พบผลลัพธ์ทั้งหมด 347 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์มรดก: การครอบครองทำกินร่วมกัน และการแบ่งมรดกหลังการเสียชีวิต
ตามฟ้องสภาพแห่งข้อหาของโจทก์คือ ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นมรดกของ ท. โจทก์กับ ม.เป็นทายาทได้รับส่วนแบ่งคนละครึ่ง คำขอบังคับคือมรดกที่เรียกร้องคิดเป็นเงิน 800,000 บาท ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือม.ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินและบ้านทั้งหมดให้แก่จำเลยได้ ที่โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยตัดข้อความที่ว่า "และครอบครองที่ดินแทนโจทก์ตลอดมา" ออกเป็นว่า "โจทก์และ ม.ได้ครอบครองและเก็บผลประโยชน์ในที่ดินพิพาทร่วมกันตลอดมา แต่ให้ ม.ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนโจทก์ โจทก์ได้ติดต่อทวงถาม..." โดยคงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยป็นหลักแห่งข้อหาไว้ตามเดิมนั้นไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนไป ทั้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเช่นนี้โจทก์ย่อมแก้ไขได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 179 วรรคท้าย
ตั้งแต่ ท.จดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรม โจทก์ได้ไปอยู่กับ ท.ในบ้านและที่ดินพิพาทตลอดมา โดย ท.ประกอบอาชีพขายจาก และโจทก์ตัดจากในที่ดินพิพาทขายกับ ท.ด้วย เมื่อโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของ ท. บ้านและที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ท. เชื่อได้ว่าโจทก์ทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกับ ท.และม.ด้วย นอกจากนี้หลังจาก ท.ตายไป โจทก์ยังคงอยู่ในบ้านพิพาท และโจทก์เป็นผู้เก็บผลประโยชน์จากการตัดต้นสนในที่ดินพิพาทไปขายนำเงินไปมอบให้แก่ ม.เพื่อช่วยเป็นค่าใช้จ่ายในการปลงศพ ท. การที่ ท.ยังมิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือ ม. คนทั้งสองจึงอยู่อาศัยโดยทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกันเท่านั้นเมื่อ ท.ตายไป บ้านและที่ดินพิพาทย่อมตกแก่โจทก์และ ม. การครอบครองอยู่อาศัยและทำกินต่อมาจึงเป็นการครอบครองแทนซึ่งกันและกัน แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านการจดทะเบียนรับโอนมรดกของ ท. และมิได้ฟ้องคดีที่อายัดที่ดินพิพาท โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดก ท.ซึ่งตนเป็นเจ้าของร่วมได้ จะนำอายุความ 1 ปี ตามป.พ.พ.มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 บัญญัติบังคับว่าศาลอุทธรณ์ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน จึงจะเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ และแม้ในสำนวนจะไม่มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เป็นต้นร่างก็ตาม แต่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์โดย ถ.ได้บันทึกรับรองว่า คดีนี้มีผู้พิพากษาสามคนได้ร่วมปรึกษาและมีความเห็นพ้องกันดังได้ลงลายมือชื่อไว้ในต้นร่างคำพิพากษาแล้ว เมื่อจำเลยมิได้โต้เถียงว่า ถ.มิใช่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ในขณะพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนที่โจทก์แก้ฎีกาให้เอาบ้านและที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งแก่ตนครึ่งหนึ่งนั้น เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องนี้มา ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาในคำแก้ฎีกานั้นได้
