พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,914 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3113/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินคืนจากผู้รับเงินผิดพลาด: เจ้าของเงินมีสิทธิติดตามเรียกคืนได้ แม้มีปัญหาการรับฝาก
สัญญาฝากเงินและเบิกถอนเงินระหว่างโจทก์กับสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ จำกัด เป็นสัญญาฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 ดังนั้นเงินฝากของสหกรณ์ที่ฝากไว้กับโจทก์ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตั้งแต่ที่มีการฝากเงิน สหกรณ์ฯ มีสิทธิที่จะเบิกถอนเงินได้ โจทก์เพียงแต่มีหน้าที่ต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น การที่พนักงานของโจทก์ปฏิบัติงานผิดพลาดและนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยตามเช็ดที่จำเลยนำเข้าฝากในบัญชี จึงเป็นการเอาเงินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์เองเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลย ไม่ใช่เป็นการเอาเงินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของสหกรณ์ฯ เข้าบัญชีเงินฝากของจำเลย แม้บัญชีเงินฝากของสหกรณ์ฯ จะมียอดแสดงการหักเงินจากบัญชี แต่บัญชีเงินฝากของสหกรณ์ฯ เป็นเพียงหลักฐานและการตรวจสอบการรับฝากและถอนเงินระหว่างโจทก์กับสหกรณ์ฯ เท่านั้น เมื่อสหกรณ์ฯ ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในเงินที่จำเลยเบิกถอนไปจากโจทก์ สหกรณ์ฯ จึงย่อมไม่มีสิทธิติดตามและเอาเงินคืนจากจำเลยตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1336 การที่โจทก์ชดใช้เงินคืนให้แก่สหกรณ์ฯ เป็นความรับผิดตามสัญญาฝากทรัพย์ระหว่างโจทก์กับสหกรณ์ไม่มีสิทธิใดที่โจทก์จะรับช่วงจากสหกรณ์ฯ ในการฟ้องร้องเรียกให้จำเลยชดใช้เงินคืนแก่โจทก์ตามบทบัญญัติว่าด้วยรับช่วงสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 226, 227 และ 229
เมื่อจำเลยเป็นลูกค้าของโจทก์ โดยเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ การที่พนักงานโจทก์ปฏิบัติงานผิดพลาดโดยนำเงินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์เข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยตามเช็ดที่จำเลยนำเข้าฝากในบัญชีโดยเข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิรับเงินตามเช็คและจำเลยได้เบิกถอนเงินจำนวนตามเช็คไปจากบัญชีเงินฝากของจำเลย จึงเป็นการที่จำเลยได้เงินนั้นไปโดยไม่ชอบ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเงินจำนวนดังกล่าวย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนจากจำเลย ซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 โดยไม่มีกำหนดอายุความ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยได้
คดีนี้แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับช่วงสิทธิจากสหกรณ์ฯ ในการเรียกร้องเงินคืนจากจำเลย แต่คำฟ้องของโจทก์เก็บบรรยายข้อเท็จจริงพอเข้าใจได้ว่าโจทก์ได้ชดใช้เงินคืนให้แก่สหกรณ์ฯ แล้ว และประสงค์จะเรียกคืนจากจำเลยซึ่งไม่มีสิทธิโดยชอบที่จะได้เงินจำนวนนั้น ซึ่งในการฟ้องคดีแพ่งโจทก์เพียงแต่บรรยายข้อเท็จจริงและมีคำขอบังคับก็เป็นการเพียงพอแล้ว โจทก์ไม่จำเป็นต้องยกบทกฎหมายขึ้นกล่าวอ้าง การยกบทกฎหมายขึ้นปรับใช้บังคับแก่คดีเป็นหน้าที่ของศาล เมื่อกรณีเป็นเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 และโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเงินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนจากจำเลยซึ่งไม่มีสิทธิโดยชอบที่จะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ว่ากรณีเป็นเรื่องดังกล่าว เมื่อจำเลยได้เบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลย ซึ่งมีจำนวนเงินตามเช็ค 4 ฉบับ รวมเป็นเงินทั้งหมด 219,000 บาท จำเลยจึงต้องรับผิดคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์และเนื่องจากหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงิน จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 227 วรรคหนึ่งด้วย
เมื่อจำเลยเป็นลูกค้าของโจทก์ โดยเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ การที่พนักงานโจทก์ปฏิบัติงานผิดพลาดโดยนำเงินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์เข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยตามเช็ดที่จำเลยนำเข้าฝากในบัญชีโดยเข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิรับเงินตามเช็คและจำเลยได้เบิกถอนเงินจำนวนตามเช็คไปจากบัญชีเงินฝากของจำเลย จึงเป็นการที่จำเลยได้เงินนั้นไปโดยไม่ชอบ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเงินจำนวนดังกล่าวย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนจากจำเลย ซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 โดยไม่มีกำหนดอายุความ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยได้
คดีนี้แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับช่วงสิทธิจากสหกรณ์ฯ ในการเรียกร้องเงินคืนจากจำเลย แต่คำฟ้องของโจทก์เก็บบรรยายข้อเท็จจริงพอเข้าใจได้ว่าโจทก์ได้ชดใช้เงินคืนให้แก่สหกรณ์ฯ แล้ว และประสงค์จะเรียกคืนจากจำเลยซึ่งไม่มีสิทธิโดยชอบที่จะได้เงินจำนวนนั้น ซึ่งในการฟ้องคดีแพ่งโจทก์เพียงแต่บรรยายข้อเท็จจริงและมีคำขอบังคับก็เป็นการเพียงพอแล้ว โจทก์ไม่จำเป็นต้องยกบทกฎหมายขึ้นกล่าวอ้าง การยกบทกฎหมายขึ้นปรับใช้บังคับแก่คดีเป็นหน้าที่ของศาล เมื่อกรณีเป็นเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 และโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเงินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนจากจำเลยซึ่งไม่มีสิทธิโดยชอบที่จะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ว่ากรณีเป็นเรื่องดังกล่าว เมื่อจำเลยได้เบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลย ซึ่งมีจำนวนเงินตามเช็ค 4 ฉบับ รวมเป็นเงินทั้งหมด 219,000 บาท จำเลยจึงต้องรับผิดคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์และเนื่องจากหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงิน จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 227 วรรคหนึ่งด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7953/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำรุดทรุดโทรมของบ้านจากเหตุภายนอก จำเลยต้องรับผิดชอบค่าเสียหายแต่ศาลกำหนดจำนวนที่สมเหตุสมผล
คำฟ้องของโจทก์แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งแล้วว่าโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยรับผิดตามข้อตกลงที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ แม้โจทก์มิได้แจกแจงรายละเอียดของค่าเสียหายไว้ ก็ไม่ทำให้จำเลยไม่อาจต่อสู้คดีได้ เนื่องจากจำเลยยังสามารถให้การต่อสู้คดีได้ว่าค่าเสียหายของโจทก์หากมีก็ไม่เกิน 50,000 บาท ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยทำหนังสือแจ้งผ่านองค์การบริหารส่วนตำบลว่าจะซ่อมแซมทาวน์เฮ้าส์ของโจทก์ เป็นกรณีที่จำเลยกระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิดที่จำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายถือว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ได้รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1)
ขณะที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 1 ปี ตามสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นในกลางปี 2541 อายุความย่อมสะดุดหยุดลง แต่จะนับอายุความใหม่ก็ต่อเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 เมื่อเอกสารดังกล่าว มีข้อความว่า จำเลยจะเริ่มซ่อมแซมทาวน์เฮาส์เวลาใดจำเลยจะแจ้งให้โจทก์ทราบก่อนอย่างน้อย 30 วัน แสดงว่าการยอมรับสภาพหนี้ของจำเลยมีเงื่อนไข ดังนั้นตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้แจ้งกำหนดวันเริ่มซ่อมแซมทาวน์เฮ้าส์ให้โจทก์ทราบ ก็ถือว่าจำเลยยังคงยอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวสืบเนื่องตลอดมา แต่เมื่อจำเลยมีหนังสือ แจ้งทนายความของโจทก์ว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับมิได้เกิดจากการกระทำของจำเลย จำเลยจึงไม่เข้าดำเนินการซ่อมแซมทาวน์เฮ้าส์ของโจทก์ตามหนังสือลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547 เป็นกรณีจำเลยปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ ถือว่าเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงได้สิ้นสุดลงในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547 อายุความจึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 28 มกราคม 2548 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เอกสารใดจะใช้เป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ จะต้องพิจารณาในแง่ว่ามีคุณค่าต่อการพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามประเด็นในคดีหรือไม่มิใช่พิจารณาจากวันเวลาที่ทำเอกสาร และแม้โจทก์ไม่อ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน ท. ผู้ทำเอกสารดังกล่าวก็คงจะเบิกความได้ความตามเอกสารอยู่ดี การทำเอกสารดังกล่าวขึ้นมาเป็นพียงพยานเอกสารประกอบคำเบิกความของ ท. เท่านั้น ดังนั้นแม้จะทำเอกสารขึ้นในภายหลัง โจทก์ก็ย่อมอ้างเอกสารนั้นเป็นพยานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ตนกล่าวอ้างได้
โจทก์ฟ้องโดยมีคำขอบังคับให้จำเลยเข้าดำเนินการซ่อมแซมบ้านของโจทก์ให้อยู่ในสภาพที่ดีและแข็งแรง หากจำเลยไม่สามารถดำเนินการได้ก็ให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 800,000 บาท เป็นคำขอที่ให้ศาลบังคับจำเลยอย่างใดอย่างหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 500,000 บาท แก่โจทก์และให้ยกคำขออื่น โดยมิได้พิพากษาให้จำเลยเข้าดำเนินการซ่อมแซมบ้านของโจทก์ให้อยู่ในสภาพดีและแข็งแรงด้วย ถือเป็นกรณีที่ศาลต้องพิพากษาตามคำขอของโจทก์ทุกข้อ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
จำเลยทำหนังสือแจ้งผ่านองค์การบริหารส่วนตำบลว่าจะซ่อมแซมทาวน์เฮ้าส์ของโจทก์ เป็นกรณีที่จำเลยกระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิดที่จำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายถือว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ได้รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1)
ขณะที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 1 ปี ตามสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นในกลางปี 2541 อายุความย่อมสะดุดหยุดลง แต่จะนับอายุความใหม่ก็ต่อเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 เมื่อเอกสารดังกล่าว มีข้อความว่า จำเลยจะเริ่มซ่อมแซมทาวน์เฮาส์เวลาใดจำเลยจะแจ้งให้โจทก์ทราบก่อนอย่างน้อย 30 วัน แสดงว่าการยอมรับสภาพหนี้ของจำเลยมีเงื่อนไข ดังนั้นตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้แจ้งกำหนดวันเริ่มซ่อมแซมทาวน์เฮ้าส์ให้โจทก์ทราบ ก็ถือว่าจำเลยยังคงยอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวสืบเนื่องตลอดมา แต่เมื่อจำเลยมีหนังสือ แจ้งทนายความของโจทก์ว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับมิได้เกิดจากการกระทำของจำเลย จำเลยจึงไม่เข้าดำเนินการซ่อมแซมทาวน์เฮ้าส์ของโจทก์ตามหนังสือลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547 เป็นกรณีจำเลยปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ ถือว่าเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงได้สิ้นสุดลงในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547 อายุความจึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 28 มกราคม 2548 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เอกสารใดจะใช้เป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ จะต้องพิจารณาในแง่ว่ามีคุณค่าต่อการพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามประเด็นในคดีหรือไม่มิใช่พิจารณาจากวันเวลาที่ทำเอกสาร และแม้โจทก์ไม่อ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน ท. ผู้ทำเอกสารดังกล่าวก็คงจะเบิกความได้ความตามเอกสารอยู่ดี การทำเอกสารดังกล่าวขึ้นมาเป็นพียงพยานเอกสารประกอบคำเบิกความของ ท. เท่านั้น ดังนั้นแม้จะทำเอกสารขึ้นในภายหลัง โจทก์ก็ย่อมอ้างเอกสารนั้นเป็นพยานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ตนกล่าวอ้างได้
โจทก์ฟ้องโดยมีคำขอบังคับให้จำเลยเข้าดำเนินการซ่อมแซมบ้านของโจทก์ให้อยู่ในสภาพที่ดีและแข็งแรง หากจำเลยไม่สามารถดำเนินการได้ก็ให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 800,000 บาท เป็นคำขอที่ให้ศาลบังคับจำเลยอย่างใดอย่างหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 500,000 บาท แก่โจทก์และให้ยกคำขออื่น โดยมิได้พิพากษาให้จำเลยเข้าดำเนินการซ่อมแซมบ้านของโจทก์ให้อยู่ในสภาพดีและแข็งแรงด้วย ถือเป็นกรณีที่ศาลต้องพิพากษาตามคำขอของโจทก์ทุกข้อ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1364/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็น: การแบ่งแยกที่ดินและการใช้ทางเดิมต่อเนื่อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ทำทางเข้าออกจากที่ดินของจำเลยสู่ทางสาธารณะโดยทำจากถนนคูหามุข ซอยจินากุล อันเป็นทางสาธารณะซึ่งอยู่ห่างที่ดินของโจทก์ประมาณ 200 เมตรเข้ามาในที่ดินของจำเลยจรดกับที่ดินของโจทก์ มีความกว้างประมาณ 5 เมตร ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์มีความจำเป็นต้องใช้ทางที่จำเลยทำขึ้นในที่ดินของจำเลยดังกล่าวเป็นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์สู่ทางสาธารณะ ตามคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงถึงความกว้างยาวของทางที่โจทก์ต้องการให้จำเลยเปิดเป็นทางจำเป็นโดยแจ้งชัดแล้ว ส่วนปัญหาว่าทางดังกล่าวจะคิดเป็นเนื้อที่เท่าใดนั้นมิใช่สภาพแห่งข้อหาที่โจทก์จำต้องบรรยายในคดี คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมรอบไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์มีความจำเป็นต้องใช้ทางที่จำเลยทำขึ้นในที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ มิได้บรรยายว่าเดิมที่ดินของโจทก์และที่ดินของจำเลยเป็นที่ดินแปลงเดียวกันต่อมามีการแบ่งแยกกันเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาทางจำเป็นจากที่ดินของจำเลยคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ในส่วนที่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องดังกล่าวจึงไม่ชอบ
โจทก์เคยใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์สู้ทางสาธารณะ และในขณะยื่นฟ้องผู้เช่าที่ดินของโจทก์ทำสวนผลไม้ซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่ดินแทนโจทก์มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกเช่นเดียวกัน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็นในที่ดินของจำเลย
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาว่าทางพิพาทมีความกว้าง 3 เมตร โจทก์ยื่นคำแก้ฎีกาขอให้พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นว่า ทางพิพาทมีความกว้าง 5 เมตร ตามสภาพความเป็นจริงเป็นการขอนอกเหนือไปจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 โจทก์จะต้องกระทำโดยยื่นเป็นคำฟ้องฎีกาเข้ามา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 จะเพียงแต่ขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมรอบไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์มีความจำเป็นต้องใช้ทางที่จำเลยทำขึ้นในที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ มิได้บรรยายว่าเดิมที่ดินของโจทก์และที่ดินของจำเลยเป็นที่ดินแปลงเดียวกันต่อมามีการแบ่งแยกกันเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาทางจำเป็นจากที่ดินของจำเลยคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ในส่วนที่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องดังกล่าวจึงไม่ชอบ
โจทก์เคยใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์สู้ทางสาธารณะ และในขณะยื่นฟ้องผู้เช่าที่ดินของโจทก์ทำสวนผลไม้ซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่ดินแทนโจทก์มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกเช่นเดียวกัน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็นในที่ดินของจำเลย
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาว่าทางพิพาทมีความกว้าง 3 เมตร โจทก์ยื่นคำแก้ฎีกาขอให้พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นว่า ทางพิพาทมีความกว้าง 5 เมตร ตามสภาพความเป็นจริงเป็นการขอนอกเหนือไปจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 โจทก์จะต้องกระทำโดยยื่นเป็นคำฟ้องฎีกาเข้ามา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 จะเพียงแต่ขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1147/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ชัดแจ้ง, ดอกเบี้ย-ค่าธรรมเนียมผิดกฎหมาย, ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา
การที่โจทก์ส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยขาดไป 1 หน้า จำเลยอาจจะติดต่อขอรับจากศาลหรือขอคัดถ่ายเอกสารจากศาลได้ ไม่ทำให้คำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายกลายเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม
การประกอบธุรกิจของโจทก์อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 การเรียกดอกเบี้ยจะต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ซึ่งในขณะที่จำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์นั้นธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์รวมทั้งโจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้จะต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แล้วส่งสำเนาประกาศไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดค่าธรรมเนียมในการกู้ยืมเงินจากจำเลยอัตราร้อยละ 0.5 ของวงเงินที่กู้หรือ 1,500 บาท โดยหักจากต้นเงินที่จะจ่ายให้แก่จำเลย
ตามประกาศอัตราดอกเบี้ยของโจทก์มิได้กำหนดให้เรียกเบี้ยปรับในกรณีชำระล่าช้า โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับในการชำระเงินล่าช้าได้
การประกอบธุรกิจของโจทก์อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 การเรียกดอกเบี้ยจะต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ซึ่งในขณะที่จำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์นั้นธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์รวมทั้งโจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้จะต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แล้วส่งสำเนาประกาศไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดค่าธรรมเนียมในการกู้ยืมเงินจากจำเลยอัตราร้อยละ 0.5 ของวงเงินที่กู้หรือ 1,500 บาท โดยหักจากต้นเงินที่จะจ่ายให้แก่จำเลย
ตามประกาศอัตราดอกเบี้ยของโจทก์มิได้กำหนดให้เรียกเบี้ยปรับในกรณีชำระล่าช้า โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับในการชำระเงินล่าช้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8342/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดของผู้ชำระบัญชี: ประเด็นการตีความมูลหนี้ตามคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัท พ. มีหน้าที่ต้องแจ้งเรื่องที่บริษัทดังกล่าวจดทะเบียนเลิกบริษัทให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของบริษัททราบ เพื่อโจทก์จะได้ยื่นทวงหนี้แก่จำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชี แต่จำเลยกลับละเลยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงเรื่องดังกล่าว การกระทำของจำเลยเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยรับผิดชำระเงินเท่ากับจำนวนที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากบริษัท พ. พร้อมดอกเบี้ย ซึ่งตามข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโจทก์ประสงค์จะฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิด หาใช่ฟ้องให้รับผิดในฐานะผู้ชำระบัญชีตามมาตรา 1272
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4846/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรื้อถอนอาคารรุกล้ำที่ดิน & ข้อจำกัดการฟ้องบังคับตามข้อบัญญัติท้องถิ่น
จำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารผิดต่อข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานครหรือไม่ เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องดำเนินการแก่จำเลยทั้งสอง โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ หากโจทก์เห็นว่าหน้าต่างของอาคารที่จำเลยทั้งสองก่อสร้างเมื่อเปิดแล้วจะรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องห้ามมิให้จำเลยทั้งสองเปิดหน้าต่างล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์เท่านั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนอาคารพอแปลได้ว่า โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองเปิดหน้าต่างหรือส่วนของอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ส่วนประเด็นที่ว่าจำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์หรือไม่นั้น เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ยาวประมาณ 16 เมตร จำเลยทั้งสองให้การว่า มิได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินโจทก์หากแต่ปลูกสร้างบนที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นคดีที่โต้เถียงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทกันจึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ตีราคาที่ดินส่วนที่พิพาทกันเพื่อให้คู่ความเสียค่าขึ้นศาลในส่วนนี้ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงระวางที่ดินเลขที่ดิน หน้าสำรวจ ตำบล อำเภอ และจังหวัดที่ตั้งของที่ดินส่วนที่พิพาทซึ่งมีสภาพเป็นทางเข้าวัดโจทก์แล้ว เห็นว่ามีราคาไม่ถึง 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง จำเลยทั้งสองฎีกาโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการต่อสู้สิทธิในที่ดิน การวินิจฉัยนอกฟ้องและคำให้การไม่ชอบ
จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ไม่เคยซื้อที่ดินจาก ก. จำเลยได้ครอบครองโดยสงบ เปิดเผย และมีเจตนาเป็นเจ้าของ ทั้งได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ที่ดินพิพาทจึงเป็นของจำเลยตั้งแต่จำเลยได้ซื้อมา โจทก์จึงไม่มีสิทธิออกโฉนดที่ดินรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของจำเลย โจทก์ไม่เคยครอบครองหรือทำประโยชน์ โจทก์ทราบมานานหลายปีแล้วว่าจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ แต่มิได้ฟ้องภายใน 1 ปี จึงหมดสิทธิฟ้องร้องตามป.พ.พ. มาตรา 1374 มาตรา 1375 และมาตราอื่นๆ ในลักษณะ 3 ครอบครอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามคำให้การของจำเลยดังกล่าวจำเลยมิได้อ้างว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ จำเลยจึงไม่อาจอ้างสิทธิตามป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองเป็นประเด็นข้อพิพาทด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวมา จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การไม่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
จำเลยแก้ฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ที่ดินหรือเป็นเจ้าของที่ดิน มีอาณาเขตทั้งสี่ทิศจดที่ดินอะไรหรือของใคร และไม่ได้บรรยายฟ้องว่าที่ดินโจทก์ทั้งสี่ทิศมีความกว้างยาวเท่าไร จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 172 นั้น เป็นเรื่องนอกเหนือจากเหตุผลที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตามที่จำเลยได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยแก้ฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ที่ดินหรือเป็นเจ้าของที่ดิน มีอาณาเขตทั้งสี่ทิศจดที่ดินอะไรหรือของใคร และไม่ได้บรรยายฟ้องว่าที่ดินโจทก์ทั้งสี่ทิศมีความกว้างยาวเท่าไร จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 172 นั้น เป็นเรื่องนอกเหนือจากเหตุผลที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตามที่จำเลยได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ, การยึดหน่วงค่าจ้าง, การหักกลบลบหนี้, และการรับรองพยานหลักฐานเพิ่มเติม
คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพของข้อหาของโจทก์ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา โจทก์ยังส่งสำเนาใบทำงาน/ใบแจ้งหนี้ซึ่งคำนวณถึงรายละเอียดเกี่ยวกับค่าจ้างแนบมาท้ายฟ้องด้วย จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ส่วนจำเลยค้างชำระค่าจ้างโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ เป็นเรื่องที่คู่ความจะต้องนำพยานเข้าสืบพิสูจน์ในชั้นพิจารณา
โจทก์ยื่นคำฟ้องพร้อมแนบสำเนาสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยมาด้วย จำเลยได้รับสำเนาสัญญาดังกล่าวแล้วมิได้ให้การโต้แย้งว่าไม่ถูกต้อง จึงต้องรับฟังว่าสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยดังกล่าวเป็นสัญญาที่ถูกต้อง ศาลไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยอีกว่าต้นฉบับสัญญาจ้างทำของได้มีการติดอากรแสตมป์หรือไม่
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม โดยอ้างว่าฝ่ายบัญชีของโจทก์เพิ่งค้นพบเอกสารที่ยื่นเป็นพยานต่อศาลและเป็นเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องในคดี เป็นกรณีที่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสาม เมื่อเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารเกี่ยวกับประเด็นของคดีซึ่งทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญเป็นไปโดยเที่ยงธรรมจึงชอบที่จะอนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้
ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยกำหนดให้โจทก์นำพนักงานรักษาความปลอดภัยมาดูแลความปลอดภัยในช่วงเวลาตามที่ตกลงไว้ในสัญญา หากนอกเหนือจากสัญญาจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่าจ้างเพิ่มให้แก่โจทก์ การทำงานล่วงเวลาที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาจึงถือว่าเป็นสัญญาจ้างทำของเช่นเดียวกัน
โจทก์ยื่นคำฟ้องพร้อมแนบสำเนาสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยมาด้วย จำเลยได้รับสำเนาสัญญาดังกล่าวแล้วมิได้ให้การโต้แย้งว่าไม่ถูกต้อง จึงต้องรับฟังว่าสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยดังกล่าวเป็นสัญญาที่ถูกต้อง ศาลไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยอีกว่าต้นฉบับสัญญาจ้างทำของได้มีการติดอากรแสตมป์หรือไม่
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม โดยอ้างว่าฝ่ายบัญชีของโจทก์เพิ่งค้นพบเอกสารที่ยื่นเป็นพยานต่อศาลและเป็นเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องในคดี เป็นกรณีที่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสาม เมื่อเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารเกี่ยวกับประเด็นของคดีซึ่งทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญเป็นไปโดยเที่ยงธรรมจึงชอบที่จะอนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้
ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยกำหนดให้โจทก์นำพนักงานรักษาความปลอดภัยมาดูแลความปลอดภัยในช่วงเวลาตามที่ตกลงไว้ในสัญญา หากนอกเหนือจากสัญญาจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่าจ้างเพิ่มให้แก่โจทก์ การทำงานล่วงเวลาที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาจึงถือว่าเป็นสัญญาจ้างทำของเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8301/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมถูกรอนสิทธิจากสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินของเจ้าของภาระจำยอม ผู้มีภาระจำยอมมีสิทธิเรียกร้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินของจำเลยตกอยู่ในภาระจำยอมทางเดิน ทางรถยนต์ สาธารณูปโภคแก่ที่ดินโจทก์และที่ดินโจทก์เป็นเจ้าของรวมกับผู้อื่น จำเลยได้ก่อสร้างสิ่งก่อสร้างลงบนที่ดินภาระจำยอมเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถใช้ทางภาระจำยอมได้เต็มที่ จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การว่ามิได้ทำให้โจทก์เสื่อมความสะดวกหรือทำให้การใช้ประโยชน์ของโจทก์ในที่ดินของจำเลยลดลงไปแต่อย่างใด จึงเห็นได้ว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์และสามารถให้การต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ไม่สามารถใช้ทางภาระจำยอมได้เต็มที่และขาดความสะดวกในการใช้ที่ดินภาระจำยอมได้เต็มที่อย่างไรนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยได้จดทะเบียนภาระจำยอมที่ดินตลอดทั้งแปลงซึ่งมีความกว้างประมาณ 10 เมตร ยาวตลอดแนวของจำเลย เป็นถนนทางเดินและทางรถยนต์ตลอดจนสาธารณูปโภคแก่ที่ดินของโจทก์และที่ดินที่โจทก์เป็นเจ้าของรวมกับผู้อื่นเพื่อใช้เป็นถนนสำหรับเข้าออกที่ดินของโจทก์และที่ดินที่โจทก์เป็นเจ้าของรวมกับผู้อื่น สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่จำเลยสร้างในที่ดินของจำเลยซึ่งตกอยู่ในภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์นั้น สร้างขึ้นภายหลังจากมีการจดทะเบียนภาระจำยอมแล้ว และปรากฏว่าสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ของจำเลยดังกล่าวล้วนแต่ล้ำเข้ามาในแนวเขตที่ดินภาระจำยอมที่เป็นถนนทั้งสิ้น จนทำให้เส้นทางถนนดังกล่าวเหลือความกว้างเพียงประมาณ 2.78 เมตรเท่านั้น ซึ่งรถยนต์ย่อมแล่นสวนทางกันไม่ได้ โจทก์ต้องใช้รถตู้คอนเทรนเนอร์และรถกระบะขนส่งสินค้าเข้าออกที่ดินของโจทก์ สิ่งก่อสร้างของจำเลยจึงเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก
จำเลยได้จดทะเบียนภาระจำยอมที่ดินตลอดทั้งแปลงซึ่งมีความกว้างประมาณ 10 เมตร ยาวตลอดแนวของจำเลย เป็นถนนทางเดินและทางรถยนต์ตลอดจนสาธารณูปโภคแก่ที่ดินของโจทก์และที่ดินที่โจทก์เป็นเจ้าของรวมกับผู้อื่นเพื่อใช้เป็นถนนสำหรับเข้าออกที่ดินของโจทก์และที่ดินที่โจทก์เป็นเจ้าของรวมกับผู้อื่น สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่จำเลยสร้างในที่ดินของจำเลยซึ่งตกอยู่ในภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์นั้น สร้างขึ้นภายหลังจากมีการจดทะเบียนภาระจำยอมแล้ว และปรากฏว่าสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ของจำเลยดังกล่าวล้วนแต่ล้ำเข้ามาในแนวเขตที่ดินภาระจำยอมที่เป็นถนนทั้งสิ้น จนทำให้เส้นทางถนนดังกล่าวเหลือความกว้างเพียงประมาณ 2.78 เมตรเท่านั้น ซึ่งรถยนต์ย่อมแล่นสวนทางกันไม่ได้ โจทก์ต้องใช้รถตู้คอนเทรนเนอร์และรถกระบะขนส่งสินค้าเข้าออกที่ดินของโจทก์ สิ่งก่อสร้างของจำเลยจึงเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7423/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: ผู้ร้องไม่ต้องบรรยายสถานะบุคคลภายนอกของคู่กรณีในคำร้อง
ในชั้นยื่นคำร้องขอครอบครองปรปักษ์ ผู้ร้องเพียงแต่บรรยายให้ปรากฏว่า ผู้ร้องได้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 5 ปี หรือ 10 ปี แล้วแต่กรณี ก็ถือว่าเป็นคำร้องที่ได้บรรยายโดยชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนผู้คัดค้านจะเป็นบุคคลภายนอกและได้ทรัพย์ที่ผู้ร้องร้องขอครอบครองปรปักษ์มาโดยสุจริตหรือไม่ ไม่ใช่สภาพแห่งข้อหาหรือข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ไม่จำต้องบรรยายมาในคำร้องขอ
ผู้ร้องและผู้คัดค้านอุทธรณ์และฎีกาขอให้ศาลสูงพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลล่าง แต่เมื่อผลของคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 และศาลฎีกามีเพียงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่หรือไม่เท่านั้น จึงเป็นการขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันมิอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าชึ้นศาลเพียง 200 บาท
ผู้ร้องและผู้คัดค้านอุทธรณ์และฎีกาขอให้ศาลสูงพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลล่าง แต่เมื่อผลของคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 และศาลฎีกามีเพียงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่หรือไม่เท่านั้น จึงเป็นการขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันมิอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าชึ้นศาลเพียง 200 บาท