คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1390

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารยทรัพย์: เจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์
เจ้าของสามยทรัพย์ ไม่ใช่เจ้าของรวมในภารยทรัพย์ จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องในคดีอาญา ขอให้ลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์แก่ผู้ที่ทำลายหรือทำให้ภารยทรัพย์เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์ต่อภารยทรัพย์ที่ตนเองไม่ได้เป็นเจ้าของร่วม
เจ้าของสามยทรัพย์ ไม่ใช่เจ้าของรวมในภารยทรัพย์ จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องในคดีอาญาขอให้ลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์แก่ผู้ที่ทำลายหรือทำให้ภารยทรัพย์เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอม: เจ้าของที่ดินภารยทรัพย์มีสิทธิใช้ประโยชน์ที่ดินได้ หากไม่ขัดต่อประโยชน์ภารจำยอม
แม้ที่ดินของจำเลยเป็นภารยทรัพย์ตกอยู่ในภารจำยอมเป็นทางสัญจรเพื่อประโยชน์ของที่ดินโจทก์อันเป็นสามยทรัพย์ก็ตาม จำเลยก็ยังมีอำนาจใช้สิทธิในที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์ได้ เมื่อไม่เป็นการขัดต่อประโยชน์แห่งภารจำยอม
คานพิพาทที่จำเลยสร้างขึ้นอยู่สูงกว่าสิ่งของที่บรรทุกอยู่บนรถยนต์บรรทุก จึงไม่เป็นการขัดขวางหรือทำให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมในการใช้ทางลดไปหรือเสื่อมความสะดวกจำเลยจึงมีอำนาจสร้างคานดังกล่าวได้และไม่จำต้องรื้อคานนั้นออก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอม: เจ้าของภารยทรัพย์มีสิทธิใช้ประโยชน์ที่ดินได้ หากไม่ขัดต่อประโยชน์สามายทรัพย์
แม้ที่ดินของจำเลยเป็นภารยทรัพย์ตกอยู่ในภารจำยอมเป็นทางสัญจร เพื่อประโยชน์ของที่ดินโจทก์อันเป็นสามายทรัพย์ก็ตาม จำเลยก็ยัง มีอำนาจใช้สิทธิในที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์ได้ เมื่อไม่เป็นการขัดต่อประโยชน์แห่งภาระจำยอม
คานพิพาทมี่จำเลยสร้างขึ้นอยู่สูงกว่า สิ่งของที่บรรทุกอยู่บนรถยนต์บรรทุกจึงไม่เป็นการขัดขวางหรือทำให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมในการใช้ทางลดไปหรือเสื่อมความสะดวก จำเลยจึงมีอำนาจสร้างคานดังกล่าวได้ และไม่จำต้องรื้อคานนั้นออก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2000/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอม: ขอบเขตความรับผิดชอบจำเลยในการรักษาสภาพทางและจัดการสิ่งกีดขวาง
ทางภาระจำยอมกว้าง 3 เมตร บางจุดกว้าง 2.95 เมตรเพราะรั้วสังกะสีของบ้านข้างเคียงเอียงเข้ามา จำเลยไม่ต้องรับผิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1390 และไม่ต้องเทปูนให้ตลอด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1088/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความได้สิทธิภารจำยอมและการละเมิดสิทธิจากเจ้าของภารทรัพย์
การนับระยะเวลาครอบครองติดต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 กล่าวไว้เฉพาะด้านผู้ครอบครองว่า ถ้าผู้ครอบครองได้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ตามหลักเกณฑ์และครบ 10 ปีแล้ว ย่อมได้กรรมสิทธิ์ มิได้คำนึงถึงฝ่ายผู้เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบครองแต่อย่างใด แม้จะบัญญัติว่าต้องเป็นการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น คำว่า "ผู้อื่น" ย่อมหมายถึงบุคคลทั่วไปซึ่งมิใช่ผู้ครอบครองปกปักษ์ ฉะนั้นในการนับเวลาครอบครองติดต่อกันตามมาตรานี้ จึงถือเอาระยะเวลาครอบครองของฝ่ายผู้ครอบครองเท่านั้น ไม่ต้องพิจารณาถึงตัวเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบคอรงว่าจะได้โอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบครองให้แก่ผู้ใดหรือไม่ ทั้งไม่จำต้องถือเอาทางฝ่ายเจ้าของอสังริมทรัพย์แต่ละคนที่รับโอนกรรมสิทธิ์มาเป็นเกณพ์ในการเริ่มระยะเวลาใหม่ทุกครั้งที่มีการเเปลี่ยนตัวเจ้าของ
ภารจำยอมที่อาจได้มาทางอายุความนั้น มาตรา 1401 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิอันเกี่ยวกับภารจำยอมโดยอายุความจึงต้องถือเอาการนับระยะเวลาตามเกณฑ์ในมาตรา 1382 มาเป็นหลักเมื่อได้ความว่าโจทก์กับ ส. และเจ้าของที่ดินแปลงอื่น ๆ ได้ ตกลงกันและทำหนังสือสัญญากันไว้ยอมแบ่งที่ดินของตนฝ่ายตน 1เมตรทำเป็นทางออกสู่ถนนใหญ่ และโจทก์ก็ได้ใช้ทางนี้เป็นทางเข้าออกตลอดมา ครั้นโจทก์ใช้ทางพิพาทยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยได้รับโอนที่ดินมาจาก ส. โดยจำเลยรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ส. และเจ้าของที่ดินแปลงอื่น ๆ ดี ดังนี้แม้สัญญาที่ทำกันไว้จะไม่ผูกพันจำเลยให้จำต้องปฏิบัติตาม แต่การที่จำเลยยังปล่อยให้โจทก์ใช้ทางพิพาทต่อมาโดยไม่ได้โต้แย้งขัดขวาง จนรวมเวลาเก่าใหม่เข้าด้วยกันเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทย่อมตกเป็นภารจำยอมโดยทางอายุความ
จำเลยเป็นเจ้าของภารทรัพย์ย่อมต้องห้ามตามมาตรา 1390 มิได้ประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก เมื่อโจทก์เจ้าของสามยทรัพย์เป็นผู้ลาดพื้นซีเมนต์ทางเดินบนที่ดินของจำเลยซึ่งตกอยู่ภายใต้ภารจำยอมการที่จำเลยขุดพื้นซีเมนต์ที่โจทก์ทำไว้เป็นหลุ่มเพื่อทำรั้วและทำให้พื้นซีเมนต์แตกไป จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อมาตรา 1390 และย่อมเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ตามมาตรา 420 ด้วย จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1088/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความ: การนับระยะเวลาครอบครองโดยไม่ยึดการเปลี่ยนเจ้าของ และการละเมิดสิทธิจากกรรมที่ลดประโยชน์ภารจำยอม
