คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 887

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 375 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัย การตีความขอบเขตความคุ้มครอง และความรับผิดของผู้รับประกันภัย
กรมธรรม์ประกันภัยหมวด2การคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกข้อ2.2มีข้อความว่า"ความรับผิดต่อผู้โดยสารบริษัทจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเพื่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลที่โดยสารอยู่ในรถยนต์หรือกำลังขึ้นหรือกำลังลงจากรถยนต์เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัย"ข้อ2.8มีข้อความว่า"การคุ้มครองผู้ขับขี่บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง"ข้อ2.11มีข้อความว่า"การยกเว้นผู้โดยสารการประกันภัยตามข้อ2.2ไม่คุ้มครองความบาดเจ็บหรือมรณะของ2.11.1ผู้เอาประกันภัยหรือบุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัย"ตามข้อความในข้อ2.2และข้อ2.8ข้างต้นเป็นข้อกำหนดความรับผิดโดยทั่วไปของจำเลยส่วนข้อ2.11เป็นข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยจำต้องตีความโดยเคร่งครัดจะแปลความในทำนองเดียวกันกับกรณีความรับผิดของจำเลยตามข้อ2.2ประกอบข้อ2.8หาได้ไม่ซึ่งเมื่อพิเคราะห์กรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมายจ.3ทั้งฉบับประกอบกับเจตนารมณ์ของคู่สัญญาแล้วข้อ2.11มีความหมายว่าการประกันภัยตามข้อ2.2ไม่คุ้มครองความบาดเจ็บหรือมรณะของผู้เอาประกันภัยโดยแท้จริงคือณ.หรือบุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับณ. เท่านั้นน. ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุจึงมิใช่ผู้เอาประกันภัยและร. ก็ไม่ใช่บุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัยตามข้อ2.11น. คงเป็นเพียงบุคคลซึ่งขับรถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากณ. ผู้เอาประกันภัยตามข้อ2.8เมื่อณ. ยินยอมให้น. ยืมรถยนต์ของตนไปขับและน. ขับโดยประมาทเป็นเหตุให้ร. ซึ่งโดยสารมาในรถคันดังกล่าวถึงแก่ความตายจำเลยจึงต้องรับผิดตามข้อ2.2ประกอบข้อ2.8จำเลยหาได้รับการยกเว้นความรับผิดตามข้อ2.11ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความคุ้มครองประกันภัยบุคคลภายนอก: การตีความข้อยกเว้นความรับผิดต่อผู้โดยสารและผู้ขับขี่
กรมธรรม์ประกันภัยหมวด 2 การคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ข้อ 2.2 มีข้อความว่า "ความรับผิดต่อผู้โดยสาร บริษัทจะใช้ค่าสินไหม-ทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเพื่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลที่โดยสารอยู่ในรถยนต์หรือกำลังขึ้นหรือกำลังลงจากรถยนต์เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัย..." ข้อ 2.8 มีข้อความว่า "การคุ้มครองผู้ขับขี่ บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง..." ข้อ 2.11 มีข้อความว่า "การยกเว้นผู้โดยสารการประกันภัยตามข้อ 2.2 ไม่คุ้มครองความบาดเจ็บหรือมรณะของ 2.11.1ผู้เอาประกันภัยหรือบุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัย..." ตามข้อความในข้อ 2.2 และ ข้อ 2.8 ข้างต้น เป็นข้อกำหนดความรับผิดโดยทั่วไปของจำเลย ส่วนข้อ 2.11 เป็นข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยจำต้องตีความโดยเคร่งครัด จะแปลความในทำนองเดียวกันกับกรณีความรับผิดของจำเลยตามข้อ 2.2 ประกอบข้อ 2.8 หาได้ไม่ ซึ่งเมื่อพิเคราะห์กรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.3 ทั้งฉบับประกอบกับเจตนารมณ์ของคู่สัญญาแล้ว ข้อ 2.11 มีความหมายว่าการประกันภัยตามข้อ 2.2 ไม่คุ้มครองความบาดเจ็บหรือมรณะของผู้เอาประกันภัยโดยแท้จริงคือ ณ.หรือบุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับ ณ.เท่านั้น น.ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุจึงมิใช่ผู้เอาประกันภัยและ ร.ก็ไม่ใช่บุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัยตามข้อ 2.11 น.คงเป็นเพียงบุคคลซึ่งขับรถยนต์โดยได้รับความยินยอมจาก ณ.ผู้เอาประกันภัยตามข้อ 2.8 เมื่อ ณ.ยินยอมให้ น.ยืมรถยนต์ของตนไปขับ และ น.ขับโดยประมาทเป็นเหตุให้ ร.ซึ่งโดยสารมาในรถคันดังกล่าวถึงแก่ความตายด้วย จำเลยจึงต้องรับผิดตามข้อ 2.2 ประกอบข้อ 2.8 จำเลยหาได้รับการยกเว้นความรับผิดตามข้อ 2.11 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดเมื่อผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยประมาทก่อให้เกิดความเสียหาย
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยไว้โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยด้วยความประมาทเลินเล่อชนรถยนต์ของโจทก์ ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นเสมือนผู้เอาประกันภัยเองตามข้อกำหนดในกรมธรรม์ประกันภัย ผู้รับประกันจึงต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ด้วยส่วนการที่ผู้ต้องเสียหายไม่ได้ฟ้องหรือเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาสู้คดีด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 887 วรรคสอง นั้นก็มีผลเพียงทำให้ผู้ต้องเสียหายไม่อาจเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนที่ยังขาดจากผู้เอาประกันภัยได้เท่านั้น ไม่มีผลทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อผู้ต้องเสียหายและทำให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นความรับผิดไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดต่อผู้เสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ แม้ไม่ได้ฟ้องผู้เอาประกันภัย หากผู้ขับขี่ได้รับความยินยอม
