พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์พนักงานรัฐวิสาหกิจ: เงินบำเหน็จ vs. ค่าชดเชย กรณีเกษียณอายุ และผลของการตีความระเบียบข้อบังคับ
โจทก์พ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ เพราะเหตุเกษียณอายุจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามระเบียบ คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของ สิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 47 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยให้ นอกเหนือจากเงินบำเหน็จก็พอจะแปลคำฟ้องได้ว่า โจทก์ประสงค์ จะได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานดังกล่าว แต่เนื่องจากตามข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ ของผู้ปฏิบัติงานองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2524 ข้อ 9 วรรคท้าย กำหนดว่า เงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกษียณอายุตามข้อบังคับนี้ให้ถือว่าเป็นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานด้วยแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีระเบียบข้อบังคับในการจ่ายเงินค่าชดเชยกรณีพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุ และให้ถือว่าเงินดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของเงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงาน สอดคล้องกับ ข้อ 47 วรรคสองแห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ดังกล่าวข้อบังคับของจำเลยจึงไม่ขัดต่อกฎหมายและมีผลใช้บังคับได้จำเลยชอบที่จะจ่ายเงินบำเหน็จให้ตามสิทธิของโจทก์เพียงจำนวนเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้าง: สิทธิในการรับค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี
การที่พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9,11 กำหนดให้พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์และให้พนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์พ้นจากตำแหน่งนั้น เป็นการกำหนดคุณสมบัติของพนักงานรัฐวิสาหกิจโดยทั่ว ๆ ไป เมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจคนใดอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ซึ่งขาดคุณสมบัติที่จะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจต่อไป รัฐวิสาหกิจผู้เป็นนายจ้างก็ต้องดำเนินการให้พนักงานรัฐวิสาหกิจเช่นว่านั้นพ้นจากตำแหน่งซึ่งเรียกกันว่าให้พ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุดังที่จำเลยปฏิบัติต่อโจทก์ทั้งยี่สิบสาม ซึ่งการที่จำเลยให้โจทก์ทั้งยี่สิบสามพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุดังกล่าวจะเป็นการเลิกจ้างหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยให้โจทก์ทั้งยี่สิบสามพ้นจากตำแหน่งซึ่งได้ให้ความหมายของการเลิกจ้างไว้ว่าหมายถึงการที่รัฐวิสาหกิจให้ออกจากงาน ปลดออกจากงานหรือไล่ออกจากงาน โดยที่พนักงานไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 46 ดังนั้น การที่จำเลยให้โจทก์ทั้งยี่สิบสาม พ้น จากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุโดยที่โจทก์ทั้งสี่สิบสามไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 56 แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงาน รัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 จึงเป็นการเลิกจ้าง ส่วนที่ระเบียบ คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐาน ของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 47 กำหนดว่าพนักงานที่ต้องต้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุ ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามข้อ 45 ซึ่งกำหนดให้รัฐวิสาหกิจ จ่ายค่าชดเชยแก่พนักงานซึ่งเลิกจ้างนั้น ก็เป็นเพียงข้อกำหนด ให้พนักงานที่เกษียณอายุไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชยโดยให้ได้รับเงิน เพื่อตอบแทนความชอบในการทำงาน หากปฏิบัติงานก่อนครบเกษียณมาครบห้าปีขึ้นไป มิใช่เป็นข้อกำหนดว่าการที่รัฐวิสาหกิจให้พนักงานออกจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุไม่เป็นการเลิกจ้าง