การนับระยะเวลาครอบครองติดต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 กล่าวไว้เฉพาะด้านผู้ครอบครองว่าถ้าผู้ครอบครองได้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ตามหลักเกณฑ์และครบ 10 ปีแล้ว ย่อมได้กรรมสิทธิ์มิได้คำนึงถึงฝ่ายผู้เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบครองแต่อย่างใด แม้จะบัญญัติว่าต้องเป็นการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น คำว่า 'ผู้อื่น' ย่อมหมายถึงบุคคลทั่วไปซึ่งมิใช่ผู้ครอบครองปรปักษ์ ฉะนั้นในการนับเวลาครอบครองติดต่อกันตามมาตรานี้ จึงถือเอาระยะเวลาครอบครองของฝ่ายผู้ครอบครองเท่านั้นไม่ต้องพิจารณาถึงตัวเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบครองว่าจะได้โอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบครองให้แก่ผู้ใดหรือไม่ ทั้งไม่จำต้องถือเอาทางฝ่ายเจ้าของอสังหาริมทรัพย์แต่ละคนที่รับโอนกรรมสิทธิ์มาเป็นเกณฑ์ในการเริ่มนับระยะเวลาใหม่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนตัวเจ้าของ
ภารจำยอมที่อาจได้มาทางอายุความนั้น มาตรา 1401 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิอันกล่าวไว้ในลักษณะ 3บรรพ 4 มาใช้บังคับโดยอนุโลมฉะนั้นการนับระยะเวลาติดต่อกันเกี่ยวกับภารจำยอมโดยอายุความจึงต้องถือเอาการนับระยะเวลาตามเกณฑ์ในมาตรา 1382 มาเป็นหลักเมื่อได้ความว่าโจทก์กับ ส. และเจ้าของที่ดินแปลงอื่นๆ ได้ตกลงกันและทำหนังสือสัญญากันไว้ยอมแบ่งที่ดินของตนฝ่ายละ 1 เมตรทำเป็นทางออกสู่ถนนใหญ่ และโจทก์ก็ได้ใช้ทางนี้เป็นทางเข้าออกตลอดมา ครั้นโจทก์ใช้ทางพิพาทยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยได้รับโอนที่ดินมาจาก ส. โดยจำเลยรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ส. และเจ้าของที่ดินแปลงอื่นๆ ดี ดังนี้แม้สัญญาที่ทำกันไว้จะไม่ผูกพันจำเลยให้จำต้องปฏิบัติตาม แต่การที่จำเลยยังปล่อยให้โจทก์ใช้ทางพิพาทต่อมาโดยไม่โต้แย้งขัดขวางจนรวมเวลาเก่าใหม่เข้าด้วยกันเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทย่อมตกเป็นภารจำยอมโดยทางอายุความ
จำเลยเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ย่อมต้องห้ามตามมาตรา 1390มิให้ประกอบกรรมใดๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกเมื่อโจทก์เจ้าของสามยทรัพย์เป็นผู้ลาดพื้นซีเมนต์ทางเดินบนที่ดินของจำเลยซึ่งตกอยู่ภายใต้ภารจำยอมการที่จำเลยขุดพื้นซีเมนต์ที่โจทก์ทำไว้เป็นหลุมเพื่อทำรั้วและทำให้พื้นซีเมนต์แตกไป จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อมาตรา 1390 และย่อมเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ตามมาตรา 420 ด้วย จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอม: การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำทางเดิน รถยนต์บรรทุกสูงไม่เกิน 3 เมตร
ศาลพิพากษาให้จำเลยเปิดทางภารจำยอมให้มีความกว้าง 3 เมตร ตลอดแนวทาง และให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่กีดขวางรุกล้ำทางภารจำยอมดังกล่าว และปรับที่ดินให้มีสภาพเป็นทางสัญจรไปมาตามปกติ จำเลยรื้อถอนตึกแถวที่ปลูกติดกับทางภารจำยอมโดยรื้อถอนส่วนล่างทั้งหมด แต่มีกัดสาด คานรับกันสาด กับส่วนบนของอาคารชั้นสองยังรุกล้ำเข้าไปเหนือพื้นดินทางภารจำยอม โดยส่วนของกันสาดรุกล้ำเข้าไป 1.38 เมตร สูงจากพื้นดิน 3.30 เมตร และคานรับกันสาดซึ่งอยู่ติดกับกันสาดรุกล้ำเข้าไปครึ่งหนึ่งของกันสาด ส่วนที่ต่ำที่สุดของคานรับกันสาดอยู่ติดกับตัวอาคารสูง 2.67 เมตร ดังนี้ เมื่อทางภารจำยอมที่พิพาทได้ใช้เป็นทางคนเดินและเป็นทางที่รถยนต์บรรทุกใช้ผ่านเข้าออกได้ สำหรับรถยนต์บรรทุกไม่ได้ความว่าใช้บรรทุกของมีความสูงจากพื้นดินทางภารจำยอมเพียงใด จึงต้องอยู่ในบังคับของกฎหมายโดยบรรทุกของได้ส่วนสูงวัดจากพื้นดินไม่เกิน 3 เมตร ฉะนั้น จำเลยจึงยังมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลให้ครบถ้วน และจำเลยต้องรื้อถอนตึกแถวส่วนบนที่ยังกีดขวางรุกล้ำทางภารจำยอมเฉพาะที่มีส่วนสูงจากพื้นดินทางภารจำยอมไม่เกิน 3 เมตรออกไปให้หมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำทางภารจำยอม: จำเลยต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่กีดขวางการใช้ทาง แม้จะสูงจากพื้นดิน
ศาลพิพากษาให้จำเลยเปิดทางภารจำยอมให้มีความกว้าง 3 เมตรตลอดแนวทาง และให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่กีดขวางรุกล้ำทางภารจำยอมดังกล่าว และปรับที่ดินให้มีสภาพเป็นทางสัญจรไปมาตามปกติ จำเลยรื้อถอนตึกแถวที่ปลูกติดกับทางภารจำยอมโดยรื้อถอนส่วนล่างทั้งหมด แต่มีกันสาดคานรับกันสาด กับส่วนบนของอาคารชั้นสองยังรุกล้ำเข้าไปเหนือพื้นดินทางภารจำยอม โดยส่วนของกันสาดรุกล้ำเข้าไป 1.38 เมตร สูงจากพื้นดิน3.30 เมตร และคานรับกันสาดซึ่งอยู่ติดกับกันสาดรุกล้ำเข้าไปครึ่งหนึ่งของกันสาด ส่วนที่ต่ำที่สุดของคานรับกันสาดอยู่ติดกับตัวอาคารสูง 2.67เมตร ดังนี้เมื่อทางภารจำยอมที่พิพาทได้ใช้เป็นทางคนเดินและเป็นทางที่รถยนต์บรรทุกใช้ผ่านเข้าออกได้ สำหรับรถยนต์บรรทุกไม่ได้ความว่าใช้บรรทุกของมีความสูงจากพื้นดินทางภารจำยอมเพียงใด จึงต้องอยู่ในบังคับของกฎหมายโดยบรรทุกของได้ส่วนสูงวัดจากพื้นดินไม่เกิน 3 เมตร ฉะนั้น จำเลยจึงยังมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลให้ครบถ้วน และจำเลยต้องรื้อถอนตึกแถวส่วนบนที่ยังกีดขวางรุกล้ำทางภารจำยอมเฉพาะที่มีส่วนสูงจากพื้นดินทางภารจำยอมไม่เกิน 3 เมตรออกไปให้หมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1700/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมทางน้ำ: สิทธิการใช้ทางเรือต่อเนื่องแม้สภาพที่ดินเปลี่ยนไป จำเลยต้องรักษาสิทธิโจทก์
คูพิพาทใช้เป็นทางเรือและทางน้ำให้เรือผ่านเข้าออกมาหลายสิบปี ซึ่งอยู่ระหว่างที่ดินโจทก์จำเลย ต่อมาโจทก์จำเลยไดทำหนังสือรับรองว่าคูพิพาทเป็นทางเรือและทางน้ำที่โจทก์จำเลยใช้ร่วมกัน จำเลยจะไม่ก่อสร้างอะไรลงในคูพิพาท ดังนั้นคูพิพาทจึงเป็นภารจำยอม จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายและตามคำรับรองที่ให้ไว้กับโจทก์ ต้องงดเว้นการกระทำหรือสร้างสิ่งใดลงในคูพิพาท เพื่อให้เสื่อมประโยชน์แก่โจทก์ ตามสิทธิแห่งภารจำยอมที่มีอยู่เหนือคูพิพาทนั้น
of 16