คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 887

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 375 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 744/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องผู้รับประกันภัยต้องแสดงนิติสัมพันธ์ของผู้ขับขี่กับผู้เอาประกันภัย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุที่จำเลยที่ 1 ขับ แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1ขับรถยนต์คันดังกล่าวในฐานะอะไร หรือมีนิติสัมพันธ์อย่างไรกับผู้เอาประกันอันจะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เมื่อฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงเหตุที่จะให้ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดเช่นนี้แล้วเท่ากับคำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่จะให้ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดเป็นคำฟ้องที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง จำเลยที่ 2ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบ จึงไม่ต้องรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัยทางรถยนต์: ความรับผิดของผู้ขับขี่ที่ได้รับความยินยอม และข้อยกเว้นตามกรมธรรม์
กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่าบริษัทผู้รับประกันภัยจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดตามกฎหมายและบริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเองเมื่อจำเลยที่2นำรถยนต์บรรทุกซึ่งจำเลยที่3รับประกันภัยไว้ไปใช้โดยให้จำเลยที่1ลูกจ้างของตนเป็นคนขับแล้วเกิดเหตุละเมิดขึ้นต้องถือว่าจำเลยที่1ขับรถโดยความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยและมีฐานะเป็นเสมือนผู้เอาประกันภัยเองจำเลยที่3จึงต้องรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยและหาเป็นการขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา887วรรคหนึ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องอายุความและประเด็นที่ต้องยกขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาว่า โจทก์สามารถตรวจสอบทะเบียนรถคันที่ชนรถของโจทก์ได้ว่าเป็นใคร มิใช่โจทก์เพิ่งทราบตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อกลางปี 2530 คดีจึงขาดอายุความ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
เมื่อจำเลยที่ 3 มิได้ยกอายุความเรื่องการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคแรก ขึ้นต่อสู้ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ เพราะไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 3 จึงฎีกาต่อมาไม่ได้ เพราะไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงซ่อมรถยนต์และชดใช้ค่าเสียหายในรายงานประจำวัน ไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ข้อความในสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่พนักงานสอบสวนบันทึกไว้เป็นเรื่องที่โจทก์ที่2ผู้เป็นเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ พ. ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าเสียหายในการซ่อมรถยนต์ให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดีและชดใช้ค่าสินค้าที่บรรทุกมาได้รับความเสียหายด้วยแต่เมื่อไม่มีรายละเอียดหรือข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะต้องชำระวิธีการชำระอันจะทำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีกมิใช่เป็นการระงับข้อพิพาทในมูลละเมิดจึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความอันจะทำให้จำเลยที่1ซึ่งเป็นนายจ้างของ พ.และจำเลยที่2ผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ของจำเลยที่1หลุดพ้นความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความผู้รับประกันภัยค้ำจุนและลูกหนี้ร่วมกัน: ผลกระทบต่อจำเลยแต่ละคน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคหนึ่งจะนำอายุความ 1 ปี ในมูลละเมิดตามมาตรา 448 มาใช้บังคับมิได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2ผู้เอาประกันภัยโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่ละคนต้องชำระหนี้ตามฟ้องให้โจทก์โดยสิ้นเชิงเพียงครั้งเดียว จึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 291 ซึ่งตามมาตรา295 บัญญัติให้กำหนดอายุความของลูกหนี้ร่วมคนใดก็ย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแต่เฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น แม้ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ได้ขาดอายุความไปแล้วก็เป็นคุณเฉพาะแก่จำเลยที่ 2 เท่านั้น หามีผลถึงจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ไม่ และการที่คดีขาดอายุความสำหรับจำเลยที่ 2 ก็ไม่ใช่เหตุที่ทำให้หนี้ดังกล่าวระงับไป ดังนั้นจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 887

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความผู้รับประกันภัยค้ำจุน: การแยกพิจารณาอายุความของลูกหนี้ร่วม และการใช้บังคับอายุความตามสัญญาประกันภัย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง จะนำอายุความ1 ปี ในมูลละเมิดตามมาตรา 448 มาใช้บังคับมิได้ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่ละคนต้องชำระหนี้ตามฟ้องให้โจทก์โดยสิ้นเชิงเพียงครั้งเดียว จึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 291 ซึ่งตามมาตรา 295 บัญญัติให้กำหนดอายุความของลูกหนี้ร่วมคนใดก็ย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแต่เฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น แม้ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ได้ขาดอายุความไปแล้วก็เป็นคุณเฉพาะแก่จำเลยที่ 2 เท่านั้น หามีผลถึงจำเลยที่ 3ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ไม่ และการที่คดีขาดอายุความสำหรับจำเลยที่ 2 ก็ไม่ใช่เหตุที่ทำให้หนี้ดังกล่าวระงับไป ดังนั้นจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 887

