พบผลลัพธ์ทั้งหมด 375 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2691/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดตามสัญญาประกันภัยกรณีรถบรรทุกที่ใช้ในกิจการร่วมกัน ถือเป็นการจ้างงานและจำเลยร่วมต้องรับผิด
จำเลยที่ 2 เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุกับจำเลยร่วม จำเลยที่ 3 เป็นภรรยาจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 นำรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุในกิจการของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกัน การที่จำเลยที่ 3 ว่าจ้างให้ ป. ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปส่งข้าวเปลือกที่จังหวัดปทุมธานี ระหว่างทางเกิดชนกับรถยนต์ปิกอัพที่ม.ขับมา เป็นการจ้างเพื่อประโยชน์ในการประกอบธุรกิจร่วมกันของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของ ป. ด้วยจำเลยร่วมจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของลูกจ้างและผู้ว่าจ้าง รวมถึงความรับผิดตามสัญญาประกันภัยรถยนต์
หลังเกิดเหตุแล้วโจทก์ จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 3 หุ้นส่วนผู้จัดการและพนักงานประกันภัยของจำเลยที่ 4 ได้มีการเจรจาเรื่องค่าเสียหายกัน ทั้งได้ความว่ารถยนต์บรรทุกเป็นของจำเลยที่ 2เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 4 ประกอบกับจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 2โดยจำเลยที่ 3 ยอมรับว่าจำเลยที่ 1 ได้ขับรถยนต์บรรทุกในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 ต้องรับผิด จำเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัยรถยนต์จากจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย รถยนต์โจทก์ถูกชนท้ายและไถลไปชนรถยนต์บรรทุกที่จอดอยู่ข้างหน้า ได้รับความเสียหายทั้งด้านหน้าและด้านหลังมีสภาพพังยับเยินต้องซ่อมแซม ศาลกำหนดค่าซ่อมแซมให้ 106,705 บาทค่าขาดประโยชน์ 36 วัน วันละ 300 บาท เป็นเงิน 10,800 บาท น้อยกว่าที่โจทก์ขอ และการที่รถยนต์โจทก์ถูกชนเสียหายยับเยินย่อมเสื่อมราคาลง แม้จะทำการซ่อมแซมอย่างดีแล้วก็ตาม ศาลกำหนดค่าเสื่อมราคาเป็นเงิน 5,000 บาท เป็นการเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างและผู้รับประกันภัยต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุที่เกิดจากลูกจ้าง
ข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยได้ให้ความคุ้มครองถึงนายจ้างผู้ซึ่งมิใช่เป็นผู้เอาประกันภัยด้วย เมื่อนายจ้างจะต้องรับผิดจากการใช้รถยนต์คันที่เอาประกันภัยโดยลูกจ้างในทางการที่จ้างดังนี้ จำเลยที่ 2 ซึ่งมิใช่ผู้เอาประกันภัยแต่เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ผู้ซึ่งขับรถบรรทุกไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 โดยประมาทชนรถโจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ไม่เกินวงเงินที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคุ้มครองประกันภัยนายจ้างจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้รถของลูกจ้าง
ข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยได้ให้ความคุ้มครองถึงนายจ้างผู้ซึ่งมิใช่เป็นผู้เอาประกันภัยด้วย เมื่อนายจ้างจะต้องรับผิดจากการใช้รถยนต์คันที่เอาประกันภัยโดยลูกจ้างในทางการที่จ้าง ดังนี้ จำเลยที่ 2 ซึ่งมิใช่ผู้เอาประกันภัยแต่เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ผู้ซึ่งขับรถบรรทุกไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2โดยประมาทชนรถโจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ไม่เกินวงเงินที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากสัญญาประกันภัยค้ำจุน: ใช้มาตรา 882 ไม่ใช่ 448
ผู้ต้องเสียหายจากการกระทำละเมิดสามารถฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยของผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้โดยตรงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยของผู้ต้องเสียหายเข้าชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ต้องเสียหายแล้ว ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิจากผู้ต้องเสียหาย ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ในนามของโจทก์เองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226 และ 880 และกรณีเช่นนี้เป็นการฟ้องโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนต้องใช้อายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 คือ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย จะนำอายุความละเมิดตาม มาตรา 448 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3696/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกา การรับผิดของจำเลยที่ 4 และผู้รับประกันภัยเมื่อศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ได้เป็นฝ่ายขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อ โจทก์ฎีกา แต่ในชั้นฎีกาโจทก์ทิ้งฟ้องฎีกาสำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 คดีสำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 จึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยจำเลยดังกล่าวไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ สำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ไว้จากจำเลยที่ 1จะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเมื่อผู้เอาประกันภัยคือจำเลยที่ 1จะต้องรับผิด ฉะนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์จำเลยที่ 3 จึงได้รับประโยชน์โดยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2478/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัย: จำเลยขับรถคันเอาประกันภัยโดยไม่มีความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย สัญญาประกันภัยใช้ไม่ได้
จำเลยเป็นผู้ขับรถยนต์คันที่ อ. ทำสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลยร่วมโดยประมาทชนรถยนต์ของโจทก์เสียหาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่ออ.จะต้องรับผิดเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าอ. จะต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยร่วมจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน แม้สัญญาประกันภัยระบุว่า ผู้รับประกันภัยจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยกับอ. ผู้เอาประกัน มีนิติสัมพันธ์กันอย่างไร และจำเลยขับรถยนต์คันที่ อ. เอาประกันภัยไว้ในฐานะอะไร ถือไม่ได้ว่าจำเลยขับรถโดยความยินยอมจาก อ. ดังนั้น โจทก์จะถือเอาประโยชน์จากข้อสัญญาประกันภัยดังกล่าวหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2263/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรมธรรม์ประกันภัย: ข้อจำกัดความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อบุคคลภายนอก และข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาเรื่องค่าเสียหาย
ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ที่เอาประกันภัยค้ำจุนไว้กับจำเลยที่ 2 ไปในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเฉี่ยวชนกับรถยนต์โดยสารเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ดได้รับความเสียหายตามเงื่อนไขทั่วไปในกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 1.8ระบุว่าผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่นำหลักฐานมาแสดงต่อบริษัทเพื่อพิสูจน์ว่าผู้ขับรถยนต์ในขณะเกิดอุบัติเหตุเคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ และกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 2.13.6 ระบุว่า การประกันภัยไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆ หรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกิน 180 วันหรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมายในการขับรถยนต์ ในเวลาเกิดอุบัติเหตุ แต่กรมธรรม์ประกันภัยข้อ 2.14 มีข้อความว่าข้อสัญญาพิเศษ ภายใต้จำนวนเงินจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในตารางบริษัทจะไม่ยกเอาความสมบูรณ์แห่งกรมธรรม์หรือเงื่อนไขทั่วไปเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิด ดังนั้นจำเลยที่ 2 จะยกเอาเงื่อนไขทั่วไปข้อ 1.8 และการยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2.13.6 มาต่อสู้โจทก์ทั้งสิบเอ็ดซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่ได้ โจทก์ทั้งสิบเอ็ดมิได้ร่วมกันเรียกร้องให้จำเลยรับผิดอย่างเจ้าหนี้ร่วม แต่ละคนต่างเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่ตนได้รับเท่านั้น แม้จะอาศัยมูลละเมิดเดียวกัน คดีสำหรับโจทก์คนใดจะอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่จึงต้องแยกพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์คนนั้น ๆ เรียกร้อง โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 9เรียกร้องให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายให้แก่ตนเป็นจำนวนคนละไม่เกิน 50,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีสำหรับโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4และที่ 9 จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2208/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยค้ำจุน: ความคุ้มครองนายจ้างจากความรับผิดของลูกจ้าง
จำเลยที่ 3 รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2ไว้จาก อ. จำเลยที่ 1 ได้ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาทชนรถยนต์บรรทุกคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหาย โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้จัดการซ่อมแซมรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวแล้ว แม้จำเลยที่ 2จะมิใช่ผู้เอาประกันภัยรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2 ไว้แก่จำเลยที่ 3 แต่สัญญาประกันภัยค้ำจุนระหว่างจำเลยที่ 3 กับ อ.ได้ระบุไว้ว่า กรมธรรม์นี้ให้คุ้มครองถึงนายจ้างซึ่งมิใช่ผู้เอาประกันภัย เมื่อนายจ้างจะต้องรับผิดจากการใช้รถยนต์คันเอาประกันภัยโดยลูกจ้างในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 3จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามข้อสัญญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2208/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยค้ำจุน: คุ้มครองนายจ้างจากความประมาทของลูกจ้าง
สัญญาประกันภัยค้ำจุนระหว่างจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยกับ อ. ผู้เอาประกันภัย ระบุว่า "กรมธรรม์นี้ให้ความคุ้มครองถึงนายจ้างซึ่งมิใช่ผู้เอาประกันภัยเมื่อนายจ้างจะต้องรับผิดจากการใช้รถยนต์คันเอาประกันภัยโดยลูกจ้างในทางการที่จ้าง"เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ลูกจ้างจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2 ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาทชนรถยนต์บรรทุกคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ แม้จำเลยที่ 2จะมิใช่ผู้เอาประกันภัยรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3ผู้รับประกันภัยต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามสัญญาดังกล่าว.