พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,914 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7064/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากประกันภัยค้ำจุน จำเป็นต้องระบุผู้เอาประกันภัยและความสัมพันธ์กับผู้ขับขี่
สัญญาประกันภัยค้ำจุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 กำหนดให้ผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดต่อเมื่อเป็นวินาศภัยซึ่งผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบ ดังนั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจะใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่อ ฉ. ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบอันเป็นองค์ประกอบสำคัญของบทบัญญัติดังกล่าว การที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 9 จ-กรุงเทพมหานคร ขอให้ร่วมรับผิดในผลละเมิดที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ค้นที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยโดยประมาทชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหาย แต่โจทก์หาได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าใครเป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยและมิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์คันนี้มีนิติสัมพันธ์อย่างไรกับ ฉ. ผู้เอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 ด้วย คำฟ้องของโจทก์จึงขาดสาระสำคัญอันเป็นประเด็นแห่งคดีที่จะทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 2 โดยไม่อาศัยคำฟ้องหาได้ไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 721/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตดัดแปลงอาคารสูง ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงและกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง การฟ้องต้องระบุสิทธิที่ชัดเจน
พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 50 บัญญัติว่า ให้มีคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และมาตรา 51 (1) บัญญัติว่า ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ส่วนมาตรา 52 วรรคสี่ บัญญัติว่า ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสนอคดีต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 ซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์แล้วมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์ของโจทก์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่เห็นด้วย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 ได้
คำสั่งที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนนั้น แม้จะลงนามโดยจำเลยที่ 2 ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักการโยธา แต่ก็เป็นการลงนามในฐานะเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังนั้น ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงคือ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 หาใช่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนไม่ ทั้งกรณีไม่ใช่การฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
แม้โจทก์จะฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาตตามคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารก็ตาม แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิโดยชอบที่จะดัดแปลงอาคารพิพาทของโจทก์ชั้นที่ 5 ซึ่งเดิมใช้เป็นที่จอดรถยนต์ให้เป็นโรงมหรสพ ตามคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่กลับบรรยายฟ้องยืนยันว่าคำขอดังกล่าวเป็นคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารพิพาทระหว่างชั้นที่ 6 และที่ 7 ซึ่งไม่ตรงกับข้อความที่ระบุในคำขออนุญาตดัดแปลงอาคาร เท่ากับโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 11 โต้แย้งสิทธิของโจทก์ในการขออนุญาตดัดแปลงอาคารพิพาทที่บริเวณชั้น 5 แม้โจทก์จะแนบสำเนาคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารมาท้ายฟ้องก็ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ เพราะตามคำฟ้องไม่มีประเด็นให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการดัดแปลงอาคารพิพาทที่บริเวณชั้น 5 ว่าเข้าข้อยกเว้นข้อ 49 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 33ฯ หรือไม่ ศาลไม่อาจพิพากษาบังคับคดีให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้
คำสั่งที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนนั้น แม้จะลงนามโดยจำเลยที่ 2 ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักการโยธา แต่ก็เป็นการลงนามในฐานะเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังนั้น ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงคือ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 หาใช่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนไม่ ทั้งกรณีไม่ใช่การฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
