พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,914 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3171-3172/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแทนและดอกเบี้ยผิดนัดในสัญญาทรัสต์รีซีท: การพิจารณาความชอบธรรมของอัตราดอกเบี้ยและขอบเขตอำนาจตัวแทน
แม้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จะเป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไปเกี่ยวกับกิจการในสำนักงานสาขาชลบุรีของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801 วรรคหนึ่ง แต่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ก็ไม่ถูกจำกัดอำนาจในการยื่นฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 801 วรรคสอง (5) เพราะหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ระบุให้อำนาจแก่ผู้รับมอบอำนาจ โจทก์ฟ้องคดีไว้โดยชัดแจ้งแล้ว และเป็นการมอบอำนาจทั่วไปให้ดำเนินคดีสำหรับคดีต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นที่สาขาชลบุรีของโจทก์ ไม่ใช่เป็นการมอบอำนาจแต่เฉพาะการตามมาตรา 800 โจทก์จึงไม่ต้องกล่าวในหนังสือมอบอำนาจโดยระบุชื่อนิติบุคคลหรือบุคคลที่จะต้องถูกดำเนินคดีหรือถูกฟ้องมาด้วย และการมอบอำนาจทั่วไปให้ดำเนินคดีดังกล่าวย่อมหมายถึงให้ดำเนินคดีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสาขาชลบุรีของโจทก์ ไม่ว่าคดีนั้นจะได้เกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันทำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว ดังนั้น ป. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ซึ่งมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์โดยสมบูรณ์ในขณะยื่นฟ้องจึงมีอำนาจแต่งตั้ง น. ทนายความยื่นฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีนี้ได้
ตามคำฟ้องของโจทก์ แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับเงินไทยเท่าใดในวันที่หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับถึงกำหนดชำระมาโดยชัดแจ้ง แต่โจทก์ก็ได้แนบสำเนาใบแจ้งการครบกำหนดชำระหนี้และสำเนาบัญชีแสดงยอดหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับมาท้ายคำฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องโดยระบุถึงอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันครบกำหนดชำระหนี้แต่ละจำนวนไว้โดยชัดแจ้ง จำเลยที่ 1 สามารถตรวจดูเพื่อสู้คดีให้ถูกต้องได้ คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ถือว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 ไม่ได้บัญญัติไว้ว่าระยะเวลาที่กำหนดให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั้นมากน้อยเพียงใดจึงจะเป็นเวลาอันสมควร จึงต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นกรณี ๆ ไป โจทก์ได้มอบหมายให้ น. ทนายความบอกกล่าวบังคับจำนอง ไปยังจำเลยที่ 1 โดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือบอกกล่าว แม้จำนวนหนี้จำนองที่โจทก์เรียกร้องทวงถามจะสูงถึง 376,479,799.79 บาท แต่หนี้จำนวนดังกล่าวจำเลยที่ 1 ทราบดีว่าจะต้องชำระแก่โจทก์ ณ วันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับก่อนหน้าที่ทนายโจทก์จะมีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว และหลังจากนั้นอีก 1 ปีเศษ โจทก์จึงมอบหมายให้ทนายโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองส่งไปให้จำเลยที่ 1 โดยให้เวลาจำเลยที่ 1 ชำระหนี้อันเป็นการไถ่ถอนจำนองได้อีก 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือบอกกล่าว ตามพฤติการณ์ถือได้ว่ากำหนดเวลาบอกกล่าวบังคับจำนองนั้นพอสมควรและชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำนองได้
ตามสัญญาระบุไว้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่โจทก์เรียกเก็บได้ตามประกาศของโจทก์นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 ดอกเบี้ยตามข้อสัญญาดังกล่าวย่อมหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากลูกค้าที่มิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขหรือผิดสัญญากับโจทก์ โดยดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากลูกค้าที่ไม่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขอัตราสูงสุดได้แก่ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อทั่วไปของธนาคาร (จีแอลอาร์) และตามสัญญาได้ระบุไว้ด้วยว่าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ค้างชำระในอัตราตามที่กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้น นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นข้อสัญญาดังกล่าวมีความหมายว่าโจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดจากจำเลยที่ 1 ได้ในอัตราเดียว คือ อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อทั่วไปของธนาคาร (จีแอลอาร์) เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อสูงสุดของโจทก์ที่เรียกจากลูกค้าซึ่งปฏิบัติผิดเงื่อนไข (ซีแอลอาร์) ได้
