พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,914 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6458-6461/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากนายจ้างกรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, การคำนวณดอกเบี้ยค่าจ้างค้างจ่าย และการใช้สิทธิฟ้องร้องของลูกจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเคยจ่ายค่าเชื่อมมิกซ์ในอัตราวันละ 30 บาท โจทก์แต่ละคนได้รับเฉลี่ยเดือนละ 780 บาท ต่อมาจำเลยไม่จ่ายซึ่งคำนวณแล้วเป็นเงินเดือนละไม่ต่ำกว่า 500 บาท ตั้งแต่เดือนมกราคม2543 อันเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับการทำงาน และมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยจ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์ด้วย แม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้จำเลยจ่ายเพียงอัตราเดือนละ 500 บาท ทั้งที่กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเดือนละ 780 บาท แต่ต้องถือได้แน่นอนว่าโจทก์เรียกร้องเงินจำนวนนี้ตามคำขอท้ายฟ้อง จึงเป็นคำฟ้องที่แจ้งชัดไม่เคลือบคลุม
แม้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 39 จะใช้คำว่า "ให้ศาลแรงงานจดประเด็นข้อพิพาท"ก็ไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดให้ต้องจดประเด็นข้อพิพาททุกคดี คงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะจดประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ก็ได้
การที่ศาลแรงงานกลางพิจารณาเห็นว่าข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับมาพอให้วินิจฉัยคดีได้แล้ว จึงสั่งงดสืบพยาน เป็นการใช้ดุลพินิจในการพิจารณาพิพากษาคดี อุทธรณ์จำเลยที่โต้แย้งดุลพินิจดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
การแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งที่คู่ความทำได้ เมื่อจำเลยตั้ง ภ. เป็นทนายความของจำเลยภ. จึงมีฐานะเป็นคู่ความ มีสิทธิกระทำการแทนจำเลยเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาอันรวมถึงการแถลงรับข้อเท็จจริงด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(1) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 คำแถลงรับของ ภ. จึงผูกพันจำเลยด้วย
โจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางและชักชวนให้ลูกจ้างอื่นร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานและฟ้องต่อศาลแรงงานกลางเนื่องจากจำเลยปรับลดค่าจ้างโดยไม่มีอำนาจ การกระทำของโจทก์เป็นการใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าจ้างส่วนที่จำเลยปรับลดอันเป็นค่าจ้างค้างจ่ายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และมาตรา 54 และใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา 123 วรรคหนึ่ง อันเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ทั้งการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นของจำเลยกระทำตามก็เป็นการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นใช้สิทธิตามกฎหมายเช่นกัน การกระทำดังกล่าวย่อมไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ค่าชดเชยและค่าจ้างค้างจ่ายเป็นหนี้เงิน ซึ่งจำเลยต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไม่ใช่หนี้เงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจะตกเป็นผู้ผิดนัดและรับผิดชำระดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ต่อเมื่อลูกจ้างทวงถามเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เมื่อใดจำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
โจทก์มีสิทธิได้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ในเงินค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แม้ในคำฟ้องของโจทก์จะขอดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่เพื่อความเป็นธรรมศาลฎีกาให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎหมาย โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 52
แม้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 39 จะใช้คำว่า "ให้ศาลแรงงานจดประเด็นข้อพิพาท"ก็ไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดให้ต้องจดประเด็นข้อพิพาททุกคดี คงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะจดประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ก็ได้
การที่ศาลแรงงานกลางพิจารณาเห็นว่าข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับมาพอให้วินิจฉัยคดีได้แล้ว จึงสั่งงดสืบพยาน เป็นการใช้ดุลพินิจในการพิจารณาพิพากษาคดี อุทธรณ์จำเลยที่โต้แย้งดุลพินิจดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
การแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งที่คู่ความทำได้ เมื่อจำเลยตั้ง ภ. เป็นทนายความของจำเลยภ. จึงมีฐานะเป็นคู่ความ มีสิทธิกระทำการแทนจำเลยเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาอันรวมถึงการแถลงรับข้อเท็จจริงด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(1) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 คำแถลงรับของ ภ. จึงผูกพันจำเลยด้วย
โจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางและชักชวนให้ลูกจ้างอื่นร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานและฟ้องต่อศาลแรงงานกลางเนื่องจากจำเลยปรับลดค่าจ้างโดยไม่มีอำนาจ การกระทำของโจทก์เป็นการใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าจ้างส่วนที่จำเลยปรับลดอันเป็นค่าจ้างค้างจ่ายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และมาตรา 54 และใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา 123 วรรคหนึ่ง อันเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ทั้งการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นของจำเลยกระทำตามก็เป็นการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นใช้สิทธิตามกฎหมายเช่นกัน การกระทำดังกล่าวย่อมไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ค่าชดเชยและค่าจ้างค้างจ่ายเป็นหนี้เงิน ซึ่งจำเลยต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไม่ใช่หนี้เงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจะตกเป็นผู้ผิดนัดและรับผิดชำระดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ต่อเมื่อลูกจ้างทวงถามเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เมื่อใดจำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
โจทก์มีสิทธิได้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ในเงินค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แม้ในคำฟ้องของโจทก์จะขอดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่เพื่อความเป็นธรรมศาลฎีกาให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎหมาย โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6152/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายที่ดิน: การผิดสัญญา, ค่าเสียหาย, และสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องผิดสัญญา โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยตกลงจะซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ วางเงินมัดจำไว้แล้ว แต่เมื่อถึงวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือ จำเลยไม่ไปรับโอนและชำระราคาส่วนที่เหลือ ฟ้องโจทก์ชัดเจนอยู่แล้ว และที่โจทก์บรรยายว่า โจทก์มอบที่ดินพิพาทให้จำเลยทำประโยชน์นับแต่วันทำสัญญา หลังจากนั้นจำเลยขุดดินไปขายได้กำไรมากกว่าเงินมัดจำที่วางไว้เป็นสิบเท่านั้นเป็นการเชื่อมโยงให้เห็นว่าเมื่อมีการเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเพราะเหตุที่จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้วเกิดมีความเสียหายอย่างไรบ้าง ที่จำเลยจะต้องรับผิดใช้ ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แม้โจทก์ไม่ระบุว่าจำเลยขุดดินไปตั้งแต่วันเดือนปีใด แต่ในคำฟ้องก็พอจะทราบได้ว่า การขุดดินไปขายจะต้องเกิดขึ้นในช่วงเวลาตั้งแต่วันทำสัญญาจนถึงวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวมีวันที่เดือนปีปรากฎชัดเจนอยู่ในคำฟ้องแล้วจำเลยย่อมสามารถเข้าใจได้ดี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ขอเรียกร้องค่าเสียหายที่จำเลยทำให้ที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นหลุมขนาดใหญ่เพื่อโจทก์จะได้นำไปซื้อที่ดินมาถมให้คงสภาพเดิมอ่านแล้วเข้าใจได้ว่าค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาดังกล่าวเป็นค่าเสียหายในการถมดินนั่นเอง
โจกท์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยผิดสัญญาและที่บรรยายฟ้องเรื่องจำเลยขุดดินไปขาย เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยจะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายอะไรในการผิดสัญญา ไม่เป็นการบรรยายฟ้องขัดแย้งกัน ฟ้องโจทก์แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
กรณีตามฟ้องที่โจทก์มอบที่ดินพิพาทให้จำเลยทำประโยชน์นับแต่วันทำสัญญา การขุดดินในระหว่างที่ยังไม่ถึงกำหนดวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยย่อมมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้เพราะเป็นการตกลงตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวกันโดยถูกต้องมิใช่เป็นการกระทำเพื่อชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะต้องอ้างกฎหมายได้ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นเรื่องลาภมิควรได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเนื่องจากจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เฉพาะจึงตกอยู่ในบังคับอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 จำเลยรับหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2541 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2541 ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีก ฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิม และการใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ โดยไม่มีบทบัญญัติใดกำหนดไว้ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรก่อนจึงจะเรียกค่าเสียหายได้
โจทก์ฟ้องจำเลยผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหายเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการถมดินให้ที่ดินกลับคืนสู่สภาพดังที่เป็นอยู่เดิม แม้โจทก์จะมีสิทธิบังคับให้จำเลยถมดินให้ที่ดินของโจทก์กลับมีสภาพเดิมก่อนก็ตาม แต่เมื่อโจทก์เลือกที่จะใช้สิทธิบังคับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายส่วนนี้เลยก็ย่อมทำได้เพราะไม่มีกฎหมายห้ามไว้ การที่ศาลล่างทั้งสองได้พิพากษาไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นการพิพากษาข้ามขั้นตอน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ขอเรียกร้องค่าเสียหายที่จำเลยทำให้ที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นหลุมขนาดใหญ่เพื่อโจทก์จะได้นำไปซื้อที่ดินมาถมให้คงสภาพเดิมอ่านแล้วเข้าใจได้ว่าค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาดังกล่าวเป็นค่าเสียหายในการถมดินนั่นเอง
โจกท์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยผิดสัญญาและที่บรรยายฟ้องเรื่องจำเลยขุดดินไปขาย เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยจะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายอะไรในการผิดสัญญา ไม่เป็นการบรรยายฟ้องขัดแย้งกัน ฟ้องโจทก์แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
กรณีตามฟ้องที่โจทก์มอบที่ดินพิพาทให้จำเลยทำประโยชน์นับแต่วันทำสัญญา การขุดดินในระหว่างที่ยังไม่ถึงกำหนดวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยย่อมมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้เพราะเป็นการตกลงตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวกันโดยถูกต้องมิใช่เป็นการกระทำเพื่อชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะต้องอ้างกฎหมายได้ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นเรื่องลาภมิควรได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเนื่องจากจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เฉพาะจึงตกอยู่ในบังคับอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 จำเลยรับหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2541 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2541 ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีก ฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิม และการใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ โดยไม่มีบทบัญญัติใดกำหนดไว้ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรก่อนจึงจะเรียกค่าเสียหายได้
โจทก์ฟ้องจำเลยผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหายเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการถมดินให้ที่ดินกลับคืนสู่สภาพดังที่เป็นอยู่เดิม แม้โจทก์จะมีสิทธิบังคับให้จำเลยถมดินให้ที่ดินของโจทก์กลับมีสภาพเดิมก่อนก็ตาม แต่เมื่อโจทก์เลือกที่จะใช้สิทธิบังคับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายส่วนนี้เลยก็ย่อมทำได้เพราะไม่มีกฎหมายห้ามไว้ การที่ศาลล่างทั้งสองได้พิพากษาไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นการพิพากษาข้ามขั้นตอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5975/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม การแก้ไขคำฟ้อง และการโอนขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงการคืนทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นมารดาจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นมารดาจำเลยที่ 2 และบรรยายฟ้องเกี่ยวกับถ้อยคำต่าง ๆ ที่จำเลยที่ 1 กล่าวหมิ่นประมาทโจทก์ให้เห็นเหตุประพฤติเนรคุณต่อโจทก์อย่างไรด้วย และว่า จำเลยที่ 1 ขายที่ดินที่โจทก์ยกให้จำเลยที่ 1 โดยขายให้จำเลยที่ 2 เป็นการทำนิติกรรมที่มีเจตนาไม่สุจริตและฉ้อฉลที่จะไม่ให้ที่ดินกลับคืนเป็นของโจทก์ ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการขายที่ดิน จำเลยทั้งสองย่อมเข้าใจได้ว่าการไม่สุจริตและฉ้อฉลคือการที่จำเลยที่ 1 สมรู้กับจำเลยที่ 2 โอนขายที่ดิน เพื่อมิให้โจทก์เรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณ จึงเป็นคำฟ้องที่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องเรียกถอนคืนการให้เพราะจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณด้วยการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงรวม 3 ครั้ง ต่างวันเวลากันจำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยดูหมิ่นโจทก์อย่างร้ายแรง ย่อมหมายความว่า ไม่เคยกล่าวคำหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงไม่ว่าจะเป็นวันเวลาใด ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องแล้วจำเลยที่ 1 เบิกความเพียงว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยด่าว่าโจทก์ โดยมิได้เบิกความถึงวันเวลาที่มีการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 หมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง อันเป็นการแสดงให้เห็นด้วยว่า วันเวลาดังกล่าวมิได้เป็นสาระสำคัญในการต่อสู้คดี แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลยทั้งสองทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสามวันก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้อง ก็ชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องเรียกถอนคืนการให้เพราะจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณด้วยการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงรวม 3 ครั้ง ต่างวันเวลากันจำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยดูหมิ่นโจทก์อย่างร้ายแรง ย่อมหมายความว่า ไม่เคยกล่าวคำหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงไม่ว่าจะเป็นวันเวลาใด ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องแล้วจำเลยที่ 1 เบิกความเพียงว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยด่าว่าโจทก์ โดยมิได้เบิกความถึงวันเวลาที่มีการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 หมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง อันเป็นการแสดงให้เห็นด้วยว่า วันเวลาดังกล่าวมิได้เป็นสาระสำคัญในการต่อสู้คดี แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลยทั้งสองทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสามวันก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้อง ก็ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5975/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องถอนคืนการให้เนื่องจากประพฤติเนรคุณ การแก้ไขคำฟ้อง และการฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยบรรยายว่า โจทก์เป็นมารดาจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นมารดาจำเลยที่ 2 และบรรยายถ้อยคำต่าง ๆ ที่จำเลยที่ 1 กล่าวหมิ่นประมาทโจทก์ในลักษณะให้เห็นเหตุประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 ขายที่ดินโฉนดพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้จำเลยที่ 1 โดยขายให้จำเลยที่ 2 เป็นการทำนิติกรรมที่มีเจตนาไม่สุจริตและฉ้อฉล โดยร่วมกันที่จะไม่ให้ทรัพย์สินตกกลับคืนเป็นของโจทก์ จำเลยทั้งสองย่อมเข้าใจได้ว่า การไม่สุจริตและฉ้อฉลคือการที่จำเลยที่ 1 สมรู้กับจำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อมิให้โจทก์เรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณ จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์หาเคลือบคลุมไม่
โจทก์ฟ้องเรียกถอนคืนการให้เพราะจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณด้วยการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงรวม 3 ครั้ง ต่างวันเวลากัน จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีว่าไม่เคยประพฤติเนรคุณให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่โจทก์ ไม่เคยดูหมิ่นโจทก์อย่างร้ายแรง ย่อมหมายความว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยกล่าวคำหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงไม่ว่าจะเป็นวันเวลาใด ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องในระหว่างการสืบพยานโจทก์แล้ว ในการนัดสืบพยานจำเลยทั้งสองในเวลาต่อมาจำเลยที่ 1 เบิกความเพียงว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยด่าว่าหยาบคายแก่โจทก์ โดยมิได้เบิกความถึงวันเวลาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 หมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงทั้ง 3 ครั้ง แสดงให้เห็นว่า วันเวลาในการกล่าวถ้อยคำหมิ่นประมาทอย่างร้ายแรงมิได้เป็นสาระสำคัญในการต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสอง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลยทั้งสองทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสามวันก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้องก็ตาม แต่การที่จะให้มีการแก้ไขในข้อนี้ย่อมไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป เพราะเป็นการมีคำสั่งให้แก้ไขในประเด็นที่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญในคดี ทั้งศาลล่างทั้งสองก็มิได้หยิบยกประเด็นเกี่ยวกับวันเวลาที่มีการแก้ไขดังกล่าวมาเป็นประเด็นชี้ขาดพิพากษาให้เพิกถอนคืนการให้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องเรียกถอนคืนการให้เพราะจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณด้วยการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงรวม 3 ครั้ง ต่างวันเวลากัน จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีว่าไม่เคยประพฤติเนรคุณให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่โจทก์ ไม่เคยดูหมิ่นโจทก์อย่างร้ายแรง ย่อมหมายความว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยกล่าวคำหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงไม่ว่าจะเป็นวันเวลาใด ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องในระหว่างการสืบพยานโจทก์แล้ว ในการนัดสืบพยานจำเลยทั้งสองในเวลาต่อมาจำเลยที่ 1 เบิกความเพียงว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยด่าว่าหยาบคายแก่โจทก์ โดยมิได้เบิกความถึงวันเวลาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 หมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงทั้ง 3 ครั้ง แสดงให้เห็นว่า วันเวลาในการกล่าวถ้อยคำหมิ่นประมาทอย่างร้ายแรงมิได้เป็นสาระสำคัญในการต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสอง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลยทั้งสองทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสามวันก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้องก็ตาม แต่การที่จะให้มีการแก้ไขในข้อนี้ย่อมไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป เพราะเป็นการมีคำสั่งให้แก้ไขในประเด็นที่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญในคดี ทั้งศาลล่างทั้งสองก็มิได้หยิบยกประเด็นเกี่ยวกับวันเวลาที่มีการแก้ไขดังกล่าวมาเป็นประเด็นชี้ขาดพิพากษาให้เพิกถอนคืนการให้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5815/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยรับข้อเท็จจริงดอกเบี้ยค้างชำระตามคำฟ้อง ทำให้ไม่ต้องวินิจฉัยเรื่องเอกสารปลอม
โจทก์บรรยายฟ้องระบุว่า จำเลยมีหน้าที่จะต้องชำระให้แก่โจทก์คิดเป็นดอกเบี้ยจำนวน 541,563.65 บาท จำเลยมิได้ให้การต่อสู้หรือปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำนวนดอกเบี้ยที่ค้างชำระดังกล่าว ถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงในส่วนนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ข้อเท็จจริงต้องฟังตามคำฟ้องว่าจำเลยค้างชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์จำนวน 541,563.65 บาท โดยไม่ต้องสืบพยาน เมื่อบัญชีเงินกู้เอกสารที่โจทก์นำสืบเป็นพยานหลักฐานเกี่ยวกับจำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระ กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าบัญชีเงินกู้เป็นเอกสารที่รับฟังไม่ได้เพราะเป็นเอกสารปลอมและเป็นสำเนาไม่ถูกต้องหรือไม่ แม้ศาลล่างทั้งสองจะได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยไม่ชอบในศาลล่างทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5804/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของบริษัทในเครือจากการซื้อขายต่อเนื่อง แม้ชื่อนิติบุคคลต่างกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้มอบให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนทำสัญญาซื้อขายคอนกรีตผสมเสร็จโดยตกลงราคาและสถานที่ส่งมอบตามชนิดและปริมาตรโดยให้เครดิตแก่จำเลยทั้งสาม 60 วัน ตามสัญญาซื้อขาย การส่งมอบและเรียกเก็บเงินจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้โจทก์ออกบิลเรียกเก็บในนามบริษัทจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 โจทก์ได้ส่งสินค้าให้แก่จำเลยทั้งสามหลายครั้งตามรายละเอียดในฟ้อง รวมเป็นเงินที่จำเลยทั้งสามต้องชำระแก่โจทก์ทั้งสิ้น 613,122.84 บาท ครบกำหนดชำระเงินแล้ว จำเลยทั้งสามไม่ชำระ โจทก์ทวงถามหลายครั้งจำเลยทั้งสามเพิกเฉย ขอให้จำเลยทั้งสามชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาเกี่ยวกับการซื้อขายและคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่ระบุให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 รับผิดต่อโจทก์แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม และเมื่อเป็นการซื้อขายที่กระทำต่อเนื่องกันจำเลยที่ 1 และที่ 3 ย่อมต่อสู้ได้ว่า มิได้สั่งซื้อหรือได้ชำระราคาส่วนใดไปแล้วเท่าใด
บริษัทจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันรับจ้างก่อสร้างโรงงาน จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีที่อยู่ที่เดียวกัน เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นบริษัทสาขาหรือบริษัทลูกของจำเลยที่ 3 ด้วย ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ดำเนินกิจการร่วมกันมาโดยตลอด จึงไม่อาจอ้างความเป็นนิติบุคคลแยกจากกันมาปฏิเสธความรับผิดได้
บริษัทจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันรับจ้างก่อสร้างโรงงาน จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีที่อยู่ที่เดียวกัน เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นบริษัทสาขาหรือบริษัทลูกของจำเลยที่ 3 ด้วย ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ดำเนินกิจการร่วมกันมาโดยตลอด จึงไม่อาจอ้างความเป็นนิติบุคคลแยกจากกันมาปฏิเสธความรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจสอบสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการ มิใช่การโต้แย้งสิทธิโดยตรง จึงไม่สามารถฟ้องร้องได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เช่าบ้านและใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตลอดมา ต่อมาจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นคณะกรรมการตรวจสอบการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการได้ทำรายงานเท็จเสนอต่อสำนักงานสามัญศึกษาขอให้เพิกถอนเช่นนี้ รายงานและคำวินิจฉัยของจำเลยทั้งสามที่เสนอต่อสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ เป็นเพียงความเห็นหรือข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสามเสนอไปตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ยังไม่มีผลเป็นการชี้ขาดหรือบังคับให้โจทก์ต้องปฏิบัติตาม ทั้งจะต้องมีการพิจารณาว่าสมควรจะตั้งกรรมการสอบสวนความผิดของโจทก์หรือไม่อีกชั้นหนึ่ง หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรมอย่างไร ก็ชอบที่จะดำเนินการโต้แย้งคัดค้านตามระเบียบที่ทางราชการกำหนดไว้ กรณียังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรง
แม้เรื่องนี้โจทก์จะเคยฟ้องจำเลยและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับฟ้องมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่ภายหลังโจทก์ขอถอนฟ้องไป ก็หาผูกพันมีผลบังคับให้ศาลต้องรับฟ้องคดีนี้ด้วยไม่
แม้ในคดีเดิมศาลรับฟ้องไว้แล้ว ถ้าต่อมาศาลเห็นว่าตามคำฟ้องยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ ศาลก็มีอำนาจที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมที่รับฟ้องเป็นไม่รับฟ้องได้
แม้เรื่องนี้โจทก์จะเคยฟ้องจำเลยและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับฟ้องมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่ภายหลังโจทก์ขอถอนฟ้องไป ก็หาผูกพันมีผลบังคับให้ศาลต้องรับฟ้องคดีนี้ด้วยไม่
แม้ในคดีเดิมศาลรับฟ้องไว้แล้ว ถ้าต่อมาศาลเห็นว่าตามคำฟ้องยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ ศาลก็มีอำนาจที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมที่รับฟ้องเป็นไม่รับฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิของทายาท และการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืน
เมื่อพิจารณาคำฟ้องรวมกันทั้งฉบับแล้วพอเข้าใจได้ว่า ขณะฟ้องคดี จ. ถึงแก่กรรมแล้ว และผู้จัดการมรดกของ จ. ไม่ยอมดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทที่ จ. และ น. บริจาคให้เป็นถนนรับสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา แต่กรมโยธาธิการและจังหวัดธนบุรีมิได้ใช้ที่ดินพิพาทตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ที่ดินพิพาทจึงกลับมาเป็นของ จ. และ น. ตั้งแต่ก่อนที่ จ. จะถึงแก่กรรม ธ. บุตรของ จ. ซึ่งเป็นทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ จ. จึงต้องฟ้องคดีนี้ ถือได้ว่า ธ. ฟ้องคดีเองในฐานะทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกย่อมฟ้องคดีนี้ได้โดยไม่จำต้องให้ผู้จัดการมรดกของ จ. เป็นผู้ฟ้อง
การที่มีผู้จัดการมรดกอยู่ไม่ทำให้สิทธิของทายาทที่จะดำเนินการเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกองมรดกเสียไป
โจทก์และจำเลยต่างฎีกาและแก้ฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนกลับไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยใหม่ ประกอบกับคดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และข้อเท็จจริงตามที่คู่ความนำสืบกันไว้เพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคดีให้เสร็จเด็ดขาดโดยไม่ย้อนสำนวน
จ. ได้อุทิศส่วนของตนในที่ดินพิพาทยกให้เป็นถนนสาธารณะและได้จดทะเบียนยกให้แล้ว ที่ดินพิพาทส่วนของ จ. ดังกล่าวตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามที่บันทึกไว้ในรูปแผนที่ในโฉนดที่ดินว่า แบ่งให้เป็นถนนเจริญนคร ต้องถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) และตามมาตรา 1305 ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา สภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่อาจสูญสิ้นไปเพราะการไม่ได้ใช้ แม้กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 จะมิได้ใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ที่ขอบริจาคและ จ. ได้กลับเข้าครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าวแล้วนานเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตกไปเป็นของ จ. ได้อีก เพราะตามมาตรา 1306 ท่านห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องล่วงพ้นเวลาสิบปีนับแต่ จ. เจ้ามรดกได้ทำนิติกรรมยกที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณะแล้ว ถึงหากจะเป็นโมฆียะอย่างใดก็ไม่อาจบอกล้างได้ ตามมาตรา 181 ที่ดินพิพาทยังเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่โจทก์ไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาท จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสามปฏิบัติตามคำขอท้ายฟ้องไม่ได้
การที่มีผู้จัดการมรดกอยู่ไม่ทำให้สิทธิของทายาทที่จะดำเนินการเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกองมรดกเสียไป
โจทก์และจำเลยต่างฎีกาและแก้ฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนกลับไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยใหม่ ประกอบกับคดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และข้อเท็จจริงตามที่คู่ความนำสืบกันไว้เพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคดีให้เสร็จเด็ดขาดโดยไม่ย้อนสำนวน
จ. ได้อุทิศส่วนของตนในที่ดินพิพาทยกให้เป็นถนนสาธารณะและได้จดทะเบียนยกให้แล้ว ที่ดินพิพาทส่วนของ จ. ดังกล่าวตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามที่บันทึกไว้ในรูปแผนที่ในโฉนดที่ดินว่า แบ่งให้เป็นถนนเจริญนคร ต้องถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) และตามมาตรา 1305 ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา สภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่อาจสูญสิ้นไปเพราะการไม่ได้ใช้ แม้กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 จะมิได้ใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ที่ขอบริจาคและ จ. ได้กลับเข้าครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าวแล้วนานเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตกไปเป็นของ จ. ได้อีก เพราะตามมาตรา 1306 ท่านห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องล่วงพ้นเวลาสิบปีนับแต่ จ. เจ้ามรดกได้ทำนิติกรรมยกที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณะแล้ว ถึงหากจะเป็นโมฆียะอย่างใดก็ไม่อาจบอกล้างได้ ตามมาตรา 181 ที่ดินพิพาทยังเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่โจทก์ไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาท จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสามปฏิบัติตามคำขอท้ายฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำที่ดิน แม้มีการโอนที่ดินแล้ว ศาลฎีกาวินิจฉัยว่ายังบังคับคดีแก่ผู้กระทำการละเมิดได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนเล้าไก่ส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินโจทก์อ้างการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนเล้าไก่ส่วนที่จำเลยปลูกสร้างรุกล้ำเป็นคำฟ้องที่ต้องบังคับแก่จำเลยโดยตรงได้ เพราะผู้กระทำการละเมิดโจทก์คือจำเลย และเป็นการขอให้รื้อถอนเฉพาะส่วนที่รุกล้ำที่ดินโจทก์ แม้จำเลยจะโอนที่ดินแปลงที่บ้านและเล้าไก่ปลูกอยู่ให้ ป. บุตรชายไปก่อนแล้วก็ตาม การบังคับจำเลยให้รื้อถอนเล้าไก่เฉพาะส่วนที่รุกล้ำที่ดินโจทก์ก็หาได้กระทบกระเทือนสิทธิใด ๆ ของ ป. ผู้รับโอนที่ดินจากจำเลยแต่อย่างใดไม่ ดังนี้ศาลจึงอาจพิพากษาให้ตามคำขอท้ายฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้อง กรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับหนี้ค่าสินค้า
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับชำระเงิน 5,575,551.53 บาทจากโจทก์ โดยกล่าวอ้างว่าโจทก์ยังเป็นหนี้ค่าซื้อสินค้าอยู่แก่จำเลย 5,575,551.53 บาท แต่จำเลยเรียกให้โจทก์ชำระหนี้ 6,565,377.55 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่แตกต่างกันมากจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อพิสูจน์ยอดหนี้ จึงเป็นกรณีที่มีปัญหาโต้แย้งกันอยู่ว่าโจทก์ยังติดค้างหนี้อยู่แก่จำเลยจำนวนเท่าใด แต่ข้อโต้แย้งดังกล่าวเป็นเพียงทำให้การชำระหนี้ของโจทก์ไม่สามารถจะหยั่งรู้ถึงสิทธิได้แน่นอนว่าจะชำระหนี้เป็นจำนวนใด อันทำให้โจทก์สามารถใช้สิทธิวางทรัพย์ด้วยการชำระหนี้ตามจำนวนที่โจทก์เห็นว่าถูกต้องณ สำนักงานวางทรัพย์ ซึ่งหากเป็นจำนวนที่ถูกต้องโจทก์ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 331เมื่อโจทก์มีทางเลือกที่จะปฏิบัติได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องศาล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การตรวจคำฟ้องศาลชั้นต้นต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่า "ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้ยกเสียหรือให้คืนไป ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18" คำว่าให้ยกเสียตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นการยกฟ้องของโจทก์นั่นเอง ศาลจึงมีอำนาจยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งรับฟ้องไว้ก่อน ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ปรากฏว่ามีการโต้แย้งสิทธิอันเป็นกรณีโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทันที โดยมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อนจึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องแล้วนำข้อเท็จจริงในคำฟ้องมาวินิจฉัยเกี่ยวกับคำฟ้องโจทก์และพิพากษายกฟ้อง เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 131(2) ซึ่งมีผลเป็นการพิจารณาคดีมิใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับหรือคืนคำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์ ตามมาตรา 151
การตรวจคำฟ้องศาลชั้นต้นต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่า "ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้ยกเสียหรือให้คืนไป ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18" คำว่าให้ยกเสียตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นการยกฟ้องของโจทก์นั่นเอง ศาลจึงมีอำนาจยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งรับฟ้องไว้ก่อน ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ปรากฏว่ามีการโต้แย้งสิทธิอันเป็นกรณีโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทันที โดยมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อนจึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องแล้วนำข้อเท็จจริงในคำฟ้องมาวินิจฉัยเกี่ยวกับคำฟ้องโจทก์และพิพากษายกฟ้อง เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 131(2) ซึ่งมีผลเป็นการพิจารณาคดีมิใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับหรือคืนคำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์ ตามมาตรา 151