คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 422

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ความรับผิดร่วมกันของผู้ขับขี่และผู้ประกอบการ การแบ่งความรับผิดตามสัดส่วน
การที่จำเลยที่2ขับรถบรรทุกในเวลากลางคืนบรรทุกรถแทรกเตอร์ใบมีดจานไถของรถแทรกเตอร์ยื่นล้ำออกมานอกตัวรถบรรทุกจำเลยที่2จะต้องติดไฟสัญญาณตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา11,15กฎกระทรวงและข้อกำหนดของกรมตำรวจแต่จำเลยที่2มิได้กระทำเป็นการฝ่าฝืนบทกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายที่มีความประสงค์จะปกป้องบุคคลอื่นๆต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่2เป็นฝ่ายผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา422 จำเลยที่4ขับรถในเวลากลางคืนลงเนินซึ่งความเร็วของรถต้องเพิ่มขึ้นขณะที่มีแสงไฟของรถแล่นสวนมาเห็นได้ไกลจำเลยที่4จะต้องระวังเพิ่มขึ้นโดยลดความเร็วแต่จำเลยที่4ยังขับต่อไปด้วยความเร็วสูงจนเกิดอุบัติเหตุชนกับใบมีดรถแทรกเตอร์ที่จำเลยที่2ขับมาจึงเป็นความประมาทของจำเลยที่4ด้วย ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดในกรณีที่ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสและทุพพลภาพได้แก่ค่ารักษาพยาบาลค่าขาเทียมค่าเสียความสามารถในการประกอบการงานทั้งในปัจจุบันและอนาคตตามมาตรา444และค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินตามมาตรา446วรรคหนึ่งได้แก่ค่าที่ต้องทุพพลภาพพิการตลอดชีวิตต้องทรมานร่างกายและจิตใจนอกจากนี้หากทรัพย์สินหายจากการกระทำละเมิดก็มีสิทธิได้รับชดใช้อีกต่างหาก จำเลยที่2และที่4ต่างฝ่ายต่างทำละเมิดโดยมิได้ร่วมกันแต่ละฝ่ายจึงไม่ต้องร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดแก่โจทก์คงรับผิดเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่ทั้งสองฝ่ายและการแบ่งความรับผิด
เมื่อขับรถในเวลากลางคืน ผู้ขับรถต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 11, 15 กฎกระทรวงและข้อกำหนดของกรมตำรวจที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าว แต่จำเลยที่ 2 ขับรถบรรทุกของจำเลยที่ 1 บรรทุกรถแทรกเตอร์ซึ่งมีใบมีดจานไถยื่นล้ำออกมานอกตัวรถบรรทุกโดยมิได้ติดไฟสัญญาณไว้ที่ปลายใบมีดจานไถทั้งสองข้าง เป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.จราจรทางบกอันเป็นกฎหมายที่มีประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่น ๆ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 422 นอกจากนี้บริเวณจุดชนอยู่ในช่องเดินรถโดยสารปรับอากาศ ที่จำเลยที่ 4 ขับส่วนทางมา จึงฟังได้ว่าเหตุเฉี่ยวชนกันเกิดจากการกระทำด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ด้วย
จำเลยที่ 4 ขับรถโดยสารปรับอากาศด้วยความเร็วสูง เมื่อขับลงเนินความเร็วของรถยนต์จะต้องเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืนเมื่อเห็นมีแสงไฟของรถยนต์ที่สวนมาเห็นได้ไกล จำเลยที่ 4 จะต้องเพิ่มความระมัด-ระวังให้มากขึ้นโดยลดความเร็วให้ช้าลง แต่จำเลยที่ 4 ยังคงขับรถโดยสารปรับอากาศต่อไปด้วยความเร็วสูงจนเกิดอุบัติเหตุจึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 4 เมื่อเป็นเหตุให้ชนกับรถบรรทุกรถแทรกเตอร์ที่จำเลยที่ 2 ขับมาโดยใบมีดจานไถของรถแทรกเตอร์ล้ำออกนอกตัวรถและล้ำเข้าไปในช่องเดินรถโดยสารปรับอากาศและโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัส จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ต่างฝ่ายต่างทำละเมิด แต่ละฝ่ายจึงไม่ต้องร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดแก่โจทก์ แต่ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใด เพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 438 ที่ศาลล่างทั้งสองแบ่งส่วนแห่งความรับผิดโดยให้จำเลยที่ 2 รับผิด 2 ส่วน ส่วนจำเลยที่ 4 รับผิด1 ส่วน นับว่าถูกต้องและเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่ทั้งสองฝ่าย, การแบ่งความรับผิด, และค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
เมื่อขับรถในเวลากลางคืนผู้ขับรถต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา11,15กฎกระทรวงและข้อกำหนดของกรมตำรวจที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวแต่จำเลยที่2ขับรถบรรทุกของจำเลยที่1บรรทุกรถแทรกเตอร์ซึ่งมีใบมีดจานไถยื่นล้ำออกมานอกตัวรถบรรทุกโดยมิได้ติดไฟสัญญาณไว้ที่ปลายใบมีดจานไถทั้งสองข้างเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบกอันเป็นกฎหมายที่มีประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่นๆต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่2เป็นฝ่ายผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา422นอกจากนี้บริเวณจุดชนอยู่ในช่องเดินรถโดยสารปรับอากาศที่จำเลยที่4ขับสวนทางมาจึงฟังได้ว่าเหตุเฉี่ยวชนกันเกิดจากการกระทำด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่2ด้วย จำเลยที่4ขับรถโดยสารปรับอากาศด้วยความเร็วสูงเมื่อขับลงเนินความเร็วของรถยนต์จะต้องเพิ่มขึ้นกว่าเดิมขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืนเมื่อเห็นมีแสงไฟของรถยนต์ที่สวนมาเห็นได้ไกลจำเลยที่4จะต้องเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้นโดยลดความเร็วให้ช้าลงแต่จำเลยที่4ยังคงขับรถโดยสารปรับอากาศต่อไปด้วยความเร็วสูงจนเกิดอุบัติเหตุจึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่4เมื่อเป็นเหตุให้ชนกับรถบรรทุกรถแทรกเตอร์ที่จำเลยที่2ขับมาโดยใบมีดจานไถของรถแทรกเตอร์ล้ำออกนอกตัวรถและล้ำเข้าไปในช่องเดินรถโดยสารปรับอากาศและโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัสจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่2และที่4ต่างฝ่ายต่างทำละเมิดแต่ละฝ่ายจึงไม่ต้องร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดแก่โจทก์แต่ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา438ที่ศาลล่างทั้งสองแบ่งส่วนแห่งความรับผิดโดยให้จำเลยที่2รับผิด2ส่วนส่วนจำเลยที่4รับผิด1ส่วนนับว่าถูกต้องและเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8358/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางถนน: ประมาทเลินเล่อของผู้ตาย, การคำนวณค่าขาดไร้อุปการะ, และขอบเขตการรับฟังพยาน
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดการศพแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 27,033.33 บาทและให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 192,000 บาท ซึ่งเท่ากับให้ร่วมชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์คนละ 96,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ยกฟ้องทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยที่ 2 กับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1ไม่ได้ประมาทเลินเล่อหรือหากมีส่วนประมาทเลินเล่อก็เพียง1 ใน 4 ส่วน ค่าใช้จ่ายในการจัดการศพไม่เกิน 20,000 บาทค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ทั้งสองรวมกันไม่เกิน 1,200 บาทต่อเดือน เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ทั้งสองได้ระบุอ้างบัญชีค่าใช้จ่ายในการจัดการศพผู้ตายไว้ในบัญชีระบุพยานโดยชอบแล้ว แม้มิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า3 วัน อันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 90(เดิม) วรรคแรก แต่โจทก์ทั้งสองก็อ้างส่งเอกสารดังกล่าวต่อศาลในวันสืบพยานนัดแรกซึ่งโจทก์ทั้งสองมีหน้าที่สืบก่อน เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี จำเลยที่ 2 มีโอกาสจะซักค้านพยานโจทก์เกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวและมีโอกาสที่จะนำสืบหักล้างเอกสารดังกล่าวได้ การรับฟังพยานเอกสารเช่นว่านี้จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2เสียเปรียบแต่ประการใด ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลจึงมีอำนาจที่จะรับฟังบัญชีค่าใช้จ่ายในการจัดการศพผู้ตายตามเอกสารดังกล่าวได้ตามมาตรา 87(2) แม้ผู้ตายมิได้ขับรถจักรยานยนต์ล้ำเข้าไปในช่องทางเดินรถของรถยนต์โดยสารก็ตาม แต่การที่ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แล่นมาด้วยความเร็วสูงผ่านโค้งก่อนถึงที่เกิดเหตุและไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย และเมื่อรถสวนกันก็ไม่ขับชิดด้านซ้ายของทางเดินรถ ซึ่งเป็นการไม่ปฎิบัติ ตามกฎหมายจึงเกิดชนกับรถยนต์โดยสารที่จำเลยที่ 1 ขับสวนทางมา ถือได้ว่าผู้ตายมีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย การกำหนดค่าขาดไร้อุปการะย่อมกำหนดตามฐานะของผู้ตายและฐานะของผู้มีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดู ถ้าหากเคยได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจริงก็นำมาพิจารณาประกอบด้วยส่วนระยะเวลาในอนาคตที่จะคำนวณค่าขาดไร้อุปการะเป็นจำนวนเดียวนั้น ก็ต้องพิจารณาว่าตามความหวังที่มีเหตุผลหากผู้ตายมีชีวิตอยู่จะให้การอุปการะเลี้ยงดูได้เพียงใด และเป็นเวลานานเท่าใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8358/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดใช้ค่าจัดการศพ/ขาดไร้อุปการะ: ศาลรับฟังเอกสารแม้ไม่ส่งก่อนสืบพยาน, ผู้ตายประมาทเลินเล่อ
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดการศพแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 27,033.33 บาท และให้จำเลยที่ 2ร่วมชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 192,000 บาท ซึ่งเท่ากับให้ร่วมชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์คนละ 96,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยที่ 2 กับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ประมาทเลินเล่อหรือหากมีส่วนประมาทเลินเล่อก็เพียง 1 ใน 4 ส่วน ค่าใช้จ่ายในการจัดการศพไม่เกิน 20,000 บาท ค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ทั้งสองรวมกันไม่เกิน 1,200 บาทต่อเดือน เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ทั้งสองได้ระบุอ้างบัญชีค่าใช้จ่ายในการจัดการศพผู้ตายไว้ในบัญชีระบุพยานโดยชอบแล้ว แม้มิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน อันเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ.มาตรา 90 (เดิม)วรรคแรก แต่โจทก์ทั้งสองก็อ้างส่งเอกสารดังกล่าวต่อศาลในวันสืบพยานนัดแรกซึ่งโจทก์ทั้งสองมีหน้าที่นำสืบก่อน เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี จำเลยที่ 2 มีโอกาสจะซักค้านพยานโจทก์เกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวและมีโอกาสที่จะนำสืบหักล้างเอกสารดังกล่าวได้ การรับฟังพยานเอกสารเช่นว่านี้จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2 เสียเปรียบแต่ประการใด ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจึงมีอำนาจที่จะรับฟังบัญชีค่าใช้จ่ายในการจัดการศพผู้ตายตามเอกสารดังกล่าวได้ตามมาตรา 87 (2)
แม้ผู้ตายมิได้ขับรถจักรยานยนต์ล้ำเข้าไปในช่องเดินรถของรถยนต์โดยสารก็ตาม แต่การที่ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แล่นมาด้วยความเร็วสูงผ่านโค้งก่อนถึงที่เกิดเหตุและไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย และเมื่อรถสวนกันก็ไม่ขับชิดด้านซ้ายของทางเดินรถ ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจึงเกิดชนกับรถยนต์โดยสารที่จำเลยที่ 1 ขับสวนทางมา ถือได้ว่าผู้ตายมีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย
การกำหนดค่าขาดไร้อุปการะย่อมกำหนดตามฐานะของผู้ตายและฐานะของผู้มีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดู ถ้าหากเคยได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจริงก็นำมาพิจารณาประกอบด้วย ส่วนระยะเวลาในอนาคตที่จะคำนวณค่าขาดไร้อุปการะเป็นจำนวนเดียวนั้น ก็ต้องพิจารณาว่าตามความหวังที่มีเหตุผลหากผู้ตายมีชีวิตอยู่จะให้การอุปการะเลี้ยงดูได้เพียงใด และเป็นเวลานานเท่าใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4285/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาททางละเมิด: การประเมินความรับผิดชอบเมื่อทั้งสองฝ่ายมีส่วนประมาท และการแบ่งความรับผิดชอบตามพฤติการณ์
แม้เหตุที่รถยนต์ของจำเลยชนรถยนต์ของโจทก์เป็นเพราะความประมาทของจำเลยก็ตาม แต่การที่โจทก์จอดรถยนต์ไว้ข้างทางในเวลากลางคืนโดยไม่ให้สัญญาณไฟ และจอดรถยนต์โดยล้อขวาล้ำเข้าไปบนผิวจราจรประมาณ 1 ฟุต ก็เป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามกฎจราจร ซึ่งเป็นบทบังคับแห่งกฎหมายอันมีที่ประสงค์เพื่อ จะปกป้องบุคคลอื่น ๆ จึงต้องด้วยบทสันนิษฐานของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 422 ว่าโจทก์เป็นผู้ผิด ความ เสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถยนต์ ของโจทก์จึงเกิดขึ้นเพราะความผิดของ โจทก์ที่มีส่วนประมาทด้วย หนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ มากน้อยเพียงใด จึงต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือ ว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อน กว่ากันเพียงไร ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223 แม้โจทก์จะฝ่าฝืนกฎจราจรจอดรถยนต์ไว้ข้างทางในเวลากลางคืนโดยไม่ให้สัญญาณไฟ และจอดรถยนต์ไว้โดยล้อขวาล้ำเข้าไปบนผิวจราจรประมาณ 1 ฟุตก็ตาม แต่การที่จำเลยเห็นรถยนต์ของโจทก์จอดอยู่ ข้างหน้าห่างประมาณ 20 เมตร จำเลยย่อมมีโอกาสสุดท้ายที่จะหลีกเลี่ยง ความเสียหาย โดยใช้ห้ามล้อชะลอความเร็วเพื่อหยุดรถหรือหักหลบ มิให้ ชนรถยนต์ของโจทก์ได้ แต่จำเลยกลับขับรถด้วยความเร็วสูง ชนรถยนต์ของโจทก์ เป็นเหตุให้ตกลงไปในคูน้ำข้างทางทั้งสองคัน ได้รับความเสียหาย เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายประมาทมากกว่า โจทก์ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจำเลยจึงเป็นฝ่ายก่อมากกว่าโจทก์ แต่เนื่องจากรถยนต์ของจำเลยเป็นรถยนต์เก๋งได้รับความเสียหายมากกว่า รถยนต์ของโจทก์ ซึ่งเป็นรถยนต์บรรทุก อีกทั้งตัวจำเลยก็ได้รับอันตราย แก่กาย เนื่องจากรถยนต์ชนกันครั้งนี้ด้วย พฤติการณ์แห่งคดีสมควร กำหนดให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพียงสองในสามของ จำนวนที่โจทก์พิสูจน์ได้ตามคำพิพากษาของศาลล่าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4285/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาททั้งสองฝ่าย แต่จำเลยมีโอกาสหลีกเลี่ยงได้ยังประมาทชน ทำให้ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายสองในสาม
แม้เหตุที่รถยนต์ของจำเลยชนรถยนต์ของโจทก์เป็นเพราะความประมาทของจำเลยก็ตาม แต่การที่โจทก์จอดรถยนต์ไว้ข้างทางในเวลากลางคืนโดยไม่ให้สัญญาณไฟ และจอดรถยนต์โดยล้อขวาล้ำเข้าไปบนผิวจราจรประมาณ 1 ฟุต ก็เป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎจราจร ซึ่งเป็นบทบังคับแห่งกฎหมายอันมีที่ประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่น ๆ จึงต้องด้วยบทสันนิษฐานของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 422 ว่าโจทก์เป็นผู้ผิด ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถยนต์ของโจทก์จึงเกิดขึ้นเพราะความผิดของโจทก์ที่มีส่วนประมาทด้วย หนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์มากน้อยเพียงใด จึงต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223
แม้โจทก์จะฝ่าฝืนกฎจราจรจอดรถยนต์ไว้ข้างทางในเวลากลางคืน โดยไม่ให้สัญญาณไฟ และจอดรถยนต์ไว้โดยล้อขวาล้ำเข้าไปบนผิวจราจรประมาณ 1 ฟุตก็ตาม แต่การที่จำเลยเห็นรถยนต์ของโจทก์จอดอยู่ข้างหน้าห่างประมาณ 20 เมตร จำเลยย่อมมีโอกาสสุดท้ายที่จะหลีกเลี่ยงความเสียหาย โดยใช้ห้ามล้อชะลอความเร็วเพื่อหยุดรถหรือหักหลบมิให้ชนรถยนต์ของโจทก์ได้ แต่จำเลยกลับขับรถด้วยความเร็วสูงชนรถยนต์ของโจทก์ เป็นเหตุให้ตกลงไปในคูน้ำข้างทางทั้งสองคันได้รับความเสียหาย เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายประมาทมากกว่าโจทก์ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจำเลยจึงเป็นฝ่ายก่อมากกว่าโจทก์ แต่เนื่องจากรถยนต์ของจำเลยเป็นรถยนต์เก๋งได้รับความเสียหายมากกว่ารถยนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นรถยนต์บรรทุก อีกทั้งตัวจำเลยก็ได้รับอันตรายแก่กายเนื่องจากรถยนต์ชนกันครั้งนี้ด้วย พฤติการณ์แห่งคดีสมควรกำหนดให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพียงสองในสามของจำนวนที่โจทก์พิสูจน์ได้ตามคำพิพากษาของศาลล่าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5463/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สี่แยกทางเอก: ผู้ขับขี่ต้องให้รถที่ถึงก่อนผ่านก่อน หากฝ่าฝืนถือเป็นฝ่ายผิด
รถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับแล่นมาถึงบริเวณสี่แยกที่เกิดเหตุก่อนรถยนต์คันที่ พ. ขับซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้ พ.ย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 71(1) โดยต้องให้รถคันที่จำเลยที่ 1 ขับ ผ่านไปเสียก่อนแต่ พ. กลับฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว เป็นเหตุให้เกิดชนกันขึ้น พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 71(1)เป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์จะปกป้องบุคคลอื่น ๆ พ.ผู้ฝ่าฝืนกฎหมายเช่นว่านั้นย่อมต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นฝ่ายผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 422

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5463/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สี่แยกทางเอก: ผู้ขับขี่ต้องให้รถที่มาถึงก่อนผ่านก่อน ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ม.71(1) หากฝ่าฝืนถือเป็นฝ่ายผิด
รถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับแล่นมาถึงบริเวณสี่แยกที่เกิดเหตุก่อนรถยนต์คันที่ พ.ขับซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้พ.ย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 71(1) โดยต้องให้รถคันที่จำเลยที่ 1 ขับ ผ่านไปเสียก่อนแต่ พ. กลับฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว เป็นเหตุให้เกิดชนกันขึ้น พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 71(1)เป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์จะปกป้องบุคคลอื่น ๆ พ.ผู้ฝ่าฝืนกฎหมายเช่นว่านั้นย่อมต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นฝ่ายผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 422

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5082/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขับรถที่ชนท้าย และสิทธิการได้รับดอกเบี้ยของผู้รับประกันภัย
จ.ขับรถอยู่ในทางเดินรถ เห็นชามกะละมัง หล่น ขวางทางอยู่จึงชะลอความเร็วและหยุดรถเพื่อไม่ให้ชนชาม กะละมัง จำเลยขับรถแล่นตามหลังมาชนท้ายรถของ จ. เช่นนี้ ถือไม่ได้ว่า จ. มีส่วนประมาทร่วมด้วย และถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อเพราะผู้ที่ขับรถตามหลังรถคันอื่นมีหน้าที่ต้องระมัดระวังไม่ให้รถแล่นไป ชนท้ายรถคันที่แล่นอยู่ข้างหน้า โดยต้องทิ้งระยะให้ห่างพอสมควรที่จะชะลอความเร็ว หรือหยุดรถได้ทันท่วงทีเมื่อรถคันหน้าได้ชะลอความเร็วหรือต้องหยุดรถไม่ว่ากรณีใด ๆ
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยและรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดโจทก์ชอบที่จะได้รับดอกเบี้ย นับแต่วันที่โจทก์ใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยเท่านั้น หามีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดไม่ และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
of 7