พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5082/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์และการคิดดอกเบี้ยค่าเสียหายจากประกันภัย
จ.ขับรถอยู่ในทางเดินรถ เห็นชามกะละมังหล่น ขวางทางอยู่จึงชะลอความเร็วและหยุดรถเพื่อไม่ให้ชนชามกะละมัง จำเลยขับรถแล่นตามหลังมาชนท้ายรถของ จ. เช่นนี้ ถือไม่ได้ว่า จ. มีส่วนประมาทร่วมด้วย และถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อเพราะผู้ที่ขับรถตามหลังรถคันอื่นมีหน้าที่ต้องระมัดระวังไม่ให้รถแล่นไปชนท้ายรถคันที่แล่นอยู่ข้างหน้า โดยต้องทิ้งระยะให้ห่างพอสมควรที่จะชะลอความเร็ว หรือหยุดรถได้ทันท่วงทีเมื่อรถคันหน้าได้ชะลอความเร็วหรือต้องหยุดรถไม่ว่ากรณีใด ๆ โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยและรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดโจทก์ชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์ใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยเท่านั้น หามีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดไม่ และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับเหมาและหน่วยงานราชการต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุบนถนน กรณีผู้รับเหมามิได้ติดตั้งเครื่องหมายเตือนและไฟส่องสว่าง
จำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญากับกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 รับจ้างปรับปรุงถนน การปรับปรุงถนนดังกล่าวจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ทำทางเบี่ยงไว้แต่มิได้ติดตั้งไฟสัญญาณให้มองเห็นในเวลากลางคืน ผู้ตายขับรถยนต์มาตามปกติถึงบริเวณที่เกิดเหตุซึ่งมืดมากจึงชนเกาะกลางถนนถึงแก่ความตายดังนี้ เป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยฝ่ายเดียว จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 จะอ้างว่าจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้ส่งมอบงานหรืออ้างว่าเป็นผู้ว่าจ้างไม่ต้องร่วมรับผิดในความเสียหายต่อบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ มาตรา 428 ไม่ได้ เพราะตนมีหน้าที่จัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 มาตรา 66(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับเหมาและหน่วยงานราชการต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุบนถนนที่ก่อสร้าง
จำเลยที่ 2, ที่ 3 ทำสัญญากับกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 รับจ้างปรับปรุงถนน การปรับปรุงถนนดังกล่าวจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ทำทางเบี่ยงไว้แต่มิได้ติดตั้งไฟสัญญาณให้มองเห็นในเวลากลางคืน ผู้ตายขับรถยนต์มาตามปกติถึงบริเวณที่เกิดเหตุซึ่งมืดมากจึงชนเกาะกลางถนนถึงแก่ความตายดังนี้ เป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยฝ่ายเดียว จำเลยที่ 1ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2, ที่ 3 จะอ้างว่าจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้ส่งมอบงาน หรืออ้างว่าเป็นผู้ว่าจ้างไม่ต้องร่วมรับผิดในความเสียหายต่อบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 428 ไม่ได้ เพราะตน มีหน้าที่จัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 มาตรา 66(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการเสริมถนนและไม่แก้ไขป้ายความสูงสะพาน
น. ขับรถบรรทุกของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างบรรทุกลัง คอนเทนเนอร์ของบริษัท ช. ซึ่งรวมกับความสูงของรถบรรทุกแล้ว สูง 4.90 เมตรมาตามถนนราชปรารภมุ่งหน้าไปรังสิต เมื่อจะลอดใต้ สะพานลอยสำหรับให้คนข้ามถนนที่จำเลยสร้างขึ้นและติดป้ายแสดงความสูงว่า 5 เมตรแต่ความจริงส่วนที่ใกล้เกาะกลางถนนมีความสูงจากพื้นถนน 4.90 เมตรน. ให้ ท. คนท้ายรถลงจากรถไปคอยดู ว่ารถจะแล่นลอดใต้ สะพานไปได้หรือไม่ แล้ว น. ขับรถไปช้า ๆ ตามคำสั่งของ ท.เมื่อท.บอกให้หยุด น. ได้เหยียบห้ามล้อหยุดรถทันที แต่แรงเฉื่อย ของสินค้าที่บรรทุกหนักทำให้รถแล่นไปอีกและส่วนสูงสุดของสินค้าเฉี่ยว ชนคานสะพานลอยสินค้าที่โจทก์รับจ้างบรรทุกมาเสียหาย การกระทำดังกล่าวเป็นการใช้ความระมัดระวังแล้ว การที่จำเลยได้ทำการเสริมถนนให้เป็นหลังเต่า สูงขึ้นกว่าเดิม เพื่อป้องกันน้ำท่วมทำให้ความสูงของสะพานลอยน้อยกว่า 5 เมตร และจำเลยไม่ได้เปลี่ยนป้ายบอกความสูงของสะพานที่เกิดเหตุให้ตรงกับความเป็นจริง ทำให้ น. เชื่อ ว่าสะพานนั้นมีความสูง 5 เมตร ตามที่ปิดป้ายบอกไว้เช่น สะพานลอย6 สะพานที่ น. ขับลอด ผ่านมาแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นการประมาทเลินเล่อจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท ช. การที่ น. มิได้ขับรถในช่องทางเดินรถด้านซ้าย ซึ่งติดกับขอบทางเท้าแต่ขับคร่อมเส้นแบ่งครึ่งช่องทางเดินรถช่องซ้าย และช่องขวาและบรรทุกสินค้าสูงกว่า 3 เมตร จากพื้นถนนโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 4(พ.ศ. 2522) ข้อ 1(3) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ. จราจรทางบกพ.ศ. 2522 จนเป็นเหตุให้เกิดชนคานใต้ สะพานลอยนั้นเป็นเพียงความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบกซึ่งมิได้เป็นผลโดยตรงที่ก่อให้เกิดการละเมิดดังกล่าว และรถบรรทุกสิ่งของอาจจะบรรทุกสิ่งของสูงเกินกว่า 3 เมตรได้หากได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่โจทก์ใช้รถบรรทุกคอนเทนเนอร์สูงเกินกว่า 3 เมตร จึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมายที่บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาด โจทก์จึงมิได้ประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการบำรุงรักษาสะพาน ทำให้ผู้ขับขี่ได้รับความเสียหาย
น.ขับรถบรรทุกของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างบรรทุกลังคอนเทนเนอร์ของบริษัท ช. ซึ่งรวมกับความสูงของรถบรรทุกแล้ว สูง 4.90 เมตร มาตามถนนราชปรารถมุ่งหน้าไปรังสิต เมื่อจะลอดใต้สะพานลอยสำหรับให้คนข้ามถนนที่จำเลยสร้างขึ้นและติดป้ายแสดงความสูงว่า 5 เมตร แต่ความจริงส่วนที่ใกล้เกาะกลางถนนมีความสูงจากพื้นถนน 4.90 เมตร น. ให้ ท. คนท้ายรถลงจากรถไปคอยดูว่ารถจะแล่นลอดใต้สะพานไปได้หรือไม่แล้ว น.ขับรถไปช้า ๆ ตามคำสั่งของ ท.เมื่อ ท.บอกให้หยุด น.ได้เหยียบห้ามล้อหยุดรถทันที แต่แรงเฉื่อยของสินค้าที่บรรทุกหนักทำให้รถแล่นไปอีกและส่วนสูงสุดของสินค้าเฉี่ยวชนคานสะพานลอยสินค้าที่โจทก์รับจ้างบรรทุกมาเสียหาย การกระทำดังกล่าวเป็นการใช้ความระมัดระวังแล้ว การที่จำเลยได้ทำการเสริมถนนให้เป็นหลังเต่าสูงขึ้นกว่าเดิมเพื่อป้องกันน้ำท่วมทำให้ความสูงของสะพานลอยน้อยกว่า 5 เมตร และจำเลยไม่ได้เปลี่ยนป้ายบอกความสูงของสะพานที่เกิดเหตุให้ตรงกับความเป็นจริง ทำให้ น.เชื่อว่าสะพานนั้นมีความสูง 5 เมตร ตามที่ปิดป้ายบอกไว้ เช่น สะพานลอย 6 สะพานที่ น.ขับลอดผ่านมาแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นการประมาทเลินเล่อจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท ข.
การที่ น.มิได้ขับรถในช่องทางเดินรถด้านซ้ายซึ่งติดกับขอบทางเท้าแต่ขับคร่อมเส้นแบ่งครึ่งช่องทางเดินรถช่องซ้ายและช่องขวาและบรรทุกสินค้าสูงกว่า 3 เมตร จากพื้นถนนโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2522) ข้อ 1 (3) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 จนเป็นเหตุให้เกิดชนคานใต้สะพานลอยนั้นเป็นเพียงความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกซึ่งมิได้เป็นผลโดยตรงที่ก่อให้เกิดการละเมิดดังกล่าว และรถบรรทุกสิ่งของอาจจะบรรทุกสิ่งของสูงเกินกว่า 3 เมตร ได้หากได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่โจทก์ใช้รถบรรทุกคอนเทนเนอร์สูงเกินกว่า 3 เมตร จึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมายที่บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาด โจทก์จึงมิได้ประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด.(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2530 ทั้งสองวรรค)
การที่ น.มิได้ขับรถในช่องทางเดินรถด้านซ้ายซึ่งติดกับขอบทางเท้าแต่ขับคร่อมเส้นแบ่งครึ่งช่องทางเดินรถช่องซ้ายและช่องขวาและบรรทุกสินค้าสูงกว่า 3 เมตร จากพื้นถนนโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2522) ข้อ 1 (3) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 จนเป็นเหตุให้เกิดชนคานใต้สะพานลอยนั้นเป็นเพียงความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกซึ่งมิได้เป็นผลโดยตรงที่ก่อให้เกิดการละเมิดดังกล่าว และรถบรรทุกสิ่งของอาจจะบรรทุกสิ่งของสูงเกินกว่า 3 เมตร ได้หากได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่โจทก์ใช้รถบรรทุกคอนเทนเนอร์สูงเกินกว่า 3 เมตร จึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมายที่บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาด โจทก์จึงมิได้ประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด.(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2530 ทั้งสองวรรค)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากความบกพร่องของเจ้าหน้าที่รัฐในการดูแลรักษาความปลอดภัยทางถนน และการประเมินความประมาทของผู้ขับขี่
น.ขับรถบรรทุกของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างบรรทุกลังคอนเทนเนอร์ของบริษัท ช.ซึ่งรวมกับความสูงของรถบรรทุกแล้ว สูง 4.90 เมตรมาตามถนนราชปรารถมุ่งหน้าไปรังสิต เมื่อจะลอดใต้สะพานลอยสำหรับให้คนข้ามถนนที่จำเลยสร้างขึ้นและติดป้ายแสดงความสูงว่า5 เมตร แต่ความจริงส่วนที่ใกล้เกาะกลางถนนมีความสูงจากพื้นถนน 4.90 เมตร น. ให้ ท. คนท้ายรถลงจากรถไปคอยดูว่ารถจะแล่นลอดใต้สะพานไปได้หรือไม่แล้ว น.ขับรถไปช้า ๆ ตามคำสั่งของ ท.เมื่อ ท.บอกให้หยุด น.ได้เหยียบห้ามล้อหยุดรถทันที แต่แรงเฉื่อยของสินค้าที่บรรทุกหนักทำให้รถแล่นไปอีกและส่วนสูงสุดของสินค้าเฉี่ยวชนคานสะพานลอยสินค้าที่โจทก์รับจ้างบรรทุกมาเสียหาย การกระทำดังกล่าวเป็นการใช้ความระมัดระวังแล้ว การที่จำเลยได้ทำการเสริมถนนให้เป็นหลังเต่าสูงขึ้นกว่าเดิมเพื่อป้องกันน้ำท่วมทำให้ความสูงของสะพานลอยน้อยกว่า 5 เมตร และจำเลยไม่ได้เปลี่ยนป้ายบอกความสูงของสะพานที่เกิดเหตุให้ตรงกับความเป็นจริง ทำให้ น.เชื่อว่าสะพานนั้นมีความสูง 5 เมตร ตามที่ปิดป้ายบอกไว้ เช่น สะพานลอย 6 สะพานที่ น.ขับลอดผ่านมาแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นการประมาทเลินเล่อจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท ข.
การที่ น.มิได้ขับรถในช่องทางเดินรถด้านซ้ายซึ่งติดกับขอบทางเท้าแต่ขับคร่อมเส้นแบ่งครึ่งช่องทางเดินรถช่องซ้ายและช่องขวาและบรรทุกสินค้าสูงกว่า 3 เมตร จากพื้นถนนโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 4(พ.ศ. 2522) ข้อ 1(3) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 จนเป็นเหตุให้เกิดชนคานใต้สะพานลอยนั้นเป็นเพียงความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกซึ่งมิได้เป็นผลโดยตรงที่ก่อให้เกิดการละเมิดดังกล่าว และรถบรรทุกสิ่งของอาจจะบรรทุกสิ่งของสูงเกินกว่า 3 เมตร ได้หากได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่โจทก์ใช้รถบรรทุกคอนเทนเนอร์สูงเกินกว่า 3 เมตร จึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมายที่บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาด โจทก์จึงมิได้ประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด.(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2530 ทั้งสองวรรค)
การที่ น.มิได้ขับรถในช่องทางเดินรถด้านซ้ายซึ่งติดกับขอบทางเท้าแต่ขับคร่อมเส้นแบ่งครึ่งช่องทางเดินรถช่องซ้ายและช่องขวาและบรรทุกสินค้าสูงกว่า 3 เมตร จากพื้นถนนโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 4(พ.ศ. 2522) ข้อ 1(3) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 จนเป็นเหตุให้เกิดชนคานใต้สะพานลอยนั้นเป็นเพียงความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกซึ่งมิได้เป็นผลโดยตรงที่ก่อให้เกิดการละเมิดดังกล่าว และรถบรรทุกสิ่งของอาจจะบรรทุกสิ่งของสูงเกินกว่า 3 เมตร ได้หากได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่โจทก์ใช้รถบรรทุกคอนเทนเนอร์สูงเกินกว่า 3 เมตร จึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมายที่บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาด โจทก์จึงมิได้ประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด.(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2530 ทั้งสองวรรค)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3063/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ให้เช่ารถไม่ต้องรับผิดในละเมิดจากผู้เช่า หากการให้เช่าไม่ขัดกฎหมายควบคุมการขนส่ง
กฎกระทรวงฉบับที่ 36 (พ.ศ. 2519) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ พุทธศักราช 2473 ข้อ 8(5) ที่กำหนดให้ผู้รับอนุญาตให้ประกอบการรับจ้างบรรทุกคนโดยสารได้ไม่เกินเจ็ดคนในท้องที่กรุงเทพมหานคร ต้องไม่ยินยอมให้ผู้ขับรถซึ่งเป็นลูกจ้างของบริษัทจำกัดหรือสมาชิกของสหกรณ์หรือบุคคลอื่นเช่ารถของบริษัทจำกัดหรือสหกรณ์ไปหารายได้นั้นมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อควบคุมการประกอบการรับจ้างบรรทุกคนโดยสารของผู้ที่ได้รับใบอนุญาตมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองบุคคลภายนอก หากผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการฝ่าฝืนกฎกระทรวงโดยนำรถของตนไปให้บุคคลอื่นเช่าหารายได้ ก็อาจได้รับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรืออาจถูกนายทะเบียนยานพาหนะสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการเท่านั้น ผู้รับอนุญาตให้ประกอบการหาจำต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ผู้เช่าได้กระทำขึ้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากรถลากจูงบรรทุกเสาเข็มโดยประมาท และความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง
รถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับมาในเวลากลางคืนลากจูงรถพ่วงบรรทุกเสาเข็มคอนกรีตยาวประมาณ 25 เมตรมาด้วย 2 ต้นไม่มีสัญญาณไฟตามแนวความยาวของเสาเข็ม เมื่อรถลากจูงเลี้ยวขวาจากถนนหนึ่งเข้าอีกถนนหนึ่งไปแล้ว ตัวรถพ่วงเสาเข็มยังทะแยงขวางถนนอยู่เป็นเหตุให้รถจี๊ปตรวจการณ์ปะทะกับส่วนกลางของเสาเข็มถูกลากติดไปกับส่วนหน้าของรถพ่วงและอัดติดอยู่ใต้เสาเข็มผู้ตายซึ่งนั่งมาในรถจี๊ปถึงแก่ความตายทันที ดังนี้เป็นความประมาทของจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 2 รับว่าจำเลยที่ 1 รับเหมาขนเสาเข็มโดยใช้รถของห้างจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 2 ยังได้ไปตกลงเรื่องค่าเสียหายกับฝ่ายโจทก์ หุ้นส่วนคนหนึ่งของจำเลยที่ 2 เบิกความว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เป็นคนขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 บรรทุกเสาเข็มไปส่งให้แก่ลูกค้าในวันเกิดเหตุเช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2
จำเลยที่ 2 รับว่าจำเลยที่ 1 รับเหมาขนเสาเข็มโดยใช้รถของห้างจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 2 ยังได้ไปตกลงเรื่องค่าเสียหายกับฝ่ายโจทก์ หุ้นส่วนคนหนึ่งของจำเลยที่ 2 เบิกความว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เป็นคนขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 บรรทุกเสาเข็มไปส่งให้แก่ลูกค้าในวันเกิดเหตุเช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทจากการขนส่งเสาเข็มโดยรถลากจูง และความรับผิดของผู้ว่าจ้างต่อลูกจ้าง
รถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับมาในเวลากลางคืนลากจูงรถพ่วงบรรทุกเสาเข็มคอนกรีตยาวประมาณ 25 เมตรมาด้วย 2 ต้น ไม่มีสัญญาณไฟตามแนวความยาวของเสาเข็ม เมื่อรถลากจูงเลี้ยวขวาจากถนนหนึ่งเข้าอีกถนนหนึ่งไปแล้ว ตัวรถพ่วงเสาเข็มยังทะแยงขวางถนนอยู่ เป็นเหตุให้รถจี๊ปตรวจการณ์ปะทะกับส่วนกลางของเสาเข็มถูกลากติดไปกับส่วนหน้าของรถพ่วงและอัดติดอยู่ใต้เสาเข็มผู้ตายซึ่งนั่งมาในรถจี๊ปถึงแก่ความตายทันที ดังนี้เป็นความประมาทของจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 2 รับว่าจำเลยที่ 1 รับเหมาขนเสาเข็มโดยใช้รถของห้างจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 2 ยังได้ไปตกลงเรื่องค่าเสียหายกับฝ่ายโจทก์ หุ้นส่วนคนหนึ่งของจำเลยที่ 2 เบิกความว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เป็นคนขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 บรรทุกเสาเข็มไปส่งให้แก่ลูกค้าในวันเกิดเหตุเช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2
จำเลยที่ 2 รับว่าจำเลยที่ 1 รับเหมาขนเสาเข็มโดยใช้รถของห้างจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 2 ยังได้ไปตกลงเรื่องค่าเสียหายกับฝ่ายโจทก์ หุ้นส่วนคนหนึ่งของจำเลยที่ 2 เบิกความว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เป็นคนขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 บรรทุกเสาเข็มไปส่งให้แก่ลูกค้าในวันเกิดเหตุเช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ชำระบัญชีละเลยการชำระหนี้ก่อนเฉลี่ยคืนเงินให้ผู้ถือหุ้น ถือเป็นการละเมิดต่อเจ้าหนี้
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีบริษัทลูกหนี้รู้อยู่แล้วว่าบริษัทลูกหนี้เป็นหนี้บริษัทเจ้าหนี้เป็นเงินจำนวนหนึ่ง แต่ไม่ได้จัดการใช้หนี้ให้บริษัทเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1250 หรือวางเงินแทนชำระหนี้ตามมาตรา 1264 กลับเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อเฉลี่ยคืนเงินที่เหลือแก่บรรดาผู้ถือหุ้นไปจนหมด จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1269 แสดงว่าผู้ร้องจงใจปฏิบัติหน้าที่โดยฝ่าฝืนกฎหมายอันเป็นการละเมิดต่อบริษัทเจ้าหนี้ตาม มาตรา 422
เมื่อหนี้สินระหว่างบริษัทเจ้าหนี้และบริษัทลูกหนี้ยังไม่ได้รับการชำระสะสางให้เสร็จสิ้นไป การชำระบัญชีของบริษัทลูกหนี้ก็ยังไม่สำเร็จลงและผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีบริษัทลูกหนี้มิได้วางเงินที่เหลือตามบทบัญญัติว่าด้วยวางทรัพย์สินแทนชำระหนี้ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติเฉลี่ยคืนเงินที่เหลือ การกระทำของผู้ร้องไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1270 ผู้ร้องจึงจะอ้างว่าได้กระทำไปโดยสุจริต ตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่ได้
เมื่อหนี้สินระหว่างบริษัทเจ้าหนี้และบริษัทลูกหนี้ยังไม่ได้รับการชำระสะสางให้เสร็จสิ้นไป การชำระบัญชีของบริษัทลูกหนี้ก็ยังไม่สำเร็จลงและผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีบริษัทลูกหนี้มิได้วางเงินที่เหลือตามบทบัญญัติว่าด้วยวางทรัพย์สินแทนชำระหนี้ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติเฉลี่ยคืนเงินที่เหลือ การกระทำของผู้ร้องไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1270 ผู้ร้องจึงจะอ้างว่าได้กระทำไปโดยสุจริต ตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่ได้