ตั้งแต่ ท.จดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรม โจทก์ได้ไปอยู่กับ ท.ในบ้านและที่ดินพิพาทตลอดมา โดย ท.ประกอบอาชีพขายจาก และโจทก์ตัดจากในที่ดินพิพาทขายกับ ท.ด้วย เมื่อโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของ ท. บ้านและที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ท. เชื่อได้ว่าโจทก์ทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกับ ท.และม.ด้วย นอกจากนี้หลังจาก ท.ตายไป โจทก์ยังคงอยู่ในบ้านพิพาท และโจทก์เป็นผู้เก็บผลประโยชน์จากการตัดต้นสนในที่ดินพิพาทไปขายนำเงินไปมอบให้แก่ ม.เพื่อช่วยเป็นค่าใช้จ่ายในการปลงศพ ท. การที่ ท.ยังมิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือ ม. คนทั้งสองจึงอยู่อาศัยโดยทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกันเท่านั้นเมื่อ ท.ตายไป บ้านและที่ดินพิพาทย่อมตกแก่โจทก์และ ม. การครอบครองอยู่อาศัยและทำกินต่อมาจึงเป็นการครอบครองแทนซึ่งกันและกัน แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านการจดทะเบียนรับโอนมรดกของ ท. และมิได้ฟ้องคดีที่อายัดที่ดินพิพาท โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดก ท.ซึ่งตนเป็นเจ้าของร่วมได้ จะนำอายุความ 1 ปี ตามป.พ.พ.มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 บัญญัติบังคับว่าศาลอุทธรณ์ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน จึงจะเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ และแม้ในสำนวนจะไม่มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เป็นต้นร่างก็ตาม แต่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์โดย ถ.ได้บันทึกรับรองว่า คดีนี้มีผู้พิพากษาสามคนได้ร่วมปรึกษาและมีความเห็นพ้องกันดังได้ลงลายมือชื่อไว้ในต้นร่างคำพิพากษาแล้ว เมื่อจำเลยมิได้โต้เถียงว่า ถ.มิใช่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ในขณะพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนที่โจทก์แก้ฎีกาให้เอาบ้านและที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งแก่ตนครึ่งหนึ่งนั้น เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องนี้มา ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาในคำแก้ฎีกานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการขนส่งและการแก้ไขคำฟ้อง
เดิมโจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกัน หรือจำเลยที่ 1เชิดจำเลยที่ 2 ออกแสดงเป็นตัวแทนจ้างจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์บรรทุกซึ่งมีป้ายชื่อ"โรงสีชัยเจริญ 4" อันเป็นชื่อกิจการค้าโรงสีซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีผลประโยชน์ร่วมกันติดอยู่ที่หลังคาหน้ารถโดยเปิดเผย การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มข้อความว่า โรงสีชัยเจริญ 4 เป็นโรงสีข้าวในกิจการของห้างหุ้นส่วนโรงสีไฟชัยเจริญซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดพิจิตร ซึ่งจำเลยที่ 1และที่ 2 เป็นหุ้นส่วน โดยจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเข้าไปนั้น ข้อความที่ขอแก้ไขเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ทั้งโจทก์ขอแก้ไขก่อนวันสืบพยาน เป็นกรณีที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 และมาตรา 180 โจทก์จึงมีสิทธิแก้ไขคำฟ้องได้
ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องพิการและทนทุกข์ทรมานเป็นความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินอย่างหนึ่ง โจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา 446
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ และจำเลยที่ 1 กับห้างหุันส่วนจำกัดโรงสีไฟชัยเจริญร่วมกันประกอบการขนส่งเพื่อหาผลประโยชน์ร่วมกัน จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างและกระทำละเมิดในทางการที่จ้างของห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงสีไฟชัยเจริญ และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2)
ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องพิการและทนทุกข์ทรมานเป็นความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินอย่างหนึ่ง โจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา 446
