พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4250/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์: ผู้ขายมีความผิดแม้ไม่ได้เป็นผู้ทำซ้ำ
จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าแผ่นซีดี-รอมที่จำเลยร่วมกับพวกขายและเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป เป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น และการที่สินค้าเหล่านี้ไม่มีฉลากจำเลยก็ทราบว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะทางราชการได้ประกาศให้ประชาชนทราบในราชกิจจานุเบกษาแล้ว การกระทำของจำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 มาตรา 31 (1) (2) มีโทษตามมาตรา 70 วรรคสอง ไม่ผิดตามมาตรา 28, 30 และ 69 เนื่องจากจำเลยไม่ได้กระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดยตรง หากแต่กระทำแก่งานที่บุคคลอื่นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอยู่แล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์งานประเภทวรรณกรรมโดยนำแผ่นซีดี-รอมที่บันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งได้มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยนำออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงกำไรในทางการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าแผ่นซีดี-รอมดังกล่าวเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย กรณีจึงต้องตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (1) (2) และ 70 วรรคสองแม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษตามมาตรา 28, 30 และ 69 ก็ตาม ก็เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคห้า และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 และจำเลยยังมีความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522มาตรา 30 (2) และ 52 วรรคหนึ่ง อีกกรรมหนึ่งด้วย
ความผิดตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537ไม่ได้จำกัดว่าผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นเจ้าของร้านหรือผู้จัดการร้านเท่านั้น ลูกจ้างหรือใครก็ตามหากรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าสินค้าใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นแล้วยังนำออกขายหรือเสนอขายให้แก่ประชาชนเพื่อหากำไร กฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ต้องรับโทษตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์งานประเภทวรรณกรรมโดยนำแผ่นซีดี-รอมที่บันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งได้มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยนำออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงกำไรในทางการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าแผ่นซีดี-รอมดังกล่าวเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย กรณีจึงต้องตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (1) (2) และ 70 วรรคสองแม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษตามมาตรา 28, 30 และ 69 ก็ตาม ก็เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคห้า และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 และจำเลยยังมีความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522มาตรา 30 (2) และ 52 วรรคหนึ่ง อีกกรรมหนึ่งด้วย
ความผิดตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537ไม่ได้จำกัดว่าผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นเจ้าของร้านหรือผู้จัดการร้านเท่านั้น ลูกจ้างหรือใครก็ตามหากรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าสินค้าใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นแล้วยังนำออกขายหรือเสนอขายให้แก่ประชาชนเพื่อหากำไร กฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ต้องรับโทษตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4250/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์และขายสินค้าที่ควบคุมฉลาก ผู้ขายมีความผิดแม้เป็นเพียงลูกจ้าง
จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าแผ่นซีดี-รอมที่จำเลยร่วมกับพวกขายและเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป เป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น และการที่สินค้าเหล่านี้ไม่มีฉลากจำเลยก็ทราบว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะทางราชการได้ประกาศให้ประชาชนทราบในราชกิจจานุเบกษาแล้ว การกระทำของจำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31(1)(2) มีโทษตามมาตรา 70 วรรคสอง ไม่ผิดตามมาตรา 28,30 และ 69 เนื่องจากจำเลยไม่ได้กระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดยตรง หากแต่กระทำแก่งานที่บุคคลอื่นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอยู่แล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์งานประเภทวรรณกรรมโดยนำแผ่นซีดี-รอมที่บันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งได้มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยนำออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงกำไรในทางการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าแผ่นซีดี-รอมดังกล่าวเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย กรณีจึงต้องตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537มาตรา 31(1)(2) และ 70 วรรคสอง แม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษตามมาตรา 28,30และ 69 ก็ตาม ก็เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45และจำเลยยังมีความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 30(2) และ 52 วรรคหนึ่งอีกกรรมหนึ่งด้วย
ความผิดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ไม่ได้จำกัดว่าผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นเจ้าของร้านหรือผู้จัดการร้านเท่านั้น ลูกจ้างหรือใครก็ตามหากรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าสินค้าใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นแล้วยังนำออกขายหรือเสนอขายให้แก่ประชาชนเพื่อหากำไร กฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ต้องรับโทษตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์งานประเภทวรรณกรรมโดยนำแผ่นซีดี-รอมที่บันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งได้มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยนำออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงกำไรในทางการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าแผ่นซีดี-รอมดังกล่าวเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย กรณีจึงต้องตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537มาตรา 31(1)(2) และ 70 วรรคสอง แม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษตามมาตรา 28,30และ 69 ก็ตาม ก็เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45และจำเลยยังมีความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 30(2) และ 52 วรรคหนึ่งอีกกรรมหนึ่งด้วย
ความผิดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ไม่ได้จำกัดว่าผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นเจ้าของร้านหรือผู้จัดการร้านเท่านั้น ลูกจ้างหรือใครก็ตามหากรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าสินค้าใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นแล้วยังนำออกขายหรือเสนอขายให้แก่ประชาชนเพื่อหากำไร กฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ต้องรับโทษตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2459/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตยาเสพติดเพื่อจำหน่าย ศาลลงโทษตามฟ้องได้แม้โจทก์อ้างมาตราผิด ประเด็นอำนาจศาลตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคห้า
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าขณะเกิดเหตุจำเลยกำลังแบ่งบรรจุ เมทแอมเฟตามีนของกลางจริง การกระทำของจำเลยดังกล่าวตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4ถือว่าเป็นการผลิตเมทแอมเฟตามีนแล้ว และพฤติการณ์ของจำเลย ที่แบ่งเมทแอมเฟตามีนของกลางออกเป็นส่วนย่อยและบรรจุลง ในหลอดดูดเครื่องดื่มแล้วจำนวน 1 หลอด ทั้งยังมีหลอดดูด เครื่องดื่มเปล่าตัดเป็นท่อน ๆ จำนวนหนึ่งวางอยู่ เป็นการกระทำ เพื่อความสะดวกในการจัดจำหน่ายนั่นเอง จำเลยย่อมมีความผิด ฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย โจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยการแบ่งบรรจุจากถุงพลาสติกใส่หลอดเครื่องดื่มเสร็จแล้ว 1 หลอด จำนวน 2 เม็ด เพื่อจำหน่าย ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย เป็นการ ฟังข้อเท็จจริงที่โจทก์สืบสมตามที่โจทก์บรรยายฟ้องแล้ว ที่โจทก์ อ้างขอให้ลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 15 และมาตรา 85 แทนที่จะอ้างมาตรา 