คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 3

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4397/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์และทุจริตหน้าที่ กรณีอนุมัติเบิกจ่ายเงินเกินบัญชี และอำนาจการมอบอำนาจร้องทุกข์
จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์ร่วมได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของธนาคาร กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตผิดระเบียบเกี่ยวกับการอนุมัติเบิกจ่ายเงินจนลูกค้าธนาคารโจทก์ร่วมเป็นลูกหนี้ธนาคารโจทก์ร่วมสูงกว่าหลักประกันถึงหกแสนบาทเศษ ดังนี้ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของธนาคารโจทก์ร่วมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 แล้ว
เงินที่จำเลยอนุมัติให้เบิกจ่ายไปจากบัญชีกระแสรายวันของลูกค้าธนาคารโจทก์ร่วมเป็นเงินของธนาคารโจทก์ร่วม ธนาคารโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์และขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้
หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยและผู้เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องระบุว่าให้ร้องทุกข์กี่คดีและไม่จำเป็นต้องกำหนดระยะเวลาการมอบอำนาจไว้
ฟ้องไม่ได้บรรยายว่าจำเลยครอบครองทรัพย์และเบียดบังทรัพย์ของผู้เสียหาย โจทก์เพียงแต่อ้าง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 มาในคำขอท้ายฟ้องเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2882/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีข่มขืน: ผู้ร้องทุกข์ต้องมีอำนาจตามกฎหมาย หากไม่มีถือว่าไม่มีคำร้องทุกข์
บิดาของผู้เยาว์ซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เยาว์ทั้งไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนว่าผู้เยาว์เป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าผู้เยาว์เป็นบุตร ไม่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ และไม่มีอำนาจจัดการร้องทุกข์แทนผู้เยาว์ในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276วรรคแรก จึงถือได้ว่าไม่มีคำร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการไม่มีอำนาจยื่นฟ้องคดีต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขรายการในบัญชีธนาคารไม่ทำให้เจ้าของบัญชีเสียสิทธิ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การ์ดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเป็นเอกสารที่ธนาคารจัดทำขึ้นเป็นหลักฐานของธนาคารเอง แสดงการเป็นลูกหนี้เจ้าหนี้ที่มีต่อเจ้าของบัญชีตามรายการที่แสดงไว้ การที่จำเลยที่ 2 ผู้รักษาการในตำแหน่งสมุห์บัญชีและจำเลยที่ 3 ผู้จัดการธนาคารแก้ไขเพิ่มจำนวนเงินฝากในการ์ดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ที่ธนาคาร โดยโจทก์มิได้นำเงินเข้าบัญชีตามรายการนั้น การแก้ไขรายการเช่นนั้นมิได้ทำให้โจทก์เสียสิทธิที่มีต่อธนาคาร โจทก์มิใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขบัญชีเงินฝากไม่ทำให้เจ้าของบัญชีเสียหาย จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การ์ดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเป็นเอกสารที่ธนาคารจัดทำขึ้นเป็นหลักฐานของธนาคารเอง แสดงการเป็นลูกหนี้เจ้าหนี้ที่มีต่อเจ้าของบัญชีตามรายการที่แสดงไว้ การที่จำเลยที่ 2 ผู้รักษาการในตำแหน่งสมุห์บัญชีและจำเลยที่ 3 ผู้จัดการธนาคารแก้ไขเพิ่มจำนวนเงินฝากในการ์ดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ที่ธนาคาร โดยโจทก์มิได้นำเงินเข้าบัญชีตามรายการนั้น การแก้ไขรายการเช่นนั้นมิได้ทำให้โจทก์เสียสิทธิที่มีต่อธนาคาร โจทก์มิใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจ & อำนาจร้องทุกข์ของผู้อำนวยการนิติบุคคล: เพียงพอสมบูรณ์ตามกฎหมาย
แม้หนังสือที่ผู้มอบอำนาจมีไปถึงสารวัตรใหญ่ จะไม่เป็นหนังสือซึ่งผู้มอบอำนาจทำไว้กับผู้รับมอบอำนาจ แต่ก็เป็นหนังสือซึ่งผู้มอบอำนาจมีไปถึงพนักงานสอบสวนเพื่อแจ้งให้ทราบว่า ผู้มอบอำนาจขอมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจไปร้องทุกข์แทน เมื่อผู้รับมอบอำนาจนำหนังสือนั้นไปยื่นต่อพนักงานสอบสวนและร้องทุกข์แทนตามที่ได้รับมอบอำนาจมา หนังสือนี้ย่อมเพียงพอที่พนักงานสอบสวนจะยึดถือไว้เป็นหลักฐานในสำนวนว่า คดีมีการร้องทุกข์โดยผู้มีอำนาจแล้ว การที่หนังสือดังกล่าวระบุว่าใครเป็นผู้มอบอำนาจให้ใครมาร้องทุกข์เรื่องอะไร และมีลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจลงไว้ ถือได้ว่าเป็นหนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์อันชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้ผู้รับมอบอำนาจจะมิได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับมอบอำนาจไว้ในหนังสือด้วยก็ไม่ทำให้การมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ (อ้างฎีกาที่ 1058/2520)
การร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีอาญาแก่พนักงานของนิติบุคคลเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติโดยทั่วไป ของผู้ซึ่งเป็นผู้แทนของนิติบุคคลทั้งหลายจะพึงกระทำในทางปกป้องรักษาผลประโยชน์ของนิติบุคคล ไม่จำต้องกำหนดเป็นนโยบายหรือตราเป็นข้อบังคับไว้จึงจะมีอำนาจทำได้
ตำแหน่งผู้อำนายการของนิติบุคคล ถือได้วาเป็น "ผู้แทนอื่น" ตามความหมายของมาตรา 5 (3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงเป็นผู้มีอำนาจร้องทุกข์แทนนิติบุคคลและมีสิทธิมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปร้องทุกข์แทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจ & อำนาจร้องทุกข์ของผู้อำนวยการนิติบุคคล: เพียงพอ & ชอบด้วยกม.
แม้หนังสือที่ผู้มอบอำนาจมีไปถึงสารวัตรใหญ่ จะไม่เป็นหนังสือซึ่งผู้มอบอำนาจทำไว้กับผู้รับมอบอำนาจ แต่ก็เป็นหนังสือซึ่งผู้มอบอำนาจมีไปถึงพนักงานสอบสวน เพื่อแจ้งให้ทราบว่าผู้มอบอำนาจขอมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจไปร้องทุกข์แทน เมื่อผู้รับมอบอำนาจนำหนังสือนั้นไปยื่นต่อพนักงานสอบสวนและร้องทุกข์แทนตามที่ได้รับมอบอำนาจมาหนังสือนี้ย่อมเพียงพอที่พนักงานสอบสวนจะยึดถือไว้เป็นหลักฐานในสำนวนว่าคดีมีการร้องทุกข์โดยผู้มีอำนาจแล้ว การที่หนังสือดังกล่าวระบุว่าใครเป็นผู้มอบอำนาจให้ใครมาร้องทุกข์เรื่องอะไร และมีลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจลงไว้ ถือได้ว่าเป็นหนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์อันชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้ผู้รับมอบอำนาจจะมิได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับมอบอำนาจไว้ในหนังสือด้วยก็ไม่ทำให้การมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ (อ้างฎีกาที่ 1058/2520)
การร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีอาญาแก่พนักงานของนิติบุคคล เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติโดยทั่วไปของผู้ซึ่งเป็นผู้แทนของนิติบุคคลทั้งหลาย จะพึงกระทำในทางปกป้องรักษาผลประโยชน์ของนิติบุคคล ไม่จำต้องกำหนดเป็นนโยบายหรือตราเป็นข้อบังคับไว้จึงจะมีอำนาจทำได้
ตำแหน่งผู้อำนวยการของนิติบุคคล ถือได้ว่าเป็น "ผู้แทนอื่น" ตามความหมายของมาตรา 5(3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงเป็นผู้มีอำนาจร้องทุกข์แทนนิติบุคคล และมีสิทธิมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปร้องทุกข์แทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของเจ้าของสิทธิที่ถูกละเมิดจากการปฏิบัติหน้าที่มิชอบของเจ้าพนักงานสอบสวน
บุตรโจทก์ถูก ส.ขับรถยนต์ชนถึงแก่ความตาย โจทก์จัดการแทนบุตรที่ตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 5(2) จำเลยเป็นนายตำรวจผู้สืบสวนสอบสวนคดีนั้นได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ คือ จดคำพยานไม่ตรงกับคำให้การของพยานโดยไม่ชอบ เพื่อช่วยเหลือ ส. มิให้ต้องรับโทษ หรือให้รับโทษน้อยลง ถือว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นการกระทำต่อโจทก์ โจทก์เป็นผู้เสียหายโดยตรง จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 200
โจทก์ฟ้องจำเลยมาครั้งหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปรากฏว่าเป็นเพราะคำฟ้องคดีนั้นโจทก์มิได้บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ด้วยข้อหาเดียวกันนั้นต่อศาลชั้นต้นเดียวกันโดยบรรยายอำนาจฟ้องของโจทก์ให้ชัดขึ้นดังนี้ สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์ยังหาได้ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) ไม่เพราะศาลยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดในการกระทำความผิดของจำเลย
การฟ้องกล่าวหาว่าเจ้าพนักงานจดคำพยานไม่ตรงกับคำให้การของพยานนั้น เมื่อมิได้บรรยายฟ้องให้ได้ความชัดว่าคำให้การของพยานคนไหนบ้าง และเป็นข้อความตอนใดที่จำเลยจดไม่ถูกต้องตรงกับที่พยานให้การอย่างไร ย่อมถือว่าเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ต้องระบุรายละเอียดการกระทำผิดให้ชัดเจน
บุตรโจทก์ถูก ส.ขับรถยนต์ชนถึงแก่ความตาย โจทก์จัดการแทนบุตรที่ตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) จำเลยเป็นนายตำรวจผู้สืบสวนสอบสวนคดีนั้น ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ คือ จดคำพยานไม่ตรงกับคำให้การของพยานโดยไม่ชอบ เพื่อช่วยเหลือ ส. มิให้ต้องรับโทษ หรือให้รับโทษน้อยลง ถือว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นการกระทำต่อโจทก์ โจทก์เป็นผู้เสียหายโดยตรง. จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,200
โจทก์ฟ้องจำเลยมาครั้งหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องปรากฏว่าเป็นเพราะคำฟ้องคดีนั้นโจทก์มิได้บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ด้วยข้อหาเดียวกันนั้นต่อศาลชั้นต้นเดียวกันโดยบรรยายอำนาจฟ้องของโจทก์ให้ชัดขึ้น ดังนี้ สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์ยังหาได้ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) ไม่ เพราะศาลยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดในการกระทำความผิดของจำเลย
การฟ้องกล่าวหาว่าเจ้าพนักงานจดคำพยานไม่ตรงกับคำให้การของพยานนั้น เมื่อมิได้บรรยายฟ้องให้ได้ความชัดว่าคำให้การของพยานคนไหนบ้าง และเป็นข้อความตอนใดที่จำเลยจดไม่ถูกต้องตรงกับที่พยานให้การอย่างไร ย่อมถือว่าเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้แทนโดยชอบธรรมผู้เสียหาย vs. ผู้จัดการแทนผู้บาดเจ็บสาหัส
บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของ ว. ผู้ตาย เป็นโจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทชนรถจักรยานยนต์ซึ่ง ว. ขับขี่ และมี ป. นั่งซ้อนท้ายเป็นเหตุให้ ว. ถึงแก่ความตาย และ ป.บาดเจ็บสาหัส ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกและประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 300, 390 ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนี้รวมกับคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดอย่างเดียวกัน แล้วพิพากษายกฟ้อง โจทก์คดีนี้อุทธรณ์ ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า เหตุที่รถชนกันเกิดจากความประมาทของจำเลยฝ่ายเดียว แต่โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก จึงไม่มีอำนาจฟ้องก็จะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 300, 390 แล้วปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 291ซึ่งเป็นบทหนักไม่ได้ เพราะโจทก์มิใช่ผู้จัดการแทนผู้เสียหายในความผิดที่จำเลยกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ ป. ได้รับบาดเจ็บสาหัสต้องพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 291 บทเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาและการลงโทษที่เหมาะสม: กรณีผู้เสียหายอื่นที่ไม่ใช่โจทก์
บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของ ว. ผู้ตาย เป็นโจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทชนรถจักรยานยนต์ซึ่ง ว. ขับขี่ และมี ป. นั่งซ้อนท้ายเป็นเหตุให้ ว. ถึงแก่ความตาย และ ป.บาดเจ็บสาหัส ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกและประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 300, 390 ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนี้รวมกับคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดอย่างเดียวกัน แล้วพิพากษายกฟ้อง โจทก์คดีนี้อุทธรณ์ ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า เหตุที่รถชนกันเกิดจากความประมาทของจำเลยฝ่ายเดียว แต่โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก จึงไม่มีอำนาจฟ้องก็จะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 300, 390 แล้วปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 291 ซึ่งเป็นบทหนักไม่ได้ เพราะโจทก์มิใช่ผู้จัดการแทน ผู้เสียหายในความผิดที่จำเลยกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ ป. ได้รับบาดเจ็บสาหัสต้องพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 291 บทเดียว
of 9