา 108 แล้ว แม้คำฟ้องโจทก์ระบุวันกระทำผิดของจำเลยคือ ต้นปี 2514 อันเป็นวันก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 มีผลบังคับ ซึ่งต้องปรับบทตามมาตรา 108 ก็ตามและคำฟ้องของโจทก์ได้อ้างมาตรา 108 ทวิ มิได้อ้างมาตรา 108 มาก็ตาม กรณีถือได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
ธ. ช่างรังวัดที่ดินก่อนทำการรังวัดไปตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องและคำนวณตามหลักวิชาช่างแล้วก็ยืนยันว่าที่ดินที่จำเลยยึดถือครอบครองอยู่ในเขตที่ดินสาธารณประโยชน์ และได้ความจาก ด. ปลัดกิ่งอำเภอเกาะจันทร์ว่า ในปี 2540 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ต้องการสร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอเกาะจันทร์ตรงบริเวณที่ดินที่จำเลยยึดถือครอบครองได้ให้เงินจำนวน 20,000 บาท แก่จำเลยเป็นค่าวัชพืชที่จำเลยทำการเกษตรไว้และให้จำเลยออกจากที่ดิน ซึ่งจำเลยเบิกความรับว่าทางราชการได้ให้เงินไว้ตามจำนวนดังกล่าวจริง ได้มีการทำบันทึกในการรับเงินไว้ ข้อความในเอกสารดังกล่าวระบุว่า ที่ดินที่ทางราชการจะทำการก่อสร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอเกาะจันทร์ซึ่งจำเลยครอบครองอยู่เป็นที่สาธารณประโยชน์ การที่จำเลยนำสืบบ่ายเบี่ยงว่าที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่นอกเขตที่ดินสาธารณประโยชน์หนองหูช้างเป็นข้ออ้างที่เลื่อนลอยไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ จึงไม่ผิดตาม ป.อ. มาตรา 368 ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปอีก และเมื่อการกระทำความผิดของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 108 ศาลจึงไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทเพราะกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้
ธ. ช่างรังวัดที่ดินก่อนทำการรังวัดไปตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องและคำนวณตามหลักวิชาช่างแล้วก็ยืนยันว่าที่ดินที่จำเลยยึดถือครอบครองอยู่ในเขตที่ดินสาธารณประโยชน์ และได้ความจาก ด. ปลัดกิ่งอำเภอเกาะจันทร์ว่า ในปี 2540 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ต้องการสร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอเกาะจันทร์ตรงบริเวณที่ดินที่จำเลยยึดถือครอบครองได้ให้เงินจำนวน 20,000 บาท แก่จำเลยเป็นค่าวัชพืชที่จำเลยทำการเกษตรไว้และให้จำเลยออกจากที่ดิน ซึ่งจำเลยเบิกความรับว่าทางราชการได้ให้เงินไว้ตามจำนวนดังกล่าวจริง ได้มีการทำบันทึกในการรับเงินไว้ ข้อความในเอกสารดังกล่าวระบุว่า ที่ดินที่ทางราชการจะทำการก่อสร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอเกาะจันทร์ซึ่งจำเลยครอบครองอยู่เป็นที่สาธารณประโยชน์ การที่จำเลยนำสืบบ่ายเบี่ยงว่าที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่นอกเขตที่ดินสาธารณประโยชน์หนองหูช้างเป็นข้ออ้างที่เลื่อนลอยไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ จึงไม่ผิดตาม ป.อ. มาตรา 368 ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปอีก และเมื่อการกระทำความผิดของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 108 ศาลจึงไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทเพราะกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15274/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน และความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่ไม่ได้รับอนุญาต
พันตำรวจโท ส. พนักงานสอบสวนแจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำซึ่งกล่าวหาว่าจำเลยได้กระทำผิดเพียงว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุผู้ต้องหาได้ใช้อาวุธปืนยิงแมวของผู้กล่าวหาที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเข้าไปในบ้านของจำเลย และเจ้าพนักงานตำรวจได้ร่วมกันจับกุมตัวจำเลยได้พร้อมด้วยอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางนำส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดี เหตุเกิดที่บ้านเลขที่ 63/2 ถนน 25 มกรา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2548 เวลาประมาณ 11 นาฬิกา วันที่ 19 มีนาคม 2548 เวลาประมาณ 20 นาฬิกา แต่ก็มีข้อความต่อไปที่แสดงว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่ถือได้ว่ามีการแจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานะที่ซึ่งเกิดการกระทำที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานพอที่จำเลยจะเข้าใจได้ดีแล้ว การสอบสวนในความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 134 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
มาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้" แปลความได้ว่าหากผู้ใดมีเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้ ก็ไม่จำต้องขออนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ อันเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ และไม่เป็นความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่ออาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้เป็นอาวุธปืนพกรีวอลเวอร์ขนาด .357 และกระสุนปืนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นเครื่องกระสุนปืนขนาด .38 แม้จะใช้กับอาวุธปืนพกรีวอลเวอร์ขนาด .357 ได้ แต่เครื่องกระสุนปืนดังกล่าวก็มิใช่เครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและให้ใช้ จำเลยจึงมีความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้
แม้โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องโดยระบุคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2549 ซึ่งไม่มีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินดังกล่าว แต่กรณีเป็นการผิดพลาดไป ซึ่งข้อผิดพลาดดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์อ้างกฎหมายผิด มิใช่เป็นเรื่องโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 เมื่อจำเลยกระทำความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามฟ้องศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 อันเป็นกฎหมายที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า และกรณีดังกล่าวไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
มาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้" แปลความได้ว่าหากผู้ใดมีเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้ ก็ไม่จำต้องขออนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ อันเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ และไม่เป็นความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่ออาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้เป็นอาวุธปืนพกรีวอลเวอร์ขนาด .357 และกระสุนปืนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นเครื่องกระสุนปืนขนาด .38 แม้จะใช้กับอาวุธปืนพกรีวอลเวอร์ขนาด .357 ได้ แต่เครื่องกระสุนปืนดังกล่าวก็มิใช่เครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและให้ใช้ จำเลยจึงมีความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้
แม้โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องโดยระบุคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2549 ซึ่งไม่มีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินดังกล่าว แต่กรณีเป็นการผิดพลาดไป ซึ่งข้อผิดพลาดดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์อ้างกฎหมายผิด มิใช่เป็นเรื่องโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 เมื่อจำเลยกระทำความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามฟ้องศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 อันเป็นกฎหมายที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า และกรณีดังกล่าวไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8362/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานในหน่วยงานของรัฐ: การตีความคำว่า 'พนักงาน' และหลักการพิพากษาเกินคำขอ
จำเลยทั้งสองเป็นพนักงานองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ซึ่ง พ.ร.บ.องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497 มาตรา 4 บัญญัติว่า "พนักงาน" หมายความว่า พนักงานขององค์การโทรศัพท์และมาตรา 17 บัญญัติว่า ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ผู้อำนวยการ และพนักงานเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งกฎหมายลักษณะอาญา แสดงว่าจำเลยทั้งสองย่อมเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมาย จำเลยทั้งสองจึงไม่ใช่พนักงานตามความหมายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 จึงไม่อาจนำ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาใช้บังคับลงโทษจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นพนักงานองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้
ตามฟ้องและคำขอท้ายฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 4 และ 11 โดยมุ่งประสงค์ให้ลงโทษตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวเพียงประการเดียวหาได้ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 147 และ 157 ดังที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใดไม่ จึงถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้เป็นเจ้าพนักงานซึ่งจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 ศาลก็ต้องยกฟ้อง จะยกบทบัญญัติแห่ง ป.อ. ซึ่งเป็นกฎหมายคนละฉบับและไม่ได้กล่าวมาในฟ้องขึ้นมาพิจารณาลงโทษจำเลยทั้งสองโดยโจทก์มิได้ขอไม่ได้ เพราะเป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอทั้งไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษและโจทก์สืบสมแต่อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดหรือเป็นเพียงรายละเอียดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้า
