คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 172

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,914 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรหลังหย่าเมื่อพฤติการณ์เปลี่ยนแปลง โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของบุตร
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองบุตรซึ่งตกอยู่แก่จำเลยฝ่ายเดียวตามข้อตกลงจดทะเบียนหย่า แต่ตามคำบรรยายฟ้องและพฤติการณ์แห่งคดีเป็นกรณีโจทก์ประสงค์ที่จะเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองตามที่ได้ตกลงไว้กับจำเลย ถือได้ว่า โจทก์ประสงค์ที่จะเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1520 และ 1521
แม้จำเลยไม่มีพฤติการณ์ประพฤติตนไม่สมควรในการใช้อำนาจปกครองตามข้อตกลงที่จดทะเบียนแต่ปรากฎภายหลังว่ามีพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตร ศาลเห็นสมควรเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจจากจำเลยมาเป็นโจทก์ได้ตาม มาตรา 1520 และ 1521

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน, การเบิกเงินเดือนล่วงหน้า, เหตุเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และการยกข้อต่อสู้เรื่องอำนาจศาลในชั้นอุทธรณ์
การพิจารณาว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมอันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้าง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 49 หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาที่เหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่ และเหตุนั้นเป็นเหตุสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ ซึ่งเหตุดังกล่าวอาจเป็นเหตุที่เกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้างหรือเหตุอื่นที่ไม่ใช่ความผิดของลูกจ้างก็ได้ มิใช่ว่าเมื่อฟังว่าโจทก์ไม่ได้ทุจริตยักยอกทรัพย์ของบริษัทจำเลยผู้เป็นนายจ้างแล้วจะต้องถือว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมอยู่ในตัว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ถือโอกาสที่เป็นตัวแทนของผู้บริหารจำเลยขอเบิกและอนุมัติจ่ายเงินเดือนล่วงหน้าให้ตัวเองทุกเดือนรวม52 ครั้ง เป็นเงินกว่าล้านบาท ทั้ง ๆ ที่ทราบดีว่าจำเลยกำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินจนทำให้กิจการของจำเลยเสียหาย นับว่ามีเหตุผลเพียงพอที่ทำให้จำเลยไม่ไว้วางใจให้โจทก์บริหารกิจการของจำเลยต่อไป การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมีเหตุอันสมควรและไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างที่ค้างค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ซึ่งจำเลยให้การว่าโจทก์ยักยอกเงินของจำเลยไปและตกลงจะผ่อนชำระคืน แต่ไม่ยอมชำระ จึงฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระเงินที่ยักยอกไปคืนพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งสภาพแห่งข้อหาคือเหตุที่จำเลยมีสิทธิเหนือโจทก์เกิดจากการที่โจทก์ยักยอกเงินจำเลยไป โจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินดังกล่าวแก่จำเลย ฟ้องแย้งดังกล่าวจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ อีกทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 31 แล้ว ฟ้องแย้งจำเลยไม่เคลือบคลุม
การที่โจทก์จะยกเรื่องอำนาจศาลว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงานหรือไม่นั้น โจทก์จะต้องยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้งเพื่อให้เป็นประเด็นข้อพิพาท เพื่อจะได้ส่งปัญหาดังกล่าวไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อนที่ศาลแรงงานจะพิพากษาคดี ซึ่งคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 9วรรคสอง บัญญัติให้เป็นที่สุด เมื่อโจทก์มิได้ยกข้อต่อสู้ดังกล่าวไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้งแสดงว่าโจทก์ยอมรับอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะวินิจฉัยเกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลยได้ การที่โจทก์เพิ่งยกปัญหานี้ขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์จึงล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหานี้แล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7344/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรมที่ดินกรณีโฉนดที่ดินคลาดเคลื่อน และอายุความในการฟ้องเพิกถอนโฉนดที่ดิน
การออกโฉนดที่ดินเป็นงานที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกรมที่ดิน เมื่อโจทก์เห็นว่าการออกโฉนดที่ดิน คลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องกรมที่ดินได้ แม้ป.ที่ดิน มาตรา 61 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมโดย ป.ที่ดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2428 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จะมีบทบัญญัติให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินสำหรับจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครที่ออกโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม ก็เป็นเพียงบทบัญญัติที่กฎหมายประสงค์จะกระจายอำนาจให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดได้ด้วยเท่านั้น ไม่ได้ห้ามมิให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการออกโฉนดที่ดินฟ้องกรมที่ดินแต่อย่างใด
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 2 เลขที่ 3816 ในส่วนรุกล้ำเข้ามาในโฉนดที่ดินพิพาทของผู้ตาย ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 เป็นการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้ตาย ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความและไม่อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ดังนั้น แม้จะเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7031/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ไม่ชัดเจน และประเด็นเพิ่มเติมไม่เป็นสาระต่อคดี
เนื้อหาฎีกาของโจทก์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญล้วนคัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาทั้งสิ้น คงมีส่วนเพิ่มเติมบ้างเล็กน้อยในรายละเอียด มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร และด้วยเหตุผลใด จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
แบบก่อสร้างของจำเลยได้รับอนุญาตจากกรุงเทพมหานครให้ก่อสร้างอาคารได้ แสดงว่าแบบก่อสร้างของจำเลยถูกต้อง การออกแบบเฉพาะห้องหม้อแปลงไฟฟ้าและขอบสระว่ายน้ำเมื่อก่อสร้างจริง ห้องหม้อแปลงไฟฟ้าและขอบสระว่ายน้ำมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดินต่างเจ้าของน้อยกว่า 3 เมตร ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร การแก้ไขแบบจึงน่าจะต้องแก้ไขเฉพาะ 2 ส่วนนี้ เมื่อโจทก์แก้ไขแบบในระหว่างการก่อสร้างตามความพอใจของโจทก์ เพื่อให้โจทก์ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้พื้นที่ในอาคาร มิใช่แก้ไขเฉพาะส่วนที่จำเลยออกแบบขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจึงอยู่นอกเหนือจากความรับผิดชอบของจำเลย โจทก์มิอาจอ้างได้ว่าโจทก์ต้องออกแบบก่อสร้างใหม่ทั้งหมด อันจะพึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการออกแบบใหม่นอกเหนือไปจากการแก้ไขแบบในส่วนที่เกี่ยวกับความสูงของห้องหม้อแปลงไฟฟ้าและขอบสระว่ายน้ำ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
ปัญหาที่ว่าจำเลยมิได้ควบคุมดูแลและตรวจสอบการปักผัง ขุดเจาะ เป็นเรื่องเกี่ยวกับจำเลยปฏิบัติงานในหน้าที่บกพร่อง ซึ่งโจทก์ยกขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธไม่ชำระค่าว่าจ้างหรือชำระค่าว่าจ้างแก่จำเลยน้อยลง แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งในประเด็นเรื่องค่าว่าจ้างที่โจทก์ต้องชำระแก่จำเลย แม้จะวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นข้อฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6576/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่อนุญาต: ศาลยืนอำนาจโจทก์ (หน่วยงานรัฐ) ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
วิธีการคำนวณหาปริมาตรหินที่จำเลยระเบิดและย่อยหินเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ทั้งสามต้องนำสืบในชั้นพิจารณาไม่จำต้องบรรยายไว้ในคำฟ้อง ทั้งปริมาตรหินที่คำนวณได้ก็เพื่อนำไปคำนวณหาจำนวนเงินที่จำเลยต้องชดใช้หากจำเลยไม่สามารถทำให้พื้นที่ที่ตนระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตกลับคืนสู่สภาพเดิมได้อันเป็นคำขอบังคับท้ายคำฟ้องในลำดับถัดมา คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 ระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตในกิจการและวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ได้รับผลประโยชน์จากการกระทำความผิดนั้นกรมที่ดินโจทก์ที่ 1 ผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จังหวัดเลย โจทก์ที่ 2 ผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือของรัฐ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลยโจทก์ที่ 3 ผู้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดในเขตจังหวัดเลยย่อมมีอำนาจติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของรัฐตลอดจนมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายทั้งปวงแทนรัฐจากจำเลยทั้งสองได้ โจทก์ทั้งสามมิได้ฟ้องบังคับจำเลยทั้งสองเพื่อตนเป็นการส่วนตัว หากแต่เป็นการปฏิบัติราชการภายใต้กรอบอำนาจที่ตนมีอยู่ ส่วนผลประโยชน์หรือทรัพย์สินที่ได้จากการดำเนินคดีย่อมตกได้แก่แผ่นดินหรือรัฐ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6576/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่ การคำนวณปริมาตร และอำนาจฟ้องของหน่วยงานรัฐ
คำฟ้องในส่วนเกี่ยวกับความเสียหายบรรยายว่าจำเลยทั้งสองระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตจำนวนสองครั้ง แต่ละครั้งคิดเป็นพื้นที่เท่าใดและปริมาตรเท่าใด รวมทั้งปริมาตรหินที่จำเลยทั้งสองเอาไปเป็นจำนวนเท่าใด จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันคืนหินแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ก็ให้ชดใช้ราคาพร้อมด้วยดอกเบี้ย เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนวิธีการคำนวณหาปริมาตรหินดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ทั้งสามต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ไม่จำเป็นต้องบรรยายไว้ในคำฟ้อง คำฟ้องจึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 ระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตในกิจการและวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 จนถูกดำเนินคดีอาญาและศาลพิพากษาลงโทษแล้ว โจทก์ทั้งสามผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และดำเนินกิจการส่วนจังหวัดเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของรัฐรวมทั้งเรียกค่าเสียหายทั้งปวงแทนรัฐจากจำเลยทั้งสองได้ โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้อง
วิธีการคำนวณหาปริมาตรหินที่โจทก์ทั้งสามนำมาใช้คำนวณหาปริมาตรหินพิพาทที่ฟ้องโจทก์ที่ 3 เคยใช้คำนวณเพื่อเรียกเก็บค่าตอบแทนเป็นรายปีจากจำเลยที่ 1 ผู้รับอนุญาตระเบิดและย่อยหินโดยจำเลยทั้งสองไม่เคยปฏิเสธความถูกต้องและยอมรับปฏิบัติตาม จึงผูกพันจำเลยทั้งสอง ฟังได้ว่าหินพิพาทมีจำนวนตามฟ้อง และศาลล่างทั้งสองกำหนดราคาหินพิพาทด้วยการเทียบเคียงกับราคาจำหน่ายทั่วไปชอบแล้ว
จำเลยทั้งสองฎีกาว่าในหินพิพาทแต่ละลูกบาศก์เมตร มีหินดินและทรายปะปนรวมกัน ทั้งบริเวณที่เกิดเหตุมีหินมากกว่าดิน ในการคำนวณปริมาตรหินพิพาทต้องหักปริมาตรดินออกตามสัดส่วนก่อน เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่กล่าวไว้ในคำให้การ จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5508/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายคดี, คุณสมบัติกรรมการ, การแต่งตั้งข้าราชการ, อำนาจศาล, ฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนดวันให้โจทก์เริ่มการหีบอ้อยผลิตน้ำตาลทรายโดยไม่พิจารณาความพร้อมของโรงงานน้ำตาลทราย ชาวไร่อ้อย และความหวานของอ้อย แต่มิได้บรรยายฟ้องกล่าวอ้างถึงวันประกาศราชกิจจานุเบกษาของประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าเกิดขึ้นหลังวันที่กำหนดให้โจทก์เริ่มการหีบอ้อยผลิตน้ำตาลทราย และหลังจากวันที่โจทก์เริ่มการหีบอ้อยผลิตน้ำตาลทรายแล้วหรือไม่ ประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายฯ มีผลใช้บังคับเมื่อใด จะมีผลย้อนหลังบังคับโจทก์ได้หรือไม่ โจทก์มิได้บรรยายไว้ในคำฟ้องทั้งสิ้น ฎีกาโจทก์จึงเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแต่ศาลชั้นต้นแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง
พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายฯ มาตรา 9 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย มิได้มีข้อกำหนดให้ระบุชื่อเฉพาะของข้าราชการและไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นใดบังคับว่าการแต่งตั้งข้าราชการให้เป็นกรรมการจะต้องระบุชื่อโดยเฉพาะ ทั้งตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน การแต่งตั้งข้าราชการให้ปฏิบัติหน้าที่พิเศษอื่นใดย่อมแต่งตั้งโดยระบุตำแหน่งได้โดยถือว่าผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นเป็นตัวแทนของส่วนราชการหน่วยนั้น ๆและเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะตำแหน่งไม่ติดตัวและสิ้นสภาพไปเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งนั้น ตาย โอนย้ายหรือลาออกจากราชการไป ฉะนั้น หากผู้ดำรงตำแหน่งไม่อยู่ผู้อยู่ในลำดับรองลงไปก็สามารถรับมอบหมายให้รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ ได้ ทั้งการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งโดยตำแหน่งหน้าที่ราชการดังกล่าว ไม่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องประชุมด้วยตนเองและไม่มีกฎหมายห้ามมิให้แต่งตั้งผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนกรรมการดังกล่าวย่อมมอบหมายให้ข้าราชการในกรมที่ตนสังกัดอยู่ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยเข้าประชุมแทนได้
จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ไม่ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามมาตรา 198วรรคสอง คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ได้ คำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบของโจทก์มิใช่คำโต้แย้งคัดค้านคำสั่งระหว่างพิจารณาเพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5240/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดของผู้รับประกันภัย: การรับประกันภัยไม่ใช่การค้ำจุน ทำให้ไม่ต้องรับผิดต่อผู้รับประกันภัยอื่น
คำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวอ้างหรือแสดงว่า จำเลยที่ 3 รับประกันภัยจากจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยในลักษณะประกันภัยค้ำจุน ซึ่งจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่งคือบริษัท อ. และซึ่งจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ ฟ้องโจทก์จึงขาดสาระสำคัญอันเป็นมูลที่จะให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิด
บริษัท อ. และจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกันเอาประกันภัยกับจำเลยที่ 3 ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ต่อบริษัท อ. ตามกรมธรรม์ประกันภัยจึงหาใช่ความรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนไม่ จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ต้องสั่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5101/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบความเป็นมาของหนี้ตามสัญญา กู้ยืมเงิน ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้ยืมเงินและรับเงินกู้ไปจากโจทก์ และโจทก์นำสืบว่าจำเลยเคยกู้ยืมเงินโจทก์มาก่อนวันทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินโดยวิธีนำเช็คมาแลกเงินสดจากโจทก์หลายครั้ง แล้วรวมทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินเป็นจำนวนเงินตามฟ้องเนื่องจากโจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คจากธนาคารได้เป็นหนังสือเพื่อให้ทราบถึงมูลเหตุที่จำเลยต้องทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์ อันเป็นการนำสืบถึงความเป็นมาแห่งหนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน และเป็นข้อเท็จจริงในประเด็นที่ว่าเหตุใดจำเลยจึงต้องรับผิดตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้อง ไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร และไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5101/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบความเป็นมาของหนี้ตามสัญญา ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร หรือนอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินและรับเงินกู้ไปจากโจทก์ และโจทก์นำสืบว่าจำเลยเคยกู้ยืมเงินโจทก์มาก่อนวันทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินโดยวิธีนำเช็คมาแลกเงินสดจากโจทก์หลายครั้ง แล้วรวมทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินเป็นจำนวนเงินตามฟ้องเนื่องจากโจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คจากธนาคารได้ เป็นหนังสือเพื่อให้ทราบถึงมูลเหตุที่จำเลยต้องทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์ อันเป็นการนำสืบถึงความเป็นมาแห่งหนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน และเป็นข้อเท็จจริงในประเด็นที่ว่าเหตุใดจำเลยจึงต้องรับผิดตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้อง ไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร และไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
of 292