คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 179

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 347 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันคู่กรณี แม้มีการฟ้องแย้งหรืออุทธรณ์คดีอื่นที่เกี่ยวข้อง
ที่จำเลยฎีกาว่าการที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและเบิกความต่อศาลเป็นการแสดงเจตนาสละสิทธิที่จะรับมรดกตามที่จะได้รับตามบันทึกข้อตกลงทั้งสิ้นนั้นเมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้เช่นนั้นจึงไม่มีประเด็นดังกล่าวในศาลชั้นต้นแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ตามที่จำเลยอุทธรณ์ก็ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่218/2534ว่าบันทึกข้อตกลงเอกสารหมายจ.2มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างโจทก์กับจำเลยจำเลยไม่ได้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเมื่อจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวไม่ได้อุทธรณ์คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วดังนี้คำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์จำเลยในคดีนี้ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคหนึ่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้ บันทึกข้อตกลงนั้นยังมีผลใช้บังคับอยู่โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาเดิมต่อคดีใหม่: สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
ที่จำเลยฎีกาว่า การที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและเบิกความต่อศาลเป็นการแสดงเจตนาสละสิทธิที่จะรับมรดกตามที่จะได้รับตามบันทึกข้อตกลงทั้งสิ้นนั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้เช่นนั้นจึงไม่มีประเด็นดังกล่าวในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ตามที่จำเลยอุทธรณ์ ก็ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 218/2534 ว่าบันทึกข้อตกลงเอกสารหมาย จ.2 มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างโจทก์กับจำเลย จำเลยไม่ได้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวไม่ได้อุทธรณ์ คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ คำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์จำเลยในคดีนี้ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ว่า โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้ บันทึกข้อตกลงนั้นยังมีผลใช้บังคับอยู่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขชื่อจำเลยในคำฟ้อง: ศาลอนุญาตแก้ไขได้หากมีเหตุสมควร แม้ไม่ตรงตาม มาตรา 179
การขอแก้ไขคำฟ้องที่ระบุไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 เป็นเพียงตัวอย่างที่คู่ความจะขอแก้ไข เมื่อมีเหตุ อันสมควรย่อมกระทำได้แม้ไม่ใช่เป็นเหตุที่ระบุไว้ตามมาตรา 179 ก็ตาม โจทก์เพิ่มเติมชื่อจำเลยที่ 2 อีกชื่อหนึ่งว่า"นางสาววันทนีย์" เพื่อให้ชื่อของจำเลยที่ 2 ชัดเจนขึ้นขอแก้ไขนามสกุลของจำเลยที่ 2 จาก "ตันทวานิช"มาเป็น"แซ่ฉั่ว"เพื่อความถูกต้อง เพราะนามสกุลตันทวานิชเป็นของจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นสามีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่เป็นการฟ้องคดีต่างบุคคลกัน โจทก์จึงมีสิทธิเพิ่มเติมชื่อจำเลยที่ 2 และแก้ไขชื่อสกุลของจำเลยที่ 2 ให้ชัดเจนและถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6611-6612/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์และงดการบังคับคดี ต้องเป็นไปตามขั้นตอนและเหตุตามกฎหมาย
การแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องอุทธรณ์ต้องอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 ประกอบมาตรา 246คือต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งรับคำฟ้องอุทธรณ์ไว้แล้วแต่จำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมจึงจะกระทำได้ คดีนี้เมื่อศาลชั้นต้นมิได้รับคำฟ้องอุทธรณ์จึงไม่มีตัวคำฟ้องอุทธรณ์ที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมได้
การที่จะสั่งงดการบังคับคดีได้จะต้องมีเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292,293,294 หรือ 296ตามคำร้องของจำเลยเพียงแต่ขอให้งดการบังคับคดีไว้จนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องอุทธรณ์เสียก่อนนั้น จำเลยไม่ได้ระบุอ้างเหตุตามกฎหมายดังกล่าวไว้ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งยกคำร้องของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5911/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันสัญญารับมอบสินค้าเชื่อ (ทรัสต์รีซีท) ไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ และไม่ขาดอายุความ
ตามคำฟ้องเดิมโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่1รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อแม้โจทก์กล่าวถึงสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.ทำกับโจทก์ก็เป็นเพียงการเท้าความให้เห็นถึงความเป็นมาของสัญญารับมอบสินค้าเชื่อเท่านั้นการที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยตัดข้อความที่เกี่ยวกับสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตออกจึงไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีและความรับผิดของจำเลยที่1เปลี่ยนแปลงไปที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องจึงชอบแล้ว โจทก์บรรยายฟ้องว่าในการทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อของห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.ที่ทำกับโจทก์มีจำเลยที่1ทำสัญญาค้ำประกันไว้และกล่าวถึงรายละเอียดของสัญญารับมอบสินค้าเชื่อตลอดจนภาระหนี้สินที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.และจำเลยที่1จะต้องร่วมกันรับผิดไว้ครบถ้วนคำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วส่วนรายละเอียดว่าเล็ตเตอร์ออฟเครดิตแต่ละฉบับเลขที่เท่าใดจำนวนเงินเท่าใดและสัญญารับมอบสินค้าเชื่อแต่ละฉบับเกี่ยวกับเล็ตเตอร์ออฟเครดิตฉบับใดนั้นเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ห้างหุ้นส่วนจำกัดจ. สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศผู้ขายส่งสินค้ามาประเทศไทยพร้อมกับส่งตั๋วแลกเงินและเอกสารกำกับสินค้าให้แก่ธนาคารตัวแทนของโจทก์ในต่างประเทศเพื่อส่งมาให้โจทก์เรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.แต่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.ไม่มีเงินชำระค่าสินค้าจึงทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทไว้แก่โจทก์เพื่อขอให้โจทก์มอบเอกสารต่างๆให้จะได้นำไปออกสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อนำไปจำหน่ายและนำเงินค่าสินค้ามาชำระให้โจทก์โดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าโจทก์คงเป็นเจ้าของสินค้าและห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.จะทำการขายสินค้าในฐานะตัวแทนโจทก์สัญญารับมอบสินค้าเชื่อดังกล่าวจึงเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าไปเป็นของโจทก์เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของสินค้าการครอบครองสินค้าของโจทก์จึงไม่ใช่การครอบครองในลักษณะจำนำการที่โจทก์มอบเอกสารกำกับสินค้าให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจ. เพื่อนำไปออกสินค้าจึงไม่ทำให้หนี้ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อระงับไป สัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทเป็นธุรกิจอันเป็นประเพณีที่ธนาคารพาณิชย์พึงกระทำได้ไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์มาตรา9ทวิ โจทก์ชำระค่าสินค้าแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.เมื่อปี2523โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่1ชำระค่าสินค้าแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดจ. ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่1ทำไว้แก่โจทก์ได้ภายใน10ปีนับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินค้าซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่26พฤษภาคม2532ยังไม่เกิน10ปีคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5911/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีผู้ค้ำประกันชำระหนี้ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อ ไม่ขาดอายุความ 10 ปี ศาลอนุญาตแก้ไขคำฟ้องได้
ตามคำฟ้องเดิมโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อ แม้โจทก์กล่าวถึงสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.ทำกับโจทก์ก็เป็นเพียงการเท้าความให้เห็นถึงความเป็นมาของสัญญารับมอบสินค้าเชื่อเท่านั้น การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยตัดข้อความที่เกี่ยวกับสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตออกจึงไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีและความรับผิดของจำเลยที่ 1 เปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องจึงชอบแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อของห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.ที่ทำกับโจทก์มีจำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันไว้ และกล่าวถึงรายละเอียดของสัญญารับมอบสินค้าเชื่อตลอดจนภาระหนี้สินที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.และจำเลยที่ 1 จะต้องร่วมกันรับผิดไว้ครบถ้วน คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนรายละเอียดว่าเล็ตเตอร์ออฟเครดิตแต่ละฉบับเลขที่เท่าใด จำนวนเงินเท่าใด และสัญญารับมอบสินค้าเชื่อแต่ละฉบับเกี่ยวกับเล็ตเตอร์ออฟเครดิตฉบับใดนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ผู้ขายส่งสินค้ามาประเทศไทยพร้อมกับส่งตั๋วแลกเงินและเอกสารกำกับสินค้าให้แก่ธนาคารตัวแทนของโจทก์ในต่างประเทศเพื่อส่งมาให้โจทก์เรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. แต่ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.ไม่มีเงินชำระค่าสินค้า จึงทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทไว้แก่โจทก์เพื่อขอให้โจทก์มอบเอกสารต่าง ๆ ให้จะได้นำไปออกสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปจำหน่ายและนำเงินค่าสินค้ามาชำระให้โจทก์ โดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าโจทก์คงเป็นเจ้าของสินค้า และห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.จะทำการขายสินค้าในฐานะตัวแทนโจทก์สัญญารับมอบสินค้าเชื่อดังกล่าวจึงเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าไปเป็นของโจทก์เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของสินค้า การครอบครองสินค้าของโจทก์จึงไม่ใช่การครอบครองในลักษณะจำนำ การที่โจทก์มอบเอกสารกำกับสินค้าให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.เพื่อนำไปออกสินค้าจึงไม่ทำให้หนี้ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อระงับไป
สัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทเป็นธุรกิจอันเป็นประเพณีที่ธนาคารพาณิชย์พึงกระทำได้ ไม่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์มาตรา 9 ทวิ
โจทก์ชำระค่าสินค้าแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. เมื่อปี 2523โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าสินค้าแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์ได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินค้าซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่26 พฤษภาคม 2532 ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมและผลของคำพิพากษาที่ไม่ผูกพันคู่ความอื่น แม้มีการยอมความและโอนทรัพย์มรดก
โจทก์ฟ้องและจำเลยแถลงยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้อง ข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ตามฟ้อง
แม้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนขายที่ดินบางแปลงตามบัญชีทรัพย์มรดกท้ายฟ้องให้แก่บุคคลอื่น และศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดไปแล้วก็ตาม คำพิพากษาดังกล่าวก็ไม่ผูกพันโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวและมิได้เป็นคู่ความในคดีนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการแบ่งสินสมรสและมรดก แม้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับบุคคลอื่น
โจทก์ฟ้องและจำเลยแถลงยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ตามฟ้อง แม้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนขายที่ดินบางแปลงตามบัญชีทรัพย์มรดกท้ายฟ้องให้แก่บุคคลอื่นและศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดไปแล้วก็ตามคำพิพากษาดังกล่าวก็ไม่ผูกพันโจทก์ที่1ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวและมิได้เป็นคู่ความในคดีนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดจากวัวกินอ้อย: ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำฟ้องได้และวินิจฉัยความรับผิดชอบตามส่วน
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยทั้งแปดฎีกาว่า จำเลยทั้งแปดไม่เคยนำวัวไปเลี้ยงในไร่อ้อยของโจทก์ จึงไม่ได้ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งฟังว่าจำเลยทั้งแปดซึ่งเป็นคู่สามีภรรยากันต่างคู่ต่างปล่อยวัวของตนเข้าไปกินอ้อยของโจทก์อันเป็นละเมิด เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งแปดร่วมกันไล่ต้อนวัวเข้าไปกินอ้อยในไร่ของโจทก์ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทั้งแปดต่างคู่สามีภรรยาต่างปล่อยวัวของตนเข้าไปกินอ้อยของโจทก์ ก็เป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดซึ่งเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่ถึงกับเป็นเรื่องนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง จำเลยทั้งแปดก็สามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่แล้ว