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ และจำเลยที่ 1 กับห้างหุันส่วนจำกัดโรงสีไฟชัยเจริญร่วมกันประกอบการขนส่งเพื่อหาผลประโยชน์ร่วมกัน จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างและกระทำละเมิดในทางการที่จ้างของห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงสีไฟชัยเจริญ และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, การร่วมรับผิดของเจ้าของรถ, ห้างหุ้นส่วน, และผู้จัดการ
เดิมโจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่1และที่2ร่วมกันหรือจำเลยที่1เชิดจำเลยที่2ออกแสดงเป็นตัวแทนจ้างจำเลยที่3ขับรถยนต์บรรทุกซึ่งมีป้ายชื่อ"โรงสีชัยเจริญ4"อันเป็นชื่อกิจการค้าโรงสีซึ่งจำเลยที่1และที่2มีผลประโยชน์ร่วมกันติดอยู่ที่หลังคาหน้ารถโดยเปิดเผยการที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มข้อความว่าโรงสีชัยเจริญ4 เป็นโรงสีข้าวในกิจการของห้างหุ้นส่วนโรงสีไฟชัยเจริญซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดพิจิตรซึ่งจำเลยที่1และที่2เป็นหุ้นส่วนโดยจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเข้าไปนั้นข้อความที่ขอแก้ไขเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมทั้งโจทก์ขอแก้ไขก่อนวันสืบพยานเป็นกรณีที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา179และมาตรา180โจทก์จึงมีสิทธิแก้ไขคำฟ้องได้ ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องพิการและทนทุกข์ทรมานเป็นความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินอย่างหนึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา446 ขณะเกิดเหตุจำเลยที่1เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุและจำเลยที่1กับห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงสีไฟชัยเจริญร่วมกันประกอบการขนส่งเพื่อหาผลประโยชน์ร่วมกันจำเลยที่3เป็นลูกจ้างและกระทำละเมิดในทางการที่จ้างของห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงสีไฟชัยเจริญ และจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดจึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1077(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเล็กน้อย และการเรียกค่าธรรมเนียมผิดนัดบัตรเครดิต
การที่จะวินิจฉัยว่าการแก้ไขคำฟ้องอย่างไรเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยนั้น จำเป็นต้องดูคำบรรยายฟ้องของโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาในการใช้บัตรไดเนอร์สคลับที่โจทก์ออกให้ไปใช้ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2532 โดยจำเลยค้างชำระหนี้แก่โจทก์จำนวน 20,620 บาท โจทก์ทวงถามแล้วไม่ชำระ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินให้โจทก์จำนวน 20,620 บาท พร้อมค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2532 คำนวณถึงวันฟ้องจำนวน 4,646.37 บาท รวมเป็นเงิน25,266.37 บาท แต่โจทก์กลับบรรยายฟ้องขอบังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวน4,646.37 บาท พร้อมค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ในต้นเงินจำนวน 20,620 บาท เห็นได้ชัดว่าการพิมพ์ฟ้องของโจทก์ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากเจตนา ต้องถือว่าเป็นการผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อย ซึ่งโจทก์ย่อมยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมได้แม้ภายหลังวันชี้สองสถาน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180
อุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบ แม้ศาลอุทธรณ์จะไม่รับวินิจฉัยโดยยกเหตุคนละเหตุว่า ข้ออุทธรณ์ของจำเลยนั้นจำเลยไม่เคยให้การต่อสู้คดีไว้ และจำเลยฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยไม่ชอบก็ตามก็ถือได้ว่าไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249
ตามวิธีการของการใช้บัตรไดเนอร์สคลับ เมื่อจำเลยนำบัตรของโจทก์ไปใช้ โจทก์จะชำระหนี้แทนจำเลย จำเลยมีหน้าที่จะชำระเงินคืนโจทก์ภายในกำหนด ในกรณีนี้จำเลยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมผิดนัด แต่หากจำเลยไม่ชำระเงินคืนให้โจทก์ภายในกำหนด โจทก์จะเรียกค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน โดยไม่ปรากฏว่าเรียกค่าเสียหายอย่างอื่นอีก จึงเห็นได้ว่าค่าธรรมเนียมผิดนัดไม่ใช่ดอกเบี้ยตามความหมายของ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 แต่มีลักษณะคล้ายเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมผิดนัดดังกล่าวได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาในการใช้บัตรไดเนอร์สคลับที่โจทก์ออกให้ไปใช้ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2532 โดยจำเลยค้างชำระหนี้แก่โจทก์จำนวน 20,620 บาท โจทก์ทวงถามแล้วไม่ชำระ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินให้โจทก์จำนวน 20,620 บาท พร้อมค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2532 คำนวณถึงวันฟ้องจำนวน 4,646.37 บาท รวมเป็นเงิน25,266.37 บาท แต่โจทก์กลับบรรยายฟ้องขอบังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวน4,646.37 บาท พร้อมค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ในต้นเงินจำนวน 20,620 บาท เห็นได้ชัดว่าการพิมพ์ฟ้องของโจทก์ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากเจตนา ต้องถือว่าเป็นการผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อย ซึ่งโจทก์ย่อมยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมได้แม้ภายหลังวันชี้สองสถาน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180
อุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบ แม้ศาลอุทธรณ์จะไม่รับวินิจฉัยโดยยกเหตุคนละเหตุว่า ข้ออุทธรณ์ของจำเลยนั้นจำเลยไม่เคยให้การต่อสู้คดีไว้ และจำเลยฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยไม่ชอบก็ตามก็ถือได้ว่าไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249
ตามวิธีการของการใช้บัตรไดเนอร์สคลับ เมื่อจำเลยนำบัตรของโจทก์ไปใช้ โจทก์จะชำระหนี้แทนจำเลย จำเลยมีหน้าที่จะชำระเงินคืนโจทก์ภายในกำหนด ในกรณีนี้จำเลยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมผิดนัด แต่หากจำเลยไม่ชำระเงินคืนให้โจทก์ภายในกำหนด โจทก์จะเรียกค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน โดยไม่ปรากฏว่าเรียกค่าเสียหายอย่างอื่นอีก จึงเห็นได้ว่าค่าธรรมเนียมผิดนัดไม่ใช่ดอกเบี้ยตามความหมายของ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 แต่มีลักษณะคล้ายเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมผิดนัดดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6567/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกเงินคืนและการเพิกถอนสัญญาที่ไม่เกี่ยวข้องกัน สิทธิเรียกร้องที่เกิดภายหลังฟ้องเดิม
ตามคำฟ้องเพิ่มเติมที่โจทก์ยื่นคำร้องมาเป็นเรื่องที่โจทก์เรียกเงินที่โจทก์ได้ชำระให้จำเลยไปตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2525 พร้อมดอกเบี้ยคืนส่วนตามคำฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้เพิกถอนสัญญายินยอมผ่อนชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐตามหนังสือฉบับลงวันที่ 29 ธันวาคม 2529 และเรียกเงินที่ได้ชำระไปตามสัญญาดังกล่าวคืน มูลคดีตามคำฟ้องเดิมกับคำฟ้องเพิ่มเติมไม่มีความเกี่ยวข้องกัน และคำฟ้องเพิ่มเติมอีกข้อเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว แม้หากจะฟังว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องคืนจากจำเลย สิทธิของโจทก์ก็เกิดภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ จึงถือไม่ได้ว่า คำฟ้องเพิ่มเติมของโจทก์เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6567/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมที่ไม่มีความเกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม และสิทธิที่เกิดขึ้นภายหลังการฟ้องคดี
ตามคำฟ้องเพิ่มเติมที่โจทก์ยื่นคำร้องมาเป็นเรื่องที่โจทก์เรียกเงินที่โจทก์ได้ชำระให้จำเลยไปตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2525พร้อมดอกเบี้ยคืนส่วนตามคำฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้เพิกถอนสัญญายินยอมผ่อนชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐตามหนังสือฉบับลงวันที่ 29 ธันวาคม 2529 และเรียกเงินที่ได้ชำระไปตามสัญญาดังกล่าวคืน มูลคดีตามคำฟ้องเดิมกับคำฟ้องเพิ่มเติมไม่มีความเกี่ยวข้องกัน และคำฟ้องเพิ่มเติมอีกข้อเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว แม้หากจะฟังว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องคืนจากจำเลย สิทธิของโจทก์ก็เกิดภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ จึงถือไม่ได้ว่า คำฟ้องเพิ่มเติมของโจทก์เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6373/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง: เพิ่มเติมข้อเท็จจริงเดิมได้ ไม่ถือเป็นการตั้งข้อหาใหม่ ศาลมีอำนาจเพิกถอนโฉนดที่ดินออกโดยไม่ชอบ
ตามคำฟ้องเดิมโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันบุกรุกเข้าไปปลูกบ้านในที่พิพาท ขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกจากที่พิพาท ส่วนตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องโจทก์ขอเพิ่มเติมคำฟ้องว่า ทั้ง บ. และโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่พิพาทโดยฝากให้จำเลยที่ 1 ดูแลที่พิพาท มิได้อนุญาตให้จำเลยที่ 1เข้าไปอยู่ในที่พิพาท เป็นการเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์มิใช่เป็นการตั้งข้อหาใหม่หรือเปลี่ยนแปลงข้อหาในคำฟ้องเดิมแต่อย่างใด ส่วนที่โจทก์ขอให้พิพากษาทำลายโฉนดที่ดินส่วนที่ออกทับที่พิพาทนั้น มีความหมายว่าโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 1 ส่วนที่ทับที่พิพาทออกมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะที่พิพาทเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นข้อหาตามคำฟ้องเดิมอยู่แล้ว แม้โจทก์จะไม่มีคำขอดังกล่าวมาท้ายฟ้อง หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโฉนดที่ดินออกทับที่ดินโจทก์ซึ่งเป็นที่พิพาทศาลก็มีอำนาจสั่งเพิกถอนได้ ดังนั้นการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องของโจทก์ จึงเป็นการเพิ่มเติมข้อเท็จจริงในฟ้องเดิมให้บริบูรณ์และเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกัน โจทก์มีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5416/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทซื้อขายกล่องกระดาษ การผิดนัด การบอกเลิกสัญญา ค่าเสียหาย และการหักกลบลบหนี้
ฟ้องเดิมของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกราคากล่องกระดาษที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์ 3 ครั้ง และคำร้องที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องนั้น โจทก์ได้ขอเพิ่มเติมโดยเรียกราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้สั่งซื้อจากโจทก์หลังจากครั้งที่ 3 คือครั้งที่ 4 เข้ามาด้วย จึงเป็นเรื่องการเรียกราคาสิ่งของประเภทเดียวกัน อันเกิดจากนิติกรรมประเภทเดียวกันระหว่างโจทก์กับจำเลย คำฟ้องที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมกับคำฟ้องเดิมจึงเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ การที่ศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องให้แก่จำเลยก่อนสั่งอนุญาตนั้น เมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสแก่จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การโดยจำเลยได้กล่าวแก้ข้อหาข้อหาของโจทก์ที่เพิ่มเติมเข้ามาใหม่โดยบริบูรณ์แล้วจำเลยไม่เสียเปรียบอย่างไร ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรให้มีการแก้ไขคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว โจทก์ได้บรรยายในคำฟ้องแล้วว่า จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทกล่องกระดาษลูกฟูกสำหรับบรรจุน้ำส้มสายชูกลั่นชนิดขวดจากโจทก์รวม 4 ครั้ง