พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3997/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องครอบครองที่ดินและการแจ้งความร้องทุกข์ ไม่ถือเป็นการละเมิดหากกระทำโดยสุจริตและใช้สิทธิทางศาล
จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งให้ขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อ เป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 โต้แย้งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทกัน ส่วนการที่จำเลยที่ 2 รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ก็โดยอาศัยหลักฐานการครอบครองที่ดินพิพาทอันได้แก่ ส.ค.1 เป็นการใช้สิทธิตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) และมาตรา 3 ให้อำนาจไว้ และเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นผู้เสียหายมีสิทธิแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีได้ ส่วนการที่พนักงานสอบสวนกระทำการสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดมาดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิด ก็เป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวนได้กระทำไปตามอำนาจแห่งบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจไว้อันเป็นเรื่องการปฎิบัติงานของพนักงานสอบสวนเองหากโจทก์จะต้องเสียหายจากการไปที่สถานีตำรวจหรือจะต้องเสียหายประการใด ก็เป็นผลโดยตรงอันเนื่องจากการวินิจฉัยของพนักงานสอบสวน สำหรับการที่จำเลยที่ 1 ฟ้องคดีโจทก์เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนากลั่นแกล้งเพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 เชื่อโดยสุจริตใจว่าหลักฐานการครอบครองที่ดินพิพาท ส.ค.1 เป็นหลักฐานการครอบครองซึ่งจำเลยที่ 1 เห็นว่าตนมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริตฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 55 ที่ให้ผู้ถูกโต้แย้งสิทธิใช้สิทธิฟ้องร้องผู้โต้แย้งสิทธิทางศาลได้ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำผิดต่อกฎหมาย หรือไม่ได้ใช้สิทธิอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมายจึงมิได้เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3997/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต และการแจ้งความร้องทุกข์ ไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งให้ขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อ เป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 โต้แย้งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทกัน ส่วนการที่จำเลยที่ 2 รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ก็โดยอาศัยหลักฐานการครอบครองที่ดินพิพาทอันได้แก่ ส.ค.1 เป็นการใช้สิทธิตามที่ ป.วิ.อ.มาตรา 2 (7) และมาตรา 3ให้อำนาจไว้ และเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นผู้เสียหายมีสิทธิแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีได้ ส่วนการที่พนักงานสอบสวนกระทำการสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดมาดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิด ก็เป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวนได้กระทำไปตามอำนาจแห่งบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจไว้อันเป็นเรื่องการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนเอง หากโจทก์จะต้องเสียหายจากการไปที่สถานีตำรวจหรือจะต้องเสียหายประการใด ก็เป็นผลโดยตรงอันเนื่องมาจากการวินิจฉัยของพนักงานสอบสวน สำหรับการที่จำเลยที่ 1 ฟ้องคดีโจทก์เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนากลั่นแกล้งเพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 เชื่อโดยสุจริตใจว่าหลักฐานการครอบครองที่ดินพิพาท ส.ค.1 เป็นหลักฐานการครอบครองซึ่งจำเลยที่ 1 เห็นว่าตนมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริตฟ้องโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 ที่ให้ผู้ถูกโต้แย้งสิทธิใช้สิทธิฟ้องร้องผู้โต้แย้งสิทธิทางศาลได้ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำผิดต่อกฎหมาย หรือไม่ได้ใช้สิทธิอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย จึงมิได้เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6475/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสามารถของโจทก์ร่วมผู้เยาว์และการแก้ไขข้อบกพร่องในกระบวนการยุติธรรมอาญา
ผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งยังเป็นผู้เยาว์จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ต้องกระทำโดยผู้แทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3,5 และ 6 การที่ผู้เสียหายซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์โดยลงชื่อแต่งตั้งทนายความด้วยตนเองแต่ลำพังเพื่อให้ทนายความดำเนินกระบวนพิจารณานั้น มิได้เป็นไปตามบทบังคับอันว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย แต่ศาลจะยกคำร้องหรือไม่รับพิจารณาเสียทีเดียวยังไม่ได้ ชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเสียก่อนตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 56 วรรคสี่ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 6 และ 15 เมื่อโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เยาว์มิได้เป็นผู้ฎีกาขึ้นมาและคดีไม่อาจทำให้คำวินิจฉัยของศาลฎีกาเกี่ยวกับปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องของโจทก์หรือไม่เปลี่ยนแปลงไป และเมื่อนับอายุของโจทก์ร่วมในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมมีอายุเกินกว่า 20 ปี บรรลุนิติภาวะแล้วจึงไม่มีความจำเป็นและไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องสั่งให้แก้ไขในข้อบกพร่องเรื่องความสามารถของโจทก์ร่วมอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6475/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสามารถของโจทก์ร่วมผู้เยาว์และการแก้ไขข้อบกพร่องในการดำเนินคดีอาญา
ผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งยังเป็นผู้เยาว์จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ต้องกระทำโดยผู้แทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3, 5 และ 6การที่ผู้เสียหายซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์โดยลงชื่อแต่งตั้งทนายความด้วยตนเองแต่ลำพังเพื่อให้ทนายความดำเนินกระบวนพิจารณานั้น มิได้เป็นไปตามบทบังคับอันว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย แต่ศาลจะยกคำร้องหรือไม่รับพิจารณาเสียทีเดียวยังไม่ได้ ชอบที่จะสั่งให้เแก้ไขความบกพร่องเสียก่อนตามนัยแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 56 วรรคสี่ ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 6และ 15
เมื่อโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เยาว์มิได้เป็นผู้ฎีกาขึ้นมา และคดีไม่อาจทำให้คำวินิจฉัยของศาลฎีกาเกี่ยวกับปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องของโจทก์หรือไม่เปลี่ยนแปลงไป และเมื่อนับอายุของโจทก์ร่วมในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมมีอายุเกินกว่า 20 ปี บรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นและไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องสั่งให้แก้ไขในข้อบกพร่องเรื่องความสามารถของโจทก์ร่วมอีก
เมื่อโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เยาว์มิได้เป็นผู้ฎีกาขึ้นมา และคดีไม่อาจทำให้คำวินิจฉัยของศาลฎีกาเกี่ยวกับปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องของโจทก์หรือไม่เปลี่ยนแปลงไป และเมื่อนับอายุของโจทก์ร่วมในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมมีอายุเกินกว่า 20 ปี บรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นและไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องสั่งให้แก้ไขในข้อบกพร่องเรื่องความสามารถของโจทก์ร่วมอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา & การตรวจสอบใบมอบอำนาจ: เงื่อนไข & ขอบเขต
ป.วิ.พ. มาตารา 47 วรรคสาม อยู่ภายใต้เงื่อนไข ป.วิ.พ.มาตรา 47 วรรคสอง คือต้องเป็นกรณีที่ศาลมีเหตุอันควรสงสัยหรือเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่า ใบมอบอำนาจนั้นจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง จึงให้ศาลมีอำนาจสั่งให้คู่ความยื่นใบมอบอำนาจที่ต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา 47 วรรคสาม มิได้หมายความว่า ถ้าเป็นใบมอบอำนาจทุกฉบับจะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม
แม้โจทก์จะลงชื่อในใบมอบอำนาจในต่างประเทศ แต่ตัวโจทก์ก็ได้มาเบิกความยืนยันว่า โจทก์มอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนและได้ลงชื่อในใบมอบอำนาจจริง จึงไม่มีเหตุอันควรที่ศาลจะสงสัยว่าไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง และในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยก็ไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่า ไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริงจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งให้โจทก์ส่งใบมอบอำนาจที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 47 วรรคสาม
ป.วิ.อ. มาตรา 5 เป็นกรณีที่ให้อำนาจบุคคลที่ระบุไว้ในมาตรานี้ มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจกัน กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่ากรณีใดมีกฎหมายห้ามหรือเป็นกรณีตามสภาพต้องทำเองหรือไม่ การฟ้องคดีอาญาไม่มีกฎหมายใดบังคับว่า ผู้เสียหายจะต้องทำด้วยตนเองทั้งตามสภาพของการฟ้องคดีอาญา ก็มิใช่เป็นเรื่องที่จะต้องกระทำด้วยตนเองเฉพาะตัว โจทก์จึงมีอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนได้
แม้โจทก์จะลงชื่อในใบมอบอำนาจในต่างประเทศ แต่ตัวโจทก์ก็ได้มาเบิกความยืนยันว่า โจทก์มอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนและได้ลงชื่อในใบมอบอำนาจจริง จึงไม่มีเหตุอันควรที่ศาลจะสงสัยว่าไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง และในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยก็ไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่า ไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริงจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งให้โจทก์ส่งใบมอบอำนาจที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 47 วรรคสาม
ป.วิ.อ. มาตรา 5 เป็นกรณีที่ให้อำนาจบุคคลที่ระบุไว้ในมาตรานี้ มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจกัน กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่ากรณีใดมีกฎหมายห้ามหรือเป็นกรณีตามสภาพต้องทำเองหรือไม่ การฟ้องคดีอาญาไม่มีกฎหมายใดบังคับว่า ผู้เสียหายจะต้องทำด้วยตนเองทั้งตามสภาพของการฟ้องคดีอาญา ก็มิใช่เป็นเรื่องที่จะต้องกระทำด้วยตนเองเฉพาะตัว โจทก์จึงมีอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดีอาญา และการรับรองใบมอบอำนาจที่ทำในต่างประเทศ ศาลพิจารณาจากความเป็นจริงและหลักทั่วไป
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 วรรคสาม อยู่ภายใต้เงื่อนไข ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 วรรคสองคือต้องเป็นกรณีที่ศาลมีเหตุอันควรสงสัยหรือเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่า ใบมอบอำนาจนั้นจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง จึงให้ศาลมีอำนาจสั่งให้คู่ความยื่นใบมอบอำนาจที่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 วรรคสามมิได้หมายความว่า ถ้าเป็นใบมอบอำนาจทุกฉบับจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 วรรคสาม แม้โจทก์จะลงชื่อในใบมอบอำนาจในต่างประเทศ แต่ตัวโจทก์ก็ได้มาเบิกความยืนยันว่า โจทก์มอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนและได้ลงชื่อในใบมอบอำนาจจริง จึงไม่มีเหตุอันควรที่ศาลจะสงสัยว่าไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง และในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยก็ไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่า ไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริงจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งให้โจทก์ส่งใบมอบอำนาจที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 47 วรรคสาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 เป็นกรณีที่ให้อำนาจบุคคลที่ระบุไว้ในมาตรานี้ มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจกัน กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่ากรณีใดมีกฎหมายห้ามหรือเป็นกรณีตามสภาพต้องทำเองหรือไม่ การฟ้องคดีอาญาไม่มีกฎหมายใดบังคับว่าผู้เสียหายจะต้องทำด้วยตนเองทั้งตามสภาพของการฟ้องคดีอาญาก็มิใช่เป็นเรื่องที่จะต้องกระทำด้วยตนเองเฉพาะตัว โจทก์จึงมีอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยเช็คและการมีอำนาจร้องทุกข์ของผู้ทรงเช็ค
