พบผลลัพธ์ทั้งหมด 86 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากละเมิดและการก่อสร้างใกล้สถานศึกษา ศาลไม่รับวินิจฉัยประเด็นความรับผิดตามมาตรา 428
คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองไม่ได้กล่าวเลยว่า จำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ก่อสร้างอาคารในลักษณะจ้างแรงงานหรือจ้างทำของอันจะเป็นการต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 428 แต่คงกล่าวรวม ๆ กันไปว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้ให้การปฏิเสธไว้โดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ได้จ้างเหมาจำเลยที่ 2 ในลักษณะจ้างทำของไปแล้ว จึงไม่ต้องรับผิด คงให้การแต่เพียงว่าจำเลยที่ 1 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 เป็นผู้ก่อสร้างอาคารและรับผิดในความเสียหายต่อบุคคลภายนอก อีกทั้งได้ประกันความเสียหายไว้แก่บริษัทประกันภัย และจำเลยทั้งสองได้ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ทั้งสองไปแล้วจึงไม่ต้องรับผิด ด้วยเหตุนี้การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเกี่ยวกับประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 428 จึงไม่ชอบ ตลอดจนการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวรวม ๆ กันไปกับประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหายเคลือบคลุมหรือไม่ ก็เป็นการไม่ชอบเช่นเดียวกัน ฎีกาของจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการที่ต้องร่วมรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 428 หรือไม่ ถือเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ในช่วงที่มีการก่อสร้างอาคารคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ซึ่งสูงถึง 29 ชั้น และอยู่ห่างจากโรงเรียนของโจทก์ทั้งสองเพียง 4 เมตร มีวัสดุก่อสร้างตกเรี่ยราดเกลื่อนกลาดไปทั่วบริเวณโรงเรียน หล่นใส่อาคารเรียน โรงฝึก และส่วนอื่น ๆ ได้รับความเสียหาย นักเรียนสมัครเข้าเรียนในโรงเรียนน้อยลงผิดปกติเป็นเวลาถึง 3 ปี จนกระทั่งเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงมีนักเรียนมาสมัครเข้าเรียนเพิ่มขึ้นเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ เมื่อพิจารณาว่าสถานศึกษาต้องเป็นสถานที่สงบเงียบ ร่มรื่น สะอาดสะอ้าน ปลอดภัย เมื่อผู้ประสบพบเห็นเหตุการณ์ก่อสร้างที่เกรงว่าน่าจะเกิดอันตราย จึงไม่พึงปรารถนาจะส่งบุตรหลานเข้าไปเล่าเรียน การที่มีนักเรียนมาสมัครเรียนน้อยลงจึงถือเป็นความเสียหายโดยตรงที่โจทก์ทั้งสองพึงได้รับจากการกระทำละเมิดดังกล่าว โจทก์ทั้งสองชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้
ในช่วงที่มีการก่อสร้างอาคารคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ซึ่งสูงถึง 29 ชั้น และอยู่ห่างจากโรงเรียนของโจทก์ทั้งสองเพียง 4 เมตร มีวัสดุก่อสร้างตกเรี่ยราดเกลื่อนกลาดไปทั่วบริเวณโรงเรียน หล่นใส่อาคารเรียน โรงฝึก และส่วนอื่น ๆ ได้รับความเสียหาย นักเรียนสมัครเข้าเรียนในโรงเรียนน้อยลงผิดปกติเป็นเวลาถึง 3 ปี จนกระทั่งเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงมีนักเรียนมาสมัครเข้าเรียนเพิ่มขึ้นเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ เมื่อพิจารณาว่าสถานศึกษาต้องเป็นสถานที่สงบเงียบ ร่มรื่น สะอาดสะอ้าน ปลอดภัย เมื่อผู้ประสบพบเห็นเหตุการณ์ก่อสร้างที่เกรงว่าน่าจะเกิดอันตราย จึงไม่พึงปรารถนาจะส่งบุตรหลานเข้าไปเล่าเรียน การที่มีนักเรียนมาสมัครเรียนน้อยลงจึงถือเป็นความเสียหายโดยตรงที่โจทก์ทั้งสองพึงได้รับจากการกระทำละเมิดดังกล่าว โจทก์ทั้งสองชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ควบคุมงานขุดเจาะต้องรับผิดร่วมกับผู้รับเหมาในความเสียหายจากการขุดเจาะ แม้ควบคุมตามมาตรฐานแต่ยังประมาทเลินเล่อ อายุความเริ่มนับจากวันสิ้นสุดการกระทำ