ผู้เสียหายซึ่งเป็น บุคคลภายนอก สัญญาประกันภัย เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนให้รับผิดปรากฏว่าจำเลยที่1ได้ขับรถยนต์คันที่จำเลยที่3รับประกันภัยไว้โดย ได้รับ ความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยด้วยความประมาทเลินเล่อเฉี่ยวชนรถยนต์ของโจทก์จึงต้องถือว่าจำเลยที่1กระทำละเมิดเป็นเสมือนผู้เอาประกันภัยกระทำละเมิดเอง ผู้รับประกันภัยจึง ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ในการกระทำละเมิดของจำเลยที่1 ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา887วรรคสองบัญญัติให้ผู้ต้องเสียหายเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาในคดีด้วยนั้นก็เป็นประโยชน์เพื่อจะได้พิจารณา ความรับผิดของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยไปพร้อมกันถ้าผู้ต้องเสียหายไม่ได้ฟ้องหรือเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาสู้คดีด้วยจะมีผลเพียงทำให้ผู้ต้องเสียหายไม่อาจเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนที่ยังขาดจากผู้เอาประกันภัยได้เท่านั้นหาได้มีผลถึงกับทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อผู้ต้องเสียหายไม่อาจเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนที่ยังขาดจากผู้เอาประกันภัยได้เท่านั้นหาได้มีผลถึงกับทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อผู้ต้องเสียหายและทำให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นความรับผิดไปด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นความรับผิดในประกันภัยค้ำจุนกรณีผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาตหรือใบอนุญาตขาดอายุเกิน 180 วัน
การ ประกันภัยค้ำจุนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา887เป็นการประกันความเสียหายอันเกิดจากรถยนต์ที่เอาประกันภัยไปก่อความเสียหายแก่บุคคลอื่นในเมื่อผู้เอาประกันภัยขับหรือยินยอมให้ผู้อื่นขับดังนั้นการประกันภัยค้ำจุนจึงมุ่งที่ตัวบุคคลผู้ขับรถยนต์ที่เอาประกันภัยในขณะเกิดเหตุเป็นสาระสำคัญยิ่งกว่าตัวบุคคลผู้เอาประกันภัยเมื่อกรมธรรม์ของจำเลยที่2มีข้อความยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่2ไว้ว่าผู้รับประกันจะไม่รับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกอันเกิดจากการขับโดยบุคคลที่มีใบอนุญาตขับรถยนต์แต่ ขาดการต่ออายุเกินกว่า180วันจำเลยที่2จึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นความรับผิดประกันภัยค้ำจุน: ใบอนุญาตขับขี่ขาดอายุ และผลกระทบต่อการคุ้มครองความเสียหาย
จำเลยที่ 1 นำรถยนต์ไปประกันภัยค้ำจุนไว้แก่จำเลยที่ 2โดยมีข้อตกลงว่า ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกถ้าผู้ขับขี่รถยนต์มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์แต่ขาดต่ออายุเกินกว่า 180 วัน ดังนี้เมื่อปรากฏว่าในขณะเกิดอุบัติเหตุและในขณะทำสัญญาประกันภัย ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลยที่ 1 ขาดต่ออายุเกินกว่า 180 วัน และหลังจากทำสัญญาประกันภัยแล้วจำเลยที่ 1 ยังใช้ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ที่ขาดต่ออายุดังกล่าวเรื่อยมาจนกระทั่งจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุโดยประมาททำให้รถยนต์โจทก์เสียหาย กรณีจึงเข้าเงื่อนไขข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งจำเลยที่ 2 ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ปฏิเสธความรับผิดได้
การประกันภัยค้ำจุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 เป็นการประกันความเสียหายอันเกิดจากรถยนต์ที่เอาประกันภัยที่ไปก่อความเสียหายให้แก่บุคคลอื่นในเมื่อผู้เอาประกันภัยขับขี่หรือยินยอมให้ผู้อื่นขับขี่ การประกันภัยค้ำจุนจึงมุ่งที่ตัวบุคคลผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยในขณะเกิดเหตุเป็นสาระสำคัญยิ่งกว่าตัวบุคคลผู้เอาประกันภัยในขณะทำสัญญาประกันภัย ดังนั้น แม้ขณะทำสัญญาใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยขาดต่ออายุเกินกว่า180 วัน ก็ไม่อาจถือว่าคู่สัญญามิได้เจตนาถือเงื่อนไขยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ข้อนี้เป็นสาระสำคัญ เพราะมิฉะนั้นแล้วหากทำสัญญาประกันภัยกำหนดเงื่อนไขไม่ให้ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดอย่างกรณีนี้ นิติบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของหรือมีส่วนได้เสียในรถยนต์ที่เอาประกันภัยย่อมไม่มีทางจะทำสัญญาประกันได้เลย เพราะนิติบุคคลโดยสภาพย่อมไม่มีทางขอมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นความรับผิดในประกันภัยค้ำจุน: ใบอนุญาตขับขี่ขาดอายุเกิน 180 วัน
