คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 422

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ชำระบัญชีละเลยการชำระหนี้ก่อนเฉลี่ยคืนเงินให้ผู้ถือหุ้น ถือเป็นการละเมิดต่อเจ้าหนี้
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีบริษัทลูกหนี้รู้อยู่แล้วว่าบริษัทลูกหนี้เป็นหนี้บริษัทเจ้าหนี้เป็นเงินจำนวนหนึ่ง แต่ไม่ได้จัดการใช้หนี้ให้บริษัทเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1250 หรือวางเงินแทนชำระหนี้ตามมาตรา 1264 กลับเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อเฉลี่ยคืนเงินที่เหลือแก่บรรดาผู้ถือหุ้นไปจนหมด จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1269 แสดงว่าผู้ร้องจงใจปฏิบัติหน้าที่โดยฝ่าฝืนกฎหมายอันเป็นการละเมิดต่อบริษัทเจ้าหนี้ตาม มาตรา 422
เมื่อหนี้สินระหว่างบริษัทเจ้าหนี้และบริษัทลูกหนี้ยังไม่ได้รับการชำระสะสางให้เสร็จสิ้นไป การชำระบัญชีของบริษัทลูกหนี้ก็ยังไม่สำเร็จลงและผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีบริษัทลูกหนี้มิได้วางเงินที่เหลือตามบทบัญญัติว่าด้วยวางทรัพย์สินแทนชำระหนี้ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติเฉลี่ยคืนเงินที่เหลือ การกระทำของผู้ร้องไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1270 ผู้ร้องจึงจะอ้างว่าได้กระทำไปโดยสุจริต ตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 381/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับขี่และการละเลยการบรรเทาความเสียหาย: ผลกระทบต่อความรับผิดชอบทางละเมิด
ว. บุตรผู้เยาว์ของจำเลยขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยความประมาทชนรถยนต์โดยสารโจทก์ซึ่งลูกจ้างของโจทก์ขับสวนทางมารถยนต์โดยสารทับรถจักรยานยนต์ ว. พาครูดไปตามถนนจนเกิดไฟลุกไหม้ขึ้นที่รถจักรยานยนต์ ลูกจ้างของโจทก์มีโอกาสจะขับรถถอยหลังออกไปให้พ้นจากรถจักรยานยนต์ได้ แต่ไม่กระทำกลับทิ้งรถหลบหนีไป จนเป็นเหตุให้ไฟลุกลามไปไหม้รถโดยสารโจทก์เสียหาย ดังนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับความเสียหายของรถโจทก์ถือได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายก่อให้เกิดความเสียหายอยู่ด้วยและเป็นฝ่ายที่ก่อให้ความเสียหายเกิดขึ้นยิ่งกว่าฝ่ายจำเลย ค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับทั้งหมดจึงให้ตกเป็นพับแก่โจทก์
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าขณะเกิดเหตุลูกจ้างของโจทก์จะขับรถโดยสารอยู่ในช่องทางเดินรถช่องที่ 3 อันเป็นการปฏิบัติผิดต่อกฎข้อบังคับในการจราจรตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 ที่บังคับให้รถยนต์โดยสารประจำทางวิ่งในช่องทางเดินรถช่องที่ 1 หรือช่องทางด้านซ้ายสุด แต่การปะทะกันของรถทั้งสองคันก็หาใช่ผลโดยตรงที่เกิดจากการขับรถผิดต่อกฎข้อบังคับในการจราจรของลูกจ้างโจทก์ไม่ หากแต่เป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของ ว. ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 381/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย: การแบ่งความรับผิดชอบเมื่อทั้งสองฝ่ายมีส่วนในการก่อเหตุ
ว. บุตรผู้เยาว์ของจำเลยขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยความประมาทชนรถยนต์โดยสารโจทก์ซึ่งลูกจ้างของโจทก์ขับสวนทางมารถยนต์โดยสารทับรถจักรยานยนต์ ว. พาครูดไปตามถนนจนเกิดไฟลุกไหม้ขึ้นที่รถจักรยานยนต์ ลูกจ้างของโจทก์มีโอกาสจะขับรถถอยหลังออกไปให้พ้นจากรถจักรยานยนต์ได้ แต่ไม่กระทำกลับทิ้งรถหลบหนีไป จนเป็นเหตุให้ไฟลุกลามไปไหม้รถโดยสารโจทก์เสียหาย ดังนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับความเสียหายของรถโจทก์ถือได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายก่อให้เกิดความเสียหายอยู่ด้วยและเป็นฝ่ายที่ก่อให้ความเสียหายเกิดขึ้นยิ่งกว่าฝ่ายจำเลย ค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับทั้งหมด จึงให้ตกเป็นพับแก่โจทก์
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าขณะเกิดเหตุลูกจ้างของโจทก์จะขับรถโดยสารอยู่ในช่องทางเดินรถช่องที่ 3 อันเป็นการปฏิบัติผิดต่อกฎข้อบังคับในการจราจรตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477ที่บังคับให้รถยนต์โดยสารประจำทางวิ่งในช่องทางเดินรถช่องที่ 1 หรือช่องทางด้านซ้ายสุด แต่การปะทะกันของรถทั้งสองคันก็หาใช่ผลโดยตรงที่เกิดจากการขับรถผิดต่อกฎข้อบังคับในการจราจรของลูกจ้างโจทก์ไม่ หากแต่เป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของ ว. ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2961/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางถนน: ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ประมาทเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย
ผู้ตายขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่ชำนาญพอ ขับออกจากทางโทโดยประมาทพุ่งเข้าชนรถยนต์จำเลยที่ขับอยู่ในทางเอกดังนี้ ความเสียหายเกิดขึ้นจากความผิดของผู้ตายฝ่ายเดียว หาใช่เป็น ผลโดยตรงที่เกิดจากการที่จำเลยขับรถยนต์เมื่อจะผ่านทางแยกด้วยความเร็วประมาณ 30-50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เกินอัตราที่กำหนดอันเป็นการฝ่าฝืนบทบังคับแห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ แต่อย่างใดไม่ ฉะนั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2961/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในเหตุละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ผู้ขับขี่ทางโทประมาทเป็นเหตุให้ชนรถทางเอก
ผู้ตายขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่ชำนาญพอ ขับรถทางโทโดยประมาทพุ่งเข้าชนรถยนต์จำเลยที่ขับอยู่ในทางเอก ดังนี้ ความเสียหายเกิดขึ้นจากความผิดของผู้ตายฝ่ายเดียว หาใช่เป็นผลโดยตรงที่เกิดจากการที่จำเลยขับรถยนต์ เมื่อจะผ่านทางแยกด้วยความเร็วประมาณ 30 - 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เกินอัตราที่กำหนดอันเป็นการฝ่าฝืนบทบังคับแห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก แต่อย่างใดไม่ ฉะนั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2614/2522 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเลยหน้าที่ปิดแผงกั้นทางรถไฟทำให้เกิดอุบัติเหตุ ผู้รับผิดชอบต้องร่วมรับผิดชอบค่าเสียหาย
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย -จำเลยที่ 3 มีหน้าที่ปิดกั้นแผงกั้นถนนเมื่อมีขบวนรถไฟวิ่งผ่านตรงที่ทางรถไฟตัดผ่านถนน ในวันเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 ละทิ้งหน้าที่ไป ตามพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวง พระพุทธศักราช 2464 มาตรา 72 บัญญัติว่า เมื่อทางรถไฟผ่านข้ามถนนสำคัญเสมอระดับ ให้ทำประตูหรือขึงโซ่หรือทำราวกั้นขวางถนน ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่โดยตรงของจำเลยที่ 3 ต้องป้องกันภัยในการที่จะเดินรถไฟตัดผ่านถนน การที่จำเลยที่ 2 ไม่นำแผงมาปิดกั้นถนนขณะที่ขบวนรถไฟจะแล่นผ่านจึงเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ถือได้ว่าเป็นการประมาทอย่างร้ายแรง ถ้าหากปิดแผงกั้นถนนแล้ว รถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ก็ไม่อาจขับผ่านเข้าไปถึงทางรถไฟจนเกิดเหตุชนกันได้ จำเลยที่ 2 มีส่วนประมาทมากกว่าโจทก์ที่ 1 ที่จำเลยที่ 3 อ้างว่าวันเกิดเหตุพนักงานรถไฟบางส่วนนัดหยุดงาน ไม่สามารถหาคนมาปฏิบัติงานให้ทันท่วงทีได้นั้น จะถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ได้ จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิด
โจทก์มีสิทธิเรียกค่ารักษาพยาบาลที่ต้องรักษาต่อที่บ้าน ค่าทำศัลยกรรมตกแต่งใบหน้า และค่าที่ต้องทนทุกข์เวทนาที่ได้รับจากการละเมิดของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2614/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่รถไฟและการละเลยหน้าที่ ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถไฟชนรถยนต์ ผู้ประกอบการต้องรับผิด
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ปิดกั้นแผงกั้นถนนเมื่อมีขบวนรถไฟวิ่งผ่านตรงที่ทางรถไฟตัดผ่านถนน ในวันเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ละทิ้งหน้าที่ไป ตามพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวงพระพุทธศักราช 2464 มาตรา 72 บัญญัติว่าเมื่อทางรถไฟผ่านข้ามถนนสำคัญเสมอระดับ ให้ทำประตูหรือขึงโซ่หรือทำราวกั้นขวางถนน ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่โดยตรงของจำเลยที่ 3 ต้องป้องกันภัยในการที่จะเดินรถไฟตัดผ่านถนนการที่จำเลยที่ 2 ไม่นำแผงมาปิดกั้นถนนขณะที่ขบวนรถไฟจะแล่นผ่านจึงเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ถือได้ว่าเป็นการประมาทอย่างร้ายแรงถ้าหากปิดแผงกั้นถนนแล้ว รถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ก็ไม่อาจขับผ่านเข้าไปถึงทางรถไฟจนเกิดเหตุชนกันได้ จำเลยที่ 2 มีส่วนประมาทมากกว่าโจทก์ที่ 1 ที่จำเลยที่ 3 อ้างว่าวันเกิดเหตุพนักงานรถไฟบางส่วนนัดหยุดงาน ไม่สามารถหาคนมาปฏิบัติงานให้ทันท่วงทีได้นั้น จะถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ได้ จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิด
โจทก์มีสิทธิเรียกค่ารักษาพยาบาลที่ต้องรักษาต่อที่บ้าน ค่าทำศัลยกรรมตกแต่งใบหน้า และค่าที่ต้องทนทุกข์เวทนาที่ได้รับจากการละเมิดของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2614/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่รถไฟละเลยปิดกั้นถนน ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถไฟชนรถยนต์ ผู้ประกอบการต้องรับผิดร่วมด้วย
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ปิดกั้นแผงกั้นถนนเมื่อมีขบวนรถไฟวิ่งผ่านตรงที่ทางรถไฟตัดผ่านถนน ในวันเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ละทิ้งหน้าที่ไป ตามพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวงพระพุทธศักราช 2464 มาตรา 72 บัญญัติว่าเมื่อทางรถไฟผ่านข้ามถนนสำคัญเสมอระดับ ให้ทำประตูหรือขึงโซ่หรือทำราวกั้นขวางถนน ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่โดยตรงของจำเลยที่ 3 ต้องป้องกันภัยในการที่จะเดินรถไฟตัดผ่านถนนการที่จำเลยที่ 2 ไม่นำแผงมาปิดกั้นถนนขณะที่ขบวนรถไฟจะแล่นผ่านจึงเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ถือได้ว่าเป็นการประมาทอย่างร้ายแรงถ้าหากปิดแผงกั้นถนนแล้ว รถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ก็ไม่อาจขับผ่านเข้าไปถึงทางรถไฟจนเกิดเหตุชนกันได้ จำเลยที่ 2 มีส่วนประมาทมากกว่าโจทก์ที่ 1 ที่จำเลยที่ 3 อ้างว่าวันเกิดเหตุพนักงานรถไฟบางส่วนนัดหยุดงาน ไม่สามารถหาคนมาปฏิบัติงานให้ทันท่วงทีได้นั้น จะถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ได้ จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิด
โจทก์มีสิทธิเรียกค่ารักษาพยาบาลที่ต้องรักษาต่อที่บ้าน ค่าทำศัลยกรรมตกแต่งใบหน้า และค่าที่ต้องทนทุกข์เวทนาที่ได้รับจากการละเมิดของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการชนกับรถไฟ: การปฏิบัติตามกฎหมายรถไฟและการพิจารณาความสำคัญของทางตัด
มาตรา 72 และ 73 แห่งพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวงพระพุทธศักราช 2464 ให้อำนาจการรถไฟฯ เป็นผู้พิจารณาว่าทางรถไฟผ่านเข้ามถนนสายใดสำคัญหรือไม่ ถ้าเป็นทางสายสำคัญก็ให้ปฏิบัติตามมาตรา 72 ถ้าเป็นทางสายไม่สู้สำคัญก็ให้ปฏิบัติตามมาตรา 73 หาได้บังคับให้การรถไฟฯ จำต้องทำประตูหรือขึงโซ่หรือทำราวกั้นขวางถนนบรรดาที่ตัดผ่านทางรถไฟทุกสายไม่
ก่อนถึงทางรถไฟตรงที่เกิเหตุมีป้ายบอกว่าระวังรถไฟ มีป้ายใช้ความเร็ว 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตอนจะถึงทางรถไฟมีเลข 20 แล้วมีเสาแผงสัญญาณไฟ ขณะนั้นสัญญาณไฟวาบและระฆังทำงานได้ตามปกติ แสดงว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามมาตรา 73 แล้ว ไม่เป็นการประมาทเพราะฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของการรถไฟฯ และความประมาทของผู้ขับขี่ กรณีทางตัดทางรถไฟ
มาตรา 72 และ 73 แห่งพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวง พระพุทธศักราช 2464 ให้อำนาจการรถไฟฯ เป็นผู้พิจารณาว่าทางรถไฟผ่านข้ามถนนสายใดสำคัญหรือไม่ ถ้าเป็นทางสายสำคัญก็ให้ปฏิบัติตามมาตรา 72 ถ้าเป็นทางสายไม่สู้สำคัญก็ให้ปฏิบัติตามมาตรา 73 หาได้บังคับให้การรถไฟฯ จำต้องทำประตูหรือขึงโซ่หรือทำราวกั้นขวางถนนบรรดาที่ตัดผ่านทางรถไฟทุกสายไม่
ก่อนถึงทางรถไฟตรงที่เกิดเหตุมีป้ายบอกว่าระวังรถไฟมีป้ายใช้ความเร็ว 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตอนจะถึงทางรถไฟมีเลข 20 แล้วมีเสาแผงสัญญาณไฟ ขณะนั้นสัญญาณไฟวาบและระฆังทำงานได้ตามปกติ แสดงว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามมาตรา 73 แล้ว ไม่เป็นการประมาทเพราะฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
of 7