ตามฟ้องและคำขอท้ายฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 4 และ 11 โดยมุ่งประสงค์ให้ลงโทษตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวเพียงประการเดียวหาได้ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 147 และ 157 ดังที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใดไม่ จึงถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้เป็นเจ้าพนักงานซึ่งจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 ศาลก็ต้องยกฟ้อง จะยกบทบัญญัติแห่ง ป.อ. ซึ่งเป็นกฎหมายคนละฉบับและไม่ได้กล่าวมาในฟ้องขึ้นมาพิจารณาลงโทษจำเลยทั้งสองโดยโจทก์มิได้ขอไม่ได้ เพราะเป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอทั้งไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษและโจทก์สืบสมแต่อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดหรือเป็นเพียงรายละเอียดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3025/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษตามกฎหมายจราจรที่แก้ไขใหม่ การพักใช้ใบอนุญาต และความผิดตามกฎหมายหลายบท
คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157 ทวิ แต่ขณะจำเลยกระทำความผิดบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวถูกยกเลิกไปแล้วโดย พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 มาตรา 9 และให้ใช้ความใหม่ตามมาตรา 157/1 แทน การที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157 ทวิ เป็นการอ้างบทบัญญัติกฎหมายผิดพลาดไปเท่านั้น แม้โจทก์ไม่อ้างบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องตามบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
คดีนี้แม้โจทก์จะอ้าง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157 ทวิ และมีคำขอให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้มีใบอนุญาตขับขี่ ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยมีใบอนุญาตขับขี่ที่จะต้องพักใช้ ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยเป็นการมิชอบ และพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 127 ทวิ โดยไม่ระบุวรรคนั้นเป็นการไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คดีนี้แม้โจทก์จะอ้าง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157 ทวิ และมีคำขอให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้มีใบอนุญาตขับขี่ ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยมีใบอนุญาตขับขี่ที่จะต้องพักใช้ ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยเป็นการมิชอบ และพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 127 ทวิ โดยไม่ระบุวรรคนั้นเป็นการไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9114/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องผิดฐานความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ศาลสามารถลงโทษตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ ว่า จำเลยมีเครื่องกระสุนปืน ซึ่งสามารถใช้ยิงทำอันตรายแก่ชีวิตและวัตถุได้ไว้ในความครอบครองของจำเลยโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมาย ฟ้องของโจทก์บรรยายครบถ้วนแล้วว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเครื่องกระสุนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 7, 72 วรรคสอง แต่ในคำขอท้ายฟ้องกลับขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 8, 72 ทวิ ซึ่งเป็นบทลงโทษผู้มีเครื่องกระสุนปืน ซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ เห็นได้ว่าโจทก์อ้างบทมาตราผิด เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า กรณีมิใช่โจทก์บรรยายฟ้องไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9114/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องผิดบทมาตราในความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน ศาลสามารถลงโทษตามบทมาตราที่ถูกต้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับความผิดต่อ พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียม อาวุธปืน พ.ศ.2490 ให้ข้อ 1.7 ว่า จำเลยมีเครื่องกระสุนปืน คือ กระสุนปืนออโตเมติก ขนาด 9 มิลลิเมตร (LUGER) จำนวน 598 นัด และกระสุนปืนออโตเมติก ขนาด .45 (11 มิลลิเมตร) จำนวน 50 นัด ซึ่งเครื่องกระสุนปืนดังกล่าวเป็นเครื่องกระสุนปืนตามกฎหมาย สามารถใช้ยิงทำอันตรายแก่ชีวิตและวัตถุได้ไว้ในครอบครองของจำเลยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมาย ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายไว้ครบถ้วนแล้วว่า จำเลยกระทำความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียม อาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรคสอง แต่ในคำขอท้ายฟ้องกลับขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียม อาวุธปืน พ.ศ.2490 8, 72 ทวิ โดยเป็นบทลงโทษผู้มีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ จึงเห็นได้ว่าโจทก์อ้างบทมาตราผิด เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า กรณีมิใช่ฟ้องไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)