คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ม. 3

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3082/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายเวลาอุทธรณ์-กฎหมายใหม่คุ้มครอง: ศาลฎีกาแก้โทษปรับ-จำคุกจากกฎหมายเช็คเก่าเป็นเช็คใหม่
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาและมีคำสั่งตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ โจทก์ร่วมย่อมอุทธรณ์คัดค้านของศาลชั้นต้นดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคแรก เพราะคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว และยังไม่ได้มีการสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 196 ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์มีพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 บังคับใช้ ซึ่งมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิด มีอัตราโทษเบากว่ากฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดและเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องใช้กฎหมายใหม่ดังกล่าวบังคับแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมยกขึ้นว่าในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เปลี่ยนแปลงโทษตามกฎหมายเช็คใหม่: โทษเบากว่าต้องใช้บังคับกับจำเลย
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 บังคับใช้ โดยพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497และตามกฎหมายใหม่ มาตรา 4 กำหนดโทษผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งมีโทษเบากว่าจึงต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 500,000 บาทนั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดโทษปรับจำเลยที่ 1 ใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กฎหมายอาญาใหม่ที่มีโทษเบากว่าในคดีเช็ค โดยใช้หลักกฎหมายที่บัญญัติให้ใช้กฎหมายที่เป็นคุณต่อจำเลย
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 บังคับใช้ โดยพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497และตามกฎหมายใหม่ มาตรา 4 กำหนดโทษผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งมีโทษเบากว่าจึงต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม ป.อ. มาตรา 3 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษปรับจำเลยที่ 1เป็นเงิน 500,000 บาท นั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดโทษปรับจำเลยที่ 1 ใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 332/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายเช็คที่ใช้บังคับใหม่เป็นคุณแก่จำเลย ศาลใช้กฎหมายใหม่ลงโทษ
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มี พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ใช้บังคับโดยให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497และตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดมีอัตราโทษเบากว่าอัตราโทษตาม มาตรา 3 แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิด จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดแก่จำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3