พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,914 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้อง: กรณีความแตกต่างของยอดหนี้และการใช้สิทธิวางทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับชำระเงิน 5,575,551.53 บาท จากโจทก์ โดยกล่าวอ้างว่าโจทก์ยังเป็นหนี้ค่าซื้อสินค้าอยู่แก่จำเลย 5,575,551.53 บาท แต่จำเลยเรียกให้โจทก์ชำระหนี้ 6,565,377.55 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่แตกต่างกันมาก โจทก์จำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อพิสูจน์ยอดหนี้ แต่ข้อโต้แย้งดังกล่าวเป็นเพียงทำให้การชำระหนี้ของโจทก์ ไม่สามารถจะหยั่งรู้ถึงสิทธิได้แน่นอนว่าจะชำระหนี้เป็นจำนวนใด อันทำให้โจทก์สามารถใช้สิทธิวางทรัพย์ด้วยการชำระหนี้ตามจำนวนที่โจทก์เห็นว่าถูกต้อง ณ สำนักงานวางทรัพย์ ซึ่งหากเป็นจำนวนที่ถูกต้องโจทก์ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 331 เมื่อโจทก์มีทางเลือกที่จะปฏิบัติได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องศาล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การตรวจคำฟ้อง ศาลชั้นต้นต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่า "ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้ยกเสียหรือให้คืนไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18" คำว่า ให้ยกเสียตามบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการยกฟ้องของโจทก์นั่นเอง ศาลจึงมีอำนาจยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งรับฟ้องไว้ก่อน
เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ปรากฏว่ามีการโต้แย้งสิทธิอันเป็นกรณีโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องของโจทก์ทันที โดยมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อนจึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องแล้วนำข้อเท็จจริงในคำฟ้องมาวินิจฉัยเกี่ยวกับคำฟ้องโจทก์และพิพากษายกฟ้อง เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามความหมายแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ซึ่งมีผลเป็นการพิจารณาคดี มิใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่รับหรือคืนคำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์ตามมาตรา 151
การตรวจคำฟ้อง ศาลชั้นต้นต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่า "ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้ยกเสียหรือให้คืนไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18" คำว่า ให้ยกเสียตามบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการยกฟ้องของโจทก์นั่นเอง ศาลจึงมีอำนาจยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งรับฟ้องไว้ก่อน
เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ปรากฏว่ามีการโต้แย้งสิทธิอันเป็นกรณีโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องของโจทก์ทันที โดยมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อนจึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องแล้วนำข้อเท็จจริงในคำฟ้องมาวินิจฉัยเกี่ยวกับคำฟ้องโจทก์และพิพากษายกฟ้อง เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามความหมายแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ซึ่งมีผลเป็นการพิจารณาคดี มิใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่รับหรือคืนคำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์ตามมาตรา 151
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 385/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งขับไล่และการครอบครองปรปักษ์: สิทธิของเจ้าของมรดกเหนือที่ดิน
คำคัดค้านและฟ้องแย้งของผู้คัดค้านระบุในช่องคู่ความว่า อ. และ ป. ผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้คัดค้าน และบรรยายว่า ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านไม่ประสงค์ให้ผู้ร้องอยู่อาศัยในที่ดินพิพาทต่อไป ขอให้บังคับผู้ร้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารพร้อมรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดิน การฟ้องแย้งของผู้คัดค้านดังกล่าว เป็นการฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยได้แสดงชัดแจ้งซึ่ง สภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้ตายจึงมีอำนาจฟ้องแย้งขับไล่ผู้ร้องออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ส. ได้ เพราะเมื่อผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทและมีผู้คัดค้านขึ้นมาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4) ให้ดำเนินคดีไป อย่างคดีมีข้อพิพาท ผู้ร้องจึงมีฐานะเป็นโจทก์ผู้คัดค้านย่อมมีฐานะ เป็นจำเลย ย่อมมีสิทธิฟ้องแย้งผู้ร้องได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้ตายจึงมีอำนาจฟ้องแย้งขับไล่ผู้ร้องออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ส. ได้ เพราะเมื่อผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทและมีผู้คัดค้านขึ้นมาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4) ให้ดำเนินคดีไป อย่างคดีมีข้อพิพาท ผู้ร้องจึงมีฐานะเป็นโจทก์ผู้คัดค้านย่อมมีฐานะ เป็นจำเลย ย่อมมีสิทธิฟ้องแย้งผู้ร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายเกินเนื้อที่ตกลง, ความรับผิดของผู้ซื้อร่วม, ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจากโจทก์เนื้อที่ 107 ตารางวา แต่จดทะเบียนโอนเกินกว่าที่ตกลงไป 11 ตารางวา ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียน หรือให้จำเลยชำระค่าเสียหายเท่าราคาที่ดินตารางวาละ 120,000 บาท เมื่อศาลเห็นว่าคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินไม่สามารถเพิกถอนได้ ก็ยกคำขอส่วนนี้ และพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 1,320,000 บาท ตามคำขอท้ายฟ้องที่ว่า หากสภาพแห่งหนี้ไม่อาจบังคับได้ขอให้จำเลยชำระค่าที่ดิน ซึ่งหมายความว่า เมื่อเพิกถอนนิติกรรมไม่ได้ ก็ขอให้จำเลยชดใช้ค่าที่ดินส่วนที่เกินได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
สัญญาขายเหมาคือสัญญาซื้อขายที่ผู้ซื้อตกลงซื้อทรัพย์สินที่ผู้ขายเสนอขายหมดทั้งจำนวนในราคาที่ตกลงกัน ซึ่งผู้ซื้อต้องผูกพันชำระราคาและผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดตามที่ตกลงกันไว้ ทั้งนี้ไม่ว่าทรัพย์สินที่ซื้อขายจะมีปริมาณมากหรือน้อยกว่าที่คิดคำนวณไว้ ดังนั้น เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์จำเลยได้ระบุตัวทรัพย์และส่วนของทรัพย์ที่จะซื้อจะขายไว้แน่นอน คือที่ดินเนื้อที่ 107 ตารางวา แต่ในส่วนของราคาระบุว่าให้เพิ่มหรือลดลงได้ตามเนื้อที่ซึ่งยังไม่แน่นอนว่าจะมีราคาเท่าใด จึงไม่ใช่สัญญาขายเหมา
จำเลยที่ 1 กับที่ 3 ตกลงกันว่าจะสร้างอาคารพาณิชย์บนที่ดินของโจทก์ จึงให้จำเลยที่ 1 ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ ระหว่างนั้นได้ดำเนินการจดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยที่ 2 ขึ้น โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจและจำเลยที่ 1 เป็นผู้เริ่มก่อการและผู้ถือหุ้น เมื่อถึงกำหนดก็จดทะเบียนโอนที่ดินเป็นชื่อจำเลยที่ 3 พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 3 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของโจทก์ จึงต้องรับผิดตามสัญญาจะซื้อจะขาย
สัญญาขายเหมาคือสัญญาซื้อขายที่ผู้ซื้อตกลงซื้อทรัพย์สินที่ผู้ขายเสนอขายหมดทั้งจำนวนในราคาที่ตกลงกัน ซึ่งผู้ซื้อต้องผูกพันชำระราคาและผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดตามที่ตกลงกันไว้ ทั้งนี้ไม่ว่าทรัพย์สินที่ซื้อขายจะมีปริมาณมากหรือน้อยกว่าที่คิดคำนวณไว้ ดังนั้น เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์จำเลยได้ระบุตัวทรัพย์และส่วนของทรัพย์ที่จะซื้อจะขายไว้แน่นอน คือที่ดินเนื้อที่ 107 ตารางวา แต่ในส่วนของราคาระบุว่าให้เพิ่มหรือลดลงได้ตามเนื้อที่ซึ่งยังไม่แน่นอนว่าจะมีราคาเท่าใด จึงไม่ใช่สัญญาขายเหมา
จำเลยที่ 1 กับที่ 3 ตกลงกันว่าจะสร้างอาคารพาณิชย์บนที่ดินของโจทก์ จึงให้จำเลยที่ 1 ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ ระหว่างนั้นได้ดำเนินการจดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยที่ 2 ขึ้น โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจและจำเลยที่ 1 เป็นผู้เริ่มก่อการและผู้ถือหุ้น เมื่อถึงกำหนดก็จดทะเบียนโอนที่ดินเป็นชื่อจำเลยที่ 3 พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 3 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของโจทก์ จึงต้องรับผิดตามสัญญาจะซื้อจะขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8007/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินต้องกระทำการโดยไม่ได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลย เป็นการฟ้องที่ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขอออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายโดยไม่ชอบขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลย เป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินให้กระทำการหรือไม่กระทำการ เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลย จึงขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคสอง คำขอของโจทก์จึงไม่ชอบและไม่อาจบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8007/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องขอห้ามเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายที่ไม่ชอบ หากมิได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลย ย่อมไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขอออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายโดยไม่ชอบขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินให้กระทำการหรือไม่กระทำการ เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลย จึงขอให้บังคับ เจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคสอง คำขอของโจทก์จึงไม่ชอบและไม่อาจบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7767/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างครู การจ่ายค่าชดเชย และการประเมินความร้ายแรงของพฤติกรรมผิดวินัย
โจทก์และจำเลยต่างเป็นเอกชนที่ตกลงทำสัญญาจ้างกัน โดยจำเลยตกลงจ้างโจทก์ทำงานเป็นครู และให้ค่าจ้างเป็นรายเดือนตลอดเวลาที่ทำงานให้จำเลย จึงเป็นการจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 หาใช่เป็นสัญญาทางการปกครองไม่
แม้กฎกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 ข้อ (1) จะกำหนดมิให้ใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 บังคับแก่นายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับครูใหญ่และครู แต่เมื่อสัญญาการเป็นครูเป็นสัญญาจ้างแรงงาน คู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 เพียงแต่ศาลแรงงานจะนำ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาบังคับใช้แก่คดีไม่ได้ และสิทธิของคู่สัญญาย่อมเป็นไปตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 และกฎหมายอื่น
พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มีวัตถุประสงค์ควบคุมโรงเรียนเอกชนให้เป็นระเบียบและมีประสิทธิภาพเท่านั้น มิใช่กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่นายจ้างลูกจ้าง หรือกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างลูกจ้าง หรือแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างลูกจ้าง อันเป็นวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วย แรงงานสัมพันธ์ แม้จะมีการกำหนดให้การคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครู โดยมีคณะกรรมการคุ้มครองการทำงานเป็นผู้ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายที่จะขจัดข้อพิพาทระหว่างครูใหญ่หรือครูกับ ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้จัดการ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 จึงมิใช่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ การฟ้องคดีจึงไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 กำหนดไว้ก่อน
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย จำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด ขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าจ้างค้างจ่าย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรมตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายคุ้มครองแรงงานก็ตาม แต่การฟ้องคดีแพ่งโจทก์เพียงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเท่านั้น หาจำต้องอ้างบทกฎหมายที่กำหนดให้จำเลยต้องจ่ายเงินตามฟ้องมาด้วยไม่ หรือถ้าอ้างบทกฎหมายมาด้วย ศาลก็มีอำนาจนำบทกฎหมายนอกเหนือจากที่โจทก์อ้างมาปรับกับข้อเท็จจริงตามฟ้องได้ เพราะเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้น ที่ศาลแรงงานนำระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 มาปรับแก่คดีนี้ จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