แม้โจทก์จะฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาตตามคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารก็ตาม แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิโดยชอบที่จะดัดแปลงอาคารพิพาทของโจทก์ชั้นที่ 5 ซึ่งเดิมใช้เป็นที่จอดรถยนต์ให้เป็นโรงมหรสพ ตามคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่กลับบรรยายฟ้องยืนยันว่าคำขอดังกล่าวเป็นคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารพิพาทระหว่างชั้นที่ 6 และที่ 7 ซึ่งไม่ตรงกับข้อความที่ระบุในคำขออนุญาตดัดแปลงอาคาร เท่ากับโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 11 โต้แย้งสิทธิของโจทก์ในการขออนุญาตดัดแปลงอาคารพิพาทที่บริเวณชั้น 5 แม้โจทก์จะแนบสำเนาคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารมาท้ายฟ้องก็ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ เพราะตามคำฟ้องไม่มีประเด็นให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการดัดแปลงอาคารพิพาทที่บริเวณชั้น 5 ว่าเข้าข้อยกเว้นข้อ 49 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 33ฯ หรือไม่ ศาลไม่อาจพิพากษาบังคับคดีให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10855/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการซื้อขายและการรับสภาพหนี้: หนังสือรับสภาพหนี้ไม่ทำให้หนี้เดิมไม่ขาดอายุความ แต่สร้างอายุความใหม่
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2538 จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ว่าจำเลยค้างชำระค่าไม้แปรรูปที่ซื้อจากโจทก์ที่ 1 จำนวน 600,000 บาท และค้างชำระค่าวัสดุก่อสร้างที่ซื้อจากโจทก์ที่ 2 จำนวน 400,000 บาท จำเลยจะชำระเงินดังกล่าวให้โจทก์ทั้งสองเสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2539 เมื่อถึงกำหนดจำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน ดังนี้ คำฟ้องโจทก์ทั้งสองได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ คือจำเลยเป็นหนี้โจทก์ทั้งสอง ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นคือหลักฐานหนังสือรับสภาพหนี้จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ข้อที่ว่าจำเลยซื้อสินค้าและค้างชำระตั้งแต่เมื่อใดเป็นเงินเท่าใด ส่งมอบสินค้าแก่ผู้ใด ล้วนเป็นรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า จำเลยสั่งซื้อไม้แปรรูปและวัสดุก่อสร้างจากโจทก์ตั้งแต่ปลายปี 2535 ถึงต้นปี 2536 จำเลยไม่ชำระค่าสินค้า ซึ่งอายุความให้ชำระหนี้ค่าของที่ได้ส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 มีกำหนด2 ปี และอายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/12 คือนับตั้งแต่ปลายปี 2535 ถึงต้นปี 2536 ซึ่งเป็นเวลาส่งมอบสินค้า จำเลยทำบันทึกข้อตกลงยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2538 เกินกำหนด2 ปี นับตั้งแต่โจทก์ส่งมอบสินค้าให้จำเลย จึงไม่เป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ซึ่งจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14 แต่เป็นหลักฐานที่จำเลยรับสภาพความรับผิดตามมาตรา 193/28 วรรคสอง ซึ่งมีผลให้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยรับสภาพความรับผิดมีกำหนดอายุความ 2 ปี นับตั้งแต่วันทำบันทึกข้อตกลงตามมาตรา 193/35 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2539 จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า จำเลยสั่งซื้อไม้แปรรูปและวัสดุก่อสร้างจากโจทก์ตั้งแต่ปลายปี 2535 ถึงต้นปี 2536 จำเลยไม่ชำระค่าสินค้า ซึ่งอายุความให้ชำระหนี้ค่าของที่ได้ส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 มีกำหนด2 ปี และอายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/12 คือนับตั้งแต่ปลายปี 2535 ถึงต้นปี 2536 ซึ่งเป็นเวลาส่งมอบสินค้า จำเลยทำบันทึกข้อตกลงยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2538 เกินกำหนด2 ปี นับตั้งแต่โจทก์ส่งมอบสินค้าให้จำเลย จึงไม่เป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ซึ่งจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14 แต่เป็นหลักฐานที่จำเลยรับสภาพความรับผิดตามมาตรา 193/28 วรรคสอง ซึ่งมีผลให้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยรับสภาพความรับผิดมีกำหนดอายุความ 2 ปี นับตั้งแต่วันทำบันทึกข้อตกลงตามมาตรา 193/35 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2539 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10418/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีสัญญาประกันภัย: ศาลฎีกาวินิจฉัยปีเกิดเหตุผิดพลาดในคำฟ้องไม่กระทบอำนาจฟ้อง หากเอกสารท้ายฟ้องสอดคล้องกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์หมายเลขทะเบียน 9 ษ - 2128 กรุงเทพมหานคร ไว้จากเจ้าของรถยนต์ดังกล่าว โดยมีกำหนดระยะเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2541 ถึงวันที่ 1 กันยายน 2542 ซึ่งเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2540 จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์หมายเลขทะเบียน ก - 7632 สุพรรณบุรี ของจำเลยที่ 2 ในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมายหรือยินยอมของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวัง เป็นเหตุให้เฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยได้รับความเสียหาย ซึ่งหากพิจารณาข้อความที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเหตุละเมิดเกิดก่อนวันที่สัญญาประกันภัยมีผลคุ้มครอง แต่ในการแปลคำฟ้องนั้นมิได้พิจารณาเฉพาะข้อความที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องเท่านั้น ต้องพิจารณาเอกสารท้ายฟ้องซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องประกอบด้วยเมื่อพิจารณาเอกสารที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้องต่างระบุตรงกันว่าเหตุละเมิดเกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2542 เห็นได้ชัดว่าโจทก์พิมพ์ปีที่เกิดเหตุละเมิดผิดพลาด ซึ่งถือว่าเป็นความผิดพลาดเล็กน้อยอันเป็นรายละเอียดแห่งคำฟ้อง กรณีถือได้ว่าโจทก์ได้อ้างในคำฟ้องแล้วว่า เหตุละเมิดเกิดในระหว่างอายุสัญญาประกัน ดังนั้น เมื่อโจทก์อ้างว่าโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไปแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ทำละเมิด และจำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างหรือตัวการให้ร่วมรับผิดในมูลละเมิดดังกล่าวได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง แม้โจทก์จะมิได้ขอแก้ไขคำฟ้องในส่วนที่พิมพ์ผิดพลาดดังกล่าวและไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะให้การต่อสู้ในเรื่องนี้หรือไม่ก็ตาม ก็ไม่มีผลกระทบต่ออำนาจฟ้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10418/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในคดีละเมิด: การพิจารณาปีที่เกิดเหตุผิดพลาดในคำฟ้องและเอกสารประกอบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากเจ้าของรถ มีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2541 ถึงวันที่ 1 กันยายน 2542 เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2540จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาทเฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัย แต่การแปลคำฟ้องมิได้พิจารณาเฉพาะข้อความที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องเท่านั้น ต้องพิจารณาเอกสารท้ายฟ้องซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องประกอบด้วย เมื่อเอกสารที่แนบมาท้ายฟ้องอันได้แก่แผนที่เกิดเหตุ รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีและหนังสือทวงถามให้ชดใช้ค่าเสียหายต่างระบุตรงกันว่าเหตุละเมิดเกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2542 จึงเห็นได้ชัดว่าโจทก์พิมพ์ปีที่เกิดเหตุละเมิดผิดพลาด ซึ่งเป็นความผิดพลาดเล็กน้อยอันเป็นรายละเอียดแห่งคำฟ้อง ถือได้ว่าโจทก์ได้อ้างในคำฟ้องแล้วว่าเหตุละเมิดเกิดในระหว่างอายุสัญญาประกันภัย ส่วนเอกสารท้ายฟ้องจะรับฟังได้หรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นพิจารณา ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมรับผิดในมูลละเมิดได้ แม้โจทก์จะมิได้แก้ไขคำฟ้องในส่วนที่พิมพ์ผิดพลาดดังกล่าวและจำเลยทั้งสองจะให้การต่อสู้ในเรื่องนี้หรือไม่ ก็ไม่มีผลกระทบต่ออำนาจฟ้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดที่งอกริมตลิ่ง การโอนสิทธิและผลกระทบต่อผู้รับโอน
คำฟ้องของโจทก์มีรายการครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดแล้วย่อมเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่สำเนาคำฟ้องของโจทก์ที่ส่งให้จำเลย ทนายโจทก์ลงลายมือชื่อในช่องผู้เขียนหรือพิมพ์แทนที่จะลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียงและพิมพ์ หาใช่เป็นข้อสาระสำคัญไม่ ส่วนที่ทนายโจทก์ไม่ได้ระบุเลขที่ใบอนุญาตว่าความไว้ในคำฟ้องและสำเนาคำฟ้องที่ส่งให้จำเลยก็อาจจะเนื่องจากความหลงลืม แต่อย่างไรก็ตามทนายโจทก์ก็ได้ยื่นใบแต่งทนายความซึ่งระบุเลขใบอนุญาตของตนไว้ต่อศาลขณะยื่นคำฟ้อง ซึ่งจำเลยสามารถที่จะตรวจสอบความสามารถและอำนาจในการดำเนินคดีของทนายโจทก์ได้อยู่แล้ว หาทำให้คำฟ้องของโจทก์กลับกลายเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายไม่
