พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4217/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีข่มขืนกระทำชำเราเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ สั่งจำคุก 19 ปี
โจทก์ร่วมอายุ 10 ปีเศษ ถูกจำเลยล่วงละเมิดทางเพศ มิได้ถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมต้องกระทำโดยผู้แทนโดยชอบธรรม กรณีเป็นบิดาต้องเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อบิดาโจทก์ร่วมหย่าขาดกับมารดาโดยให้มารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่า บิดาโจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 และมาตรา 5 (1) การที่โจทก์ร่วมโดยบิดาโจทก์ร่วมขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมและขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตนั้น มิได้เป็นไปตามบทบังคับอันว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย แต่ว่าจะยกฟ้องหรือไม่รับพิจารณาเสียทีเดียวยังไม่ได้ ชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเสียก่อนตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่เมื่อโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์หรือฎีกา และจำเลยเพิ่งฎีกาขึ้นมา และคดีไม่อาจทำให้คำวินิจฉัยของศาลฎีกาเกี่ยวกับปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องของโจทก์หรือไม่เปลี่ยนแปลงไป การจะสั่งให้แก้ไขอำนาจฟ้องของโจทก์ร่วมให้ถูกต้องเสียก่อนในกรณีนี้จึงไม่จำเป็นเพราะไม่เกิดประโยชน์อย่างใด
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนรวม 2 ฉบับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับคำร้องของโจทก์ร่วมโดย ส. ซึ่งเป็นบิดา แต่ไม่รับคำร้องอีกฉบับของโจทก์ร่วมโดย พ. ซึ่งเป็นมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ร่วม โดยไม่มีการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว และได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา ทั้งโจทก์ร่วมโดย พ. ยังเคยขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในคดีส่วนแพ่งด้วย ต้องถือว่า พ. ผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ร่วม ได้ให้ความยินยอมตามคำร้องของโจทก์ร่วมโดย ส. ฉบับที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับคำร้องแล้ว จึงไม่ต้องมีคำสั่งกำหนดให้โจทก์ร่วมแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนรวม 2 ฉบับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับคำร้องของโจทก์ร่วมโดย ส. ซึ่งเป็นบิดา แต่ไม่รับคำร้องอีกฉบับของโจทก์ร่วมโดย พ. ซึ่งเป็นมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ร่วม โดยไม่มีการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว และได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา ทั้งโจทก์ร่วมโดย พ. ยังเคยขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในคดีส่วนแพ่งด้วย ต้องถือว่า พ. ผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ร่วม ได้ให้ความยินยอมตามคำร้องของโจทก์ร่วมโดย ส. ฉบับที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับคำร้องแล้ว จึงไม่ต้องมีคำสั่งกำหนดให้โจทก์ร่วมแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานข่มขืน กระทำชำเรา และพรากผู้เยาว์ พร้อมประเด็นอายุความสามารถของโจทก์ร่วม
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม ตามฟ้องก็ดี ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยตามมาตรา 319 วรรคแรก ที่พิจารณาได้ความก็ดีมีองค์ประกอบความผิดร่วมกันประการหนึ่งว่า "ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล..." ซึ่งจะเห็นได้ว่าวัตถุแห่งการกระทำความผิดกฎหมายทั้งสองมาตรานี้ที่กฎหมายมุ่งคุ้มครองคืออำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลนั่นเอง มิใช่ตัวผู้เยาว์ผู้ถูกพราก ดังนั้น ผู้เสียหายคือบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดทั้งสองมาตรานี้ตามมาตรา 2 (4) แห่ง ป.วิ.อ. จึงได้แก่บิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลผู้เยาว์ทั้งสองในขณะที่จำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันกระทำความผิด หาใช่ตัวผู้เยาว์คือโจทก์ร่วมทั้งสองไม่
ขณะที่โจทก์ร่วมทั้งสองยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตนั้น โจทก์ร่วมทั้งสองยังมีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 และมาตรา 20 และผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งยังเป็นผู้เยาว์จะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) การที่โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ด้วยตนเอง จึงมิได้เป็นไปตามบทบังคับว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย แต่ศาลฎีกาจะยกคำร้องหรือไม่รับพิจารณาเสียทีเดียวยังไม่ได้ ชอบที่ศาลฎีกาจะสั่งแก้ไขข้อบกพร่องเสียก่อนตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่เมื่อนับอายุของโจทก์ร่วมทั้งสองในขณะที่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมทั้งสองมีอายุเกิน 20 ปี พ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นและไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องมีคำสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์ร่วมทั้งสองอีก
ขณะที่โจทก์ร่วมทั้งสองยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตนั้น โจทก์ร่วมทั้งสองยังมีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 และมาตรา 20 และผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งยังเป็นผู้เยาว์จะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) การที่โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ด้วยตนเอง จึงมิได้เป็นไปตามบทบังคับว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย แต่ศาลฎีกาจะยกคำร้องหรือไม่รับพิจารณาเสียทีเดียวยังไม่ได้ ชอบที่ศาลฎีกาจะสั่งแก้ไขข้อบกพร่องเสียก่อนตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่เมื่อนับอายุของโจทก์ร่วมทั้งสองในขณะที่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมทั้งสองมีอายุเกิน 20 ปี พ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นและไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องมีคำสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์ร่วมทั้งสองอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องที่ไม่สมบูรณ์สามารถแก้ไขได้ก่อนมีคำพิพากษา และการพิสูจน์หนี้ตามเช็คพิพาท
การที่ใบแต่งทนายความของโจทก์ใช้ตราประทับของห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. แทนที่จะใช้ตราประทับของบริษัทโจทก์ เป็นผลมาจากการหยิบตราประทับผิด อันเป็นการผิดพลาดบกพร่องในตัวผู้แต่งทนายความไม่ใช่การพิจารณาผิดระเบียบ แม้โจทก์จะยื่นคำร้องขอแก้ไขพร้อมกับยื่นใบแต่งทนายความที่ถูกต้องเข้ามาใหม่พร้อมคำแก้อุทธรณ์ อันเป็นระยะเวลาภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว ก็ชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จะสั่งสอบสวนหรือยอมรับการแก้ไขนั้นได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ไม่ว่าฝ่ายจำเลยจะยกเอาข้อบกพร่องนี้ขึ้นอุทธรณ์ด้วยหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่าลายมือชื่อผู้แต่งทนายไม่เหมือนและไม่ใช่ลายมือชื่อของ บ. ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เพราะจำเลยอุทธรณ์ว่า บ. ลงลายมือชื่อและประทับตราของห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. เป็นการกระทำในนามของห้างไม่ใช่บริษัทโจทก์ นอกจากนี้บทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ที่ว่าไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา... นั้น มิได้หมายความถึงก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติทั่วไปที่ใช้ได้ในทุกชั้นศาล เมื่อความสามารถในการฟ้องของโจทก์บกพร่องและโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขพร้อมทั้งยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่เข้ามาพร้อมกับคำแก้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นรับขึ้นมาแล้ว เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงเห็นสมควรอนุญาตยอมรับการแก้ไขนั้น ดังนี้อำนาจฟ้องที่ไม่สมบูรณ์จึงกลับเป็นอำนาจฟ้องที่สมบูรณ์มาแต่แรก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7255/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็ค – ผู้ทรงเช็ค – ความรับผิดของผู้สั่งจ่าย – การโอนเช็ค – ข้อต่อสู้ของผู้สั่งจ่าย
