คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 887

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 375 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2308/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิจากค่ารักษาพยาบาลในสัญญาประกันภัยรถยนต์ และความรับผิดของนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้รับประกันภัย
จำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถยนต์หมายเลขทะเบียน รบ.16627ซึ่งเป็นรถของจำเลยที่ 2 โดยมีจำเลยที่ 1 บุตรชายจำเลยที่ 2เป็นคนขับและคุ้มครองผู้ขับรถตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยที่ 1ขับรถคันดังกล่าวชนกับรถของโจทก์ที่ 1 จน ด. คนขับรถโจทก์ที่ 1 ถึงแก่ความตายส่วนจำเลยที่ 1 ได้รับบาดเจ็บและเสียค่ารักษาพยาบาล จำเลยที่ 3 จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่จำเลยที่ 1ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยที่ 3 ตกลงคุ้มครอง หาใช่เป็นการประกันชีวิตไม่ ถือเป็นค่าเสียหายที่จำเลยที่ 3 ได้รับจากความประมาทของ ด. ลูกจ้างโจทก์ที่ 1 จำเลยที่ 3 จึงเข้ารับช่วงสิทธิ์ จากจำเลยที่ 1 มาฟ้องเรียกร้องเอาค่าเสียหายดังกล่าวจากโจทก์ที่ 1และโจทก์ที่ 4 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4457/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยค้ำจุนยังคงมีผลแม้ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต หากรถยังอยู่ในอายุการคุ้มครองและมีการโอนมรดก
จำเลยที่ 3 รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2ตามกรมธรรม์ประกันภัยกำหนดเรื่องการโอนรถยนต์ว่า กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับเมื่อผู้เอาประกันภัยโอนรถยนต์ให้บุคคลอื่น เว้นแต่รถยนต์เปลี่ยนมือจากผู้เอาประกันภัยโดยพินัยกรรมหรือโดยบทบัญญัติกฎหมาย ข้อกำหนดดังกล่าวไม่ได้กำหนดเงื่อนไขให้กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับเพราะเหตุผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรม ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะถึงแก่กรรมก่อนเกิดเหตุ แต่ขณะเกิดเหตุรถยนต์บรรทุกคันที่เอาประกันภัยไว้ยังอยู่ในอายุการคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยและ ว. ภรรยาของจำเลยที่ 2 เป็นทายาทและรับมรดกสืบสิทธิจากจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 1 ซึ่งเดิมเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จึงยังคงเป็นลูกจ้างขับรถยนต์บรรทุกคันที่เอาประกันภัยไว้โดย ว. ว่าจ้างต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของ ว.นายจ้างว. จึงมีความผูกพันต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนั้น จำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4457/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรมธรรม์ประกันภัยยังคงมีผลแม้ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต หากรถยนต์ยังอยู่ในอายุการคุ้มครองและไม่มีการโอน
จำเลยที่ 3 รับประกันภัยค้ำจุนสำหรับการใช้รถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2 ตามกรมธรรม์ประกันภัยกำหนดเรื่องการโอนรถยนต์ว่า กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับเมื่อผู้เอาประกันภัยได้โอนรถยนต์ให้บุคคลอื่นเว้นแต่รถยนต์ได้เปลี่ยนมือจากผู้เอาประกันภัยโดยพินัยกรรมหรือโดยบัญญัติกฎหมาย ข้อกำหนดดังกล่าวไม่ได้กำหนดเงื่อนไขให้กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับเพราะเหตุผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรม ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะถึงแก่กรรมก่อนเกิดเหตุ แต่ขณะเกิดเหตุ ว. ภรรยาของจำเลยที่ 2 เป็นทายาทและรับมรดกสืบสิทธิจากจำเลยที่ 2 ผู้ตายในฐานะผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 1 ซึ่งเดิมเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จึงยังคงเป็นลูกจ้างขับรถยนต์บรรทุกคันที่เอาประกันภัยไว้โดย ว. ว่าจ้างต่อ เมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของ ว. ผู้เป็นนายจ้าง ว. จึงมีความผูกพันต้องรับผิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4457/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของประกันภัยค้ำจุนเมื่อผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรม และการสืบสิทธิในกรมธรรม์ประกันภัย
จำเลยที่ 3 รับประกันภัยค้ำจุนสำหรับการใช้รภยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2 ตามกรมธรรม์ประกันภัยกำหนดเรื่องการโอนรถยนต์ว่ากรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับเมื่อผู้เอาประกันภัยได้โอนรถยนต์ให้บุคคลอื่นเว้นแต่รถยนต์ได้เปลี่ยนมือจากผู้เอาประกันภัยโดยพินัยกรรมหรือโดยบัญญัติกฎหมาย ข้อกำหนดดังกล่าวไม่ได้กำหนดเงื่อนไขให้กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับเพราะเหตุผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรม ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะถึงแก่กรรมก่อนเกิดเหตุ แต่ขณะเกิดเหตุ ว. ภรรยาของจำเลยที่ 2 เป็นทายาทและรับมรดกสืบสิทธิจากจำเลยที่ 2 ผู้ตายในฐานะผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 1 ซึ่งเดิมเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จึงยังคงเป็นลูกจ้างขับรถยนต์บรรทุกคันที่เอาประกันภัยไว้โดย ว. ว่าจ้างต่อ เมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของ ว. ผู้เป็นนายจ้าง ว. จึงมีความผูกพันต้องรับผิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนต่อโจทก์ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4193/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยค้ำจุน: สิทธิเรียกร้องของบุคคลภายนอก, ข้อจำกัดการอุทธรณ์ตามทุนทรัพย์
โจทก์ทั้งสี่มิได้ร่วมกันฟ้องเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่รับผิดอย่างเจ้าหนี้ร่วม แต่ละคนต่างเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่ตนได้รับเท่านั้น แม้จะอาศัยมูลละเมิดเดียวกัน คดีสำหรับโจทก์คนใดจะอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องแยกพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์ตามที่โจทก์คนนั้น ๆ เรียกร้อง เมื่อโจทก์ที่ 4 เรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตน 9,000 บาท คดีสำหรับโจทก์ที่ 4 จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ดังนั้น แม้จำเลยที่ 4 จะอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ที่ 4 สูงไป และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 4 มีสิทธิฎีกาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 4
