พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3180/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการปรับ ค่าเสียหาย และการบอกเลิกสัญญา กรณีผู้รับเหมาไม่ปฏิบัติตามสัญญา
พฤติการณ์ของจำเลยที่ไม่ลงมือก่อสร้างอาคารหรือทำงานล่าช้าหยุดงานบ่อยจนผลงานไม่ปรากฏล้วนอยู่ในความรู้เห็นของโจทก์โดยตลอด โจทก์ย่อมเล็งเห็นได้ว่าจำเลยน่าจะต้องละทิ้งงานและเกิดความเสียหายขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งโจทก์อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันทีแต่ต้นเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มมากยิ่งขึ้น แต่โจทก์กลับละเลยไม่ใช้สิทธิดังกล่าวจนครบกำหนดอายุสัญญา และยังปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปอีก โดยโจทก์บอกเลิกสัญญาหลังจากสัญญาครบกำหนดแล้วถึง 11 เดือน และให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่โจทก์กำหนดให้สัญญามีผลเลิกกันนั้น ล่วงเลยวันที่สัญญาครบกำหนดอายุแล้วนานถึง 6 เดือน โดยไม่ปรากฏเหตุผลสำคัญอย่างอื่นให้เห็นถึงเหตุขัดข้องที่กระทำดังกล่าวโจทก์เพิ่งจะมาทำสัญญาว่าจ้างบริษัทท. ให้ทำการก่อสร้างอาคารต่อจากที่จำเลยทำไว้จนแล้วเสร็จหลังจากที่โจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้วเป็นเวลา1 ปี 7 เดือน โดยไม่ปรากฏเหตุผลที่ล่าช้า จึงเห็นได้ว่าความล่าช้าต่าง ๆ อันมีผลทำให้ราคาค่าก่อสร้างงานสูงทวีขึ้นตามระยะเวลาที่ผ่านไปนั้นเกิดจากการดำเนินงานของโจทก์รวมอยู่ด้วย แม้โจทก์จะมีสิทธิปรับจำเลยตามสัญญาจ้าง ข้อ 19(1) และมีสิทธิเรียกค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลยก็ตาม แต่ก็ถือว่าเงินค่าปรับตามที่คู่สัญญากำหนดไว้ และค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว เป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่จะชดใช้บรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นกรณีมีการผิดสัญญาไว้ล่วงหน้าเป็นเบี้ยปรับ เมื่อความเสียหายเกิดจากความล่าช้าในการดำเนินงานของโจทก์รวมอยู่ด้วย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ สัญญาจ้างข้อ 19(1) กำหนดสิทธิของโจทก์ในกรณีที่จำเลย ส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญาว่าโจทก์มีสิทธิปรับเป็นรายวัน และวรรคท้ายของสัญญานี้ยังกำหนดสิทธิของโจทก์เอาไว้อีกว่า ในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติ ตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญา และใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 20 นอกเหนือจากการปรับ จนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยซึ่งตามสัญญาข้อ 20 ระบุถึงเรื่องค่าเสียหายอะไรบ้างที่โจทก์จะเรียกร้อง เอาจากจำเลยได้ ถ้าโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จากสัญญา ข้อ 19 และข้อ 20 ดังกล่าวจะเห็นได้ว่า หากจำเลยส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดอันเป็นการผิดสัญญาแล้วโจทก์มีสิทธิจะปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันได้ตามสัญญาข้อ 19(1) นอกจากนั้นแล้วถ้าหากโจทก์เห็นว่า จำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์ก็ยัง มีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหาย ตามสัญญาข้อ 20 จากจำเลยได้ตาม สัญญาข้อ 19 วรรคท้าย สิทธิที่จะเรียกเอาค่าปรับรายวันกับสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายดังกล่าว แม้จะเป็นสิทธิที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างโจทก์ กับจำเลยตามสัญญาจ้างข้อเดียวกัน แต่ก็เป็นสิทธิ ที่แยกต่างหากจากกัน โจทก์จะเลือกใช้สิทธิ อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงกรณีเดียว หรือเลือกใช้สิทธิ ทุกกรณีก็ได้ เมื่อจำเลยไม่ได้ลงมือก่อสร้างใด ๆ เพื่อส่งมอบงานให้โจทก์ได้ทันภายในกำหนดตามสัญญาจ้าง แต่ก่อนโจทก์จะบอกเลิกสัญญา โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลย แจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับเป็นรายวัน ในสัญญาจ้าง ย่อมเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเอา ค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 19(1) แล้ว เพราะ หลังจากครบกำหนดเวลาแล้ว โจทก์มิได้บอกเลิกสัญญา ทันที่ จนกระทั่งปรากฏว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา อันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้าย ต่อเนื่องกับ สัญญาข้อ 20 อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่ขัดกับสิทธิ ในการที่โจทก์จะปรับจำเลยเป็นรายวันตามสัญญา ข้อ 19(1) เพราะโจทก์ได้แสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง มาแต่แรกแล้วว่าจะใช้สิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาจ้างได้ แม้จำเลยจะยังมิได้ลงมือก่อสร้างใด ๆตามสัญญาก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3180/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและการเรียกค่าปรับรายวันควบคู่กันได้ หากโจทก์แสดงเจตนาชัดเจนและมีการดำเนินการตามสิทธิ
พฤติการณ์ของจำเลยที่ไม่ลงมือก่อสร้างอาคารหรือทำงานล่าช้าหยุดงานบ่อยจนผลงานไม่ปรากฏ ล้วนอยู่ในความรู้เห็นของโจทก์โดยตลอด โจทก์ย่อมเล็งเห็นได้ว่าจำเลยน่าจะต้องละทิ้งงานและเกิดความเสียหายขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งโจทก์อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันทีแต่ต้นเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มมากยิ่งขึ้น แต่โจทก์กลับละเลยไม่ใช้สิทธิดังกล่าวจนครบกำหนดอายุสัญญา และยังปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปอีก โดยโจทก์บอกเลิกสัญญาหลังจากสัญญาครบกำหนดแล้วถึง11 เดือน และให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่โจทก์กำหนดให้สัญญามีผลเลิกกันนั้น ล่วงเลยวันที่สัญญาครบกำหนดอายุแล้วนานถึง 6 เดือน โดยไม่ปรากฏเหตุผลสำคัญอย่างอื่นให้เห็นถึงเหตุขัดข้องที่กระทำดังกล่าว โจทก์เพิ่งจะมาทำสัญญาว่าจ้างบริษัท ท.ให้ทำการก่อสร้างอาคารต่อจากที่จำเลยทำไว้จนแล้วเสร็จ หลังจากที่โจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้วเป็นเวลา 1 ปี 7 เดือน โดยไม่ปรากฏเหตุผลที่ล่าช้า จึงเห็นได้ว่าความล่าช้าต่าง ๆ อันมีผลทำให้ราคาค่าก่อสร้างงานสูงทวีขึ้นตามระยะเวลาที่ผ่านไปนั้นเกิดจากการดำเนินงานของโจทก์รวมอยู่ด้วย
แม้โจทก์จะมีสิทธิปรับจำเลยตามสัญญาจ้าง ข้อ 19 (1) และมีสิทธิเรียกค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลยก็ตาม แต่ก็ถือว่าเงินค่าปรับตามที่คู่สัญญากำหนดไว้ และค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว เป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่จะชดใช้บรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นกรณีมีการผิดสัญญาไว้ล่วงหน้าเป็นเบี้ยปรับ เมื่อความเสียหายเกิดจากความล่าช้าในการดำเนินงานของโจทก์รวมอยู่ด้วย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้
สัญญาจ้างข้อ 19 (1) กำหนดสิทธิของโจทก์ในกรณีที่จำเลยส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญาว่าโจทก์มีสิทธิปรับเป็นรายวัน และวรรคท้ายของสัญญานี้ยังกำหนดสิทธิของโจทก์เอาไว้อีกว่า ในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 20 นอกเหนือจากการปรับ จนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยซึ่งตามสัญญาข้อ 20 ระบุถึงเรื่องค่าเสียหายอะไรบ้างที่โจทก์จะเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ ถ้าโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จากสัญญาข้อ 19 และข้อ 20 ดังกล่าวจะเห็นได้ว่า หากจำเลยส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดอันเป็นการผิดสัญญาแล้วโจทก์มีสิทธิจะปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันได้ตามสัญญาข้อ 19 (1) นอกจากนั้นแล้วถ้าหากโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายตามสัญญาข้อ 20 จากจำเลยได้ตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้าย
สิทธิที่จะเรียกเอาค่าปรับรายวันกับสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายดังกล่าว แม้จะเป็นสิทธิที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยตามสัญญาจ้างข้อเดียวกัน แต่ก็เป็นสิทธิที่แยกต่างหากจากกัน โจทก์จะเลือกใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงกรณีเดียว หรือเลือกใช้สิทธิทุกกรณีก็ได้
เมื่อจำเลยไม่ได้ลงมือก่อสร้างใด ๆ เพื่อส่งมอบงานให้โจทก์ได้ทันภายในกำหนดตามสัญญาจ้าง แต่ก่อนโจทก์จะบอกเลิกสัญญา โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยแจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับเป็นรายวันในสัญญาจ้าง ย่อมเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) แล้ว เพราะหลังจากครบกำหนดเวลาแล้ว โจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาทันที จนกระทั่งปรากฏว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา อันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้าย ต่อเนื่องกับสัญญาข้อ 20 อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่ขัดกับสิทธิในการที่โจทก์จะปรับจำเลยเป็นรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) เพราะโจทก์ได้แสดงเจตนาโดยชัดแจ้งมาแต่แรกแล้วว่าจะใช้สิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาจ้างได้ แม้จำเลยจะยังมิได้ลงมือก่อสร้างใด ๆ ตามสัญญาก็ตาม
แม้โจทก์จะมีสิทธิปรับจำเลยตามสัญญาจ้าง ข้อ 19 (1) และมีสิทธิเรียกค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลยก็ตาม แต่ก็ถือว่าเงินค่าปรับตามที่คู่สัญญากำหนดไว้ และค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว เป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่จะชดใช้บรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นกรณีมีการผิดสัญญาไว้ล่วงหน้าเป็นเบี้ยปรับ เมื่อความเสียหายเกิดจากความล่าช้าในการดำเนินงานของโจทก์รวมอยู่ด้วย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้
สัญญาจ้างข้อ 19 (1) กำหนดสิทธิของโจทก์ในกรณีที่จำเลยส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญาว่าโจทก์มีสิทธิปรับเป็นรายวัน และวรรคท้ายของสัญญานี้ยังกำหนดสิทธิของโจทก์เอาไว้อีกว่า ในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 20 นอกเหนือจากการปรับ จนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยซึ่งตามสัญญาข้อ 20 ระบุถึงเรื่องค่าเสียหายอะไรบ้างที่โจทก์จะเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ ถ้าโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จากสัญญาข้อ 19 และข้อ 20 ดังกล่าวจะเห็นได้ว่า หากจำเลยส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดอันเป็นการผิดสัญญาแล้วโจทก์มีสิทธิจะปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันได้ตามสัญญาข้อ 19 (1) นอกจากนั้นแล้วถ้าหากโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายตามสัญญาข้อ 20 จากจำเลยได้ตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้าย
สิทธิที่จะเรียกเอาค่าปรับรายวันกับสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายดังกล่าว แม้จะเป็นสิทธิที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยตามสัญญาจ้างข้อเดียวกัน แต่ก็เป็นสิทธิที่แยกต่างหากจากกัน โจทก์จะเลือกใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงกรณีเดียว หรือเลือกใช้สิทธิทุกกรณีก็ได้
เมื่อจำเลยไม่ได้ลงมือก่อสร้างใด ๆ เพื่อส่งมอบงานให้โจทก์ได้ทันภายในกำหนดตามสัญญาจ้าง แต่ก่อนโจทก์จะบอกเลิกสัญญา โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยแจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับเป็นรายวันในสัญญาจ้าง ย่อมเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) แล้ว เพราะหลังจากครบกำหนดเวลาแล้ว โจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาทันที จนกระทั่งปรากฏว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา อันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้าย ต่อเนื่องกับสัญญาข้อ 20 อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่ขัดกับสิทธิในการที่โจทก์จะปรับจำเลยเป็นรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) เพราะโจทก์ได้แสดงเจตนาโดยชัดแจ้งมาแต่แรกแล้วว่าจะใช้สิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาจ้างได้ แม้จำเลยจะยังมิได้ลงมือก่อสร้างใด ๆ ตามสัญญาก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2805/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อสูญหาย: ข้อตกลงผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อยังใช้ได้ & อายุความ 10 ปี
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ประเภทหนึ่ง เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายสัญญาเช่าซื้อย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 567 แต่สัญญาเช่าซื้อข้อ 5 ระบุว่า "ถ้าทรัพย์สินที่เช่าซื้อถูกโจรภัย..สูญหาย ผู้เช่าซื้อยอมรับผิดฝ่ายเดียว... และยอมชำระเงินค่าเช่าซื้อจนครบ..." หมายความว่า ผู้เช่าซื้อจะต้องชำระราคารถยนต์ที่เช่าซื้อที่ยังไม่ได้ชำระตามสัญญาจนครบ โดยไม่ได้ระบุให้ผู้เช่าซื้อผ่อนชำระเป็นงวด ๆ เหมือนกรณีที่ทรัพย์ที่เช่าซื้อไม่ถูกโจรภัยหรือไม่สูญหาย อันมีลักษณะกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้า ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 567 และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ไม่เป็นโมฆะ โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายและศาลมีอำนาจลดหย่อนลงได้หากเห็นว่ากำหนดไว้สูงเกินควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคแรก
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 5 เนื่องจากรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกคนร้ายลักไป และโจทก์ไม่ได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมา จึงมิใช่เป็นการฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 กรณีไม่มีการส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 5 เนื่องจากรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกคนร้ายลักไป และโจทก์ไม่ได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมา จึงมิใช่เป็นการฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 กรณีไม่มีการส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8097/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญา: ศาลมีอำนาจลดจำนวนลงได้หากสูงเกินส่วน
เงินค่าปรับที่คู่กรณีกำหนดกันไว้ในสัญญา ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่งซึ่งต้องปรับด้วย ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคแรก แม้มีข้อตกลงกันไว้แต่ก็มิได้กำหนดบังคับไว้เด็ดขาดว่าจะต้องให้เป็นไปตามนั้น ถ้าสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8097/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาซื้อขาย: ศาลลดหย่อนได้หากสูงเกินส่วน คำนวณจากความเสียหายที่แท้จริง
เงินค่าปรับที่คู่กรณีกำหนดกันไว้ในสัญญาถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่งซึ่งต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา383วรรคแรกแม้มีข้อตกลงกันไว้แต่ก็มิได้กำหนดบังคับไว้เด็ดขาดว่าจะต้องให้เป็นไปตามนั้นถ้าสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับรายวันในสัญญาจ้างสูงเกินส่วน ศาลลดค่าปรับได้ตามกฎหมาย
ค่าปรับรายวันตามสัญญาจ้างเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในกรณีที่จำเลยผิดสัญญาจ้าง ซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ดังนั้น เมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ดังกล่าวสูงเกินส่วน ศาลย่อมให้ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญาจ้างสูงเกินส่วน ศาลลดหย่อนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
ค่าปรับรายวันตามสัญญาจ้างเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในกรณีที่จำเลยผิดสัญญาจ้าง ซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ดังนั้นเมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ดังกล่าวสูงเกินส่วนศาลย่อมให้ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5516/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายทรายกรอง: การเลิกสัญญา, ค่าปรับ, การหักหนี้ และสถานที่ส่งมอบ
ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้ผิดสัญญาอ้างเหตุว่าไม่สามารถส่งมอบทรายกรองได้เพราะมีเหตุสุดวิสัยเนื่องจากฝนตกชุกไม่มีแดดที่จะตากทรายให้แห้งได้นั้น ปรากฏว่าจำเลยมิได้กำหนดให้โจทก์ขายทรายกรองจากแหล่งใดหรือบริษัทใด โจทก์จึงสามารถจัดหาจากผู้ผลิตรายอื่นซึ่งอยู่ในพื้นที่ฝนไม่ตกเพื่อจัดส่งแก่จำเลยได้กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่สามารถส่งทรายกรองได้ทันตามกำหนดในสัญญาเพราะเหตุสุดวิสัย ตามสัญญาซื้อขายทรายกรองรายพิพาทข้อ 8 วรรคแรก กำหนดว่าเมื่อครบกำหนดส่งมอบแล้ว ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบหรือส่งมอบทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิเลิกสัญญาได้ ข้อ 9วรรคแรก กำหนดว่าในกรณีผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ 8 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายนำสิ่งของมาส่งมอบให้จนครบถ้วน และวรรคสามกำหนดว่าในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ก็ได้ การที่จำเลยยอมรับมอบทรายกรองบางส่วนที่โจทก์ส่งมอบหลังจากครบกำหนดในสัญญาแล้ว เป็นการใช้สิทธิตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 9 มิใช่กรณีที่จำเลยยอมรับมอบทรายกรองไม่อิดเอื้อนหรือไม่ถือเอาระยะเวลาการส่งมอบเป็นข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยยังได้มีหนังสือกำหนดเวลาพอสมควรแล้วบอกกล่าวให้โจทก์ส่งทรายกรองส่วนที่ส่งมอบไว้บกพร่องและส่วนที่ยังไม่ส่งในระยะเวลานั้น โดยแจ้งไปด้วยว่าโจทก์จะต้องรับผิดชอบตามเงื่อนไขในสัญญาเท่ากับจำเลยใช้สิทธิปรับโจทก์ตามสัญญาแล้ว แต่โจทก์ไม่ส่งมอบทรายกรองให้จำเลย จำเลยจึงมีสิทธิเลิกสัญญาและเรียกค่าปรับตามสัญญาข้อ 9 ตามสัญญาซื้อขายรายพิพาทในงวดที่ 4 กำหนดให้โจทก์ส่งมอบทรายกรอง ณ สำนักงานของจำเลยเขต 13 ชุมพร เขต 14 นครศรีธรรมราชแต่จำเลยย้ายที่ตั้งสำนักงานเขต 13 จากจังหวัดชุมพรไปอยู่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและได้ให้โจทก์นำทรายกรองที่จะต้องส่งมอบให้สำนักงานเขต 14 ไปส่งที่อำเภอห้วยยอดอำเภอย่านตาขาวและอำเภอทุ่งสงจึงเป็นกรณีที่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายไปยังที่แห่งอื่นนอกจากสถานที่อันจะพึงชำระหนี้ จำเลยผู้ซื้อจึงต้องออกใช้ค่าขนส่งทรัพย์สินซึ่งได้ซื้อขายกันไปยังที่แห่งอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 464 โจทก์ส่งมอบทรายกรองบางส่วนแล้วโดยส่งมอบครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนพฤษภาคม 2530 แต่จำเลยมิได้บอกเลิกสัญญาในระยะเวลาอันสมควรเพิ่งจะบอกเลิกสัญญาโดยให้มีผลในวันที่ 31 ตุลาคม 2530และตามสัญญากำหนดให้ปรับเป็นรายวัน จำนวนเบี้ยปรับจึงสูงขึ้นเพราะเหตุที่จำเลยบอกเลิกสัญญาล่าช้าด้วย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคแรก โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ส่งมอบทรายกรองไปที่สำนักงานของจำเลยเขต 12 เป็นเงิน 216,642 บาท จำเลยให้การว่าโจทก์ส่งทรายกรองที่สำนักงานเขต 12 ครบถ้วนตามสัญญาโดยมิได้ปฏิเสธค่าทรายกรองตามฟ้อง ดังนั้นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับราคาทรายกรองซึ่งโจทก์ส่งมอบที่สำนักงานเขต 12 จึงฟังได้ยุติตามฟ้องแล้ว ไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัยราคาทรายกรองรายนี้อีก และจำเลยคงต้องชำระค่าทรายกรองรายนี้เป็นเงิน 216,642 บาท ตามที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าเมื่อจำเลยต้องชำระค่าทรายกรองและค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นจำนวน 1,053,779.52 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ส่วนโจทก์ต้องชำระค่าปรับและค่าทดสอบทรายกรองแก่จำเลย512,950 บาท พร้อมดอกเบี้ย เพื่อความสะดวกในการบังคับตามคำพิพากษา ศาลฎีกาจึงหักหนี้กันเสียโดยให้มีผลนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยยื่นฟ้องแย้งก่อนครบกำหนดเวลาในหนังสือบอกกล่าวแจ้งให้โจทก์ชำระค่าปรับและค่าทดสอบ จำเลยไม่มีอำนาจฟ้องแย้งนั้น แม้โจทก์จะให้การต่อสู้ไว้ แต่ชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและคู่ความมิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือได้ว่าคู่ความสละประเด็นดังกล่าวแล้วจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา และที่โจทก์ฎีกาว่าธนาคารกรุงเทพจำกัด ยึดเงินค้ำประกันไว้แทนจำเลย จำเลยอาจอ้างเหตุเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้วไปขอรับเงินจากธนาคารได้ทันทีนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญา: ศาลมีอำนาจลดจำนวนได้ตามความเหมาะสม
เงินค่าปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับเพื่อการที่จะชดใช้บรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า เพื่อให้เป็นความพอใจแก่ฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญา ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนค่าปรับหรือเบี้ยปรับตามสัญญานั้นลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาซื้อขาย: ศาลมีอำนาจลดได้ตามความเหมาะสมแห่งกรณี
เงินค่าปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับเพื่อการที่จะชดใช้บรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า เพื่อให้เป็นความพอใจแก่ฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญา ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนค่าปรับหรือเบี้ยปรับตามสัญญานั้นลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 วรรคแรก