คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 887

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 375 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3499/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดในสัญญาประกันภัย: วงเงินต่อครั้งและต่อคน ศาลแก้ไขวงเงินรับผิดชอบของบริษัทประกันภัย
สัญญากรมธรรม์ประกันภัยระบุจำนวนเงินจำกัดความรับผิดในส่วนที่เป็นค่าเสียหายต่อชีวิตร่างกายไว้ในข้อ 2.1 บรรทัดแรกว่า100,000 บาทต่อหนึ่งคน และบรรทัดถัดลงมาว่า 100,000 บาท ต่อหนึ่งครั้ง ดังนี้ หากเกิดอุบัติเหตุที่ผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดในค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกหลายคนในครั้งเดียวกันแล้วมิได้หมายความว่า ผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดต่อทุกคนในวงเงินคนละไม่เกิน 100,000 บาท แต่หมายความว่า ทุกคนมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัยในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท โดยแบ่งเฉลี่ยกันตามส่วนของความเสียหายที่ได้รับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2863/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เกินอายุความในสัญญาประกันวินาศภัย จำเลยไม่อาจยกอายุความได้
โจทก์เอาประกันวินาศภัยรถยนต์ไว้กับจำเลย ต่อมาโจทก์ถูกบุคคลภายนอกฟ้องให้รับผิดในมูลละเมิดอันเกิดจากการที่ลูกจ้างของโจทก์ขับรถยนต์โดยประมาท เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2521 ศาลพิพากษาให้โจทก์รับผิด คดีถึงที่สุด จำเลยชำระค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอกเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2525 เกินกว่า 2 ปี นับแต่วินาศภัยเกิดขึ้นแต่ไม่เต็มจำนวนหนี้ทั้งหมดตามคำพิพากษานั้น เช่นนี้เท่ากับจำเลยยอมรับปฏิบัติตามความผูกพันที่มีอยู่ในสัญญาประกันวินาศภัยที่โจทก์ได้ทำไว้กับจำเลย จึงเป็นการชำระหนี้ในขณะที่สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันวินาศภัยที่เกี่ยวกับวินาศภัยครั้งนี้ขาดอายุความแล้ว ถือได้ว่าจำเลยละเลยซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ให้จำเลยรับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยส่วนที่ยังขาดอยู่ จำเลยจะยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความในจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนที่ยังขาดอยู่อีกนั้นหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2863/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ประกันภัยเกินอายุความ จำเลยมิอาจยกข้อต่อสู้ได้
โจทก์เอาประกันวินาศภัยรถยนต์ไว้กับจำเลย ต่อมาโจทก์ถูกบุคคลภายนอกฟ้องให้รับผิดในมูลละเมิดอันเกิดจากการที่ลูกจ้างของโจทก์ขับรถยนต์โดยประมาทเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2521 ศาลพิพากษาให้โจทก์รับผิด คดีถึงที่สุด จำเลยชำระค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอกเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2525 เกินกว่า 2 ปี นับแต่วินาศภัยเกิดขึ้นแต่ไม่เต็มจำนวนหนี้ทั้งหมดตามคำพิพากษานั้น เช่นนี้เท่ากับจำเลยยอมรับปฏิบัติตามความผูกพันที่มีอยู่ในสัญญาประกันวินาศภัยที่โจทก์ได้ทำไว้กับจำเลย จึงเป็นการชำระหนี้ในขณะที่สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันวินาศภัยที่เกี่ยวกับวินาศภัยครั้งนี้ขาดอายุความแล้ว ถือได้ว่าจำเลยละเลยซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ให้จำเลยรับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยส่วนที่ยังขาดอยู่ จำเลยจะยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความในจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนที่ยังขาดอยู่อีกนั้นหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัยรถบรรทุกรวมสาลี่: สาลี่ถือเป็นส่วนหนึ่งของรถยนต์ที่ได้รับประกัน
รถยนต์บรรทุกที่จำเป็นต้องพ่วงสาลี่ เพื่อความสะดวกในการบรรทุกของ เมื่อสาลี่ พ่วงอยู่กับรถยนต์บรรทุกย่อมถือได้ว่าสาลี่เป็นส่วนหนึ่งของรถยนต์บรรทุก การที่สาลี่ ของรถยนต์บรรทุกคันที่จำเลยรับประกันภัยค้ำจุนไว้เลื่อนหลุดไปทำความเสียหายให้รถยนต์คันอื่น จำเลยจะอ้างว่าไม่ได้รับประกันภัยสาลี่ ด้วยเพื่อให้หลุดพ้นจากความรับผิดหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยรถยนต์ครอบคลุมถึงส่วนประกอบที่จำเป็น เช่น สาลี่ที่ใช้ในการบรรทุก หากส่วนประกอบนั้นหลุดทำให้เกิดความเสียหาย ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดชอบ
จำเลยที่ 3 รับประกันรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 1 ไว้รถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 1 จำเป็นต้องพ่วงสาลี่เพื่อความสะดวกในการบรรทุกของสาลี่ที่พ่วงอยู่กับรถยนต์บรรทุกย่อมถือเป็นส่วนหนึ่งของรถยนต์บรรทุกด้วย เมื่อสาลี่ของรถยนต์บรรทุกที่จำเลยที่ 3 รับประกันเลื่อนหลุดมาทำให้รถยนต์ผู้อื่นเสียหายจำเลยที่ 3 จะอ้างว่าไม่ได้รับประกันสาลี่ด้วยเพื่อให้พ้นจากความรับผิดตามสัญญาประกันภัยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยครอบคลุมถึงส่วนประกอบที่จำเป็นของรถยนต์ แม้ไม่ได้ระบุชัดเจน การหลุดของสาลี่ถือเป็นความเสียหายที่ประกันภัยคุ้มครอง
จำเลยที่ 3 รับประกันรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 1 ไว้รถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 1 จำเป็นต้องพ่วงสาลี่เพื่อความสะดวกในการบรรทุกของสาลี่ที่พ่วงอยู่กับรถยนต์บรรทุกย่อมถือเป็นส่วนหนึ่งของรถยนต์บรรทุกด้วย เมื่อสาลี่ของรถยนต์บรรทุกที่จำเลยที่ 3 รับประกันเลื่อนหลุดมาทำให้รถยนต์ผู้อื่นเสียหายจำเลยที่ 3 จะอ้างว่าไม่ได้รับประกันสาลี่ด้วยเพื่อให้พ้นจากความรับผิดตามสัญญาประกันภัยหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากรถยนต์: ผู้ซื้อรถ (แม้กรรมสิทธิ์ยังไม่โอน) และผู้รับประกันภัยมีหน้าที่รับผิดชอบ
