คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 887

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 375 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3312/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับประกันภัยค้ำจุน: ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดหากผู้เอาประกันภัยไม่มีความรับผิดต่อผู้เสียหาย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ให้ รับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์โดยสารอันเป็นรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายครั้งนี้แม้ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของ ย.ได้ขับรถยนต์คันดังกล่าวของ ย.และย. กับห้างหุ้นส่วนจำกัดศ. เป็นผู้เอาประกันภัยค้ำจุนไว้แก่จำเลยที่ 3 แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันดังกล่าวในฐานะอะไรของ ย.กับห้างหุ้นส่วนจำกัดศ. และมีนิติสัมพันธ์กันอย่างไรกับบุคคลทั้งสองนั้น อัน เป็นเหตุให้ ย. กับห้างหุ้นส่วนจำกัดศ. ต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่อ ย.กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ต้องรับผิด ในเมื่อตามฟ้องไม่ปรากฏว่าย.กับห้างหุ้นส่วนจำกัดศ. จะต้องรับผิดต่อโจทก์แล้ว จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิประกันภัย และขอบเขตความรับผิดของผู้รับประกันภัยเมื่อผู้เอาประกันภัยผิดเงื่อนไข
บันทึกข้อตกลงมีข้อความว่า ผู้เอาประกันภัยรถยนต์ตกลงชดใช้ค่าทดแทนค่าเสียหายให้กับฝ่ายผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ตายและผู้บาดเจ็บโดยผู้เสียหายรับเงินแล้วไม่ประสงค์จะฟ้องร้องต่อไปอีก เป็นการตกลงชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องจากการบาดเจ็บและตายเท่านั้น ไม่รวมถึงความเสียหายอันเกิดกับรถยนต์อีกส่วนหนึ่งต่างหาก เมื่อผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของรถยนต์แล้วย่อมเข้ารับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยได้ เงื่อนไขความรับผิดตามสัญญาประกันภัยซึ่งกำหนดให้ผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยต้องเคยได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์และเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยที่จะต้องนำหลักฐานนั้นมาแสดงต่อผู้รับประกันภัยมิฉะนั้นผู้รับประกันภัยอาจจะไม่รับผิดชอบชดใช้ค่าทดแทนนั้น มิได้ระบุชัดแจ้งว่าให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญา การผิดเงื่อนไขหรือไม่เพียงใดเป็นเรื่องที่ผู้รับประกันภัยจะว่ากล่าวเอากับผู้เอาประกันภัยคู่สัญญา จะยกเหตุแห่งการผิดเงื่อนไขดังกล่าวเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีละเมิดและการรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุน เมื่อโจทก์ทราบการละเมิดช้ากว่า 1 ปี
หัวหน้าแผนกประกันภัยและสอบสวนขององค์การโจทก์ได้ทำหนังสือตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในระเบียบของโจทก์ซึ่งออกตามความในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) พ.ศ. 2496 มาตรา 21, 22 ที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ในทันทีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น อันมีผลเท่ากับเป็นการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของผู้อำนวยการของโจทก์และแทนผู้อำนวยการของโจทก์ ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2523 ถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วอย่างช้าตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2523 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 9 สิงหาคม 2525 จึงเกินกว่า 1 ปีคดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก
จำเลยที่ 1 กระทำความผิดทางอาญา ข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43, 157 ซึ่งเป็นคดีลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 102 อายุความทางอาญามีกำหนด 1 ปี เท่ากับคดีละเมิดต้องบังคับตามอายุความทางแพ่งซึ่งมีกำหนด 1 ปี ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความเช่นกัน
เมื่อคดีได้ความว่า จำเลยที่ 2 ที่ 4 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิด เนื่องจากฟ้องของโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องแล้ว จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด เมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันเกิดการละเมิด จำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ หากโจทก์ไม่สืบหรือสืบไม่ได้ก็ต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีละเมิดและอาญา: การรู้ตัวผู้ละเมิดและการกระทำแทนผู้อำนวยการ
หัวหน้าแผนกประกันภัยและสอบสวนขององค์การโจทก์ได้ทำหนังสือตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในระเบียบของโจทก์ ซึ่งออกตามความในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(ร.ส.พ.) พ.ศ. 2496 มาตรา 21,22 ที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ในทันทีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นอันมีผลเท่ากับเป็นการปฎิบัติงานตามหน้าที่ของผู้อำนวยการของโจทก์และแทนผู้อำนวยการของโจทก์ ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2523 ถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วอย่างช้าตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2523 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 9 สิงหาคม 2525 จึงเกินกว่า 1 ปี คดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก จำเลยที่ 1 กระทำความผิดทางอาญา ข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43,157 ซึ่งเป็นคดีลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 102 อายุความทางอาญามีกำหนด 1 ปี เท่ากับคดีละเมิดต้องบังคับตามอายุความทางแพ่งซึ่งมีกำหนด 1 ปี ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความเช่นกัน เมื่อคดีได้ความว่า จำเลยที่ 2 ที่ 4 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิด เนื่องจากฟ้องของโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องแล้ว จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด เมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันเกิดการละเมิด จำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ หากโจทก์ไม่สืบหรือสืบไม่ได้ก็ต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิดและคดีอาญาจากการชนรถยนต์ การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่แทนผู้อำนวยการ
หัวหน้าแผนกประกันภัยและสอบสวนขององค์การโจทก์ได้ทำหนังสือตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในระเบียบของโจทก์ซึ่งออกตามความในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) พ.ศ. 2496 มาตรา21,22 ที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ในทันทีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น อันมีผลเท่ากับเป็นการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของผู้อำนวยการของโจทก์และแทนผู้อำนวยการของโจทก์ ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2523 ถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วอย่างช้าตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2523 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 9 สิงหาคม 2525 จึงเกินกว่า 1 ปีคดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก
จำเลยที่ 1 กระทำความผิดทางอาญา ข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43,157 ซึ่งเป็นคดีลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 102 อายุความทางอาญามีกำหนด 1 ปี เท่ากับคดีละเมิดต้องบังคับตามอายุความทางแพ่งซึ่งมีกำหนด 1 ปี ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความเช่นกัน
เมื่อคดีได้ความว่า จำเลยที่ 2 ที่ 4 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิด เนื่องจากฟ้องของโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องแล้ว จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด เมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันเกิดการละเมิด จำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ หากโจทก์ไม่สืบหรือสืบไม่ได้ก็ต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุนกรณีผู้ขับรถประมาท และอายุความฟ้องร้องประกันวินาศภัย
โจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเพื่อรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนกับผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ ดังนั้น จำเลยร่วมจะต้องรับผิดหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ผู้ขับรถยนต์คันที่จำเลยร่วมรับประกันภัยไว้นั้นได้ขับรถยนต์โดยประมาท อันเป็นการกระทำละเมิดหรือไม่และขึ้นอยู่กับข้อกำหนดในกรมธรรม์ประกันภัย ขณะเกิดเหตุผู้เอาประกันภัยค้ำจุนได้นำรถยนต์ไปซ่อมเครื่องยนต์ที่อู่ซ่อมรถยนต์โดยยินยอมให้คนในอู่ขับรถได้ เมื่อคนในอู่ขับรถยนต์นั้นโดยประมาท ก็ต้องถือเสมือนหนึ่งว่าผู้เอาประกันภัยได้ขับรถโดยประมาทเองตามที่กรมธรรม์ประกันภัยระบุไว้ จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยค้ำจุนจึงต้องรับผิด และกรณีนี้แม้คำฟ้องจะระบุว่าผู้อื่นเป็นผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุก็ตาม ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างจากฟ้อง
ความรับผิดของจำเลยร่วมเกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัยและมีลักษณะเป็นการประกันวินาศภัยตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 20 หมวด 2 การฟ้องเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนความเสียหายจำต้องถืออายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคแรกเมื่อโจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี แต่ยังไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันละเมิด ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยค้ำจุน: ความรับผิดของผู้รับประกันภัยเมื่อผู้ขับรถที่ได้รับความยินยอมประมาท และอายุความฟ้องร้อง
โจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเพื่อรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนกับผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ ดังนั้น จำเลยร่วมจะต้องรับผิดหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ขับรถยนต์คันที่จำเลยร่วมรับประกันภัยไว้นั้นได้ขับรถยนต์โดยประมาทอันเป็นการกระทำละเมิดหรือไม่ และขึ้นอยู่กับข้อกำหนดในกรมธรรม์ประกันภัย ขณะเกิดเหตุผู้เอาประกันภัยค้ำจุนได้นำรถยนต์ไปซ่อมเครื่องยนต์ที่อู่ซ่อมรถยนต์โดยยินยอมให้คนในอู่ขับรถได้เมื่อคนในอู่ขับรถยนต์นั้นโดยประมาท ก็ต้องถือเสมือนหนึ่งว่าผู้เอาประกันภัยได้ขับรถโดยประมาทเองตามที่กรมธรรม์ประกันภัยระบุไว้ จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยค้ำจุนจึงต้องรับผิด และกรณีนี้แม้คำฟ้องจะระบุว่าผู้อื่นเป็นผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุก็ตาม ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างจากฟ้อง ความรับผิดของจำเลยร่วมเกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัยและมีลักษณะเป็นการประกันวินาศภัยตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 20 หมวด 2 การฟ้องเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนความเสียหายจำต้องถืออายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคแรกเมื่อโจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี แต่ยังไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันละเมิดฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4631/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการขับรถประมาทและการรับประกันภัย การคิดดอกเบี้ยจากค่าสินไหมทดแทน
จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1ที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา และจำเลยที่ 3มิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 และกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ดังนั้นจำเลยที่ 3 จะฎีกาว่า จำเลยที่ 2ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจากจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้นไม่ได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ผู้รับประกันภัยฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไปโดยมิต้องบอกกล่าว จึงชอบที่จะคิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4631/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการคิดดอกเบี้ยจากค่าสินไหมทดแทน
จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา และจำเลยที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 และกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ดังนั้นจำเลยที่ 3 จะฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจากจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้นไม่ได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ผู้รับประกันภัยฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไปโดยมิต้องบอกกล่าว จึงชอบที่จะคิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3499/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดในสัญญาประกันภัย: การแบ่งเฉลี่ยค่าเสียหายเมื่อมีผู้ได้รับความเสียหายหลายราย
สัญญากรมธรรม์ประกันภัยระบุจำนวนเงินจำกัดความรับผิดในส่วนที่เป็นค่าเสียหายต่อชีวิตร่างกายไว้ในข้อ 2.1 บรรทัดแรกว่า 100,000 บาท ต่อหนึ่งคน และบรรทัดถัดลงมาว่า 100,000 บาท ต่อหนึ่งครั้ง ดังนี้ หากเกิดอุบัติเหตุที่ผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดในค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกหลายคนในครั้งเดียวกันแล้วมิได้ หมายความว่า ผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดต่อทุกคนในวงเงินคนละไม่เกิน 100,000 บาท แต่หมายความว่า ทุกคนมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัยในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท โดยแบ่งเฉลี่ยกันตามส่วนของความเสียหายที่ได้รับ.
of 38