โจทก์ได้ระบุไว้ในบัญชีระบุพยานโจทก์ว่า ณ. เป็นผู้เชี่ยวชาญศาลและต่อมาได้ขอส่งรายงานของณ.ตามคำแถลงของณ.โดยจำเลยที่ 3 มิได้คัดค้านว่า ณ.มิใช่เป็นผู้เชี่ยวชาญศาล จึงต้องถือว่า ณ. ได้ลงชื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญไว้ในทะเบียนผู้เชี่ยวชาญของศาลแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นได้มีหมายเรียก ณ.ย่อมถือโดยปริยายว่า ณ.เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 99 แล้ว ศาลไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งแต่งตั้ง ณ. เป็นผู้เชี่ยวชาญซ้ำซ้อนอีก และการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะแต่งตั้งได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียกคู่ความมาตกลงให้กำหนดตัวผู้เชี่ยวชาญตามมาตรา 129(1) ณ.เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้ง จึงมีสิทธิแสดงความเห็นเป็นหนังสือเมื่อเป็นที่พอใจของศาลและไม่มีคู่ความฝ่ายใดเรียกร้องให้ ณ.มาศาลเพื่ออธิบายด้วยวาจาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 130 ความเห็นเป็นหนังสือของณ.ย่อมรับฟังได้ จำเลยที่ 3 รับจ้างจำเลยที่ 1 เป็นผู้ควบคุมดูแลการขุดเจาะลงเสาเข็มของจำเลยที่ 2 ซึ่งรับจ้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ตกลงทำสัญญากับจำเลยที่ 1 ว่า จะควบคุมให้มีวิธีการก่อสร้างที่ปลอดภัยและไม่มีมลภาวะแก่บริเวณก่อสร้างหรือบริเวณข้างเคียง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ขุดเจาะลงเสาเข็มเป็นเหตุให้ทาวน์เฮาส์ของโจทก์เสียหายโดยนอกเหนือการควบคุมของจำเลยที่ 3 แม้จำเลยที่ 3 จะควบคุมการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตตลอดจนควบคุมการใช้เครื่องมือเครื่องจักรให้ถูกต้องตรงตามมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไปก็ตามแต่ความเสียหายของทาวน์เฮาส์ของโจทก์เกิดจากการขุดเจาะลงเสาเข็มที่จำเลยที่ 2 กระทำ โดยจำเลยที่ 3ควบคุม ย่อมแสดงว่ามาตรฐานทั่วไปที่จำเลยที่ 3 อ้างใช้ในการขุดเจาะลงเสาเข็มนั้น ไม่สามารถนำมาใช้ขุดเจาะลงเสาเข็มเพื่อสร้างตึกสูง 42 ชั้น และห้องใต้ดิน 2 ชั้น ได้ซึ่งจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ควบคุมต้องใช้ความระมัดระวังในส่วนนี้แต่จำเลยที่ 3 ยังควบคุมให้ขุดเจาะลงเสาเข็มโดยจำเลยที่ 3 ไม่ได้ควบคุมให้มีวิธีการก่อสร้างที่ปลอดภัยถือได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำโดยประมาทเลินเล่อแล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 3 ละเลยต่อหน้าที่ในการควบคุมหรือไม่ จำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย จำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นเหตุให้ห้องครัวของโจทก์เสียหายตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2534 และโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าเสียหายในเวลาเดียวกันซึ่งนับถึงวันฟ้องพ้นกำหนดปีหนึ่งแล้ว แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ยังคงดำเนินการขุดเจาะลงเสาเข็มซึ่งเป็นมูลเหตุของการทำละเมิดต่อไปจนถึงความเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 นั้น ย่อมจะต้องเกิดเพิ่มขึ้นอีกในทรัพย์อันเดียวกันตรงส่วนที่ได้รับความเสียหายเดิมจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ในช่วงแรก และส่วนที่เสียหายใหม่จากการกระทำละเมิดในช่วงหลังความเสียหายดังกล่าวนี้ย่อมไม่อาจแยกแยะได้ว่า ช่วงเวลาใดจำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์ เสียหายเป็นจำนวนมากน้อยเพียงใด เมื่อความเสียหายดังกล่าวเกี่ยวพันสืบเนื่องกันตลอดเวลาที่จำเลยที่ 2 ยังคงขุดเจาะลงเสาเข็มอยู่ เมื่อนับอายุความหนึ่งปีนับแต่วันสุดท้ายที่จำเลยที่ 2 ยังทำละเมิดอยู่คือวันที่ 21 มีนาคม 2535 เป็นวันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิด ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดอายุความหนึ่งปีนับแต่โจทก์ได้ฟ้องคดี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ ปัญหาว่า จำเลยที่ 3 มีสิทธิขอหักเงินส่วนที่จำเลยที่ 1และที่ 2 ได้ตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์หลังจากศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้วหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงและเป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249แต่ปัญหาว่าจำเลยที่ 3 จะมีสิทธิหักหนี้ดังกล่าวได้หรือไม่เป็นเรื่องขอหักกันในชั้นบังคับคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของจำเลยร่วมจากการขุดเจาะลงเสาเข็ม และอายุความการฟ้องละเมิด
โจทก์ได้ระบุไว้ในบัญชีระบุพยานโจทก์ว่า ณ.เป็นผู้เชี่ยวชาญศาลและต่อมาได้ขอส่งรายงานของ ณ.ตามคำแถลงของ ณ.โดยจำเลยที่ 3 มิได้คัดค้านว่า ณ.มิใช่เป็นผู้เชี่ยวชาญศาล จึงต้องถือว่า ณ.ได้ลงชื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญไว้ในทะเบียนผู้เชี่ยวชาญของศาลแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นได้มีหมายเรียก ณ. ย่อมถือโดยปริยายว่า ณ.เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 99 แล้ว ศาลไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งแต่งตั้ง ณ.เป็นผู้เชี่ยวชาญซ้ำซ้อนอีก และการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะแต่งตั้งได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียกคู่ความมาตกลงให้กำหนดตัวผู้เชี่ยวชาญตามมาตรา 129 (1)
ณ.เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้ง จึงมีสิทธิแสดงความเห็นเป็นหนังสือเมื่อเป็นที่พอใจของศาลและไม่มีคู่ความฝ่ายใดเรียกร้องให้ ณ.มาศาลเพื่ออธิบายด้วยวาจาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 130 ความเห็นเป็นหนังสือของ ณ.ย่อมรับฟังได้
จำเลยที่ 3 รับจ้างจำเลยที่ 1 เป็นผู้ควบคุมดูแลการขุดเจาะลงเสาเข็มของจำเลยที่ 2 ซึ่งรับจ้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ตกลงทำสัญญากับจำเลยที่ 1 ว่า จะควบคุมให้มีวิธีการก่อสร้างที่ปลอดภัยและไม่มีมลภาวะแก่บริเวณก่อสร้างหรือบริเวณข้างเคียง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ขุดเจาะลงเสาเข็มเป็นเหตุให้ทาวน์เฮาส์ของโจทก์เสียหายโดยนอกเหนือการควบคุมของจำเลยที่ 3แม้จำเลยที่ 3 จะควบคุมการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตตลอดจนควบคุมการใช้เครื่องมือเครื่องจักรให้ถูกต้องตรงตามมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไปก็ตามแต่ความเสียหายของทาวน์เฮาส์ของโจทก์เกิดจากการขุดเจาะลงเสาเข็มที่จำเลยที่ 2กระทำ โดยจำเลยที่ 3 ควบคุม ย่อมแสดงว่ามาตรฐานทั่วไปที่จำเลยที่ 3 อ้างใช้ในการขุดเจาะลงเสาเข็มนั้น ไม่สามารถนำมาใช้ขุดเจาะลงเสาเข็มเพื่อสร้างตึกสูง42 ชั้น และห้องใต้ดิน 2 ชั้น ได้ ซึ่งจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ควบคุมต้องใช้ความระมัดระวังในส่วนนี้ แต่จำเลยที่ 3 ยังควบคุมให้ขุดเจาะลงเสาเข็มโดยจำเลยที่ 3ไม่ได้ควบคุมให้มีวิธีการก่อสร้างที่ปลอดภัย ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำโดยประมาทเลินเล่อแล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 3 ละเลยต่อหน้าที่ในการควบคุมหรือไม่ จำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย
จำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นเหตุให้ห้องครัวของโจทก์เสียหายตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2534 และโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าเสียหายในเวลาเดียวกัน ซึ่งนับถึงวันฟ้องพ้นกำหนดปีหนึ่งแล้ว แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ยังคงดำเนินการขุดเจาะลงเสาเข็มซึ่งเป็นมูลเหตุของการทำละเมิดต่อไปจนถึงความเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 นั้น ย่อมจะต้องเกิดเพิ่มขึ้นอีกในทรัพย์อันเดียวกันตรงส่วนที่ได้รับความเสียหายเดิมจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ในช่วงแรก และส่วนที่เสียหายใหม่จากการกระทำละเมิดในช่วงหลังความเสียหายดังกล่าวนี้ย่อมไม่อาจแยกแยะได้ว่า ช่วงเวลาใดจำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์ เสียหายเป็นจำนวนมากน้อยเพียงใด เมื่อความเสียหายดังกล่าวเกี่ยวพันสืบเนื่องกันตลอดเวลาที่จำเลยที่ 2 ยังคงขุดเจาะลงเสาเข็มอยู่ เมื่อนับอายุความหนึ่งปีนับแต่วันสุดท้ายที่จำเลยที่ 2 ยังทำละเมิดอยู่คือวันที่ 21 มีนาคม 2535 เป็นวันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิด ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดอายุความหนึ่งปีนับแต่โจทก์ได้ฟ้องคดีคดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ปัญหาว่า จำเลยที่ 3 มีสิทธิขอหักเงินส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2ได้ตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์หลังจากศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้วหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงและเป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 แต่ปัญหาว่าจำเลยที่ 3 จะมีสิทธิหักหนี้ดังกล่าวได้หรือไม่เป็นเรื่องขอหักกันในชั้นบังคับคดีต่อไป
ณ.เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้ง จึงมีสิทธิแสดงความเห็นเป็นหนังสือเมื่อเป็นที่พอใจของศาลและไม่มีคู่ความฝ่ายใดเรียกร้องให้ ณ.มาศาลเพื่ออธิบายด้วยวาจาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 130 ความเห็นเป็นหนังสือของ ณ.ย่อมรับฟังได้
จำเลยที่ 3 รับจ้างจำเลยที่ 1 เป็นผู้ควบคุมดูแลการขุดเจาะลงเสาเข็มของจำเลยที่ 2 ซึ่งรับจ้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ตกลงทำสัญญากับจำเลยที่ 1 ว่า จะควบคุมให้มีวิธีการก่อสร้างที่ปลอดภัยและไม่มีมลภาวะแก่บริเวณก่อสร้างหรือบริเวณข้างเคียง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ขุดเจาะลงเสาเข็มเป็นเหตุให้ทาวน์เฮาส์ของโจทก์เสียหายโดยนอกเหนือการควบคุมของจำเลยที่ 3แม้จำเลยที่ 3 จะควบคุมการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตตลอดจนควบคุมการใช้เครื่องมือเครื่องจักรให้ถูกต้องตรงตามมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไปก็ตามแต่ความเสียหายของทาวน์เฮาส์ของโจทก์เกิดจากการขุดเจาะลงเสาเข็มที่จำเลยที่ 2กระทำ โดยจำเลยที่ 3 ควบคุม ย่อมแสดงว่ามาตรฐานทั่วไปที่จำเลยที่ 3 อ้างใช้ในการขุดเจาะลงเสาเข็มนั้น ไม่สามารถนำมาใช้ขุดเจาะลงเสาเข็มเพื่อสร้างตึกสูง42 ชั้น และห้องใต้ดิน 2 ชั้น ได้ ซึ่งจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ควบคุมต้องใช้ความระมัดระวังในส่วนนี้ แต่จำเลยที่ 3 ยังควบคุมให้ขุดเจาะลงเสาเข็มโดยจำเลยที่ 3ไม่ได้ควบคุมให้มีวิธีการก่อสร้างที่ปลอดภัย ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำโดยประมาทเลินเล่อแล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 3 ละเลยต่อหน้าที่ในการควบคุมหรือไม่ จำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย
จำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นเหตุให้ห้องครัวของโจทก์เสียหายตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2534 และโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าเสียหายในเวลาเดียวกัน ซึ่งนับถึงวันฟ้องพ้นกำหนดปีหนึ่งแล้ว แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ยังคงดำเนินการขุดเจาะลงเสาเข็มซึ่งเป็นมูลเหตุของการทำละเมิดต่อไปจนถึงความเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 นั้น ย่อมจะต้องเกิดเพิ่มขึ้นอีกในทรัพย์อันเดียวกันตรงส่วนที่ได้รับความเสียหายเดิมจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ในช่วงแรก และส่วนที่เสียหายใหม่จากการกระทำละเมิดในช่วงหลังความเสียหายดังกล่าวนี้ย่อมไม่อาจแยกแยะได้ว่า ช่วงเวลาใดจำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์ เสียหายเป็นจำนวนมากน้อยเพียงใด เมื่อความเสียหายดังกล่าวเกี่ยวพันสืบเนื่องกันตลอดเวลาที่จำเลยที่ 2 ยังคงขุดเจาะลงเสาเข็มอยู่ เมื่อนับอายุความหนึ่งปีนับแต่วันสุดท้ายที่จำเลยที่ 2 ยังทำละเมิดอยู่คือวันที่ 21 มีนาคม 2535 เป็นวันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิด ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดอายุความหนึ่งปีนับแต่โจทก์ได้ฟ้องคดีคดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ปัญหาว่า จำเลยที่ 3 มีสิทธิขอหักเงินส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2ได้ตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์หลังจากศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้วหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงและเป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 แต่ปัญหาว่าจำเลยที่ 3 จะมีสิทธิหักหนี้ดังกล่าวได้หรือไม่เป็นเรื่องขอหักกันในชั้นบังคับคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8402/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับเหมา เจ้าของที่ดิน และวิศวกรควบคุมงาน กรณีอาคารก่อสร้างสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินข้างเคียง
แม้จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นเพียงผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก่อสร้างอาคารในที่ดินที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก่อสร้างอาคารโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะเป็นผู้เลือกหาจำเลยที่ 1 และที่ 2ให้เป็นผู้รับจ้าง การก่อสร้างต้องเป็นไปตามการงานที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 สั่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำตามข้อบังคับในสัญญาจ้าง จำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 428
จำเลยที่ 7 เป็นวิศวกรผู้ควบคุมก่อสร้างอาคาร มีหน้าที่โดยตรงในการควบคุมดูแลการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่กำหนดและตามหลักวิชาการ ถ้าจำเลยที่ 7 ควบคุมดูแลให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขุดดินทำฐานรากของอาคารตามหลักวิชาการด้วยความระมัดระวังอย่างเพียงพอแล้ว ย่อมจะไม่เกิดผลเสียหายแก่ตึกแถวของโจทก์ จึงถือว่าจำเลยที่ 7 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อจนเกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 7 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 รับผิดต่อโจทก์ด้วย
จำเลยที่ 7 เป็นวิศวกรผู้ควบคุมก่อสร้างอาคาร มีหน้าที่โดยตรงในการควบคุมดูแลการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่กำหนดและตามหลักวิชาการ ถ้าจำเลยที่ 7 ควบคุมดูแลให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขุดดินทำฐานรากของอาคารตามหลักวิชาการด้วยความระมัดระวังอย่างเพียงพอแล้ว ย่อมจะไม่เกิดผลเสียหายแก่ตึกแถวของโจทก์ จึงถือว่าจำเลยที่ 7 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อจนเกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 7 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 รับผิดต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันจากงานต่อเติมอาคารที่ทำให้เกิดความเสียหายต่ออาคารข้างเคียง
จำเลยที่2และที่3กับจำเลยที่4จ้างจำเลยที่1ต่อเติมอาคารของจำเลยที่2ซึ่งอยู่ในครอบครองของจำเลยที่3และอาคารของจำเลยที่4ทำให้อาคารโจทก์ได้รับความเสียหายโดยจำเลยที่2ที่3และที่4เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำประกอบกับไม่ปรากฎแน่ชัดว่าความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นเพราะการกระทำของจำเลยคนใดจำเลยทั้งสี่จึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา428และมาตรา432วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมต่อความเสียหายจากการต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยที่ 4 จ้างจำเลยที่ 1ต่อเติมอาคาร ทำให้อาคารโจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำเพราะเป็นการต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ ประกอบกับไม่ปรากฏแน่ชัดว่าความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นเพราะการกระทำของจำเลยคนใด จำเลยทั้งสี่จึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 428 และมาตรา 432 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้เกิดความเสียหายกับทรัพย์สินข้างเคียง
จำเลยที่2และที่3กับจำเลยที่4จ้างจำเลยที่1ต่อเติมอาคารทำให้อาคารโจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยที่2ที่3และที่4เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำเพราะเป็นการต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการประกอบกับไม่ปรากฎแน่ชัดว่าความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นเพราะการกระทำของจำเลยคนใดจำเลยทั้งสี่จึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา428และมาตรา432วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างตอกเสาเข็มใกล้ที่ดินผู้อื่น กรณีเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน
คดีระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แม้โจทก์ที่ 2 จะฟ้องเรียกค่าเสียหายรวมมากับโจทก์ที่ 1 แต่ก็เป็นความเสียหายที่แต่ละคนได้รับต่างหากแยกจากกัน การคำนวณทุนทรัพย์ ของแต่ละคนจึงต้องแยกจากกันด้วย เมื่อคดีในส่วนของโจทก์ที่ 2มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินที่มีการก่อสร้างอาคารและตอกเสาเข็ม จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขออนุญาตก่อสร้าง โดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 เป็นผู้จ้างให้จำเลยที่ 4 ดำเนินการตอกเสาเข็ม อีกทั้งจำเลยที่ 1ก็เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 3จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงมีผลประโยชน์ร่วมกันในการก่อสร้างถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นผู้ร่วมกันจ้างจำเลยที่ 4ในการตอกเสาเข็ม จำเลยที่ 4 ตอกเสาเข็มตามแผนผังแบบแปลนการก่อสร้างของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ห่างรั้วของโจทก์เพียง 2 เมตร ย่อมตระหนักดีว่าการตอกเสาเข็มขนาดใหญ่ย่อมทำให้ที่ดินข้างเคียงถูกกระทบกระเทือนอย่างแรงอันจะเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหายได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำจึงต้องรับผิดในความเสียหารของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างตอกเสาเข็มใกล้เคียงที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้อื่น
จำเลยที่1เป็นเจ้าของที่ดินที่มีการก่อสร้างและตอกเสาเข็มยินยอมให้จำเลยที่2ขออนุญาตก่อสร้างบนที่ดินมีจำเลยที่3เป็นผู้จ้างให้จำเลยที่4ดำเนินการตอกเสาเข็มบนที่ดินเมื่อเกิดความเสียหายแก่อาคารของโจทก์ที่1ซึ่งอยู่บนที่ดินข้างเคียงจำเลยที่1ถึงที่3ก็เคยเข้าไปตรวจดูแลซ่อมแซมให้บางส่วนพฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่1ถึงที่3มีผลประโยชน์ร่วมกันในการก่อสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่1แม้จำเลยที่3จะเป็นผู้จ้างให้จำเลยที่4ตอกเสาเข็มแต่ก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยที่1ถึงที่3ด้วยถือได้ว่าจำเลยที่1ถึงที่3เป็นผู้ร่วมกันจ้างจำเลยที่4ในการตอกเสาเข็มซึ่งโดยปกติผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างเว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้างการที่จำเลยที่4ตอกเสาเข็มตามแผนผังแบบแปลนการก่อสร้างของจำเลยที่1ถึงที่3ห่างรั้วกำแพงของโจทก์เพียง2เมตรเท่ากับจำเลยที่4ได้ดำเนินการตามคำสั่งของจำเลยที่1ถึงที่3จำเลยที่1ถึงที่3ผู้ว่าจ้างจึงเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำอันทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่1 ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายของโจทก์ที่1โดยพิเคราะห์ตามคำเบิกความของ ย. พยานโจทก์ที่1ประกอบภาพถ่ายและใบประเมินราคาแล้วเห็นว่ากำแพงรั้วพื้นซีเมนต์ตัวอาคารและสระน้ำเสียหายเป็นจำนวนมากจึงเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2474/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างตอกเสาเข็มที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเรือนข้างเคียง
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับจ้างตอกเสาเข็มจากจำเลยที่ 1แม้จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ก่อสร้างอาคารได้แต่การตอกเสาเข็มก่อให้เกิดความเสียหายแก้บ้านโจทก์จะแก้ตัวให้พ้นผิดไม่ได้ การที่จำเลยที่ 1 ว่าจ้างจำเลยที่ 2ตอกเสาเข็มเพื่อสร้างอาคารสูง 30 ชั้น โดยจำเลยที่ 1เลือกจำเลยที่ 2 ให้ลงเสาเข็มโดยวิธีใช้ปั้นจั่นยกแท่งเหล็กตอกทั้ง ๆ ที่ตระหนักดีว่าจะทำให้ที่ดินข้างเคียงถูกกระทบกระเทือน อย่างแรงอันเป็นเหตุให้บ้านโจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 ส่วนจำเลยที่ 2เป็นผู้ประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามมาตรา 420