คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 3

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความถูกต้องของอำนาจฟ้องเด็กผู้เสียหายในคดีอาญา: การมีส่วนร่วมของเด็กต้องเป็นไปตามกฎหมาย
ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโดยบิดาให้ความยินยอมนั้นมิได้เป็นไปตามบทบังคับอันว่า ด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย เพราะในคดีอาญานั้นผู้เยาว์จะเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ต้องกระทำโดยผู้แทน ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3, 5 และ 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้เยาว์ในคดีอาญา: การเข้าร่วมเป็นโจทก์ต้องกระทำโดยผู้แทนตามกฎหมาย
ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ โดยบิดาให้ความยินยอมนั้นมิได้เป็นไปตามบทบังคับอันว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย เพราะในคดีอาญานั้นผู้เยาว์จะเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ต้องกระทำโดยผู้แทน ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3,5 และ 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อโกง: ผู้ถูกหลอกลวงมีอำนาจร้องทุกข์ แม้จะชำระเงินบางส่วนแล้ว
ป. ตกลงว่าจ้าง ส. ซ่อมรถยนต์คิดเป็นเงิน 12,500 บาทในระหว่างกำลังซ่อม จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของ ส. ได้หลอกลวง ป.ให้หลงเชื่อว่าทางอู่ของ ส. ให้จำเลยมาขอรับเงิน 5,000 บาทเพื่อไปซื้อเครื่องอะไหล่ในการซ่อมรถป. จึงมอบเงินให้จำเลยไปเมื่อ ป. นำเงินค่าซ่อมอีก 7,500 บาทไปชำระให้ ส. จึงรู้ว่า ส.ไม่ได้ใช้จำเลยไปเอาเงิน ดังนี้ ถือได้ว่า ป. ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยแล้ว จึงมีอำนาจร้องทุกข์ได้ ถึงแม้ ส.จะรับเงินค่าซ่อมอีกเพียง 7,500 บาทไว้จาก ป. และมอบรถให้ป. ไปแล้วก็ตามเป็นเรื่องระหว่าง ป. กับ ส. ไม่เกี่ยวกับจำเลยและเงินที่จำเลยรับไป ไม่ทำให้ ป. ผู้ถูกหลอกลวงพ้นจากการเป็นผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อโกงและการมีอำนาจร้องทุกข์ แม้มีการชำระหนี้บางส่วน ผู้ถูกหลอกลวงยังคงเป็นผู้เสียหาย
ป. ตกลงว่าจ้าง ส. ซ่อมรถยนต์คิดเป็นเงิน 12,500 บาทในระหว่างกำลังซ่อม จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของ ส. ได้หลอกลวง ป. ให้หลงเชื่อว่าทางอู่ของ ส. ให้จำเลยมาขอรับเงิน 5,000 บาทเพื่อไปซื้อเครื่องอะไหล่ในการซ่อมรถป. จึงมอบเงินให้จำเลยไป เมื่อ ป. นำเงินค่าซ่อมอีก 7,500 บาทไปชำระให้ ส. จึงรู้ว่า ส. ไม่ได้ใช้จำเลยไปเอาเงิน ดังนี้ ถือได้ว่า ป. ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยแล้ว จึงมีอำนาจร้องทุกข์ได้ ถึงแม้ ส. จะรับเงินค่าซ่อมอีกเพียง 7,500 บาทไว้จาก ป. และมอบรถให้ ป. ไปแล้วก็ตามเป็นเรื่องระหว่าง ป. กับ ส. ไม่เกี่ยวกับจำเลยและเงินที่จำเลยรับไป ไม่ทำให้ ป. ผู้ถูกหลอกลวงพ้นจากการเป็นผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กับการสอบสวนคดีล้มละลาย: ดุลพินิจในการมอบอำนาจร้องทุกข์
แม้พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 160จะบัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย ก็ไม่เป็นการตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวนกรณีเดียวกันนี้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะสอบสวนผู้ใด หรือจะมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ผู้ใดเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ดำเนินการสอบสวน ผู้เสียหายก็ชอบที่จะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน หรือฟ้องร้องดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดได้ด้วยตนเอง จะบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำการสอบสวนหรือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ผู้นั้นผู้นี้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนคดีล้มละลาย และสิทธิของผู้เสียหายในการร้องทุกข์
แม้พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 160 จะบัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย ก็ไม่เป็นการตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวนกรณีเดียวกันนี้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะสอบสวนผู้ใด หรือจะมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ผู้ใดเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ดำเนินการสอบสวน ผู้เสียหายก็ชอบที่จะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน หรือฟ้องร้องดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดได้ด้วยตนเองจะบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำการสอบสวนหรือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ผู้นั้นผู้นี้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11-15/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับเช็คที่ชำระหนี้แทนภายหลังเช็คเด้ง ไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์
จำเลยออกเช็คชำระหนี้ค่าซื้อยาให้แก่บริษัท ท. เมื่อเช็คขึ้นเงินไม่ได้เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ม. ผู้จัดการบริษัท ท.ได้เอาเงินส่วนตัวของ ม. ชำระให้บริษัท ท. แทนไปแล้วรับเช็คดังกล่าวมา ดังนี้ม. ได้รับเช็คนั้นมาหลังจากความผิดเกิดขึ้นแล้ว ม. จึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์หรือเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจถอนคำร้องทุกข์ของผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายในคดีอาญา
ก่อนสืบพยานโจทก์ บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์แทนผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นสอบโจทก์ โจทก์แถลงรับว่าผู้ร้องเป็นบิดาของผู้เสียหาย ทั้งเป็นผู้ร้องทุกข์คดีนี้ในชั้นสอบสวนจริงศาลชั้นต้นจึงสั่งจำหน่ายคดี เช่นนี้โจทก์จะอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งว่า คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นไม่ชอบ เพราะผู้เสียหายได้แจ้งความร้องทุกข์ไว้ด้วยตัวเองโดยตรงด้วย บิดาผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจถอนคำร้องทุกข์โดยลำพังนั้น หาได้ไม่ เพราะเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่
ผู้ร้องทุกข์ย่อมมีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้เสียหายเองหรือร้องทุกข์ในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 126 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจถอนคำร้องทุกข์ของผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์: ความถูกต้องของคำสั่งศาล
ก่อนสืบพยานโจทก์ บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์แทนผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นสอบโจทก์โจทก์แถลงรับว่าผู้ร้องเป็นบิดาของผู้เสียหาย ทั้งเป็นผู้ร้องทุกข์คดีนี้ในชั้นสอบสวนจริง ศาลชั้นต้นจึงสั่งจำหน่ายคดี เช่นนี้โจทก์จะอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งว่า คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นไม่ชอบ เพราะผู้เสียหายได้แจ้งความร้องทุกข์ไว้ด้วยตัวเองโดยตรงด้วย บิดาผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจถอนคำร้องทุกข์โดยลำพังนั้นหาได้ไม่ เพราะเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่
ผู้ร้องทุกข์ย่อมมีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้เสียหายเองหรือร้องทุกข์ในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 126 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจร้องทุกข์ในคดีเจ้าพนักงานยักยอกเงินภาษี เทศบาลมีอำนาจร้องทุกข์ได้ แม้ผู้เสียหายโดยตรงคือผู้ชำระภาษี
เทศบาลประเมินและเรียกเก็บภาษีโรงเรือน. จำเลยรับเงินภาษีโรงเรือนมาแล้วไม่ลงบัญชี. กลับยักยอกเอาไปเสียเช่นนี้. เทศบาลย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ได้.
จำเลยเป็นพนักงานวิสามัญ มีหน้าที่ตรวจควบคุมการเก็บเงินตลาดสดและรับงานด้านภาษีโรงเรือน ขึ้นต่อแผนกคลังของเทศบาลเมือง. จำเลยรับเงินเดือนจากเงินประเภทงบประมาณเงินเดือน. ฉะนั้น การที่จำเลยเก็บหรือรับเงินจากผู้ที่นำเงินมาชำระเป็นค่าภาษีโรงเรือนให้แก่เทศบาลแล้วไม่ลงบัญชี. กลับยักยอกเอาไปเป็นประโยชน์อย่างอื่นเสีย.ดังนี้ ย่อมเป็นการกระทำในหน้าที่พนักงานผู้เก็บเงินตามหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งและมอบหมาย. เมื่อยักยอกเอาเงินที่ได้รับไว้ตามหน้าที่ของจำเลย. จำเลยย่อมมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานกระทำการอันเป็นความผิดต่อหน้าที่ของตน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147.
of 9