คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 887

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 375 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3558/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอก นายจ้างและผู้รับประกันภัยต้องรับผิดร่วม
จำเลยที่ 1 เป็นคนขับรถยนต์คันหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 และเป็นคนขับรถยนต์อีกคันหนึ่งซึ่งเอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 4 วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันดังกล่าวเฉี่ยวชนกับรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2 เป็นคนขับในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 เป็นเหตุให้รถยนต์คันที่จำเลยที่ 2 ขับเสียหลักแล่นไปชนกับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ทำให้รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยได้รับความเสียหาย โจทก์จ่ายค่าซ่อมรถยนต์ให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้วจึงรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาเรียกร้องจากจำเลย ดังนี้ แม้จะได้ความว่าเหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ด้วยเท่า ๆ กับความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 แต่เมื่อได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถยนต์ที่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้รับประกันภัยไว้ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2ล้วนมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าวทั้งหมด จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างลูกหนี้ร่วม โดยจำเลยทั้งสองหรือคนใดคนหนึ่งต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับช่วงสิทธิเต็มจำนวนความเสียหายโดยจะแบ่งความรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างและจำเลยที่ 4ผู้รับประกันภัยจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในผลแห่งละเมิดดังกล่าวทั้งหมดเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม ความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย และการอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงต่อศาลฎีกา
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่ปรากฏว่าอุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาว่าศาลชั้นต้นฟังพยานหลักฐานไม่ชอบนั้นเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายด้วยและอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงนั้นจึงหาถูกต้องไม่ แต่เนื่องด้วยคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 การที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามมาตรา 223 ทวิ วรรคท้าย จึงหาเป็นประโยชน์ไม่ ชอบที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายอื่นต่อไปทีเดียว ที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาว่าศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานไม่ชอบซึ่งศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายนั้นปรากฏว่าจำเลยไม่ได้สืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงฟังข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ว่าผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้เป็นฝ่ายประมาทชนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย และกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ โดยอาศัยจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบแม้โจทก์จะไม่ได้นำ ส.พยานอีกปากหนึ่งมาสืบด้วยก็ดี และการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนารายวันประจำวันเกี่ยวกับคดีก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วันก็ตาม ก็โดยเหตุที่เป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอกจึงหาต้องส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยไม่ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจรับฟังตามพยานหลักฐานของโจทก์จึงมิใช่การรับฟังพยานหลักฐานโดยขัดต่อกฎหมาย อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นนั่นเอง อันเป็นข้อเท็จจริง แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องในตอนแรกว่า จำเลยได้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากผู้มีชื่อ ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกจากการใช้รถที่ก่อความเสียหายขึ้นโดยผู้เอาประกันภัยหรือลูกจ้างหรือโดยความยินยอมของผู้เอาประกันภัยก็ตาม ก็คงเป็นการบรรยายถึงความรับผิดของจำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัยเท่านั้น แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุที่ขับไปชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยมีฐานะเช่นใด มีนิติสัมพันธ์กับผู้มีชื่อซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยอย่างไรที่จะทำให้ผู้มีชื่อจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น โดยเฉพาะผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยหรือไม่ อันทำให้จำเลยผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องร่วมรับผิดด้วย เช่นนี้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงและการฟ้องเคลือบคลุม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเรื่องดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐาน
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่ปรากฏว่าอุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาว่าศาลชั้นต้นฟังพยานหลักฐานไม่ชอบนั้นเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายด้วยและอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงนั้นจึงหาถูกต้องไม่ แต่เนื่องด้วยคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา224 การที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามมาตรา 223 ทวิวรรคท้าย จึงหาเป็นประโยชน์ไม่ ชอบที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายอื่นต่อไปทีเดียว