ส. โอนขายที่ดินมีโฉนดอันเป็นที่ดินแปลงเดิมให้บริษัท บ. เมื่อปี 2519 ขณะที่โอนที่ดินแปลงเดิมไปมีที่งอกริมตลิ่งเกิดขึ้นแล้ว เพราะ ส. ขอออกโฉนดที่งอกตั้งแต่ปี 2516 แต่ยังไม่เป็นที่ยุติว่ามีส่วนที่เป็นที่งอกมากน้อยเพียงใด เพราะการออกโฉนดยังไม่สำเร็จบริบูรณ์ และไม่เคยมีการบันทึกในโฉนดเดิมไว้ให้ปรากฏการเกิดมีที่งอกขึ้นมาในที่ดินย่อมจะต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308 เมื่อที่ดินแปลงที่เกิดที่งอกได้โอนให้บริษัท บ. ไปแล้ว ที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกย่อมตกติดไปเป็นของผู้ซื้อโดยผลของบทกฎหมายดังกล่าว ส. พ้นจากการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมดที่เคยมีอยู่ แม้ว่า ส. จะได้ขอออกโฉนดที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกค้างไว้ แล้วต่อมาในปี2522 ได้มีการออกโฉนดสำเร็จบริบูรณ์เป็นชื่อของ ส. ก็ไม่ทำให้ ส. ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกนั้นไป และไม่มีอำนาจที่จะขายที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกให้โจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีไปกว่า ส. และเมื่อจำเลยรับโอนที่ดินจาก ส. อันเป็นที่ดินแปลงที่เกิดที่งอกริมตลิ่งจากเจ้าของเดิมมาโดยถูกต้อง ย่อมทำให้ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่งอกนั้นด้วยโดยผลของกฎหมาย
ส. โอนขายที่ดินมีโฉนดอันเป็นที่ดินแปลงเดิมให้บริษัท บ. เมื่อปี 2519 ขณะที่โอนที่ดินแปลงเดิมไปมีที่งอกริมตลิ่งเกิดขึ้นแล้ว เพราะ ส. ขอออกโฉนดที่งอกตั้งแต่ปี 2516 แต่ยังไม่เป็นที่ยุติว่ามีส่วนที่เป็นที่งอกมากน้อยเพียงใด เพราะการออกโฉนดยังไม่สำเร็จบริบูรณ์ และไม่เคยมีการบันทึกในโฉนดเดิมไว้ให้ปรากฏการเกิดมีที่งอกขึ้นมาในที่ดินย่อมจะต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308 เมื่อที่ดินแปลงที่เกิดที่งอกได้โอนให้บริษัท บ. ไปแล้ว ที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกย่อมตกติดไปเป็นของผู้ซื้อโดยผลของบทกฎหมายดังกล่าว ส. พ้นจากการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมดที่เคยมีอยู่ แม้ว่า ส. จะได้ขอออกโฉนดที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกค้างไว้ แล้วต่อมาในปี2522 ได้มีการออกโฉนดสำเร็จบริบูรณ์เป็นชื่อของ ส. ก็ไม่ทำให้ ส. ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกนั้นไป และไม่มีอำนาจที่จะขายที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกให้โจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีไปกว่า ส. และเมื่อจำเลยรับโอนที่ดินจาก ส. อันเป็นที่ดินแปลงที่เกิดที่งอกริมตลิ่งจากเจ้าของเดิมมาโดยถูกต้อง ย่อมทำให้ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่งอกนั้นด้วยโดยผลของกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3996/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องเคลือบคลุม จำเลย 3 ไม่เกี่ยวข้องโดยตรง แม้มีการรับประกันภัย ก็ไม่อาจทำให้ฟ้องชอบด้วยกฎหมายได้
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นนายจ้างลูกจ้าง จำเลยที่ 3ประกอบกิจการรับประกันวินาศภัย จำเลยที่ 2 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 โดยขับรถดั๊มโดยประมาทกระบะหลังกระแทกถูกหลังคาปั๊มน้ำมันของบริษัท ค. ที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายเป็นเงิน 312,000 บาท โจทก์ชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว จึงรับช่วงสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยทั้งสาม ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 เกี่ยวข้องกับคดีนี้อย่างไร ร่วมกระทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดเพราะอะไร จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 3 จะให้การว่ารับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุก็ตาม ก็ไม่ทำให้คำฟ้องของโจทก์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่แรกกลับเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3996/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ชัดเจนความรับผิดจำเลยที่ 3 คำฟ้องเคลือบคลุม ศาลยกฟ้อง
คำฟ้องบรรยายไว้แต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นนายจ้างลูกจ้าง จำเลยที่ 3 ประกอบกิจการรับประกันวินาศภัย จำเลยที่ 2 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 โดยขับรถดั๊มโดยประมาท กระบะหลังรถกระแทกถูกหลังคาปั๊มน้ำมันของบริษัท ค. ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ เสียหายเป็นเงิน 312,000 บาท โจทก์ชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว จึงรับช่วงสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยทั้งสาม ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 เกี่ยวข้องกับคดีนี้อย่างไร ร่วมกระทำละเมิด หรือต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดเพราะอะไรล้วนแต่ไม่ปรากฏทั้งสิ้น คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง เป็นฟ้องเคลือบคลุม และแม้จำเลยที่ 3 จะให้การว่ารับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุก็ตาม ก็ไม่ทำให้คำฟ้องของโจทก์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่แรกกลับเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923-3932/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทค่าจ้างหลังคำสั่งเดิมถูกยกเลิก: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม อายุความ 10 ปีมิใช่อายุความ 1 ปี
เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางมีคำวินิจฉัยว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง คำวินิจฉัยของอธิบดีฯ ย่อมเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 9 แม้จำเลยที่ 6 จะยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 10 ก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะสืบพยานโจทก์ แต่ในขณะนั้นศาลปกครองชั้นต้นที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ ยังไม่ได้เปิดดำเนินการและแม้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 จะยื่นคำร้องเช่นเดียวกันนี้ต่อศาลแรงงานกลางหลังจากศาลปกครองชั้นต้นเปิดดำเนินการแล้ว ก็เป็นการยื่นคำร้องหลังจากศาลแรงงานกลางสืบพยานโจทก์ไปแล้ว ไม่เข้ากรณีที่ศาลแรงงานกลางจะต้องรอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวและจัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลปกครองชั้นต้นเพื่อดำเนินการต่อไปตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยไม่รอการพิจารณาไว้ชั่วคราวและจัดทำความเห็นส่งไปยังศาลปกครองชั้นต้น จึงชอบแล้ว
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า เงินเดือนอัตราใหม่ที่จำเลยที่ 2 รับไประหว่างวันที่31 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2542 รวมเป็นเงิน 317,130 บาท และเมื่อตรวจสอบแล้วเงินจำนวนดังกล่าวเกินจากจำนวนที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิได้รับเป็นจำนวน62,066.77 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เห็นได้ว่าเมื่ออ่านคำฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องประกอบกันแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่โจทก์จ่ายค่าจ้างเพิ่มให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เป็นการจ่ายตามคำสั่งที่ 63/2539 และที่ 64/2539 ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การรับเงินของจำเลยที่ 2ถึงที่ 11 จากโจทก์จึงมิใช่เป็นการรับโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แม้ต่อมาคำสั่งดังกล่าวจะถูกยกเลิกก็ตาม ทั้งการสิ้นผลบังคับของคำสั่งดังกล่าวมิใช่เป็นเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว อันจะถือว่าเป็นการได้ทรัพย์มาในฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 406 จึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ที่กำหนดสำหรับลาภมิควรได้มาใช้แก่กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องชำระเป็นหนี้เงินและมีการผิดนัดดอกเบี้ยที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จ่ายแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเป็นการกำหนดให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ซึ่งศาลแรงงานกลางไม่อาจใช้ดุลพินิจกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงกว่านี้อีกได้
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า เงินเดือนอัตราใหม่ที่จำเลยที่ 2 รับไประหว่างวันที่31 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2542 รวมเป็นเงิน 317,130 บาท และเมื่อตรวจสอบแล้วเงินจำนวนดังกล่าวเกินจากจำนวนที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิได้รับเป็นจำนวน62,066.77 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เห็นได้ว่าเมื่ออ่านคำฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องประกอบกันแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่โจทก์จ่ายค่าจ้างเพิ่มให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เป็นการจ่ายตามคำสั่งที่ 63/2539 และที่ 64/2539 ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การรับเงินของจำเลยที่ 2ถึงที่ 11 จากโจทก์จึงมิใช่เป็นการรับโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แม้ต่อมาคำสั่งดังกล่าวจะถูกยกเลิกก็ตาม ทั้งการสิ้นผลบังคับของคำสั่งดังกล่าวมิใช่เป็นเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว อันจะถือว่าเป็นการได้ทรัพย์มาในฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 406 จึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ที่กำหนดสำหรับลาภมิควรได้มาใช้แก่กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องชำระเป็นหนี้เงินและมีการผิดนัดดอกเบี้ยที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จ่ายแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเป็นการกำหนดให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ซึ่งศาลแรงงานกลางไม่อาจใช้ดุลพินิจกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงกว่านี้อีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923-3932/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทค่าจ้างหลังคำสั่งยกเลิก - อายุความ 10 ปีมิใช่อายุความลาภมิควรได้ - ศาลแรงงานพิพากษายืน
เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางมีคำวินิจฉัยว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง คำวินิจฉัยของอธิบดีฯ ย่อมเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 9 แม้จำเลยที่ 6 จะยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางดำเนินการตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 10 ก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะสืบพยานโจทก์ แต่ในขณะนั้นศาลปกครองชั้นต้นที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ ยังไม่ได้เปิดดำเนินการและแม้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 จะยื่นคำร้องเช่นเดียวกันนี้ต่อศาลแรงงานกลาง หลังจากศาลปกครองชั้นต้นเปิดดำเนินการแล้ว ก็เป็นการยื่นคำร้องหลังจากศาลแรงงานกลางสืบพยานโจทก์ไปแล้ว ไม่เข้ากรณีที่ศาลแรงงานกลางจะต้องรอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราว และจัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลปกครองชั้นต้นเพื่อดำเนินการต่อไปตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยไม่รอการพิจารณาไว้ชั่วคราวและจัดทำความเห็นส่งไปยังศาลปกครองชั้นต้น จึงชอบแล้ว
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า เงินเดือนอัตราใหม่ที่จำเลยที่ 2 รับไประหว่างวันที่ 31 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2542 รวมเป็นเงิน 317,130 บาท และเมื่อตรวจสอบแล้วเงินจำนวนดังกล่าวเกินจากจำนวนที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิได้รับเป็นจำนวน 62,066.77 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เห็นได้ว่าเมื่ออ่านคำฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องประกอบกันแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่โจทก์จ่ายค่าจ้างเพิ่มให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เป็นการจ่ายตามคำสั่งที่ 63/2539 และที่ 64/2539 ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การรับเงินของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จากโจทก์จึงมิใช่เป็นการรับโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แม้ต่อมาคำสั่งดังกล่าวจะถูกยกเลิกก็ตาม ทั้งการสิ้นผลบังคับของคำสั่งดังกล่าวมิใช่เป็นเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว อันจะถือว่าเป็นการได้ทรัพย์มาในฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 จึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ที่กำหนดสำหรับลาภมิควรได้มาใช้แก่กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องชำระเป็นหนี้เงินและมีการผิดนัดดอกเบี้ยที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จ่ายแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นการกำหนดให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ซึ่งศาลแรงงานกลางไม่อาจใช้ดุลพินิจกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงกว่านี้อีกได้
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า เงินเดือนอัตราใหม่ที่จำเลยที่ 2 รับไประหว่างวันที่ 31 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2542 รวมเป็นเงิน 317,130 บาท และเมื่อตรวจสอบแล้วเงินจำนวนดังกล่าวเกินจากจำนวนที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิได้รับเป็นจำนวน 62,066.77 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เห็นได้ว่าเมื่ออ่านคำฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องประกอบกันแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่โจทก์จ่ายค่าจ้างเพิ่มให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เป็นการจ่ายตามคำสั่งที่ 63/2539 และที่ 64/2539 ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การรับเงินของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จากโจทก์จึงมิใช่เป็นการรับโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แม้ต่อมาคำสั่งดังกล่าวจะถูกยกเลิกก็ตาม ทั้งการสิ้นผลบังคับของคำสั่งดังกล่าวมิใช่เป็นเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว อันจะถือว่าเป็นการได้ทรัพย์มาในฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 จึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ที่กำหนดสำหรับลาภมิควรได้มาใช้แก่กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องชำระเป็นหนี้เงินและมีการผิดนัดดอกเบี้ยที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จ่ายแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นการกำหนดให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ซึ่งศาลแรงงานกลางไม่อาจใช้ดุลพินิจกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงกว่านี้อีกได้