สัญญาประกันภัยที่ผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย เพื่อวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอื่นซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบอันมีลักษณะเป็นประกันภัยค้ำจุนนั้น มิได้เป็นสัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยกับผู้เอาประกันภัยตกลงกันว่าจะให้บุคคลภายนอกได้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยควรจะได้รับ ดังนั้น แม้โจทก์จะไม่เคยแสดงเจตนาแก่ผู้รับประกันภัยว่าจะเอาประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยนั้นก็มีอำนาจฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 887 วรรคสอง กรณีจะปรับด้วยมาตรา 374 ไม่ได้
กรมธรรม์ประกันภัยข้อ 2.14 มีข้อความว่า "ข้อสัญญาพิเศษภายใต้จำนวนเงินจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในตาราง บริษัทจะไม่ยกเอาความไม่สมบูรณ์แห่งกรมธรรม์หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือข้อ 2.13 หรือเงื่อนไขทั่วไป เว้นแต่ข้อ 1.2 เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามข้อ 2.1 (ความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะ) หรือข้อ 2.2 (ความรับผิดต่อผู้โดยสาร) " ดังนั้น จำเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัยจะเอาเงื่อนไขทั่วไปข้อ 1.8 ที่ว่า "ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่นำหลักฐานมาแสดงต่อบริษัทเพื่อพิสูจน์ว่าผู้ขับรถยนต์ในขณะเกิดอุบัติเหตุเคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์" มาต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4193/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยค้ำจุน: บุคคลภายนอกมีอำนาจฟ้องเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ แม้ไม่ได้แสดงเจตนา
โจทก์ทั้งสี่มิได้ร่วมกันฟ้องเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่รับผิดอย่างเจ้าหนี้ร่วม แต่ละคนต่างเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่ตนได้รับเท่านั้นแม้จะอาศัยมูลละเมิดเดียวกัน คดีสำหรับโจทก์คนใดจะอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องแยกพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์ตามที่โจทก์คนนั้น ๆ เรียกร้อง เมื่อโจทก์ที่ 4 เรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตน 9,000 บาท คดีสำหรับโจทก์ที่ 4 จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ดังนั้น แม้จำเลยที่ 4 จะอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ที่ 4สูงไป และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 4 มีสิทธิฎีกาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 4 สัญญาประกันภัยที่ผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย เพื่อวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอื่นซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบอันมีลักษณะเป็นประกันภัยค้ำจุนนั้น มิได้เป็นสัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยกับผู้เอาประกันภัยตกลงกันว่าจะให้บุคคลภายนอกได้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยควรจะได้รับ ดังนั้น แม้โจทก์จะไม่เคยแสดงเจตนาแก่ผู้รับประกันภัยว่าจะเอาประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยนั้นก็มีอำนาจฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 887 วรรคสอง กรณีจะปรับด้วยมาตรา 374 ไม่ได้ กรมธรรม์ประกันภัยข้อ 2.14 มีข้อความว่า "ข้อสัญญาพิเศษภายใต้จำนวนเงินจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในตาราง บริษัทจะไม่ยกเอาความไม่สมบูรณ์แห่งกรมธรรม์หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือข้อ 2.13 หรือเงื่อนไขทั่วไป เว้นแต่ข้อ 1.2เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามข้อ 2.1(ความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะ) หรือข้อ 2.2(ความรับผิดต่อผู้โดยสาร)" ดังนั้น จำเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัยจะเอาเงื่อนไขทั่วไปข้อ 1.8 ที่ว่า "ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่นำหลักฐานมาแสดงต่อบริษัทเพื่อพิสูจน์ว่าผู้ขับรถยนต์ในขณะเกิดอุบัติเหตุเคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์" มาต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีประกันภัย: ฟ้องผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องใช้ อายุความ 2 ปี ตาม พ.ร.บ.แพ่งฯ มาตรา 882 ไม่ใช่ อายุความละเมิด 1 ปี
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ที่ชนรถยนต์ของโจทก์ให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคสอง จึงมีอายุความ 2 ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882วรรคแรก จะนำอายุความในมูลละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาใช้ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องผู้รับประกันภัยค้ำจุน: ประเมินจากวันเกิดเหตุวินาศภัย ไม่ใช่มูลละเมิด
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ที่ชนรถยนต์ของโจทก์ให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 887 วรรคสอง จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคแรก จะนำอายุความในมูลละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาใช้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยค้ำจุน: ใช้มาตรา 882 ไม่ใช่ 448
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ที่ชนรถยนต์ของโจทก์ให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนตามป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคสอง จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคแรก จะนำอายุความในมูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มาใช้ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีประกันภัย: ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยค้ำจุน ต้องใช้บังคับตามอายุความที่กำหนดไว้สำหรับประกันภัย ไม่ใช่อายุความในมูลละเมิด
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ที่ชนรถยนต์ของโจทก์ให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคสอง จึงมีอายุความ 2 ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882วรรคแรก จะนำอายุความในมูลละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาใช้ไม่ได้.
of 38