แม้ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 ข้อ 34 จะได้กำหนดให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกสัญญาการเป็นครูในกรณี (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่ผู้รับใบอนุญาต (2) จงใจทำให้ผู้รับใบอนุญาตได้รับความเสียหาย (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ผู้รับใบอนุญาตได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง (4) ฝ่าฝืนระเบียบว่าด้วยจรรยา มรรยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครูตามที่คุรุสภากำหนด (5) ฝ่าฝืนระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยจรรยา มรรยาท วินัยและหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการ ครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2526 และ (7) มีความประพฤติไม่เหมาะสมแก่ตำแหน่งหน้าที่ แต่ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการสั่งลงโทษครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2526 ข้อ 2 กำหนดการลงโทษครูใหญ่หรือครูไว้ 5 สถานได้แก่ (1) ตำหนิโทษเป็นลายลักษณ์อักษร (2) ภาคฑัณฑ์ (3) ตัดเงินเดือน (4) ลดเงินเดือนและ (5) ให้พ้นจากหน้าที่ ข้อ 3 กำหนดให้การสั่งลงโทษต้องให้เหมาะสมกับความผิด อย่าให้เป็นไปโดยพยาบาทหรือโดยโทสะจริต ข้อ 5 กำหนดว่า ถ้าปรากฏว่าเป็นการประพฤติผิดจรรยา มรรยาท หรือไม่ปฏิบัติตามวินัยหรือหน้าที่ ซึ่งเป็นความผิดเล็กน้อยไม่ถึงกับจะถูกลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือน ก็ให้ผู้มีอำนาจลงโทษโดยการตำหนิโทษเป็นลายลักษณ์อักษรหรือภาคฑัณฑ์ตามควรแก่กรณี และข้อ 7 กำหนดว่า ในกรณีที่ครูประพฤติผิดจรรยา มรรยาท หรือไม่ปฏิบัติตามวินัยหรือหน้าที่ซึ่งผู้มีอำนาจเห็นควรลงโทษร้ายแรงถึงขั้นให้พ้นจากหน้าที่ครู ให้ทำการสอบสวนและเสนอให้คณะกรรมการคุ้มครองการทำงานพิจารณาวินิจฉัยก่อน เห็นได้ชัดแจ้งว่า การประพฤติผิดจรรยา มรรยาท วินัยและหน้าที่ หรือประพฤติที่ไม่เหมาะสมแก่ตำแหน่งหน้าที่ มีระดับความร้ายแรงแตกต่างกันตามข้อเท็จจริงเป็นกรณีไป จึงกำหนดให้ลงโทษแตกต่างกันไปตามระดับของความร้ายแรงนั้น
การที่จำเลยจะให้โจทก์พ้นหน้าที่ครูโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยต่อเมื่อการกระทำของโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบกระทรวงศึกษาธิการและระเบียบคุรุสภา ว่าด้วยจรรยา มรรยาท วินัยและหน้าที่ของครูโรงเรียนเอกชนและวินัยตามระเบียบประเพณีครู ต้องเป็นกรณีที่ร้ายแรงในระดับที่ใกล้เคียงกับการกระทำความผิดตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 ข้อ 34 (1) (2) และ (3) โจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ไม่ใช้ความระมัดระวังปล่อยให้นักศึกษาลอกคำตอบข้อสอบกันซึ่งเป็นการฝ่าฝืนระเบียบดังกล่าวที่ยังไม่ร้ายแรงถึงขนาดที่จำเลยจะมีสิทธิเลิกสัญญาการเป็นครูโดยไม่จ่ายค่าชดเชย
โจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ในการคุมสอบ ปล่อยให้นักศึกษาลอกคำตอบข้อสอบกัน ถือได้ว่าเป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์
แม้กฎกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 ข้อ (1) จะกำหนดมิให้ใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 บังคับแก่นายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับครูใหญ่และครู แต่เมื่อสัญญาการเป็นครูเป็นสัญญาจ้างแรงงาน คู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 เพียงแต่ศาลแรงงานจะนำ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาบังคับใช้แก่คดีไม่ได้ และสิทธิของคู่สัญญาย่อมเป็นไปตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 และกฎหมายอื่น
พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มีวัตถุประสงค์ควบคุมโรงเรียนเอกชนให้เป็นระเบียบและมีประสิทธิภาพเท่านั้น มิใช่กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่นายจ้างลูกจ้าง หรือกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างลูกจ้าง หรือแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างลูกจ้าง อันเป็นวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วย แรงงานสัมพันธ์ แม้จะมีการกำหนดให้การคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครู โดยมีคณะกรรมการคุ้มครองการทำงานเป็นผู้ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายที่จะขจัดข้อพิพาทระหว่างครูใหญ่หรือครูกับ ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้จัดการ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 จึงมิใช่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ การฟ้องคดีจึงไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 กำหนดไว้ก่อน
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย จำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด ขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าจ้างค้างจ่าย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรมตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายคุ้มครองแรงงานก็ตาม แต่การฟ้องคดีแพ่งโจทก์เพียงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเท่านั้น หาจำต้องอ้างบทกฎหมายที่กำหนดให้จำเลยต้องจ่ายเงินตามฟ้องมาด้วยไม่ หรือถ้าอ้างบทกฎหมายมาด้วย ศาลก็มีอำนาจนำบทกฎหมายนอกเหนือจากที่โจทก์อ้างมาปรับกับข้อเท็จจริงตามฟ้องได้ เพราะเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้น ที่ศาลแรงงานนำระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 มาปรับแก่คดีนี้ จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
แม้ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 ข้อ 34 จะได้กำหนดให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกสัญญาการเป็นครูในกรณี (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่ผู้รับใบอนุญาต (2) จงใจทำให้ผู้รับใบอนุญาตได้รับความเสียหาย (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ผู้รับใบอนุญาตได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง (4) ฝ่าฝืนระเบียบว่าด้วยจรรยา มรรยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครูตามที่คุรุสภากำหนด (5) ฝ่าฝืนระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยจรรยา มรรยาท วินัยและหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการ ครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2526 และ (7) มีความประพฤติไม่เหมาะสมแก่ตำแหน่งหน้าที่ แต่ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการสั่งลงโทษครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2526 ข้อ 2 กำหนดการลงโทษครูใหญ่หรือครูไว้ 5 สถานได้แก่ (1) ตำหนิโทษเป็นลายลักษณ์อักษร (2) ภาคฑัณฑ์ (3) ตัดเงินเดือน (4) ลดเงินเดือนและ (5) ให้พ้นจากหน้าที่ ข้อ 3 กำหนดให้การสั่งลงโทษต้องให้เหมาะสมกับความผิด อย่าให้เป็นไปโดยพยาบาทหรือโดยโทสะจริต ข้อ 5 กำหนดว่า ถ้าปรากฏว่าเป็นการประพฤติผิดจรรยา มรรยาท หรือไม่ปฏิบัติตามวินัยหรือหน้าที่ ซึ่งเป็นความผิดเล็กน้อยไม่ถึงกับจะถูกลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือน ก็ให้ผู้มีอำนาจลงโทษโดยการตำหนิโทษเป็นลายลักษณ์อักษรหรือภาคฑัณฑ์ตามควรแก่กรณี และข้อ 7 กำหนดว่า ในกรณีที่ครูประพฤติผิดจรรยา มรรยาท หรือไม่ปฏิบัติตามวินัยหรือหน้าที่ซึ่งผู้มีอำนาจเห็นควรลงโทษร้ายแรงถึงขั้นให้พ้นจากหน้าที่ครู ให้ทำการสอบสวนและเสนอให้คณะกรรมการคุ้มครองการทำงานพิจารณาวินิจฉัยก่อน เห็นได้ชัดแจ้งว่า การประพฤติผิดจรรยา มรรยาท วินัยและหน้าที่ หรือประพฤติที่ไม่เหมาะสมแก่ตำแหน่งหน้าที่ มีระดับความร้ายแรงแตกต่างกันตามข้อเท็จจริงเป็นกรณีไป จึงกำหนดให้ลงโทษแตกต่างกันไปตามระดับของความร้ายแรงนั้น
การที่จำเลยจะให้โจทก์พ้นหน้าที่ครูโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยต่อเมื่อการกระทำของโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบกระทรวงศึกษาธิการและระเบียบคุรุสภา ว่าด้วยจรรยา มรรยาท วินัยและหน้าที่ของครูโรงเรียนเอกชนและวินัยตามระเบียบประเพณีครู ต้องเป็นกรณีที่ร้ายแรงในระดับที่ใกล้เคียงกับการกระทำความผิดตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 ข้อ 34 (1) (2) และ (3) โจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ไม่ใช้ความระมัดระวังปล่อยให้นักศึกษาลอกคำตอบข้อสอบกันซึ่งเป็นการฝ่าฝืนระเบียบดังกล่าวที่ยังไม่ร้ายแรงถึงขนาดที่จำเลยจะมีสิทธิเลิกสัญญาการเป็นครูโดยไม่จ่ายค่าชดเชย
โจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ในการคุมสอบ ปล่อยให้นักศึกษาลอกคำตอบข้อสอบกัน ถือได้ว่าเป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7767/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างครูโรงเรียนเอกชนเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ฟ้องศาลแรงงานได้ แม้มีกฎกระทรวงคุ้มครองเฉพาะ
โจทก์และจำเลยต่างเป็นเอกชนที่ตกลงทำสัญญาจ้างกัน โดยจำเลยตกลงจ้างโจทก์ทำงานเป็นครู และให้ค่าจ้างเป็นรายเดือนตลอดเวลาที่ทำงานให้จำเลย สัญญาจ้างเป็นครูดังกล่าวจึงเป็นการจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 แต่มิใช่สัญญาทางการปกครองแม้กฎกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (ฉบับที่ 1)ฯ ข้อ (1) จะกำหนดมิให้ใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ บังคับแก่นายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับครูใหญ่และครู แต่เมื่อสัญญาการเป็นครูเป็นสัญญาจ้างแรงงานโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยใช้เงินอันเนื่องมาจากสัญญาจ้างแรงงานได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 8 เพียงแต่ศาลแรงงานกลางจะนำพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯมาบังคับใช้แก่คดีนี้ไม่ได้เท่านั้น พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนฯ มีวัตถุประสงค์ควบคุมโรงเรียนเอกชนให้เป็นระเบียบและมีประสิทธิภาพ มิใช่กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่นายจ้างและลูกจ้างหรือกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างลูกจ้าง หรือแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างลูกจ้างอันเป็นวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์แม้จะมีการกำหนดให้การคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโดยมีคณะกรรมการคุ้มครองการทำงานเป็นผู้ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ใช่กฎหมายที่ขจัดข้อพิพาทระหว่างครูใหญ่หรือครูกับผู้รับใบอนุญาตหรือผู้จัดการพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนฯ จึงไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ที่โจทก์จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าวก่อนฟ้องคดี โจทก์มีอำนาจฟ้อง
ในการฟ้องคดีแพ่งโจทก์เพียงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเท่านั้นไม่จำต้องอ้างบทกฎหมายที่กำหนดให้จำเลยต้องจ่ายเงินตามฟ้องมาด้วย ศาลก็มีอำนาจนำบทกฎหมายที่นอกเหนือจากที่โจทก์อ้างมาปรับกับข้อเท็จจริงตามฟ้องได้เพราะเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้น ที่ศาลแรงงานกลางนำระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ มาปรับแก่คดีนี้ จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
ในการฟ้องคดีแพ่งโจทก์เพียงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเท่านั้นไม่จำต้องอ้างบทกฎหมายที่กำหนดให้จำเลยต้องจ่ายเงินตามฟ้องมาด้วย ศาลก็มีอำนาจนำบทกฎหมายที่นอกเหนือจากที่โจทก์อ้างมาปรับกับข้อเท็จจริงตามฟ้องได้เพราะเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้น ที่ศาลแรงงานกลางนำระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ มาปรับแก่คดีนี้ จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7428/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แม้จะมีการแก้ไขข้อความ แต่หากจำนวนเงินและดอกเบี้ยถูกต้อง ผู้กู้ยังต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปจำนวน 25,000 บาททำสัญญากู้เงินมอบให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐานตามสำเนาสัญญากู้เงินท้ายฟ้อง จำเลยให้การว่า จำเลยกู้ยืมเงินจำนวน 25,000 บาทไปจากโจทก์จริง โดยการกู้ยืมโจทก์ให้จำเลยลงลายมือชื่อในกระดาษที่ไม่มีการกรอกข้อความไว้ สัญญากู้เงินตามเอกสารท้ายฟ้อง โจทก์เป็นผู้กรอกข้อความขึ้นเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยจึงเป็นสัญญาปลอมทั้งฉบับ ตามคำให้การของจำเลย จำเลยรับแล้วว่าได้กู้ยืมเงินโจทก์ไปจริงตามที่โจทก์ฟ้อง โดยจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในกระดาษที่ไม่มีการกรอกข้อความไว้ แม้หากข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามคำให้การของจำเลยว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารที่โจทก์กรอกข้อความขึ้นเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยก็ตามแต่โจทก์ได้กรอกจำนวนเงินที่กู้ยืมตามความเป็นจริง อัตราดอกเบี้ยก็ไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือที่ได้ตกลงกันไว้ การกู้ยืมเงินครั้งนี้จึงเป็นการกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งจำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่โจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7428/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แม้จะมีการโต้แย้งเรื่องการกรอกข้อความ แต่หากจำนวนเงินและดอกเบี้ยถูกต้อง ผู้กู้ยืมยังต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปจำนวน 25,000 บาททำสัญญากู้เงินมอบให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐานตามสำเนาสัญญากู้เงินท้ายฟ้อง จำเลยให้การว่า จำเลยกู้ยืมเงินจำนวน 25,000 บาท ไปจากโจทก์จริง โดยการกู้ยืมโจทก์ให้จำเลยลงลายมือชื่อในกระดาษที่ไม่มีการกรอกข้อความไว้ สัญญากู้เงินตามเอกสารท้ายฟ้อง โจทก์เป็นผู้กรอกข้อความขึ้นเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลย จึงเป็นสัญญาปลอมทั้งฉบับ ตามคำให้การของจำเลยจำเลยรับแล้วว่าได้กู้ยืมเงินโจทก์ไปจริงตามที่โจทก์ฟ้อง โดยจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในกระดาษที่ไม่มีการกรอกข้อความไว้แม้หากข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามคำให้การของจำเลยว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารที่โจทก์กรอกข้อความขึ้นเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยก็ตามแต่โจทก์ได้กรอกจำนวนเงินที่กู้ยืมตามความเป็นจริง อัตราดอกเบี้ยก็ไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือที่ได้ตกลงกันไว้ การกู้ยืมเงินครั้งนี้จึงเป็นการกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมเป็นสำคัญตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคหนึ่งจำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่โจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7139/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับศพที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการฟ้องเรียกค่าเสียหาย ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาเฉพาะส่วน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นภริยา ฉ.ผู้ตายอันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5แสดงตนต่อโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 เพื่อขอรับศพผู้ตาย โดยแสดงหลักฐานเพียงใบแทนบัตรประจำตัวประชาชนของจำเลยที่ 3 เท่านั้น ส่วนหลักฐานอื่นตามระเบียบของโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 ที่แจ้งให้โจทก์นำมาแสดงไม่มี แต่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1กลับมอบศพผู้ตายให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไป เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ไม่มีสิทธิในการรับศพผู้ตายออกจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 อย่างไร อันจะเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับศพผู้ตายไป จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์
ส่วนคำฟ้องของโจทก์ที่กล่าวอ้างว่า จำเลย 2 ถึงที่ 4 นำศพผู้ตายใส่ในโลงที่โจทก์เป็นผู้เตรียมมานำออกไปจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 หากฟังได้เป็นความจริงย่อมเป็นการเอาโลงดังกล่าวไปโดยไม่มีสิทธิ เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตามคำฟ้องส่วนนี้ แต่โลงที่โจทก์กล่าวอ้างมีราคาเพียง 4,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง ศาลฎีกาเห็นสมควรให้โจทก์นำคดีส่วนนี้ไปฟ้องยังศาลแขวงที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไป
ส่วนคำฟ้องของโจทก์ที่กล่าวอ้างว่า จำเลย 2 ถึงที่ 4 นำศพผู้ตายใส่ในโลงที่โจทก์เป็นผู้เตรียมมานำออกไปจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 หากฟังได้เป็นความจริงย่อมเป็นการเอาโลงดังกล่าวไปโดยไม่มีสิทธิ เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตามคำฟ้องส่วนนี้ แต่โลงที่โจทก์กล่าวอ้างมีราคาเพียง 4,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง ศาลฎีกาเห็นสมควรให้โจทก์นำคดีส่วนนี้ไปฟ้องยังศาลแขวงที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไป