คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 179

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 347 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4969/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคำสั่งชี้ขาดเบื้องต้น: การอุทธรณ์คำสั่งศาลไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์
ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้จึงให้งบสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องพิพากษายกฟ้อง เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย อันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้สืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปจึงเป็นการอุทธรณ์คำสั่งตามมาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท ศาลอุทธรณ์จดรายงานกระบวนพิจารณาสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลจากโจทก์ตามทุนทรัพย์โดยไม่ชอบและเป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดว่าโจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามทุนทรัพย์ที่พิพาท โจทก์จึงยื่นคำร้องขอลดจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องลง ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าโจทก์จะยื่นคำร้องขอลดจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในชั้นอุทธรณ์มิได้ ให้ยกคำร้องนั้นจึงเป็นการไม่ชอบเช่นกันปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าทดแทนที่ดินเวนคืนและดอกเบี้ย กรณีราคาที่ดินเปลี่ยนแปลงและระยะเวลาการชำระ
เมื่อปรากฏว่า โจทก์อ้างมาในฟ้องตั้งแต่แรกแล้วว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์อันเป็นหลักเกณฑ์ของการกำหนดค่าทดแทนที่ดินซึ่งแก้ไขโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ข้อ 1 จำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ขอเรียกตามฟ้องและจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินที่ขอเพิ่มตามคำร้องขอแก้ไขฟ้องนั้นอาศัยหลักเกณฑ์เดียวกัน โจทก์สามารถที่จะขอแก้ไขได้ก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่ายี่สิบเอ็ดวันและเนื้อที่หาสาระที่ขอแก้ไขมิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนี้คำร้องขอแก้ไขฟ้องของโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องนั้นชอบแล้ว ขณะคดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกใช้บังคับ ซึ่งข้อ 1 บัญญัติให้ยกเลิกความในวรรคสี่และวรรคห้าของมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ในการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทน ให้คณะกรรมการกำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 18 มาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 24" และข้อ 5 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 9 วรรคสี่และวรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อ การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ดังนั้นในการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืนนั้นศาลต้องพิจารณาโดยคำนึงถึง (1) ถึง (5) ของมาตรา 21แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ด้วย ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ระบุว่า ที่ดินส่วนที่เหลือไม่สามารถทำประโยชน์ในกิจการที่เหมาะสมอีกต่อไปเนื่องจากต้องตกอยู่ใต้ทางด่วน ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อย่างยิ่ง และข้อความดังกล่าวโจทก์ได้กล่าวอ้างรวมมากับข้อเรียกร้องให้ชำระเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเพิ่มเติม เห็นได้ว่า โจทก์ประสงค์จะเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ในส่วนที่ราคาลดลงด้วย ถือว่าโจทก์ได้ร้องขอให้รัฐมนตรีฯ พิจารณาเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือราคาลดลงแล้ว โจทก์จึงมีสิทธินำคดีส่วนนี้มาฟ้องต่อศาลได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติว่าในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น และมาตรา 11 วรรคหนึ่งบัญญัติว่าในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10 ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขาย ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยได้ทำซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2532ตามสำเนาสัญญาซื้อขายฯ นับแต่วันดังกล่าวไปอีกหนึ่งร้อยยี่สิบวันซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์คือวันที่6 กันยายน 2532 อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสิน มิใช่นับแต่วันที่โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องคดีเวนคืน การคิดดอกเบี้ยค่าทดแทน และสิทธิเรียกร้องเพิ่มเติมจากราคาที่ดิน
เมื่อปรากฏว่า โจทก์อ้างมาในฟ้องตั้งแต่แรกแล้วว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์อันเป็นหลักเกณฑ์ของการกำหนดค่าทดแทนที่ดินซึ่งแก้ไขโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่44 ข้อ 1 จำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ขอเรียกตามฟ้องและจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินที่ขอเพิ่มตามคำร้องขอแก้ไขฟ้องนั้นอาศัยหลักเกณฑ์เดียวกัน โจทก์สามารถที่จะขอแก้ไขได้ก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่ายี่สิบเอ็ดวัน และเนื้อหาสาระที่ขอแก้ไขมิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนี้คำร้องขอแก้ไขฟ้องของโจทก์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180 ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องนั้นชอบแล้ว
ขณะคดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกใช้บังคับ ซึ่งข้อ 1 บัญญัติให้ยกเลิกความในวรรคสี่และวรรคห้าของมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ในการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทน ให้คณะกรรมการกำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 18 มาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 24..."และข้อ 5 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 9 วรรคสี่และวรรคห้า...แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อ การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ดังนั้นในการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืนนั้นศาลต้องพิจารณาโดยคำนึงถึง (1) ถึง (5) ของมาตรา 21แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ด้วย
ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ระบุว่า ที่ดินส่วนที่เหลือไม่สามารถทำประโยชน์ในกิจการที่เหมาะสมอีกต่อไปเนื่องจากต้องตกอยู่ใต้ทางด่วน ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อย่างยิ่ง และข้อความดังกล่าวโจทก์ได้กล่าวอ้างรวมมากับข้อเรียกร้องให้ชำระเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเพิ่มเติม เห็นได้ว่า โจทก์ประสงค์จะเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ในส่วนที่ราคาลดลงด้วย ถือว่าโจทก์ได้ร้องขอให้รัฐมนตรีฯ พิจารณาเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือราคาลดลงแล้ว โจทก์จึงมีสิทธินำคดีส่วนนี้มาฟ้องต่อศาลได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติว่าในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น และมาตรา 11 วรรคหนึ่งบัญญัติว่าในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10 ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขาย ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยได้ทำซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2532 ตามสำเนาสัญญาซื้อขายฯ นับแต่วันดังกล่าวไปอีกหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์คือวันที่ 6 กันยายน 2532 อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา26 วรรคสาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสิน มิใช่นับแต่วันที่โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าทดแทนที่ดินเวนคืนและดอกเบี้ยตามกฎหมาย โดยพิจารณาจากราคาตลาดและอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
เมื่อปรากฏว่าโจทก์อ้างมาในฟ้องตั้งแต่แรกแล้วว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์อันเป็นหลักเกณฑ์ของการกำหนดค่าทดแทนที่ดินซึ่งแก้ไขโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44ข้อ1จำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ขอเรียกตามฟ้องและจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินที่ขอเพิ่มตามคำร้องขอแก้ไขฟ้องนั้นอาศัยหลักเกณฑ์เดียวกันโจทก์สามารถที่จะขอแก้ไขได้ก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่ายี่สิบเอ็ดวันและเนื้อที่หาสาระที่ขอแก้ไขมิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนดังนี้คำร้องขอแก้ไขฟ้องของโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา180ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องนั้นชอบแล้ว ขณะคดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกใช้บังคับซึ่งข้อ1บัญญัติให้ยกเลิกความในวรรคสี่และวรรคห้าของมาตรา9แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน"ในการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนให้คณะกรรมการกำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา18มาตรา21มาตรา22และมาตรา24"และข้อ5วรรคหนึ่งบัญญัติว่าบทบัญญัติมาตรา9วรรคสี่และวรรคห้าแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้นการจัดซื้อการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วยดังนั้นในการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืนนั้นศาลต้องพิจารณาโดยคำนึงถึง(1)ถึง(5)ของมาตรา21แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ด้วย ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ระบุว่าที่ดินส่วนที่เหลือไม่สามารถทำประโยชน์ในกิจการที่เหมาะสมอีกต่อไปเนื่องจากต้องตกอยู่ใต้ทางด่วนซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อย่างยิ่งและข้อความดังกล่าวโจทก์ได้กล่าวอ้างรวมมากับข้อเรียกร้องให้ชำระเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเพิ่มเติมเห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์จะเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ในส่วนที่ราคาลดลงด้วยถือว่าโจทก์ได้ร้องขอให้รัฐมนตรีฯพิจารณาเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือราคาลดลงแล้วโจทก์จึงมีสิทธินำคดีส่วนนี้มาฟ้องต่อศาลได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26 พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคสามบัญญัติว่าในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นและมาตรา11วรรคหนึ่งบัญญัติว่าในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา10ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยได้ทำซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา10เมื่อวันที่9พฤษภาคม2532ตามสำเนาสัญญาซื้อขายฯนับแต่วันดังกล่าวไปอีกหนึ่งร้อยยี่สิบวันซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์คือวันที่6กันยายน2532อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา26วรรคสามโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสิน มิใช่นับแต่วันที่โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนจากจำเลยที่1ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9677/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องนอกเหนือข้ออ้างเดิมและขอบเขตสัญญาซื้อขาย
เดิมโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์โดยมีเงื่อนไขในสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวว่าจำเลยทั้งสองยอมให้โจทก์เข้าปรับปรุงพัฒนาที่ดินและนำไปขายต่อให้แก่บุคคลอื่นได้ ทั้งจำเลยทั้งสองจะแบ่งแยกที่ดินให้ทำถนน ต่อมาโจทก์จำเลยทั้งสองและบุคคลภายนอกได้ทำบันทึกการให้ทางดังกล่าวไว้ต่างหากอีกฉบับหนึ่งด้วย แต่โจทก์ไม่สามารถพัฒนาและทำถนนให้แล้วเสร็จตามที่ตกลงกันได้ เนื่องจากจำเลยที่ 2 คอยขัดขวางขอให้บังคับจำเลยทั้งสองปฎิบัติตามสัญญาจะซื้อขายและข้อตกลงในบันทึกการให้ทางทั้งให้จำเลยทั้งสองร่วมกันถอนคำคัดค้านที่ให้ไว้ต่อการไฟฟ้านครหลวง กับชำระค่าเสียหาย พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ซึ่งตามคำฟ้องเดิมโจทก์มิได้ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองผิดสัญญาจะซื้อขาย โดยไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนขายตามกำหนดอันจะทำให้มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้อีกหนึ่งเท่าตัว ตามสัญญาจะซื้อขาย ดังนั้นที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องว่าให้จำเลยทั้งสองร่วมกันโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายกับใช้ค่าปรับพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จเพิ่มจากคำฟ้องเดิม จึงเป็นการขอเพิ่มข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับนอกเหนือไปจากคำฟ้องเดิมที่เสนอต่อศาลแต่แรก มิใช่เป็นกรณีที่เพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิมหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 179 (1) (2) ทั้งมิใช่เป็นการขอแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย จึงไม่ชอบที่จะกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9677/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องนอกเหนือจากข้ออ้างเดิม และการเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท
เดิมโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์โดยมีเงื่อนไขในสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวว่าจำเลยทั้งสองยอมให้โจทก์เข้าปรับปรุงพัฒนาที่ดินและนำไปขายต่อให้แก่บุคคลอื่นได้ทั้งจำเลยทั้งสองจะแบ่งแยกที่ดินให้ทำถนนต่อมาโจทก์จำเลยทั้งสองและบุคคลภายนอกได้ทำบันทึกการให้ทางดังกล่าวไว้ต่างหากอีกฉบับหนึ่งด้วยแต่โจทก์ไม่สามารถพัฒนาและทำถนนให้แล้วเสร็จตามที่ตกลงกันได้เนื่องจากจำเลยที่2คอยขัดขวางขอให้บังคับจำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายและข้อตกลงในบันทึกการให้ทางทั้งให้จำเลยทั้งสองร่วมกันถอนคำคัดค้านที่ให้ไว้ต่อการไฟฟ้านครหลวงกับชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ซึ่งตามคำฟ้องเดิมโจทก์มิได้ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญาจะซื้อขายโดยไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนขายตามกำหนดอันจะทำให้มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้อีกหนึ่งเท่าตัวตามสัญญาจะซื้อขายดังนั้นที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องว่าให้จำเลยทั้งสองร่วมกันโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายกับใช้ค่าปรับพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จเพิ่มจากคำฟ้องเดิมจึงเป็นการขอเพิ่มข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับนอกเหนือไปจากคำฟ้องเดิมที่เสนอต่อศาลแต่แรกมิใช่เป็นกรณีที่เพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิมหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา179(1)(2)ทั้งมิใช่เป็นการขอแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยจึงไม่ชอบที่จะกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5974/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมพิจารณาฟ้องแย้งเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์ในคดีบุกรุกที่ดิน
โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปทำรั้วปูนด้านหน้าและรั้วสังกะสีด้านข้างในที่ดินมีโฉนดของโจทก์ ด้านที่ติดกับจำเลยเป็นเนื้อที่รวม7 ตารางวา ขอให้ขับไล่ จำเลยให้การปฏิเสธว่า มิได้บุกรุกหรือรุกล้ำ ขอให้ยกฟ้อง คดีจึงมีประเด็นว่า จำเลยบุกรุกดังฟ้องโจทก์หรือไม่ หากฟังไม่ได้ว่าจำเลยบุกรุก ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ไปโดยไม่ต้องพิจารณาตามฟ้องแย้งของจำเลย การที่จำเลยฟ้องแย้งว่า เมื่อที่ดินของจำเลยอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์หากจำเลยได้ครอบครองที่ดินของจำเลยต่อเนื่องเข้าไปในที่ดินของโจทก์ตามฟ้องจำเลยก็ได้ครอบครองที่ดินของโจทก์ติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า 10 ปี แล้วเป็นการครอบครองโดยสงบ เปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์นั้น เป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคสุดท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5974/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องมีเหตุเชื่อมโยงกับฟ้องเดิม หากไม่มี ศาลไม่รับพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ด้านที่ติดกับที่ดินของจำเลย ขอให้ขับไล่ จำเลยให้การปฏิเสธว่า มิได้บุกรุก คดีจึงมีประเด็นว่าจำเลยบุกรุกหรือไม่การที่จำเลยฟ้องแย้งว่า หากจำเลยได้ครอบครองที่ดินของจำเลยต่อเนื่องเข้าไปในที่ดินของโจทก์ตามฟ้องก็เป็นการครอบครองโดยสงบ เปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมากว่า 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์นั้น เป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1272/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตฟ้องแย้งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท: การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างฟ้องเดิมและฟ้องแย้งเพื่อชี้ขาดสิทธิในที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินที่จำเลยใช้สร้างสะพานทางเดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอน จำเลยให้การว่าที่ดินดังกล่าวเจ้าของที่ดินเดิมอุทิศให้เป็นทางสาธารณะ ประเด็นแห่งคดีเดิมจึงมีว่า ที่ดินที่จำเลยใช้สร้างสะพานทางเดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์หรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินที่สร้างสะพานทางเดินพิพาทกว้าง 1.5 เมตรยาวประมาณ 37.4 เมตร เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทเดียวกันกับฟ้องเดิม ฟ้องแย้งส่วนนี้ย่อมเกี่ยวกับฟ้องเดิม
ฟ้องแย้งในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินทั้งสองด้านของที่ดินที่ใช้สร้างทางเดินพิพาทในฟ้องเดิมนั้น เป็นที่ดินติดเป็นผืนเดียวกันกับทางเดินพิพาท เท่ากับจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทกว้างยาวกว่าที่โจทก์ระบุมาในฟ้องเดิม และเป็นการตั้งสิทธิว่าถูกโจทก์โต้แย้งสิทธิตามฟ้องเดิมโดยโจทก์อ้างว่าที่ดินที่จำเลยฟ้องแย้งในส่วนนี้ก็เป็นของโจทก์ ถือได้ว่าฟ้องแย้งในส่วนนี้มีส่วนสัมพันธ์กับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ฟ้องแย้งในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1272/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ใช้สร้างทางเดินสาธารณะ มีความสัมพันธ์กับฟ้องเดิม จึงพิจารณารวมกันได้
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินที่จำเลยใช้สร้างสะพานทางเดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนจำเลยให้การว่าที่ดินดังกล่าวเจ้าของที่ดินเดิมอุทิศให้เป็นทางสาธารณะประเด็นแห่งคดีจึงมีว่าที่ดินที่จำเลยใช้สร้างสะพานทางเดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์หรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินที่สร้างสะพานทางเดินพิพาทกว้าง1.5เมตรยาวประมาณ37.4เมตรเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทเดียวกันกับฟ้องเดิมฟ้องแย้งส่วนนี้ย่อมเกี่ยวกับฟ้องเดิม ฟ้องแย้งในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินทั้งสองด้านของที่ดินที่ใช้สร้างทางเดินพิพาทในฟ้องเดิมนั้นเป็นที่ดินติดเป็นผืนเดียวกันกับทางเดินพิพาทเท่ากับจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทกว้างยาวกว่าที่โจทก์ระบุมาในฟ้องเดิมและเป็นการตั้งสิทธิว่าถูกโจทก์โต้แย้งสิทธิตามฟ้องเดิมโดยโจทก์อ้างว่าที่ดินที่จำเลยฟ้องแย้งในส่วนนี้ก็เป็นของโจทก์ถือว่าฟ้องแย้งในส่วนนี้มีส่วนสัมพันธ์กับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ฟ้องแย้งในส่วนจึงเกี่ยวกับฟ้องเดิม
of 35