ไม่มีเหตุที่จะยกฟ้องโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยแต่ละคู่แยกกันรับผิดในความเสียหายตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 จึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องย่อมทำให้คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องตลอดทั้งแผนที่สังเขปที่แนบมาท้ายคำร้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องด้วย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงชอบที่จะนำมาใช้ในการวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ได้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องพอเข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งแปดปล่อยปละละเลยไม่ดูแลเลี้ยงดูฝูงวัวของตนเป็นเหตุให้ฝูงวัวของจำเลยทั้งแปดเข้าไปกินต้นอ้อยใบอ้อยและเหยียบย่ำต้นอ้อยของโจทก์เสียหายประมาณ 60 ไร่เศษ ส่วนคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก็ระบุอาณาเขตความกว้างยาวของที่ดินในการปลูกอ้อยด้านทิศเหนือ ทิศใต้ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกว่าจดที่ดินของผู้ใดตามแผนที่สังเขปท้ายคำร้อง จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดก: การครอบครองทำกินร่วมกัน และการแบ่งมรดกหลังการเสียชีวิต
ตามฟ้องสภาพแห่งข้อหาของโจทก์คือ ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นมรดกของ ท. โจทก์กับ ม.เป็นทายาทได้รับส่วนแบ่งคนละครึ่ง คำขอบังคับคือมรดกที่เรียกร้องคิดเป็นเงิน 800,000 บาท ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือม.ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินและบ้านทั้งหมดให้แก่จำเลยได้ ที่โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยตัดข้อความที่ว่า "และครอบครองที่ดินแทนโจทก์ตลอดมา" ออกเป็นว่า "โจทก์และ ม.ได้ครอบครองและเก็บผลประโยชน์ในที่ดินพิพาทร่วมกันตลอดมา แต่ให้ ม.ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนโจทก์ โจทก์ได้ติดต่อทวงถาม..." โดยคงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยป็นหลักแห่งข้อหาไว้ตามเดิมนั้นไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนไป ทั้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเช่นนี้โจทก์ย่อมแก้ไขได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 179 วรรคท้าย
ตั้งแต่ ท.จดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรม โจทก์ได้ไปอยู่กับ ท.ในบ้านและที่ดินพิพาทตลอดมา โดย ท.ประกอบอาชีพขายจาก และโจทก์ตัดจากในที่ดินพิพาทขายกับ ท.ด้วย เมื่อโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของ ท. บ้านและที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ท. เชื่อได้ว่าโจทก์ทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกับ ท.และม.ด้วย นอกจากนี้หลังจาก ท.ตายไป โจทก์ยังคงอยู่ในบ้านพิพาท และโจทก์เป็นผู้เก็บผลประโยชน์จากการตัดต้นสนในที่ดินพิพาทไปขายนำเงินไปมอบให้แก่ ม.เพื่อช่วยเป็นค่าใช้จ่ายในการปลงศพ ท. การที่ ท.ยังมิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือ ม. คนทั้งสองจึงอยู่อาศัยโดยทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกันเท่านั้นเมื่อ ท.ตายไป บ้านและที่ดินพิพาทย่อมตกแก่โจทก์และ ม. การครอบครองอยู่อาศัยและทำกินต่อมาจึงเป็นการครอบครองแทนซึ่งกันและกัน แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านการจดทะเบียนรับโอนมรดกของ ท. และมิได้ฟ้องคดีที่อายัดที่ดินพิพาท โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดก ท.ซึ่งตนเป็นเจ้าของร่วมได้ จะนำอายุความ 1 ปี ตามป.พ.พ.มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 บัญญัติบังคับว่าศาลอุทธรณ์ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน จึงจะเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ และแม้ในสำนวนจะไม่มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เป็นต้นร่างก็ตาม แต่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์โดย ถ.ได้บันทึกรับรองว่า คดีนี้มีผู้พิพากษาสามคนได้ร่วมปรึกษาและมีความเห็นพ้องกันดังได้ลงลายมือชื่อไว้ในต้นร่างคำพิพากษาแล้ว เมื่อจำเลยมิได้โต้เถียงว่า ถ.มิใช่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ในขณะพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนที่โจทก์แก้ฎีกาให้เอาบ้านและที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งแก่ตนครึ่งหนึ่งนั้น เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องนี้มา ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาในคำแก้ฎีกานั้นได้
of 35