ตามคำฟ้องของโจทก์ แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับเงินไทยเท่าใดในวันที่หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับถึงกำหนดชำระมาโดยชัดแจ้ง แต่โจทก์ก็ได้แนบสำเนาใบแจ้งการครบกำหนดชำระหนี้และสำเนาบัญชีแสดงยอดหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับมาท้ายคำฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องโดยระบุถึงอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันครบกำหนดชำระหนี้แต่ละจำนวนไว้โดยชัดแจ้ง จำเลยที่ 1 สามารถตรวจดูเพื่อสู้คดีให้ถูกต้องได้ คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ถือว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 ไม่ได้บัญญัติไว้ว่าระยะเวลาที่กำหนดให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั้นมากน้อยเพียงใดจึงจะเป็นเวลาอันสมควร จึงต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นกรณี ๆ ไป โจทก์ได้มอบหมายให้ น. ทนายความบอกกล่าวบังคับจำนอง ไปยังจำเลยที่ 1 โดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือบอกกล่าว แม้จำนวนหนี้จำนองที่โจทก์เรียกร้องทวงถามจะสูงถึง 376,479,799.79 บาท แต่หนี้จำนวนดังกล่าวจำเลยที่ 1 ทราบดีว่าจะต้องชำระแก่โจทก์ ณ วันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับก่อนหน้าที่ทนายโจทก์จะมีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว และหลังจากนั้นอีก 1 ปีเศษ โจทก์จึงมอบหมายให้ทนายโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองส่งไปให้จำเลยที่ 1 โดยให้เวลาจำเลยที่ 1 ชำระหนี้อันเป็นการไถ่ถอนจำนองได้อีก 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือบอกกล่าว ตามพฤติการณ์ถือได้ว่ากำหนดเวลาบอกกล่าวบังคับจำนองนั้นพอสมควรและชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำนองได้
ตามสัญญาระบุไว้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่โจทก์เรียกเก็บได้ตามประกาศของโจทก์นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 ดอกเบี้ยตามข้อสัญญาดังกล่าวย่อมหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากลูกค้าที่มิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขหรือผิดสัญญากับโจทก์ โดยดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากลูกค้าที่ไม่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขอัตราสูงสุดได้แก่ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อทั่วไปของธนาคาร (จีแอลอาร์) และตามสัญญาได้ระบุไว้ด้วยว่าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ค้างชำระในอัตราตามที่กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้น นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นข้อสัญญาดังกล่าวมีความหมายว่าโจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดจากจำเลยที่ 1 ได้ในอัตราเดียว คือ อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อทั่วไปของธนาคาร (จีแอลอาร์) เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อสูงสุดของโจทก์ที่เรียกจากลูกค้าซึ่งปฏิบัติผิดเงื่อนไข (ซีแอลอาร์) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาเช่า – การตัดกระแสไฟฟ้า – พยานหลักฐาน – ความรับผิดทางละเมิด
ตามคำฟ้องโจทก์มิได้อ้างว่า จำเลยผิดสัญญาเช่าเพราะไม่ขับไล่แม่ค้าหาบเร่แผงลอยออกไปจากหน้าอาคารที่โจทก์เช่าจากจำเลยแต่อย่างใด โจทก์บรรยายแต่เพียงว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนทำสัญญาว่าจำเลยจะต้องขับไล่แม่ค้าหาบเร่แผงลอยที่ตั้งปิดหน้าอาคารที่เช่า ทำให้เกิดความไม่สวยงามและกีดขวางทางเข้าออก โจทก์ขอให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลง ซึ่งจำเลยไม่ปฏิบัติเท่านั้นโดยโจทก์หาได้บรรยายว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่า หากจำเลยปฏิบัติผิดข้อตกลงดังกล่าวถือว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าและต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างไรแต่โจทก์กลับบรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยตัดกระแสไฟฟ้าในอาคารที่โจทก์เช่าจากจำเลย ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างไรบ้าง เป็นเงินเท่าไรและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการทำละเมิดดังกล่าว มิได้เรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการที่จำเลยผิดสัญญาเช่าแต่อย่างใดทั้งคำให้การจำเลยก็ปฏิเสธว่ามิได้มีข้อตกลงดังโจทก์อ้าง ดังนั้น ตามคำฟ้องและคำให้การจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวจึงเป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทนอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ ไม่อาจถือว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อที่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวให้จึงไม่ชอบเช่นกัน ฉะนั้นการที่โจทก์ยกปัญหาว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าขึ้นฎีกาอีก จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2905/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้เอกสารท้ายฟ้องเป็นหลักฐานมูลหนี้ การบรรยายรายละเอียดเอกสารในคำฟ้องไม่จำเป็น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยสั่งซื้อปูนสำเร็จรูปและน้ำยาผสมปูนไปจากโจทก์รวม13 ครั้ง เป็นเงิน 236,871.25 บาท โดยบรรยายรายละเอียดของการสั่งซื้อสินค้าแต่ละครั้งพร้อมจำนวนเงินค่าสินค้าตามเอกสารท้ายฟ้องและจำเลยได้รับสินค้าไปจากโจทก์แล้ว จำเลยไม่ชำระราคาค่าสินค้าภายในกำหนด ขอให้จำเลยชำระราคาค่าสินค้าพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโดยแจ้งชัดแล้ว แม้โจทก์จะแนบเอกสารใบกำกับภาษี อันเป็นหลักฐานแห่งมูลหนี้มาท้ายฟ้องก็เป็นเพียงเอกสารประกอบคำบรรยายฟ้อง โจทก์สามารถนำสืบถึงรายละเอียดของรายการตามเอกสารดังกล่าวได้ในชั้นพิจารณา ไม่จำเป็นต้องบรรยายรายละเอียดของเอกสารไว้ให้ปรากฏในคำฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2899/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การแก้ไขคำฟ้อง, ฟ้องไม่เคลือบคลุม, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา, และอายุความ
โจทก์ขอแก้คำฟ้องว่าผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อคือ น. มิใช่ ส. เป็นการแก้ไขให้ตรงต่อความเป็นจริงเพราะโจทก์ผิดหลงพิมพ์ผิดไป เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงแก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ไปในราคาและจะต้องผ่อนชำระงวดละเดือนละเท่าใด จำเลยที่ 1 ชำระเงินให้แก่โจทก์เพียง 6 งวด ผิดนัดตั้งแต่งวดที่ 7 เป็นต้นมาโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์นำออกขายทอดตลาดได้ราคา 782,000 บาท เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ว่า เหตุแห่งการบอกเลิกสัญญาสืบเนื่องมาจากเหตุใด และการขายทอดตลาดได้ในราคาดังกล่าวต่ำกว่าราคาที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไป จึงเป็นความเสียหายที่โจทก์ได้รับ ส่วนสภาพของรถยนต์ในขณะขายทอดตลาดหรือสถานที่ ๆขายทอดตลาดเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบเท่านั้น ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ซื้อรถยนต์จากห้างหุ้นส่วนจำกัด ข. แต่จำเลยที่ 1 มีเงินไม่เพียงพอจึงต้องหาธุรกิจเช่าซื้อมาช่วยดำเนินการให้ โดยให้โจทก์เป็นผู้ชำระราคารถยนต์ส่วนที่เหลือและโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์เป็นของโจทก์ จากนั้นโจทก์จึงนำรถยนต์มาให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อ การกระทำดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการทำสัญญาเช่าซื้อเพื่ออำพรางการกู้ยืมเงิน
จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อและโจทก์ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์ที่ไม่ได้ใช้รถยนต์ในระหว่างที่รถยนต์ยังอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 นับแต่วันผิดนัดจนถึงวันที่ยึดรถยนต์คืน
ค่าเสียหายอันเกิดจากโจทก์ขายรถยนต์แล้วยังขาดราคาค่าเช่าซื้ออยู่อีกจำนวนหนึ่ง เป็นค่าเสียหายโดยตรงอันเกิดจากการผิดสัญญา และเป็นค่าเสียหายคนละส่วนกับค่าขาดประโยชน์โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าขาดรายได้ ส่วนการกำหนดอัตราค่าปรับอีกร้อยละ 2 บาท ต่อเดือน จากจำนวนเงินดังกล่าว เป็นเบี้ยปรับที่คู่สัญญาอาจกำหนดไว้ได้ในกรณีที่อีกฝ่ายหนึ่งผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าขาดประโยชน์และค่าขาดราคา เป็นค่าเสียหายอันสืบเนื่องมาจากการผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 มิใช่ค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 562 เมื่อกฎหมายลักษณะเช่าซื้อมิได้บัญญัติอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ไปในราคาและจะต้องผ่อนชำระงวดละเดือนละเท่าใด จำเลยที่ 1 ชำระเงินให้แก่โจทก์เพียง 6 งวด ผิดนัดตั้งแต่งวดที่ 7 เป็นต้นมาโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์นำออกขายทอดตลาดได้ราคา 782,000 บาท เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ว่า เหตุแห่งการบอกเลิกสัญญาสืบเนื่องมาจากเหตุใด และการขายทอดตลาดได้ในราคาดังกล่าวต่ำกว่าราคาที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไป จึงเป็นความเสียหายที่โจทก์ได้รับ ส่วนสภาพของรถยนต์ในขณะขายทอดตลาดหรือสถานที่ ๆขายทอดตลาดเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบเท่านั้น ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ซื้อรถยนต์จากห้างหุ้นส่วนจำกัด ข. แต่จำเลยที่ 1 มีเงินไม่เพียงพอจึงต้องหาธุรกิจเช่าซื้อมาช่วยดำเนินการให้ โดยให้โจทก์เป็นผู้ชำระราคารถยนต์ส่วนที่เหลือและโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์เป็นของโจทก์ จากนั้นโจทก์จึงนำรถยนต์มาให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อ การกระทำดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการทำสัญญาเช่าซื้อเพื่ออำพรางการกู้ยืมเงิน
จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อและโจทก์ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์ที่ไม่ได้ใช้รถยนต์ในระหว่างที่รถยนต์ยังอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 นับแต่วันผิดนัดจนถึงวันที่ยึดรถยนต์คืน
ค่าเสียหายอันเกิดจากโจทก์ขายรถยนต์แล้วยังขาดราคาค่าเช่าซื้ออยู่อีกจำนวนหนึ่ง เป็นค่าเสียหายโดยตรงอันเกิดจากการผิดสัญญา และเป็นค่าเสียหายคนละส่วนกับค่าขาดประโยชน์โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าขาดรายได้ ส่วนการกำหนดอัตราค่าปรับอีกร้อยละ 2 บาท ต่อเดือน จากจำนวนเงินดังกล่าว เป็นเบี้ยปรับที่คู่สัญญาอาจกำหนดไว้ได้ในกรณีที่อีกฝ่ายหนึ่งผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าขาดประโยชน์และค่าขาดราคา เป็นค่าเสียหายอันสืบเนื่องมาจากการผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 มิใช่ค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 562 เมื่อกฎหมายลักษณะเช่าซื้อมิได้บัญญัติอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เช็ค การคิดดอกเบี้ยทบต้นที่เกินอัตราตามกฎหมาย และการหักชำระหนี้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คธนาคาร ก. ลงวันที่ 5 มิถุนายน2540 จำนวนเงิน 691,960 บาท เพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ โดยระบุข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าเมื่อเช็คถึงกำหนดชำระ โจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน และมีคำขอบังคับให้จำเลยชำระเงินตามจำนวนที่ลงในเช็ค เป็นการบรรยายฟ้องครบถ้วนแล้ว ส่วนการออกเช็คเป็นการชำระหนี้ค่าอะไร มูลหนี้เกิดจากอะไร และชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นรายละเอียดที่นำสืบได้ในชั้นพิจารณาไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ก่อนที่จำเลยจะชำระหนี้ด้วยเช็คพิพาท จำเลยเคยชำระหนี้ให้โจทก์มาแล้วรวม6 ครั้ง เป็นการชำระหนี้เพื่อไถ่ถอนจำนอง 5 ครั้ง ซึ่งการชำระหนี้แต่ละครั้งไม่พอที่จะเปลื้องหนี้สินได้ทั้งหมด จึงต้องหักชำระดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดไปก่อนที่จะชำระต้นเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 วรรคหนึ่ง และถือว่าการที่จำเลยชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ ทั้งที่รู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยจึงไม่อาจเรียกร้องคืนหรือให้นำมาหักหนี้ที่จำเลยค้างชำระอยู่ได้ตามมาตรา 407
แม้เช็คพิพาทมีหนี้ในส่วนที่เป็นโมฆะรวมอยู่ด้วย โจทก์ก็ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานที่สมบูรณ์แยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ มิใช่เช็คพิพาทตกเป็นโมฆะทั้งหมด
ก่อนที่จำเลยจะชำระหนี้ด้วยเช็คพิพาท จำเลยเคยชำระหนี้ให้โจทก์มาแล้วรวม6 ครั้ง เป็นการชำระหนี้เพื่อไถ่ถอนจำนอง 5 ครั้ง ซึ่งการชำระหนี้แต่ละครั้งไม่พอที่จะเปลื้องหนี้สินได้ทั้งหมด จึงต้องหักชำระดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดไปก่อนที่จะชำระต้นเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 วรรคหนึ่ง และถือว่าการที่จำเลยชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ ทั้งที่รู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยจึงไม่อาจเรียกร้องคืนหรือให้นำมาหักหนี้ที่จำเลยค้างชำระอยู่ได้ตามมาตรา 407
แม้เช็คพิพาทมีหนี้ในส่วนที่เป็นโมฆะรวมอยู่ด้วย โจทก์ก็ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานที่สมบูรณ์แยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ มิใช่เช็คพิพาทตกเป็นโมฆะทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125-2128/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดต่อเนื่องจากการไม่ขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดิน คดีไม่ขาดอายุความ
จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยเพิกเฉยไม่ยอมออกไปจากตึกแถวและที่ดินพิพาทภายในกำหนดเวลาที่โจทก์บอกกล่าว และยังคงอยู่ในตึกแถวและที่ดินพิพาทนั้นตลอดมา จนกระทั่งโจทก์ฟ้องคดีทั้งสองสำนวนนี้ อันเป็นการละเมิดที่ต่อเนื่อง คดีของโจทก์ทั้งสองสำนวนจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125-2128/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเกี่ยวกับการวางค่าขึ้นศาล และอายุความคดีละเมิด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันที่ยื่นคำร้องสอดว่า คดีของผู้ร้องสอดเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ให้ผู้ร้องสอดเสียค่าขึ้นศาลให้ถูกต้องภายในนัดหน้าครั้นถึงวันนัดผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางค่าธรรมเนียมศาลและขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดทุนทรัพย์ด้วย ศาลชั้นต้นสอบทนายผู้ร้องสอดเกี่ยวกับราคาทรัพย์พิพาทแล้วมีคำสั่งให้ผู้ร้องสอดแถลงจำนวนทุนทรัพย์และเสียค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนในนัดต่อไป มิฉะนั้นจะสั่งว่าผู้ร้องสอดทิ้งคำร้องสอด เมื่อถึงวันนัดผู้ร้องสอดได้ยื่นต่อศาลแต่เพียงหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินพิพาทว่าเจ้าพนักงานที่ดินได้กำหนดราคาประเมินไว้ตารางวาละ 1,500 บาท และขอถือเป็นทุนทรัพย์ โดยผู้ร้องสอดไม่ได้เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง คำร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ถือเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1(3) จึงเป็นการทิ้งฟ้องตามมาตรา 174(2)
ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาท โดย อ. เจ้าของเดิมนำไปขายฝากไว้แก่โจทก์แล้วไม่ได้ไถ่คืนภายในเวลาที่กำหนด โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าตึกแถวดังกล่าวจาก อ. มาแต่เดิมอยู่ในตึกแถวนั้นต่อไป ซึ่งได้บอกกล่าวให้จำเลยรับทราบแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยจึงเป็นการอยู่ในตึกแถวของโจทก์โดยละเมิดเป็นการบรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่และการทำละเมิดของจำเลยชัดเจนแล้ว ไม่เคลือบคลุม
จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยเพิกเฉยไม่ยอมออกไปจากตึกแถวและที่ดินพิพาทภายในกำหนดเวลาที่โจทก์บอกกล่าว และยังคงอยู่ในตึกแถวและที่ดินพิพาทนั้นตลอดมาจนกระทั่งโจทก์ฟ้องอันเป็นการละเมิดที่ต่อเนื่องคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาท โดย อ. เจ้าของเดิมนำไปขายฝากไว้แก่โจทก์แล้วไม่ได้ไถ่คืนภายในเวลาที่กำหนด โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าตึกแถวดังกล่าวจาก อ. มาแต่เดิมอยู่ในตึกแถวนั้นต่อไป ซึ่งได้บอกกล่าวให้จำเลยรับทราบแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยจึงเป็นการอยู่ในตึกแถวของโจทก์โดยละเมิดเป็นการบรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่และการทำละเมิดของจำเลยชัดเจนแล้ว ไม่เคลือบคลุม
จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยเพิกเฉยไม่ยอมออกไปจากตึกแถวและที่ดินพิพาทภายในกำหนดเวลาที่โจทก์บอกกล่าว และยังคงอยู่ในตึกแถวและที่ดินพิพาทนั้นตลอดมาจนกระทั่งโจทก์ฟ้องอันเป็นการละเมิดที่ต่อเนื่องคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125-2128/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดต่อเนื่อง: การเพิกเฉยไม่ยอมออกจากที่ดินหลังได้รับแจ้ง ทำให้คดีไม่ขาดอายุความ
จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยเพิกเฉยไม่ยอมออกไปจากตึกแถวและที่ดินพิพาทภายในกำหนดเวลาที่โจทก์บอกกล่าว และยังคงอยู่ในตึกแถวและที่ดินพิพาทนั้นตลอดมา จนกระทั่งโจทก์ฟ้องคดีทั้งสองสำนวนนี้ อันเป็นการละเมิดที่ต่อเนื่อง คดีของโจทก์ทั้งสองสำนวนจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายเงินตราต่างประเทศ, อัตราแลกเปลี่ยน, การชำระหนี้, สิทธิของเจ้าหนี้
คำฟ้องของโจทก์ที่บรรยายให้เห็นว่า จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์โดยระบุจำนวนเงินราคาสินค้าว่าเป็นเท่าไร จำเลยชำระให้โจทก์แล้วจำนวนเท่าไร เหลือหนี้ค่าสินค้าอีกเท่าไรที่จำเลยต้องรับผิดพร้อมดอกเบี้ย โดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินดอลลาร์สิงคโปร์และเงินบาทมาด้วย ถือเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาที่โจทก์อาศัยเป็นหลักในการฟ้องขอบังคับให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นที่เข้าใจได้แล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องบรรยายข้อเท็จจริงอื่นใดอีก
การที่จะพิจารณาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ต้องพิจารณาเฉพาะคำฟ้องโจทก์เป็นสำคัญว่าบรรยายฟ้องถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยให้เข้าใจได้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 หรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับคำให้การต่อสู้ของจำเลยตลอดถึงการนำสืบของโจทก์ในชั้นพิจารณา
จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ตามราคาที่แท้จริงในใบแจ้งหนี้เป็นเงิน 195,846.02ดอลลาร์สิงคโปร์ แต่โจทก์ออกใบแจ้งหนี้ให้แก่จำเลยด้วยราคาที่ต่ำกว่าที่ซื้อขายกันจริงซึ่งรวมเป็น 146,603.94 ดอลลาร์สิงคโปร์ เนื่องมาจากการร้องขอของจำเลย เมื่อโจทก์ได้ร่วมมือกับจำเลยสำแดงราคาสินค้าเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากร แม้ผู้เสียภาษีอากรดังกล่าวจะเป็นจำเลยผู้นำเข้าและจำเลยยังไม่ถูกกล่าวหาตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย แต่โจทก์จำเลยประกอบธุรกิจมีเจตนาเป็นการเอาเปรียบประเทศไทย ถือได้ว่าไม่สุจริตด้วยกัน โจทก์จึงไม่อาจจะยกเอาความไม่สุจริตขึ้นมาเรียกร้องเอาเงินได้เต็มจำนวน 195,846.02 ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งมีจำนวนที่หลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรรวมอยู่ด้วยได้ จำเลยคงรับผิดชำระหนี้ค่าสินค้าให้โจทก์เฉพาะค่าสินค้าจำนวน 146,603.94 ดอลลาร์สิงคโปร์ซึ่งเป็นส่วนที่จำเลยนำไปเสียภาษีนำเข้าต่อกรมศุลกากรแล้ว
โจทก์จำเลยติดต่อซื้อขายสินค้ากันด้วยเงินดอลลาร์สิงคโปร์จำเลยไม่ชำระ จำเลยก็ต้องรับผิดชำระเป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ตามที่ตกลงติดต่อซื้อขายสินค้ากัน แต่หากจำเลยจะชำระเป็นเงินบาทก็ต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินตามมาตรา 196 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งจำเลยอาจได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ในผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนในแต่ละวันได้ แต่ไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลย เพราะโจทก์ต้องได้รับชำระหนี้เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์เท่ากับที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์เสมอตามคำพิพากษา ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาว่า หากจำเลยจะชำระเป็นเงินบาทก็ให้ชำระตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินจึงชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าสินค้าเป็นเงินบาทโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อ 18 บาท ดังนั้น คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองในส่วนที่ให้จำเลยชำระค่าสินค้าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และในเวลาใช้เงิน โดยไม่ได้ระบุไว้ด้วยว่าอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และในเวลาใช้เงินต้องไม่เกิน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อ 18 บาท ตามคำขอของโจทก์ จะเกิดผลว่าหากอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และในเวลาใช้เงินต่อ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์เกิน 18 บาท คำพิพากษาของศาลในส่วนนี้จะเกินคำขอ ศาลฎีกาจึงกำหนดไว้ด้วยว่าต้องไม่เกินตามคำขอของโจทก์
การที่จะพิจารณาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ต้องพิจารณาเฉพาะคำฟ้องโจทก์เป็นสำคัญว่าบรรยายฟ้องถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยให้เข้าใจได้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 หรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับคำให้การต่อสู้ของจำเลยตลอดถึงการนำสืบของโจทก์ในชั้นพิจารณา
จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ตามราคาที่แท้จริงในใบแจ้งหนี้เป็นเงิน 195,846.02ดอลลาร์สิงคโปร์ แต่โจทก์ออกใบแจ้งหนี้ให้แก่จำเลยด้วยราคาที่ต่ำกว่าที่ซื้อขายกันจริงซึ่งรวมเป็น 146,603.94 ดอลลาร์สิงคโปร์ เนื่องมาจากการร้องขอของจำเลย เมื่อโจทก์ได้ร่วมมือกับจำเลยสำแดงราคาสินค้าเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากร แม้ผู้เสียภาษีอากรดังกล่าวจะเป็นจำเลยผู้นำเข้าและจำเลยยังไม่ถูกกล่าวหาตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย แต่โจทก์จำเลยประกอบธุรกิจมีเจตนาเป็นการเอาเปรียบประเทศไทย ถือได้ว่าไม่สุจริตด้วยกัน โจทก์จึงไม่อาจจะยกเอาความไม่สุจริตขึ้นมาเรียกร้องเอาเงินได้เต็มจำนวน 195,846.02 ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งมีจำนวนที่หลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรรวมอยู่ด้วยได้ จำเลยคงรับผิดชำระหนี้ค่าสินค้าให้โจทก์เฉพาะค่าสินค้าจำนวน 146,603.94 ดอลลาร์สิงคโปร์ซึ่งเป็นส่วนที่จำเลยนำไปเสียภาษีนำเข้าต่อกรมศุลกากรแล้ว
โจทก์จำเลยติดต่อซื้อขายสินค้ากันด้วยเงินดอลลาร์สิงคโปร์จำเลยไม่ชำระ จำเลยก็ต้องรับผิดชำระเป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ตามที่ตกลงติดต่อซื้อขายสินค้ากัน แต่หากจำเลยจะชำระเป็นเงินบาทก็ต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินตามมาตรา 196 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งจำเลยอาจได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ในผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนในแต่ละวันได้ แต่ไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลย เพราะโจทก์ต้องได้รับชำระหนี้เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์เท่ากับที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์เสมอตามคำพิพากษา ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาว่า หากจำเลยจะชำระเป็นเงินบาทก็ให้ชำระตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินจึงชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าสินค้าเป็นเงินบาทโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อ 18 บาท ดังนั้น คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองในส่วนที่ให้จำเลยชำระค่าสินค้าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และในเวลาใช้เงิน โดยไม่ได้ระบุไว้ด้วยว่าอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และในเวลาใช้เงินต้องไม่เกิน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อ 18 บาท ตามคำขอของโจทก์ จะเกิดผลว่าหากอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และในเวลาใช้เงินต่อ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์เกิน 18 บาท คำพิพากษาของศาลในส่วนนี้จะเกินคำขอ ศาลฎีกาจึงกำหนดไว้ด้วยว่าต้องไม่เกินตามคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทซื้อขายสินค้าต่างประเทศ การคิดอัตราแลกเปลี่ยน การชำระหนี้ และการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนในคำพิพากษา
คำฟ้องเป็นเพียงการสรุปข้อเท็จจริงถึงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างไร พร้อมคำขอบังคับจำเลยเพียงเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจคำฟ้อง เพื่อที่จะให้การต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้องเท่านั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์จำนวนเท่าไร ชำระให้โจทก์แล้วเท่าไรเหลือหนี้อีกเท่าไรที่จำเลยต้องรับผิดพร้อมดอกเบี้ยโดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินดอลลาร์สิงคโปร์และเงินบาทมาด้วยนั้น เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาที่โจทก์อาศัยเป็นหลักในการฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับผิดต่อโจทก์เป็นที่เข้าใจได้แล้วทั้งการที่จะพิจารณาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาเฉพาะคำฟ้องโจทก์เป็นสำคัญว่าบรรยายฟ้องถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยให้เข้าใจได้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172หรือไม่ เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับคำให้การต่อสู้ของจำเลยตลอดถึงการนำสืบของโจทก์ในชั้นพิจารณาแต่อย่างใด
จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ตามราคาที่แท้จริง 195,846.02 ดอลลาร์สิงคโปร์จำเลยย่อมมีหน้าที่ชำระราคาสินค้าแก่โจทก์ แต่การที่โจทก์ออกใบแจ้งหนี้ให้จำเลยในราคา 146,603.94 ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งต่ำกว่าที่ซื้อขายสินค้ากันจริงเพื่อหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรในการนำเข้าสินค้าต่อกรมศุลกากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร แม้ผู้เสียภาษีอากรจะเป็นจำเลยผู้นำเข้าและยังไม่ถูกเจ้าพนักงานกล่าวหากระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27,99 ก็ตาม แต่เมื่อเห็นได้ชัดว่า โจทก์และจำเลยประกอบธุรกิจมีเจตนาเอาเปรียบประเทศไทยถือได้ว่าไม่สุจริตด้วยกัน โจทก์ไม่อาจยกเอาความไม่สุจริตดังกล่าวมาเรียกร้องเงินเต็มจำนวน 195,846.02 ดอลลาร์สิงคโปร์อันเป็นจำนวนที่โจทก์ร่วมมือกับจำเลยหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรรวมอยู่ด้วยได้ จำเลยคงรับผิดชำระให้โจทก์เฉพาะค่าสินค้า 146,603.94 ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งเป็นส่วนที่จำเลยนำไปเสียภาษีนำเข้าต่อกรมศุลกากรแล้วพร้อมดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดเท่านั้น
อัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์สิงคโปร์มิได้มีอัตราคงที่แน่นอน จะมากขึ้นหรือน้อยลงแตกต่างกันในแต่ละวันย่อมขึ้นอยู่กับสภาวะทางเศรษฐกิจเมื่อจำเลยจะต้องรับผิดชำระค่าสินค้าให้โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ตามที่ตกลงซื้อขายกัน หรือหากจะชำระเป็นเงินบาท จำเลยก็ต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยนณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196ซึ่งจำเลยอาจได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ในผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์สิงคโปร์ในแต่ละวันได้ แต่จะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้ เพราะโจทก์จะได้รับชำระหนี้เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์เท่ากับที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์เสมอ แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าสินค้าเป็นเงินบาทโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อ 18 บาท และศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระค่าสินค้าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินโดยไม่ได้ระบุว่าอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินต้องไม่เกิน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อ 18 บาท ตามคำขอของโจทก์นั้นยังไม่ถูกต้อง เพราะหากอัตราแลกเปลี่ยนณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินต่อ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ เกิน 18 บาท คำพิพากษาของศาลในส่วนนี้จะเกินคำขอของโจทก์จึงสมควรกำหนดไว้ด้วยว่าต้องไม่เกินตามคำขอของโจทก์ด้วย
จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ตามราคาที่แท้จริง 195,846.02 ดอลลาร์สิงคโปร์จำเลยย่อมมีหน้าที่ชำระราคาสินค้าแก่โจทก์ แต่การที่โจทก์ออกใบแจ้งหนี้ให้จำเลยในราคา 146,603.94 ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งต่ำกว่าที่ซื้อขายสินค้ากันจริงเพื่อหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรในการนำเข้าสินค้าต่อกรมศุลกากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร แม้ผู้เสียภาษีอากรจะเป็นจำเลยผู้นำเข้าและยังไม่ถูกเจ้าพนักงานกล่าวหากระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27,99 ก็ตาม แต่เมื่อเห็นได้ชัดว่า โจทก์และจำเลยประกอบธุรกิจมีเจตนาเอาเปรียบประเทศไทยถือได้ว่าไม่สุจริตด้วยกัน โจทก์ไม่อาจยกเอาความไม่สุจริตดังกล่าวมาเรียกร้องเงินเต็มจำนวน 195,846.02 ดอลลาร์สิงคโปร์อันเป็นจำนวนที่โจทก์ร่วมมือกับจำเลยหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรรวมอยู่ด้วยได้ จำเลยคงรับผิดชำระให้โจทก์เฉพาะค่าสินค้า 146,603.94 ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งเป็นส่วนที่จำเลยนำไปเสียภาษีนำเข้าต่อกรมศุลกากรแล้วพร้อมดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดเท่านั้น
อัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์สิงคโปร์มิได้มีอัตราคงที่แน่นอน จะมากขึ้นหรือน้อยลงแตกต่างกันในแต่ละวันย่อมขึ้นอยู่กับสภาวะทางเศรษฐกิจเมื่อจำเลยจะต้องรับผิดชำระค่าสินค้าให้โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ตามที่ตกลงซื้อขายกัน หรือหากจะชำระเป็นเงินบาท จำเลยก็ต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยนณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196ซึ่งจำเลยอาจได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ในผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์สิงคโปร์ในแต่ละวันได้ แต่จะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้ เพราะโจทก์จะได้รับชำระหนี้เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์เท่ากับที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์เสมอ แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าสินค้าเป็นเงินบาทโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อ 18 บาท และศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระค่าสินค้าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินโดยไม่ได้ระบุว่าอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินต้องไม่เกิน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อ 18 บาท ตามคำขอของโจทก์นั้นยังไม่ถูกต้อง เพราะหากอัตราแลกเปลี่ยนณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินต่อ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ เกิน 18 บาท คำพิพากษาของศาลในส่วนนี้จะเกินคำขอของโจทก์จึงสมควรกำหนดไว้ด้วยว่าต้องไม่เกินตามคำขอของโจทก์ด้วย