65จึงเป็นกรณีที่โจทก์อ้างบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลย ตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า กรณีหาใช่ศาลฟังข้อเท็จจริงในทางพิจารณา แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้องในข้อที่มิใช่สาระสำคัญ อันจะต้องพิจารณาว่าจำเลยมิได้หลงต่อสู้ด้วยหรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 65 วรรคสอง จึงไม่เกินคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6503/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยมีวัตถุออกฤทธิ์เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด และการแก้ไขโทษทางอาญาที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา
อีเฟดรีนของกลางที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวต้องรับโทษเพียงใดอยู่ที่ปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ว่าหนักเท่าใด เมื่อข้อเท็จจริง ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 มีอีเฟดรีน ของกลางไว้ในครอบครอง คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 13.12 กรัม ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92(พ.ศ. 2538)รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดไว้ว่าการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์อีเฟดรีน ซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วต้องไม่เกินปริมาณ 12.000 กรัม การที่จำเลยมีอีเฟดรีน ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดดังกล่าวจึงเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 มาตรา 106 ทวิ ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1ตามที่โจทก์ฟ้องนั้นได้ หาใช่เป็นการเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ไม่ ขณะเจ้าพนักงานเข้าตรวจค้น พบจำเลยที่ 2 นอนอยู่ที่เพิง ข้างบ้าน โดยจำเลยที่ 2 อ้างว่าไปนอนที่บ้านเกิดเหตุเพื่อดู หนังสือเตรียมตัวสอบ ส่วนจำเลยที่ 3 ไปพบจำเลยที่ 1เพราะจำเลยที่ 1 ชวนให้นอนค้างที่บ้านเกิดเหตุ เมื่อไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รู้เห็นในการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 หรือสมคบกับจำเลยที่ 1กระทำผิดรายนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะให้การในชั้นสอบสวนว่าจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 ช่วยถอดเครื่องมือที่ใช้ผลิตอีเฟดรีน เพื่อนำออกไปซ่อมก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ทราบข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ผลิตอีเฟดรีน มาก่อน เพียงเท่านี้จึงยังไม่พอชี้ขาดว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีส่วนร่วมกระทำผิดรายนี้ด้วย โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 13 ทวิ,62,86,106 ทวิ ซึ่งการฝ่าฝืนมาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง บทกำหนดโทษคือมาตรา 89การที่โจทก์ขอให้ลงโทษตามมาตรา 86 แทนที่จะเป็นมาตรา 89 จึงเป็นกรณีโจทก์อ้างบทมาตราผิดศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง,62 วรรคหนึ่ง,89,106 ทวิ ให้ลงโทษฐานผลิตตามมาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง,89 อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 นั้น ยังไม่ถูกต้อง เพราะมาตรา 89 และมาตรา 106 ทวิ ต่างก็มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาทเท่ากัน ต้องพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยที่ 1เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งมีอัตราโทษเท่ากันให้ลงโทษฐานผลิตวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามมาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง และมาตรา 89
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4460/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำอนาจารโดยใช้กำลังขู่เข็ญ และการลงโทษตามบทกฎหมายที่ถูกต้อง
จำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายโดยใช้มีดขู่เข็ญว่าจะแทงประทุษร้าย อันเป็นการใช้กำลังประทุษร้าย และการที่ผู้เสียหายต้องยอมให้จำเลย ถอดกระดุมเสื้อออก แสดงว่าผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 278,322,365 โดยบรรยายฟ้องว่า วันเกิดเหตุเวลากลางคืนก่อนเที่ยง จำเลยได้บังอาจบุกรุกเข้าไปในเคหสถานที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ของนางสาว ส.ผู้เสียหายโดยไม่ได้รับอนุญาต แล้วบังอาจกระทำอนาจารผู้เสียหาย โดยใช้อาวุธมีดขู่เข็ญว่าทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย และโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง ทั้งโจทก์ก็ได้ขอให้ลงโทษจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ด้วย การที่โจทก์อ้างมาตรา 322 แทนที่จะเป็นมาตรา 362 จึงเป็นกรณีโจทก์อ้างบทมาตราผิดศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4460/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำอนาจารโดยข่มขู่ด้วยอาวุธและการบุกรุกเคหสถาน
จำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายโดยใช้มีดขู่เข็ญว่าจะแทงประทุษร้าย อันเป็นการใช้กำลังประทุษร้าย และการที่ผู้เสียหายต้องยอมให้จำเลยถอดกระดุมเสื้อออก แสดงว่าผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 278
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 278, 322,365 โดยบรรยายฟ้องว่า วันเกิดเหตุเวลากลางคืนก่อนเที่ยง จำเลยได้บังอาจบุกรุกเข้าไปในเคหสถานที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ของนางสาว ส.ผู้เสียหายโดยไม่ได้รับอนุญาต แล้วบังอาจกระทำอนาจารผู้เสียหาย โดยใช้อาวุธมีดขู่เข็ญว่าทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย และโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง ทั้งโจทก์ก็ได้ขอให้ลงโทษจำเลย ตาม ป.อ.มาตรา 365 ด้วย การที่โจทก์อ้างมาตรา 322 แทนที่จะเป็นมาตรา 362 จึงเป็นกรณีโจทก์อ้างบทมาตราผิดศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคห้า
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 278, 322,365 โดยบรรยายฟ้องว่า วันเกิดเหตุเวลากลางคืนก่อนเที่ยง จำเลยได้บังอาจบุกรุกเข้าไปในเคหสถานที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ของนางสาว ส.ผู้เสียหายโดยไม่ได้รับอนุญาต แล้วบังอาจกระทำอนาจารผู้เสียหาย โดยใช้อาวุธมีดขู่เข็ญว่าทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย และโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง ทั้งโจทก์ก็ได้ขอให้ลงโทษจำเลย ตาม ป.อ.มาตรา 365 ด้วย การที่โจทก์อ้างมาตรา 322 แทนที่จะเป็นมาตรา 362 จึงเป็นกรณีโจทก์อ้างบทมาตราผิดศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2858/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี แม้ชั่วคราวและเด็กเต็มใจไปด้วย ก็เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317
องค์ประกอบความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 คือการพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล คำว่า "พราก"หมายความว่า พาไปหรือแยกเด็กออกจากความปกครองดูแล แม้จะชักชวนแนะนำเด็กให้ไปกับผู้กระทำโดยมิได้หลอกลวงและเด็กเต็มใจไปด้วย ก็เป็นความผิดตามมาตรานี้
จำเลยมีอาชีพรับจ้างโดยขับรถรับจ้างรับส่งผู้โดยสารทั่วไปได้รับส่งเด็กหญิงทั้งสาม พาไปเลี้ยงไอศกรีม พาไปเที่ยวแล้วจึงส่งกลับบ้านเป็นการชั่วคราวก็ตาม แต่เมื่อไปถึงบ้านของเด็กหญิง เด็กหญิงจะลงจากรถ จำเลยก็ชักชวนให้ไปกับจำเลยจนกระทั่งล่วงเลยเวลากลับบ้านตามปกติ รุ่งขึ้นก็ชักชวนเด็กหญิงดังกล่าวไปกับจำเลยอีกโดยสัญญาว่าจะพาไปเลี้ยงไอศกรีม ทั้งยังเล่าเรื่องร่วมเพศให้เด็กหญิงฟังและนัดหมายจะพาไปเรียนว่ายน้ำและสอนขับรถในวันต่อมา ซึ่งในวันดังกล่าวจำเลยได้พาเด็กหญิงไปกินไอศกรีม โดยจำเลยเป็นผู้จ่ายเงิน นอกจากนี้จำเลยยังให้เงินและเสี้ยมสอนให้เด็กหญิงทั้งสามโกหกบิดามารดาในการกลับบ้านผิดปกติและล่วงเลยเวลา เด็กหญิงทั้งสามอายุเพียง 10 ปี ยังอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดามารดา การกระทำของจำเลยแม้จะพรากไปเพียงชั่วคราว แต่ก็มิได้รับความยินยอมจากบิดามารดา ทั้งไม่ปรากฏว่าการพาไปดังกล่าวเพราะเหตุสมควรประการใด จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคหนึ่ง แต่ยังไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคสาม เพราะลำพังการเล่าเรื่องลามกอนาจารยังไม่พอฟังว่าเป็นความผิดตามตัวบทกฎหมายดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 317 วรรคสามโดยไม่ได้ขอให้ลงโทษตามมาตรา 317 วรรคหนึ่ง แต่ความผิดตามที่โจทก์ฟ้องนั้นรวมการกระทำผิดตามมาตรา 317 วรรคหนึ่งด้วย เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคหนึ่ง ศาลก็ปรับบทลงโทษตามความผิดที่พิจารณาได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหก
จำเลยมีอาชีพรับจ้างโดยขับรถรับจ้างรับส่งผู้โดยสารทั่วไปได้รับส่งเด็กหญิงทั้งสาม พาไปเลี้ยงไอศกรีม พาไปเที่ยวแล้วจึงส่งกลับบ้านเป็นการชั่วคราวก็ตาม แต่เมื่อไปถึงบ้านของเด็กหญิง เด็กหญิงจะลงจากรถ จำเลยก็ชักชวนให้ไปกับจำเลยจนกระทั่งล่วงเลยเวลากลับบ้านตามปกติ รุ่งขึ้นก็ชักชวนเด็กหญิงดังกล่าวไปกับจำเลยอีกโดยสัญญาว่าจะพาไปเลี้ยงไอศกรีม ทั้งยังเล่าเรื่องร่วมเพศให้เด็กหญิงฟังและนัดหมายจะพาไปเรียนว่ายน้ำและสอนขับรถในวันต่อมา ซึ่งในวันดังกล่าวจำเลยได้พาเด็กหญิงไปกินไอศกรีม โดยจำเลยเป็นผู้จ่ายเงิน นอกจากนี้จำเลยยังให้เงินและเสี้ยมสอนให้เด็กหญิงทั้งสามโกหกบิดามารดาในการกลับบ้านผิดปกติและล่วงเลยเวลา เด็กหญิงทั้งสามอายุเพียง 10 ปี ยังอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดามารดา การกระทำของจำเลยแม้จะพรากไปเพียงชั่วคราว แต่ก็มิได้รับความยินยอมจากบิดามารดา ทั้งไม่ปรากฏว่าการพาไปดังกล่าวเพราะเหตุสมควรประการใด จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคหนึ่ง แต่ยังไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคสาม เพราะลำพังการเล่าเรื่องลามกอนาจารยังไม่พอฟังว่าเป็นความผิดตามตัวบทกฎหมายดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 317 วรรคสามโดยไม่ได้ขอให้ลงโทษตามมาตรา 317 วรรคหนึ่ง แต่ความผิดตามที่โจทก์ฟ้องนั้นรวมการกระทำผิดตามมาตรา 317 วรรคหนึ่งด้วย เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคหนึ่ง ศาลก็ปรับบทลงโทษตามความผิดที่พิจารณาได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณปริมาณเมทแอมเฟตามีนเป็นสารบริสุทธิ์เพื่อความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ มาตรา 106 ทวิ
ความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ฯมาตรา106ทวิฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดนั้นได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่92(พ.ศ.2538)ออกใช้ภายหลังการกระทำความผิดและเป็นคุณแก่จำเลยซึ่งจะต้องนำมาบังคับใช้ในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา3ประกาศดังกล่าวระบุว่าเมทแอมเฟตามีนที่ห้ามมีเกินกว่า0.500กรัมนั้นจะต้องคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เสียก่อนแต่ไม่ปรากฎว่าเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องได้คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วเกิน0.500กรัมการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา106ไม่เป็นความผิดตามมาตรา106ทวิดังนั้นแม้โจทก์จะอ้างว่าได้อ้างมาตราท้ายฟ้องผิดไปเป็นมาตรา106ก็ตามคดีก็ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจะลงโทษตามมาตรา106ทวิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคห้าได้หรือไม่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดคำนวณปริมาณสารบริสุทธิ์ในคดีครอบครองเมทแอมเฟตามีน และผลต่อการพิจารณาความผิด
ความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ ฯ มาตรา 106 ทวิ ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดนั้น ได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ.2538) ออกใช้ภายหลังการกระทำความผิดและเป็นคุณแก่จำเลย ซึ่งจะต้องนำมาบังคับใช้ในคดีนี้ตาม ป.อ.มาตรา 3 ประกาศดังกล่าวระบุว่าเมทแอมเฟตามีนที่ห้ามมีเกินกว่า 0.500 กรัม นั้น จะต้องคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เสียก่อน แต่ไม่ปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องได้คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วเกิน 0.500 กรัม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 106 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 106 ทวิ ดังนั้น แม้โจทก์จะอ้างว่าได้อ้างมาตราท้ายฟ้องผิดไปเป็นมาตรา 106 ก็ตาม คดีก็ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจะลงโทษตามมาตรา 106 ทวิ ตามป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ได้หรือไม่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9081/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษทางอาญา: ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขบทมาตราที่ศาลล่างใช้ผิดได้ แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษตามบทมาตราเดิม
จำเลยขับรถจักรยานยนต์โดยไม่มีใบอนุญาต แต่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 62, 43 (2)ซึ่งไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องเป็นมาตรา 42, 43 (6) และแม้โจทก์จะขอให้ลงโทษตามมาตรา 43 (2) ก็ตาม เป็นเพียงแต่โจทก์อ้างบทมาตราผิดไป ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่ถูกต้องได้