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6629/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีไม่เป็นสาระสำคัญของฟ้อง หากคำฟ้องระบุตัวจำเลยและข้อหาชัดเจน
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีที่แนบมาท้ายฟ้อง แม้จะเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องก็ตามแต่ก็เป็นเพียงรายละเอียดแห่งคำฟ้องเท่านั้น มิใช่สภาพแห่งข้อหาในคำฟ้องอันจะต้องแสดงไว้โดยแจ้งชัด ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคหนึ่งการที่หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ระบุว่ามอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยที่ 1กับพวก โดยมิได้ระบุให้แจ้งชัดว่าเป็นจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมแต่ประการใดไม่ เพราะตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยซึ่งรับสิทธิจากเจ้าของรถผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 2 เจ้าของรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับ และจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวให้ร่วมกันรับผิดในมูลละเมิดที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 โดยประมาทเลินเล่อไปชนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้โดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว และที่หนังสือมอบอำนาจระบุให้ฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวก ก็ย่อมหมายถึงมอบอำนาจให้ฟ้องผู้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1คือจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย
ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับจำเลยที่ 3มีข้อตกลงว่าหากผู้เอารถไปใช้โดยความยินยอมของผู้เอาประกันภัยแล้ว ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันนี้ไปทำละเมิดต่อรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้โดยความยินยอมของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 3ผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6629/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันในคดีละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และขอบเขตความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีที่แนบมาท้ายฟ้อง แม้จะเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องก็ตามแต่ก็เป็นเพียงรายละเอียดแห่งคำฟ้องเท่านั้น มิใช่สภาพแห่งข้อหาในคำฟ้องอันจะต้องแสดงไว้โดยแจ้งชัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคหนึ่ง การที่หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ระบุว่ามอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวก โดยมิได้ระบุให้แจ้งชัดว่าเป็นจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมแต่ประการใดไม่ เพราะตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยซึ่งรับสิทธิจากเจ้าของรถผู้เอาประภันภัยฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดจำเลยที่ 2 เจ้าของรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับ และจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวให้ร่วมกันรับผิดในมูลละเมิดที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 โดยประมาทเลินเล่อไปชนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้โดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว และที่หนังสือมอบอำนาจระบุให้ฟ้องจำเลยที่ 1กับพวก ก็ย่อมหมายถึงมอบอำนาจให้ฟ้องผู้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 คือจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับจำเลยที่ 3มีข้อตกลงว่าหากผู้เอารถไปใช้โดยความยินยอมของผู้เอาประกันภัยแล้ว ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันนี้ไปทำละเมิดต่อรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้โดยความยินยอมของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6011/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกาที่ไม่เคยว่ากันในศาลล่างถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ซึ่งจำเลยที่ 1 ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขับต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ เพราะจำเลยที่ 2ผู้เอาประกันไม่ต้องรับผิด แม้ศาลชั้นต้นจะได้ตั้งประเด็นข้อพิพาทในวันชี้สองสถานว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 หรือไม่และยกขึ้นวินิจฉัยก็เป็นการตั้งประเด็นและวินิจฉัยนอกฟ้องและคำให้การเป็นการไม่ชอบ การที่จำเลยที่ 3 ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นฎีกาจึงถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นกรณีที่จำเลยที่ 3 ไม่สามารถยกขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5184/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม – ทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสน – การโต้แย้งข้อเท็จจริง – ค่าสินไหมทดแทน – ละเมิด
โจทก์ทั้งสามต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวฟ้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 3กับพวกร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิดให้แก่โจทก์แต่ละคน แม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องรวมกันมาก็ตาม แต่ก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเป็นราย ๆ ไป ค่าสินไหมทดแทนของโจทก์ทั้งสามในส่วนของค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ทั้งสาม ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 3ร่วมกับพวกรับผิดชำระแก่โจทก์ทั้งสามตามฟ้อง ส่วนค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายในการประกอบพิธีศพกับค่าเสียหายเกี่ยวกับค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ของผู้ตาย ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับพวกรับผิดรายการละ 20,000 บาท ตามลำดับโดยศาลอุทธรณ์ฟังว่า ความเสียหายเป็นผลมาจากการประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสามตามฟ้อง โดยอ้างการตายของผู้ตายมิได้เกิดจากการกระทำโดยละเมิดของจำเลยที่ 1 และโจทก์ทั้งสามมิได้รับความเสียหายตามจำนวนเงินที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ ฎีกาของจำเลยที่ 2และที่ 3 จึงเป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขึ้นมานั้นเป็นการไม่ชอบ
of 38