พบผลลัพธ์ทั้งหมด 375 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์และขอบเขตความรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุน กรณีความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
การที่จำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์จะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย มีสาขาในประเทศไทยหรือไม่และมอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีหรือไม่ ไม่รับรู้และรับรอง เป็นคำให้การที่มิได้ปฏิเสธชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่เป็นนิติบุคคลอย่างไร และไม่ได้คัดค้านความไม่ถูกต้องของหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นประเด็นข้อพิพาท โจทก์นำสืบ ม. ซึ่งเป็นเพียงพนักงานประเมินความเสียหายของโจทก์รับรองหนังสือมอบอำนาจ ดังนี้รับฟังได้ว่าเป็นหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีที่ถูกต้องแท้จริง ไม่จำเป็นต้องนำสืบผู้รับมอบอำนาจ โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันที่ก่อให้เกิดความเสียหายโดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของ ล. ในฐานะอะไร และมีนิติสัมพันธ์กันอย่างไรกับ ล. เจ้าของรถยนต์คันดังกล่าว อัน ล. ต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เมื่อ ล. ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนจึงไม่ต้องรับผิดด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและขอบเขตความรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุน กรณีละเมิดจากรถยนต์
คำให้การของจำเลยที่ต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องโจทก์ว่า โจทก์จะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย มีสาขาในประเทศไทย หรือไม่ และมอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีนี้หรือไม่ ไม่รับรู้และรับรองนั้นคำให้การดังกล่าวมิได้ปฏิเสธไว้ชัดแจ้ง จึงไม่เป็นประเด็นพิพาท โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนแต่โจทก์มิได้บรรยายให้ปรากฏในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของ ล. ในฐานะอะไร และมีนิติสัมพันธ์ต่อกันอย่างไร จึงฟังไม่ได้ว่า ล. มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 อันจะเป็นเหตุให้ ล.ต้องร่วมรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องใช้ค่าเสียหายในกรณี ล. ต้องรับผิดเมื่อ ล. ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5014/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดและบริษัทที่รับผิดร่วมกัน กรณีลูกจ้างได้รับบาดเจ็บจากการถูกชน
ส. เป็นพนักงานของโจทก์ที่จะต้องประกอบการงานให้แก่โจทก์เป็นประจำ ช. เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขับรถยนต์บรรทุกที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 3 ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยประมาทเลินเล่อชนรถยนต์ที่ ส. ขับ ทำให้ส. ได้รับบาดเจ็บ ต้องพักรักษาตัวไม่สามารถไปประกอบหน้าที่การงานให้แก่โจทก์ได้ตามปกติ การกระทำละเมิดของ ช. เป็นเหตุให้โจทก์ขาดประโยชน์จากแรงงานของ ส. ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินเดือนให้แก่ ส. ในระหว่างนั้น โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายชอบจะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสามตาม ป.พ.พ. มาตรา 445,425,887 จำเลยที่ 3 รับประกันภัยประเภทรับผิดต่อบุคคลภายนอก จึงเป็นการประกันภัยค้ำจุน เมื่อโจทก์เป็นผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากรถยนต์ที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยไว้ โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 3 โดยตรง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887วรรค 1,2 ทั้งนี้แม้จำเลยที่ 3 จะได้จ่ายค่าขาดประโยชน์แรงงานให้แก่ ส.ไปแล้วและส. มีสิทธิลาป่วยในระหว่างพักรักษาตัวก็ตาม เหตุละเมิดเกิดที่จังหวัดนครสวรรค์เมื่อเวลา 20 นาฬิกาเศษของวันศุกร์ ที่ 22 กรกฎาคม 2526 ซึ่งเป็นช่วงเวลานอกราชการ ทั้งส. พนักงานของโจทก์ก็ได้รับบาดเจ็บต้องไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลไม่สามารถไปรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ในวันเกิดเหตุ โจทก์ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่กรุงเทพมหานครไม่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวจำเลยที่ 2 ผู้ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันเกิดเหตุโจทก์จะรู้อย่างเร็วที่สุดก็ในวันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2526ซึ่งเป็นวันเปิดทำการ และนำคดีมาฟ้องวันที่ 23 กรกฎาคม 2527 ยังไม่พ้นหนึ่งปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5014/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการเรียกร้องค่าเสียหายจากนายจ้างลูกจ้าง
ประเด็นข้อพิพาทซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยเมื่อเห็นสมควรศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาเหล่านั้นไป ได้โดยไม่ต้องย้อนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยใหม่
ข. เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขับรถยนต์บรรทุกที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 3 ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยประมาทเลินเล่อไปชนรถยนต์ที่ ส. ขับ ทำให้ ส.ได้รับบาดเจ็บต้องพักรักษาตัวไม่สามารถไปประกอบหน้าที่การงานให้โจทก์ได้ตามปกติ การกระทำละเมิดของ ช. ดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากแรงงานของ ส. ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินเดือนให้แก่ ส. ในระหว่างนั้น โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 445 ประกอบด้วยมาตรา 425 และ มาตรา 887
แม้จำเลยที่ 3 จะจ่ายค่าขาดประโยชน์แรงงานให้ ส. ไปแล้วและระหว่างที่ ส. พักรักษาตัวเนื่องจากถูกรถชน ส. มีสิทธิลาป่วยได้ก็ตาม แต่ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ส.ที่จะฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์จากแรงงานจากจำเลยอีก
โจทก์เป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากรถยนต์บรรทุกที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยค้ำจุนไว้ จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 3 โดยตรง
เกิดเหตุละเมิดเมื่อเวลา 20 นาฬิกาเศษของวันศุกร์ ที่ 22กรกฎาคม 2526 ซึ่งเป็นช่วงนอกเวลาราชการ ที่จังหวัดนครสวรรค์ส. ได้รับบาดเจ็บมากคงไม่สามารถไปรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ผู้บังคับบัญชาทราบได้ในวันนั้นจึงเชื่อว่าโจทก์ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่กรุงเทพมหานครคงไม่รู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวจำเลยที่ 2ผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันนั้น อย่างเร็วที่สุดโจทก์จะรู้ในวันเปิดทำการคือวันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2526 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 23 กรกฎาคม 2527 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448
โจทก์มิใช่ผู้ต้องเสียหายโดยตรง แต่เป็นเพียงนายจ้างที่ต้องขาดแรงงานไปเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดนับแต่เวลาที่ทำละเมิดและทางนำสืบของโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่เมื่อใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยก่อนฟ้องคดี.
ข. เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขับรถยนต์บรรทุกที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 3 ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยประมาทเลินเล่อไปชนรถยนต์ที่ ส. ขับ ทำให้ ส.ได้รับบาดเจ็บต้องพักรักษาตัวไม่สามารถไปประกอบหน้าที่การงานให้โจทก์ได้ตามปกติ การกระทำละเมิดของ ช. ดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากแรงงานของ ส. ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินเดือนให้แก่ ส. ในระหว่างนั้น โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 445 ประกอบด้วยมาตรา 425 และ มาตรา 887
แม้จำเลยที่ 3 จะจ่ายค่าขาดประโยชน์แรงงานให้ ส. ไปแล้วและระหว่างที่ ส. พักรักษาตัวเนื่องจากถูกรถชน ส. มีสิทธิลาป่วยได้ก็ตาม แต่ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ส.ที่จะฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์จากแรงงานจากจำเลยอีก
โจทก์เป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากรถยนต์บรรทุกที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยค้ำจุนไว้ จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 3 โดยตรง
เกิดเหตุละเมิดเมื่อเวลา 20 นาฬิกาเศษของวันศุกร์ ที่ 22กรกฎาคม 2526 ซึ่งเป็นช่วงนอกเวลาราชการ ที่จังหวัดนครสวรรค์ส. ได้รับบาดเจ็บมากคงไม่สามารถไปรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ผู้บังคับบัญชาทราบได้ในวันนั้นจึงเชื่อว่าโจทก์ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่กรุงเทพมหานครคงไม่รู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวจำเลยที่ 2ผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันนั้น อย่างเร็วที่สุดโจทก์จะรู้ในวันเปิดทำการคือวันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2526 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 23 กรกฎาคม 2527 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448
โจทก์มิใช่ผู้ต้องเสียหายโดยตรง แต่เป็นเพียงนายจ้างที่ต้องขาดแรงงานไปเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดนับแต่เวลาที่ทำละเมิดและทางนำสืบของโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่เมื่อใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยก่อนฟ้องคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5014/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: นายจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าขาดแรงงานจากผู้รับประกันภัยและผู้กระทำละเมิด
ประเด็นข้อพิพาทซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยเมื่อเห็นสมควรศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาเหล่านั้นไปได้โดยไม่ต้องย้อนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยใหม่ ข. เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขับรถยนต์บรรทุกที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 3 ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1และที่ 2 โดยประมาทเลินเล่อไปชนรถยนต์ที่ ส.ขับทำให้ส.ได้รับบาดเจ็บต้องพักรักษาตัวไม่สามารถไปประกอบหน้าที่การงานให้โจทก์ได้ตามปกติ การกระทำละเมิดของ ช. ดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากแรงงานของ ส. ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินเดือนให้แก่ ส. ในระหว่างนั้น โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 445 ประกอบด้วยมาตรา 425 และ มาตรา 887 แม้จำเลยที่ 3 จะจ่ายค่าขาดประโยชน์แรงงานให้ ส. ไปแล้วและระหว่างที่ ส.พักรักษาตัวเนื่องจากถูกรถชนส. มีสิทธิลาป่วยได้ก็ตาม แต่ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ส.ที่จะฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์จากแรงงานจากจำเลยอีก โจทก์เป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากรถยนต์บรรทุกที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยค้ำจุนไว้ จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 3 โดยตรง เกิดเหตุละเมิดเมื่อเวลา 20 นาฬิกาเศษของวันศุกร์ ที่ 22กรกฎาคม 2526 ซึ่งเป็นช่วงนอกเวลาราชการ ที่จังหวัดนครสวรรค์ส. ได้รับบาดเจ็บมากคงไม่สามารถไปรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ผู้บังคับบัญชาทราบได้ในวันนั้นจึงเชื่อว่าโจทก์ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่กรุงเทพมหานครคงไม่รู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวจำเลยที่ 2ผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันนั้น อย่างเร็วที่สุดโจทก์จะรู้ในวันเปิดทำการคือวันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2526 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 23 กรกฎาคม 2527 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 โจทก์มิใช่ผู้ต้องเสียหายโดยตรง แต่เป็นเพียงนายจ้างที่ต้องขาดแรงงานไปเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดนับแต่เวลาที่ทำละเมิดและทางนำสืบของโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่เมื่อใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยก่อนฟ้องคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4940/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์ กรณีอุบัติเหตุเดียวกัน และการชำระหนี้โดยสุจริต
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ด้วยความประมาท เป็นเหตุให้เกิดชนกันขึ้น จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ด้วย ตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัยระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 4ระบุวงเงินค่าเสียหายเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลภายนอกไว้ว่าไม่เกิน 100,000 บาท ต่อหนึ่งครั้ง จึงหมายความว่า จำเลยที่ 4จำกัดความรับผิดในค่าเสียหายต่อบุคคลภายนอกไม่ว่าคนเดียวหรือหลายคนในอุบัติเหตุครั้งเดียวกันไว้ไม่เกิน 100,000 บาทเท่านั้นและหากจำเลยที่ 4 ได้ชำระค่าเสียหายให้โจทก์ในอีกคดีซึ่งได้ฟ้องในอุบัติเหตุครั้งเดียวกันกับคดีนี้เต็มจำนวน 100,000 บาทตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัยแล้ว จำเลยที่ 4 ก็ไม่ต้องชำระค่าเสียหายให้โจทก์ในคดีนี้อีก การชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวเป็นการชำระหนี้โดยสุจริตและถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยที่ 4 ไม่ต้องเฉลี่ยเงินค่าเสียหายให้โจทก์คดีนี้ จำเลยที่ 4 อ้างสำนวนคดีแพ่งของศาลชั้นต้นพร้อมทั้งสรรพเอกสารเป็นพยานในคดีนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามข้อเท็จจริงในสำนวนคดีดังกล่าว จึงไม่เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวน แต่ข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 4 ได้ชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ในคดีอื่นเกิดขึ้นภายหลังที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีนี้แล้ว ศาลอุทธรณ์ไม่ชอบที่จะนำมาพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 4 ไปเลย แต่ควรกำหนดเป็นเงื่อนไขในความรับผิดของจำเลยที่ 4 เท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4940/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์ กรณีอุบัติเหตุเดียวกัน ชดใช้ค่าเสียหายเต็มตามวงเงินประกันภัยแล้ว
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ด้วยความประมาท เป็นเหตุให้เกิดชนกันขึ้น จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ด้วย
ตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัยระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 4ระบุวงเงินค่าเสียหายเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลภายนอกไว้ว่าไม่เกิน 100,000 บาท ต่อหนึ่งครั้ง จึงหมายความว่า จำเลยที่ 4จำกัดความรับผิดในค่าเสียหายต่อบุคคลภายนอกไม่ว่าคนเดียวหรือหลายคนในอุบัติเหตุครั้งเดียวกันไว้ไม่เกิน 100,000 บาทเท่านั้นและหากจำเลยที่ 4 ได้ชำระค่าเสียหายให้โจทก์ในอีกคดีซึ่งได้ฟ้องในอุบัติเหตุครั้งเดียวกันกับคดีนี้เต็มจำนวน 100,000 บาทตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัยแล้ว จำเลยที่ 4 ก็ไม่ต้องชำระค่าเสียหายให้โจทก์ในคดีนี้อีก การชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวเป็นการชำระหนี้โดยสุจริตและถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยที่ 4 ไม่ต้องเฉลี่ยเงินค่าเสียหายให้โจทก์คดีนี้
จำเลยที่ 4 อ้างสำนวนคดีแพ่งของศาลชั้นต้นพร้อมทั้งสรรพเอกสารเป็นพยานในคดีนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามข้อเท็จจริงในสำนวนคดีดังกล่าว จึงไม่เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวน แต่ข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 4 ได้ชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ในคดีอื่นเกิดขึ้นภายหลังที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีนี้แล้ว ศาลอุทธรณ์ไม่ชอบที่จะนำมาพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 4 ไปเลย แต่ควรกำหนดเป็นเงื่อนไขในความรับผิดของจำเลยที่ 4 เท่านั้น.
ตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัยระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 4ระบุวงเงินค่าเสียหายเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลภายนอกไว้ว่าไม่เกิน 100,000 บาท ต่อหนึ่งครั้ง จึงหมายความว่า จำเลยที่ 4จำกัดความรับผิดในค่าเสียหายต่อบุคคลภายนอกไม่ว่าคนเดียวหรือหลายคนในอุบัติเหตุครั้งเดียวกันไว้ไม่เกิน 100,000 บาทเท่านั้นและหากจำเลยที่ 4 ได้ชำระค่าเสียหายให้โจทก์ในอีกคดีซึ่งได้ฟ้องในอุบัติเหตุครั้งเดียวกันกับคดีนี้เต็มจำนวน 100,000 บาทตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัยแล้ว จำเลยที่ 4 ก็ไม่ต้องชำระค่าเสียหายให้โจทก์ในคดีนี้อีก การชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวเป็นการชำระหนี้โดยสุจริตและถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยที่ 4 ไม่ต้องเฉลี่ยเงินค่าเสียหายให้โจทก์คดีนี้
จำเลยที่ 4 อ้างสำนวนคดีแพ่งของศาลชั้นต้นพร้อมทั้งสรรพเอกสารเป็นพยานในคดีนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามข้อเท็จจริงในสำนวนคดีดังกล่าว จึงไม่เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวน แต่ข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 4 ได้ชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ในคดีอื่นเกิดขึ้นภายหลังที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีนี้แล้ว ศาลอุทธรณ์ไม่ชอบที่จะนำมาพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 4 ไปเลย แต่ควรกำหนดเป็นเงื่อนไขในความรับผิดของจำเลยที่ 4 เท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3760/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยรถยนต์ต่อบุคคลภายนอกเมื่อผู้ขับขี่ได้รับความยินยอม และขอบเขตความรับผิดของทายาท
จำเลยที่ 5 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 1 ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุเรื่องการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกไว้ว่า การคุ้มครองผู้ขับขี่ บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง ซึ่งหมายความว่าจำเลยที่ 5 ในฐานะผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้ใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อ ป. ขับขี่รถคันเกิดเหตุโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 5 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามนัยแห่งกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว
แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุมา และได้ให้ ป. ขับก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ครอบครองหรือควบคุมรถยนต์คันดังกล่าวในขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่รถยนต์ ดังนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437
ทายาทผู้รับมรดกของผู้ตายต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำละเมิดของผู้ตาย
แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุมา และได้ให้ ป. ขับก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ครอบครองหรือควบคุมรถยนต์คันดังกล่าวในขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่รถยนต์ ดังนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437
ทายาทผู้รับมรดกของผู้ตายต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำละเมิดของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3296/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อค่าเสียหายจากรถที่รับประกัน และการบังคับใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
เมื่อจำเลยรับว่าเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถคันเกิดเหตุจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถที่รับประกันภัยไว้ไปก่อให้เกิดขึ้น ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย การที่จำเลยรับประกันภัยรถคันดังกล่าวจากผู้ใด เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทราบอยู่แล้ว แม้ฟ้องของโจทก์จะไม่ได้บรรยายว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัย ก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม เมื่อจำเลยแพ้คดี จำเลยต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งศาลจะเป็นผู้ใช้ดุลพินิจกำหนดโดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดี ทั้งไม่เกี่ยวกับข้อจำกัดความรับผิดเรื่องค่าเสียหายตามวงเงินที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3296/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยทางรถยนต์: ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อค่าเสียหาย และค่าฤชาธรรมเนียม
เมื่อจำเลยรับว่าเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถคันเกิดเหตุจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถที่รับประกันภัยไว้ไปก่อให้เกิดขึ้น ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย การที่จำเลยรับประกันภัยรถคันดังกล่าวจากผู้ใด เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทราบอยู่แล้ว แม้ฟ้องของโจทก์จะไม่ได้บรรยายว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัย ก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม
เมื่อจำเลยแพ้คดี จำเลยต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งศาลจะเป็นผู้ใช้ดุลพินิจกำหนดโดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดี ทั้งไม่เกี่ยวกับข้อจำกัดความรับผิดเรื่องค่าเสียหายตามวงเงินที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยของจำเลย
เมื่อจำเลยแพ้คดี จำเลยต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งศาลจะเป็นผู้ใช้ดุลพินิจกำหนดโดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดี ทั้งไม่เกี่ยวกับข้อจำกัดความรับผิดเรื่องค่าเสียหายตามวงเงินที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยของจำเลย