พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ภาษีอากร ไม่เป็นคดีภาษีอากรโดยตรง
ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ที่ศาลจังหวัดสงขลา ได้มีการจัดตั้งแผนกคดีภาษีอากรขึ้นในศาลแพ่ง ซึ่งมีอำนาจและเขตอำนาจเช่นเดียวกับศาลภาษีอากรกลาง แต่คดีนี้โจทก์ใช้สิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินกลับคืนมาเป็นมรดกของ น. ที่ค้างชำระค่าภาษีอากรอยู่แก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ภาษีอากรตามมาตรา 7(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 และไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของแผนกคดีภาษีอากรของศาลแพ่งตามมาตรา31 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 10 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวศาลจังหวัดสงขลารับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการพิสูจน์กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาท แม้มีคำพิพากษาถึงกรรมสิทธิ์แล้ว โจทก์ยังสามารถฟ้องพิสูจน์สิทธิของตนเองได้
คดีก่อนจำเลยในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้อง ท.ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยต่อศาลแรงงานกลางขอให้ขับไล่ ท. กับพวกให้ออกไปจากบ้านพิพาทศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า บ้านพิพาทเป็นของจำเลย ให้ ท.กับบริวารออกไปท. กับพวกไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษา จำเลยจึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ในบ้านพิพาทและให้ศาลแรงงานกลาง ออกหมายจับ ท.โจทก์มาฟ้องจำเลยในคดีนี้โดยบรรยายฟ้องว่าบ้านพิพาทเป็นของโจทก์ ที่จำเลยอ้างในคำฟ้องในคดีเดิมว่า บ้านพิพาทเป็นของจำเลยและนำเจ้าพนักงานบังคับคดี ไปยึดทรัพย์ในบ้านและออกหมายจับ ท.นั้นทำให้โจทก์เสียหาย คำฟ้องดังกล่าวเป็นกรณีที่โจทก์ กล่าวอ้างว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ แม้คำพิพากษา ของศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ของบ้านพิพาท ว่าเป็นของจำเลยซึ่งจำเลยใช้ยันบุคคลภายนอกได้ก็ตามแต่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกก็ยังมีสิทธิที่จะพิสูจน์ว่าโจทก์มีสิทธิดีกว่าได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2) ทั้งการที่โจทก์มิได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันปิดประกาศกำหนดเวลาให้โจทก์ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของ ท. ลูกหนี้ตาม คำพิพากษายื่นคำร้องดังกล่าว มาตรา 296 จัตวา(3) ก็เพียงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นบริวารของ ท. เท่านั้น ซึ่งมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด โจทก์จึงยังสามารถ โต้แย้งเป็นอย่างอื่นได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าโดยเป็น เจ้าของบ้านพิพาทหรือไม่การที่โจทก์ไม่ดำเนินการตาม มาตรา 296 จัตวา(3) จึงไม่ตัดสิทธิของโจทก์ ที่ จะ ฟ้องเป็นคดีนี้