สำเนาภาพถ่ายเช็คและสำเนาภาพถ่ายใบคืนเช็คเอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง และจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธถึงความถูกต้องของเช็คและใบคืนเช็คดังกล่าว เมื่อธนาคารตามเช็คที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงินทุกฉบับตั้งอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ย่อมถือได้ว่ามูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้ที่ศาลดังกล่าวได้ ตามป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยออกเช็คตามฟ้องเพื่อชำระหนี้เงินยืมให้โจทก์ แล้วธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทุกฉบับโดยระบุรายละเอียดของเช็คทุกฉบับพร้อมกับแนบสำเนาภาพถ่ายเช็คและสำเนาภาพถ่ายใบคืนเช็คมาท้ายฟ้องพร้อมทั้งคำขอบังคับ ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง ครบถ้วนแล้วส่วนมูลหนี้ตามเช็คจะเป็นการชำระหนี้สำหรับการกู้เงินครั้งใดเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ที่จำเลยฎีกาว่าการที่ศาลรับฟังเช็คและใบคืนเช็คตามฟ้องโดยไม่มีการสืบพยานแล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดโดยโจทก์เพียงแต่ระบุว่าเป็นหนี้จากการกู้ยืมหาเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ทั้งหมดได้ไม่นั้น ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับฟ้องเคลือบคลุม แต่เป็นปัญหาว่าตามคำฟ้องและคำให้การจะมีประเด็นที่ต้องสืบพยานกันต่อไปหรือไม่ ไม่มีผลทำให้ฟ้องที่ไม่เคลือบคลุมนั้นเปลี่ยนแปลงไป
ฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คตามฟ้อง จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธไว้ กลับให้การว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คตามฟ้องให้บุคคลอื่น จึงฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท
เช็คตามฟ้องทุกฉบับเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 918เมื่อเช็คตามฟ้องตกมาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ในฐานะผู้ถือ โดยจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนเช็คมาโดยไม่สุจริตแต่ประการใด เพราะจำเลยให้การแต่เพียงว่าโจทก์จะได้รับเช็คตามฟ้องมาอย่างไร จำเลยไม่ทราบย่อมไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบว่าโจทก์ครอบครองเช็คมาโดยสุจริตหรือไม่จึงต้องฟังว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 ที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คตามฟ้องให้แก่ ม.เป็นการชำระดอกเบี้ยล่วงหน้าเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งถือว่าเป็นโมฆะทั้งหมด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยนั้น เป็นการยกข้อต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างจำเลยผู้สั่งจ่ายกับ ม.ผู้ทรงคนก่อนแต่คำให้การของจำเลยมิได้กล่าวอ้างต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนเช็คตามฟ้องจาก ม.ด้วยคบคิดกันฉ้อฉลกับโจทก์ จำเลยย่อมไม่มีประเด็นจะนำสืบในข้อนี้ ดังนั้นจำเลยซึ่งลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทซึ่งเป็นตั๋วเงินประเภทหนึ่งจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นในฐานะผู้สั่งจ่าย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 และ 914ที่ศาลชั้นต้นสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยนั้นชอบแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยออกเช็คตามฟ้องเพื่อชำระหนี้เงินยืมให้โจทก์ แล้วธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทุกฉบับโดยระบุรายละเอียดของเช็คทุกฉบับพร้อมกับแนบสำเนาภาพถ่ายเช็คและสำเนาภาพถ่ายใบคืนเช็คมาท้ายฟ้องพร้อมทั้งคำขอบังคับ ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง ครบถ้วนแล้วส่วนมูลหนี้ตามเช็คจะเป็นการชำระหนี้สำหรับการกู้เงินครั้งใดเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ที่จำเลยฎีกาว่าการที่ศาลรับฟังเช็คและใบคืนเช็คตามฟ้องโดยไม่มีการสืบพยานแล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดโดยโจทก์เพียงแต่ระบุว่าเป็นหนี้จากการกู้ยืมหาเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ทั้งหมดได้ไม่นั้น ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับฟ้องเคลือบคลุม แต่เป็นปัญหาว่าตามคำฟ้องและคำให้การจะมีประเด็นที่ต้องสืบพยานกันต่อไปหรือไม่ ไม่มีผลทำให้ฟ้องที่ไม่เคลือบคลุมนั้นเปลี่ยนแปลงไป
ฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คตามฟ้อง จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธไว้ กลับให้การว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คตามฟ้องให้บุคคลอื่น จึงฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท
เช็คตามฟ้องทุกฉบับเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 918เมื่อเช็คตามฟ้องตกมาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ในฐานะผู้ถือ โดยจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนเช็คมาโดยไม่สุจริตแต่ประการใด เพราะจำเลยให้การแต่เพียงว่าโจทก์จะได้รับเช็คตามฟ้องมาอย่างไร จำเลยไม่ทราบย่อมไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบว่าโจทก์ครอบครองเช็คมาโดยสุจริตหรือไม่จึงต้องฟังว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 ที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คตามฟ้องให้แก่ ม.เป็นการชำระดอกเบี้ยล่วงหน้าเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งถือว่าเป็นโมฆะทั้งหมด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยนั้น เป็นการยกข้อต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างจำเลยผู้สั่งจ่ายกับ ม.ผู้ทรงคนก่อนแต่คำให้การของจำเลยมิได้กล่าวอ้างต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนเช็คตามฟ้องจาก ม.ด้วยคบคิดกันฉ้อฉลกับโจทก์ จำเลยย่อมไม่มีประเด็นจะนำสืบในข้อนี้ ดังนั้นจำเลยซึ่งลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทซึ่งเป็นตั๋วเงินประเภทหนึ่งจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นในฐานะผู้สั่งจ่าย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 และ 914ที่ศาลชั้นต้นสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9340/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่เบี้ยค่าเสียหายจากข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ประมาทเลินเล่อในฐานะผู้แทนของหน่วยงาน
จำเลยให้การว่าจำเลยขอปฏิเสธฟ้องของโจทก์ว่าการฟ้องคดีของพันตำรวจเอกร.เป็นการสมรู้ร่วมคิดกับโจทก์โดยตรงจำเลยจึงไม่ต้องผูกพันกับคำพิพากษาท้ายฟ้องโจทก์เมื่อการฟ้องของโจทก์ไม่สุจริตโจทก์จึงหามีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยไม่ดังนี้คำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่มีข้อความตอนหนึ่งตอนใดได้กล่าวถึงเหตุที่จำเลยได้กล่าวอ้างมาเลยว่าที่พันตำรวจเอกร.ฟ้องโจทก์และจำเลยกับพวกนั้นพันตำรวจเอกร. ได้ร่วมกับโจทก์กระทำการอย่างใดอันเป็นการสมรู้ร่วมคิดกันนำคดีดังกล่าวมาฟ้องเพื่อให้โจทก์มาฟ้องจำเลยให้รับผิดเป็นคดีนี้ซึ่งเป็นการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตจำเลยเป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวเพื่อสนับสนุนคำให้การของจำเลยเมื่อคำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้งจึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องนำสืบศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย การที่โจทก์และจำเลยถูกพันตำรวจเอกร.เป็นโจทก์ฟ้องให้ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องจากการที่จำเลยซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อทำให้พันตำรวจเอกร.เสียหายและคดีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยถึงที่สุดฟังว่าเหตุเกิดจากการปล่อยปละละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยซึ่งได้กระทำไปในฐานะผู้แทนโจทก์และพิพากษาให้โจทก์และจำเลยร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่พันตำรวจเอกร. คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคหนึ่งคดีนี้จึงฟังได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อพันตำรวจเอกร.ในขณะจำเลยปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเมื่อโจทก์ชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาคดีก่อนแก่พันตำรวจเอกร.แล้วย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา76.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3833/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องความสามารถในการฟ้องคดี ก่อนพิพากษายกฟ้อง
การที่โจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้รับความยินยอมจากคู่สมรสเป็นข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสอง ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะให้แก้ไขข้อบกพร่องก่อนหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3833/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องความสามารถในการฟ้องคดี และผลต่อการยกฟ้อง
การที่โจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้รับความยินยอมจากคู่สมรสเป็นข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสองซึ่งศาลมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะให้แก้ไขข้อบกพร่องก่อนหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 375/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งตรวจสอบความสามารถคู่ความ แม้มิมีคำร้อง
เมื่อเป็นที่พอใจว่ามีการบกพร่องในเรื่องความสามารถของคู่ความแม้โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลทำการสอบสวนก็ตามอาศัยความตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา56 วรรค 2 ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้ศาลชั้นต้นสอบสวนเรื่องความสามารถของโจทก์ได้