จำเลยที่ 2 ซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุจากจำเลยที่ 3 โดยมีเงื่อนไขว่ากรรมสิทธิ์ยังไม่โอน จำเลยที่ 3 เอาประกันภัยรถยนต์คันนี้ไว้กับจำเลยที่ 4 กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า 'บริษัทจะถือบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง.........' ดังนี้การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์คันดังกล่าวไปทำละเมิดต่อโจทก์ ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยและมีฐานะเป็นเสมือนผู้เอาประกันภัยเอง จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัย (อ้างฎีกาที่ 3583/2529) ส่วนจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในฐานะนายจ้าง สำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของรถและเป็นผู้เอาประกันภัยนั้น ไม่ได้ความว่าเป็นผู้ครอบครองด้วย จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
ประเด็นที่ว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวการเชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนทำสัญญาประกันภัย เท่ากับจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญากับจำเลยที่ 4 เองนั้น โจทก์มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง ศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การยินยอมผู้ขับขี่ตามสัญญาประกันภัย และความรับผิดของนายจ้าง
จำเลยที่ 2 ซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุจากจำเลยที่ 3 โดยมีเงื่อนไขว่ากรรมสิทธิ์ยังไม่โอน จำเลยที่ 3 เอาประกันภัยรถยนต์คันนี้ไว้กับจำเลยที่ 4 กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า 'บริษัทจะถือบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง.........' ดังนี้การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์คันดังกล่าวไปทำละเมิดต่อโจทก์ ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยและมีฐานะเป็นเสมือนผู้เอาประกันภัยเอง จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัย (อ้างฎีกาที่ 3583/2529) ส่วนจำเลยที่2 ต้องรับผิดในฐานะนายจ้าง สำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของรถและเป็นผู้เอาประกันภัยนั้น ไม่ได้ความว่าเป็นผู้ครอบครองด้วย จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
ประเด็นที่ว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวการเชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนทำสัญญาประกันภัย เท่ากับจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญากับจำเลยที่ 4 เองนั้น โจทก์มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง ศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การประกันภัย, นายจ้าง, และผู้ขับขี่
สัญญาประกันภัยค้ำจุนระหว่างจำเลยที่ 3 เจ้าของรถยนต์ผู้เอาประกันภัยกับจำเลยที่ 4 บริษัทผู้รับประกันภัยมีข้อตกลงว่า"บริษัทจะถือบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง..." เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ซื้อรถยนต์คันดังกล่าวได้นำรถยนต์ไปใช้โดยให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของตนขับแล้วเกิดเหตุละเมิดขึ้น จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3และมีฐานะเสมือนเป็นผู้เอาประกันภัยเองตามสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 2ในฐานะนายจ้างจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. ตามมาตรา 425และจำเลยที่ 4 ต้องรับผิดชอบตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนดังกล่าวด้วยส่วนจำเลยที่ 3 ไม่ได้ความว่าเป็นผู้ครอบครองรถขณะเกิดเหตุจึงไม่ต้องรับผิดชอบ ประเด็นว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการเชิด จำเลยที่ 3 ให้เป็นตัวแทนทำสัญญาประกันภัยหรือไม่ โจทก์มิได้ยกขึ้นอ้างไว้ในคำฟ้องชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4127/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยค้ำจุน: ข้อยกเว้นความรับผิดเนื่องจากผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาตใช้บังคับได้
ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ที่มีต่อโจทก์ เกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนระหว่างจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยกับจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 โดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 3 ย่อมยกเงื่อนไข ข้อยกเว้น และข้อจำกัดความรับผิดของตนที่กำหนดไว้ในสัญญาขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้ เว้นแต่เงื่อนไขข้อยกเว้นหรือข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวจะขัดต่อกฎหมาย
ข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 3 ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ระบุว่าการประกันภัยไม่คุ้มครองถึงความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆ ใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยในขณะเกิดเหตุโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์เป็นการผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2 และยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับโจทก์ได้จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
of 38