การที่จำเลยที่ 1 ออกเช็คชำระหนี้ค่าหุ้นให้โจทก์ร่วมเป็นการชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เพราะจำเลยที่ 1 มีเงินในบัญชีไม่พอจ่าย โจทก์ร่วมเป็นผู้ทรงเช็คจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์และเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ ส่วนโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จะกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 46 หรือไม่เป็นกรณีที่จะต้องไปว่ากล่าวกันอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช็คและการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์บริษัทหลักทรัพย์ กรณีเช็คไม่มีเงินจ่าย
การที่จำเลยที่ 1 ออกเช็คชำระหนี้ค่าหุ้นให้โจทก์ร่วมเป็นการชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เพราะจำเลยที่ 1 มีเงินในบัญชีไม่พอจ่ายโจทก์ร่วมเป็นผู้ทรงเช็คจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์และเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ ส่วนโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จะกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 46 หรือไม่เป็นกรณีที่จะต้องไปว่ากล่าวกันอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในคดีอาญาขึ้นอยู่กับผู้เสียหายที่แท้จริงและหลักการแทนกันได้ทางแพ่ง
บ.โอนเงินจำนวน 500,000 บาท ให้แก่โจทก์ร่วมโดยผ่านทางธนาคาร โจทก์ร่วมมีเพียงหน้าที่เบิกเงินดังกล่าวมามอบให้แก่จำเลยตามคำสั่งของนายบ.เท่านั้น โจทก์ร่วมจึงเป็นเพียงตัวแทนของบ. หาได้เป็นผู้รับฝากเงินดังกล่าวจากนายบ.ไม่ เมื่อโจทก์ร่วมมอบเงินให้แก่จำเลยรับไปตามคำสั่งของนายบ.แล้ว ความรับผิดชอบในเงินจำนวนดังกล่าวของโจทก์ร่วมในฐานะตัวแทนก็หมดหน้าที่และความรับผิดชอบต่อนายบ. ตัวการ แม้จำเลยไม่ได้นำเงินไปมอบให้แก่ ป.ต่อไป โจทก์ร่วมก็ไม่ต้องรับผิดชอบต่อ บ. เกี่ยวกับเงินจำนวนดังกล่าว โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์กรณีนี้ผู้ได้รับความเสียหายคือ บ. คดีความผิดอันยอมความได้เมื่อไม่ปรากฏว่า บ.ได้ร้องทุกข์แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4397/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์และทุจริตหน้าที่ กรณีอนุมัติเบิกจ่ายเงินเกินบัญชี และอำนาจการมอบอำนาจร้องทุกข์
จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์ร่วมได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของธนาคาร กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตผิดระเบียบเกี่ยวกับการอนุมัติเบิกจ่ายเงินจนลูกค้าธนาคารโจทก์ร่วมเป็นลูกหนี้ธนาคารโจทก์ร่วมสูงกว่าหลักประกันถึงหกแสนบาทเศษ ดังนี้ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของธนาคารโจทก์ร่วมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 แล้ว
เงินที่จำเลยอนุมัติให้เบิกจ่ายไปจากบัญชีกระแสรายวันของลูกค้าธนาคารโจทก์ร่วมเป็นเงินของธนาคารโจทก์ร่วม ธนาคารโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์และขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้
หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยและผู้เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องระบุว่าให้ร้องทุกข์กี่คดีและไม่จำเป็นต้องกำหนดระยะเวลาการมอบอำนาจไว้
ฟ้องไม่ได้บรรยายว่าจำเลยครอบครองทรัพย์และเบียดบังทรัพย์ของผู้เสียหาย โจทก์เพียงแต่อ้าง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 มาในคำขอท้ายฟ้องเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352
เงินที่จำเลยอนุมัติให้เบิกจ่ายไปจากบัญชีกระแสรายวันของลูกค้าธนาคารโจทก์ร่วมเป็นเงินของธนาคารโจทก์ร่วม ธนาคารโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์และขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้
หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยและผู้เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องระบุว่าให้ร้องทุกข์กี่คดีและไม่จำเป็นต้องกำหนดระยะเวลาการมอบอำนาจไว้
ฟ้องไม่ได้บรรยายว่าจำเลยครอบครองทรัพย์และเบียดบังทรัพย์ของผู้เสียหาย โจทก์เพียงแต่อ้าง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 มาในคำขอท้ายฟ้องเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352