จำเลยที่1นำรถยนต์ไปประกันภัยค้ำจุนไว้แก่จำเลยที่2โดยมีข้อตกลงว่าผู้รับประกันไม่ต้องรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกถ้าผู้ขับขี่รถยนต์มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์แต่ขาดต่ออายุเกินกว่า180วันดังนี้เมื่อปรากฎว่าในขณะเกิดเหตุและในขณะทำสัญญาประกันภัยใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลยที่1ขาดต่ออายุเกินกว่า180วันและหลังจากทำสัญญาประกันภัยแล้วจำเลยที่1ยังใช้ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ที่ขาดต่ออายุดังกล่าวเรื่อยมาจนกระทั่งจำเลยที่1ขับรถยนต์คันเกิดเหตุโดยประมาททำให้รถยนต์โจทก์เสียหายกรณีจึงเข้าเงื่อนไขข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งจำเลยที่2ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ปฏิเสธความรับผิดได้ การประกันกันค้ำจุนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา887เป็นการประกันความเสียหายอันเกิดจากรถยนต์ที่เอาประกันภัยที่ไปก่อความเสียหายให้แก่บุคคลอื่นในเมื่อผู้เอาประกันภัยขับขี่หรือยินยอมให้ผู้อื่นขับขี่การประกันภัยค้ำจุนจึงมุ่งที่ตัวบุคคลผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยในขณะเกิดเหตุเป็นสาระสำคัญยิ่งกว่าตัวบุคคลผู้เอาประกันภัยในขณะทำสัญญาประกันภัยดังนั้นแม้ขณะทำสัญญาใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลยที่1ผู้เอาประกันภัยขาดต่ออายุเกินกว่า180วันก็ไม่อาจถือว่าคู่สัญญามิได้เจตนาถือเงื่อนไขยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ข้อนี้เป็นสาระสำคัญเพราะมิฉะนั้นแล้วหากทำสัญญาประกันภัยกำหนดเงื่อนไขไม่ให้ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดอย่างกรณีนี้นิติบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของหรือมีส่วนได้เสียในรถยนต์ที่เอาประกันภัยย่อมไม่มีทางจะทำสัญญาประกันได้เลยเพราะนิติบุคคลโดยสภาพย่อมไม่มีทางขอให้ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีประกันภัยค้ำจุน: 2 ปีนับจากวันเกิดเหตุวินาศภัย
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามสัญญาประกันภัยฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันที่ชนรถยนต์ซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้ให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้ใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยของโจทก์ไปแล้วนั้นเป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งมีอายุความ2ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา882เหตุวินาศภัยเกิดเมื่อวันที่2มีนาคม2534โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่1มีนาคม2536คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา223ทวิเมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความแล้วจำเลยจำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง200บาทตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง1ข้อ2(ก)เมื่อปรากฏว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลดังกล่าวเกินมาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีประกันภัยค้ำจุน: นับจากวันเกิดวินาศภัย 2 ปี ศาลฎีกายกฟ้องข้ออ้างขาดอายุความ
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามสัญญาประกันภัย ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันที่ชนรถยนต์ซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้ ให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้ใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยของโจทก์ไปแล้วนั้น เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน ซึ่งมีอายุความ2 ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 882 เหตุวินาศภัยเกิดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่1 มีนาคม 2536 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223ทวิ เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความแล้วจำเลยจำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์เช่นนี้ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1ข้อ 2(ก) เมื่อปรากฏว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลดังกล่าวเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีประกันภัยรถยนต์ และค่าขึ้นศาล
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามสัญญาประกันภัย ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันที่ชนรถยนต์ซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้ ให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้ใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยของโจทก์ไปแล้วนั้น เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน ซึ่งมีอายุความ 2 ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 เหตุวินาศภัยเกิดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2536 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความแล้วจำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์เช่นนี้ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ.ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) เมื่อปรากฎว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลดังกล่าวเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่โจทก์
of 38