ที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาว่าศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานไม่ชอบซึ่งศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายนั้นปรากฏว่าจำเลยไม่ได้สืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงฟังข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ว่า ผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้เป็นฝ่ายประมาทชนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย และกำหนดค่า-เสียหายที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ โดยอาศัยจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบแม้โจทก์จะไม่ได้นำ ส.พยานอีกปากหนึ่งมาสืบด้วยก็ดี และการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนารายวันประจำวันเกี่ยวกับคดีก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วันก็ตาม ก็โดยเหตุที่เป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอกจึงหาต้องส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยไม่ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจรับฟังตามพยานหลักฐานของโจทก์จึงมิใช่การรับฟังพยานหลักฐานโดยขัดต่อกฎหมาย อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นนั่นเอง อันเป็นข้อเท็จจริง
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องในตอนแรกว่า จำเลยได้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากผู้มีชื่อ ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกจากการใช้รถที่ก่อความเสียหายขึ้น โดยผู้เอาประกันภัยหรือลูกจ้างหรือโดยความยินยอมของผู้เอาประกันภัย ก็ตาม ก็คงเป็นการบรรยายถึงความรับผิดของจำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัยเท่านั้น แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุที่ขับไปชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยมีฐานะเช่นใด มีนิติสัมพันธ์กับผู้มีชื่อซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยอย่างไรที่จะทำให้ผู้มีชื่อจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น โดยเฉพาะผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยหรือไม่ อันทำให้จำเลยผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องร่วมรับผิดด้วย เช่นนี้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับประกันภัยรถยนต์: สิทธิฟ้องของโจทก์จำกัดเฉพาะผู้มีสิทธิครอบครองรถ ณ เวลาทำสัญญาประกัน
ผู้เอาประกันภัยรถบรรทุกหมายเลขทะเบียน 80-1287 ศรีสะเกษไว้กับจำเลยที่ 3 ได้แก่ร. โดยทำสัญญาประกันภัยเมื่อวันที่24 มกราคม 2528 มีระยะเวลาประกันภัยตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2528ถึงวันที่ 25 มกราคม 2529 ขณะทำสัญญาประกันภัยห้างหุ้นส่วนจำกัดศรีสะเกษ ต.ไทยเจริญ เป็นผู้มีสิทธิครอบครองและใช้รถโดยถือกรรมสิทธิ์รถบรรทุกคันดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 1 เพิ่งรับโอนสิทธิครอบครองและใช้รถโดยถือกรรมสิทธิ์เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2528 หลังจากทำสัญญาประกันภัยรถบรรทุกคันดังกล่าวไปแล้วและไม่มีการโอนสิทธิตามสัญญาประกันภัยให้แก่จำเลยที่ 1 ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เอาประกันภัยรถบรรทุกคันดังกล่าวไว้กับจำเลยที่ 3 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุน แม้ไม่ได้ฟ้องผู้เอาประกันภัยโดยตรง และอายุความฟ้องร้องตามสัญญาประกันภัย
แม้โจทก์จะไม่ได้ฟ้องห้างฯ น.ผู้เอาประกันภัยเป็นจำเลยด้วยแต่เมื่อได้ความว่าผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดแล้ว จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนก็ต้องรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน เพราะโจทก์ชอบจะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยได้โดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 โจทก์ที่ 9 ที่ 10 ฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนให้รับผิดโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัย จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคแรกจะนำอายุความ 1 ปี ตาม มาตรา 448 วรรคแรก มาบังคับไม่ได้ จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 2ถึงที่ 10 รวม ๆ กันมาโดยไม่ใช่ค่าเสียหายที่แท้จริง จำเลยที่ 3ไม่ได้ยกเหตุขึ้นอ้างอิงว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ถูกต้องด้วยเหตุใดและค่าเสียหายที่แท้จริงของโจทก์แต่ละคนควรจะเป็นเท่าใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุนเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิด และอายุความของสัญญาประกันภัย
แม้โจทก์จะไม่ได้ฟ้องห้างฯ น.ผู้เอาประกันภัยเป็นจำเลยด้วยแต่เมื่อได้ความว่าผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดแล้ว จำเลยที่ 3ผู้รับประกันภัยค้ำจุนก็ต้องรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน เพราะโจทก์ชอบจะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยได้โดยตรง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887
โจทก์ที่ 9 ที่ 10 ฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนให้รับผิดโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัย จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 วรรคแรก จะนำอายุความ 1 ปี ตาม มาตรา 448วรรคแรก มาบังคับไม่ได้
จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 2ถึงที่ 10 รวม ๆ กันมาโดยไม่ใช่ค่าเสียหายที่แท้จริง จำเลยที่ 3 ไม่ได้ยกเหตุขึ้นอ้างอิงว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ถูกต้องด้วยเหตุใด และค่าเสียหายที่แท้จริงของโจทก์แต่ละคนควรจะเป็นเท่าใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4427/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจ, อากรแสตมป์, อายุความ, และข้อยกเว้นความรับผิดในประกันภัย: ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
การที่จำเลยร่วมให้การว่า การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ที่ 1ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีมิได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนตามกฎหมาย เป็นคำให้การที่อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ชัดแจ้งแล้ว คดีจึงมีประเด็นพิพาทด้วยว่าหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนตามกฎหมายหรือไม่ โจทก์ที่ 1 มอบอำนาจให้ ม. ฟ้องคดีซึ่งเป็นการมอบให้บุคคลเดียวกระทำการครั้งเดียว เพราะเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเดียว ที่หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 10 บาท จึงครบถ้วนตามประมวลรัษฎากรแล้ว เมื่อจำเลยร่วมมิได้อุทธรณ์ในปัญหาที่ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วเพราะโจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าเสียหายจำเลยร่วมจะฎีกาปัญหาดังกล่าวไม่ได้ เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 แม้จำเลยที่ 1 จะขาดต่อใบอนุญาตขับขี่รถยนต์เกินกว่า 180 วันในเวลาเกิดเหตุซึ่งจำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดตามกรมธรรมประกันภัยข้อ 2.13 ก็ตาม แต่ตามข้อ 2.14 ระบุเป็นใจความว่าบริษัท (จำเลยร่วม) จะไม่ยกข้อ 2.13 เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามข้อ 2.1 เมื่อบริษัทได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว แต่บริษัทไม่ต้องรับผิดตามกรมธรรม์ต่อผู้เอาประกันภัยเพราะกรณีดังกล่าวข้างต้นซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก ผู้เอาประกันภัยต้องใช้จำนวนเงินที่บริษัทได้จ่ายไปนั้นคืนให้บริษัททันที ดังนั้นจำเลยร่วมไม่มีสิทธิที่จะยกเอาเหตุที่ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ขาดการต่ออายุดังกล่าวมาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะตามข้อ 2.1 ได้แต่ยกขึ้นว่ากล่าวเอากับผู้เอาประกันภัย จำเลยร่วมจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก และมีสิทธิได้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดหากฟ้องไม่ระบุความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขับขี่กับผู้เอาประกัน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ให้รับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุ แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า ม.ขับรถยนต์คันดังกล่าวในฐานะอะไร หรือมีนิติสัมพันธ์อย่างไรกับจำเลยที่ 1ผู้เอาประกันภัยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในการละเมิดของ ม. เมื่อฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายถึงเหตุที่จะให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดแล้ว จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบ จึงไม่ต้องรับผิดด้วย ฟ้องของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 3 จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีประกันภัยค้ำจุน: นับแต่วันเกิดวินาศภัย ไม่ใช่อายุความละเมิด
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามสัญญาประกันภัย ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันที่ชนรถยนต์ซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้ให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้ใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยของโจทก์ไปแล้วนั้น เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนอันเป็นมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัย มีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคแรกจะนำเอาอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 448 วรรคแรกมาบังคับใช้ไม่ได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า รถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยค้ำจุนไว้เป็นฝ่ายทำละเมิด แม้ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องค่าเสียหายเพราะเห็นว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เมื่อโจทก์จำเลยได้สืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยเองได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าสินไหมทดแทนจากสัญญาประกันภัย: ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดตามสัญญา ไม่ใช่ละเมิด
การที่โจทก์ฟ้องคดีเพื่อให้จำเลยผู้รับประกันภัยค้ำจุนใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้ใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยของโจทก์ไปแล้วนั้น ไม่ใช่เป็นการฟ้องคดีในมูลหนี้ละเมิด แต่เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัยเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นผู้รับช่วงสิทธิตามสัญญาประกันภัย จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคแรก จะนำอายุความ1 ปี ตามมาตรา 448 วรรคแรก มาบังคับไม่ได้ หากจะนำมาตรา 448 วรรคแรกมาใช้บังคับจะต้องเป็นกรณีที่โจทก์ได้ฟ้องผู้เอาประกันภัยให้รับผิดด้วย และผู้เอาประกันภัยได้ยกอายุความเรื่องละเมิดขึ้นต่อสู้หากฟังได้ว่าฟ้องโจทก์สำหรับผู้เอาประกันภัยขาดอายุความเรื่องละเมิดผู้รับประกันภัยค้ำจุนก็ย่อมไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887
of 38