รายละเอียดการสั่งซื้อ ชนิด ขนาด และจำนวนสินค้าปรากฎตามภาพถ่ายใบสั่งซื้อเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ถึงหมายเลข5 ตามลำดับ โจทก์ได้จัดส่งสินค้าตามใบสั่งซื้อดังกล่าวให้จำเลยหลายคราว จำเลยได้รับสินค้าครบถ้วนแล้ว ปรากฎรายละเอียดวันส่งสินค้าและจำนวนเงินค่าสินค้าที่จัดส่งให้แต่ละคราวตามภาพถ่ายรายการใบแจ้งหนี้เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 6 รวม 10 ฉบับ ยังคงค้างชำระอยู่คำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้กล่าวโดยชัดแจ้งชอบด้วยกฎหมายแล้ว สัญญาข้อ 2 มีว่า "ถ้าผู้ขายไม่สามารถส่งมอบสิ่งของที่ถูกต้องตามใบสั่งนี้ให้แก่ผู้ซื้อได้เลยหรือส่งมอบได้แต่เพียงบางส่วนภายในกำหนดที่กล่าวไว้ในสัญญาข้อ 1 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างหรือทุกอย่างดังต่อไปนี้ได้ตามแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควรคือ 2.1 ปรับผู้ขายเป็นเงินร้อยละ 5 ของราคาที่ยังมิได้ส่งมอบให้ถูกต้อง" ตามสัญญาข้อนี้จึงมีการกำหนดเบี้ยปรับไว้ 2 ชนิด คือเบี้ยปรับเพื่อการไม่ชำระหนี้ และเบี้ยปรับเพื่อการชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสมควร พฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลย เป็นเรื่องที่จำเลยรับเอากล่องกระดาษที่ส่งเกินกำหนดหลายต่อหลายครั้งตลอดมา โดยมิได้ทักท้วงอย่างใดเป็นการที่คู่กรณีไม่ถือเอากำหนดเวลาในการส่งมอบกล่องกระดาษเป็นสำคัญ ฉะนั้นแม้โจทก์มิได้ส่งมอบกล่องกระดาษแก่จำเลยภายในกำหนดตามสัญญา โจทก์ก็หาตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ นอกจากนี้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่าขณะรับมอบกล่องกระดาษจำเลยได้สงวนสิทธิไว้ว่าจะเรียกเบี้ยปรับแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาข้อ 2 สำหรับกล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไว้ภายหลังจากครบกำหนดเวลาส่งมอบ จำเลยได้ค้างชำระค่ากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับมอบไปจากโจทก์สำหรับการสั่งซื้อครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 3 และค้างชำระค่ากล่องกระดาษที่สั่งซื้อในครั้งที่ 4 บางส่วนด้วย โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระแล้ว จำเลยก็ไม่ชำระ จำเลยจึงได้ชื่อว่าผิดนัดและผิดสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคแรกและโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว สัญญาจึงเลิกกัน โจทก์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องขายหรือส่งมอบกล่องกระดาษส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยอีกต่อไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิ์เรียกเบี้ยปรับจากโจทก์สำหรับการที่โจทก์ไม่ส่งมอบกล่องกระดาษส่วนที่เหลือ ที่จำเลยเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ส่งมอบกล่องกระดาษเกินกำหนด จึงทำให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาแก่พนักงานของจำเลยเป็นเงินจำนวนหนึ่งนั้น เมื่อการที่โจทก์ส่งมอบกล่องกระดาษแก่จำเลยเกินกำหนด มิได้เป็นการผิดนัดผิดสัญญาจำเลยจึงไม่อาจที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์ได้ ที่จำเลยเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุที่โจทก์ส่งไส้ในกล่องไม่ครบตามสัญญา 4,800 ชุด อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องจัดหาที่อื่นมาแทนข้อนี้โจทก์มิได้ให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยอย่างไร จึงถือว่าโจทก์รับแล้ว โจทก์จึงต้องรับผิดใช้เงิน ราคากล่องกระดาษที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องนั้นเป็นราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไว้แล้ว แม้โจทก์จะได้ส่งมอบกล่องกระดาษบางส่วนเกินกำหนดในสัญญา จำเลยก็ไม่มีเหตุใด ๆ ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องชำระราคากล่องกระดาษเหล่านั้น สัญญาข้อ 3 ก็ระบุว่า "ผู้ซื้อจะชำระเงินค่าสิ่งของตามใบสั่งนี้ให้แก่ผู้ขายโดยเร็วอย่างช้าไม่เกิน...วันนับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการเจ้าหน้าที่ของฝ่ายผู้ซื้อได้ตรวจรับของไว้ถูกต้องแล้วเป็นต้นไป" มิได้มีความหมายว่าจำเลยจะต้องชำระเงินค่ากล่องกระดาษต่อเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบครบถ้วนตามสัญญาดังที่จำเลยกล่าวอ้างแต่อย่างไร จำเลยจึงต้องชำระราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไปแล้วแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5416/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายกล่องกระดาษ: การชำระราคา, การผิดนัด, และเบี้ยปรับ
ฟ้องเดิมของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกราคากล่องกระดาษที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์ 3 ครั้ง และคำร้องที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องนั้น โจทก์ได้ขอเพิ่มเติมโดยเรียกราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้สั่งซื้อจากโจทก์หลังจากครั้งที่ 3คือครั้งที่ 4 เข้ามาด้วย จึงเป็นเรื่องการเรียกราคาสิ่งของประเภทเดียวกัน อันเกิดจากนิติกรรมประเภทเดียวกันระหว่างโจทก์กับจำเลย คำฟ้องที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมกับคำฟ้องเดิมจึงเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้การที่ศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องให้แก่จำเลยก่อนสั่งอนุญาตนั้นเมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้ว ศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสแก่จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ โดยจำเลยได้กล่าวแก้ข้อหาของโจทก์ที่เพิ่มเติมเข้ามาใหม่โดยบริบูรณ์แล้วจำเลยไม่เสียเปรียบอย่างไร ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรให้มีการแก้ไขคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว
โจทก์ได้บรรยายในคำฟ้องแล้วว่า จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทกล่องกระดาษลูกฟูกสำหรับบรรจุน้ำส้มสายชูกลั่นชนิดขวดจากโจทก์รวม 4 ครั้งรายละเอียดการสั่งซื้อ ชนิด ขนาด และจำนวนสินค้า ปรากฏตามภาพถ่ายใบสั่งซื้อเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ถึงหมายเลข 5 ตามลำดับ โจทก์ได้จัดส่งสินค้าตามใบสั่งซื้อดังกล่าวให้จำเลยหลายคราว จำเลยได้รับสินค้าครบถ้วนแล้ว ปรากฏรายละเอียดวันส่งสินค้า ใบส่งสินค้า และจำนวนเงินค่าสินค้าที่จัดส่งให้แต่ละคราวตามภาพถ่ายรายการใบแจ้งหนี้เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 6 รวม 10 ฉบับ ยังคงค้างชำระอยู่ คำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้กล่าวโดยชัดแจ้งชอบด้วยกฎหมายแล้ว
สัญญาข้อ 2 มีว่า "ถ้าผู้ขายไม่สามารถส่งมอบสิ่งของที่ถูกต้องตามใบสั่งนี้ให้แก่ผู้ซื้อได้เลยหรือส่งมอบได้แต่เพียงบางส่วนภายในกำหนดที่กล่าวไว้ในสัญญาข้อ 1 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างหรือทุกอย่างดังต่อไปนี้ได้ตามแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควรคือ 2.1 ปรับผู้ขายเป็นเงินร้อยละ5 ของราคาที่ยังมิได้ส่งมอบให้ถูกต้อง" ตามสัญญาข้อนี้จึงมีการกำหนดเบี้ยปรับไว้2 ชนิด คือเบี้ยปรับเพื่อการไม่ชำระหนี้ และเบี้ยปรับเพื่อการชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสมควร
พฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลย เป็นเรื่องที่จำเลยรับเอากล่องกระดาษที่ส่งเกินกำหนดหลายต่อหลายครั้งตลอดมา โดยมิได้ทักท้วงอย่างใดเป็นการที่คู่กรณีไม่ถือเอากำหนดเวลาในการส่งมอบกล่องกระดาษเป็นสำคัญ ฉะนั้นแม้โจทก์มิได้ส่งมอบกล่องกระดาษแก่จำเลยภายในกำหนดตามสัญญา โจทก์ก็หาตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ นอกจากนี้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าขณะรับมอบกล่องกระดาษจำเลยได้สงวนสิทธิไว้ว่าจะเรียกเบี้ยปรับแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาข้อ 2 สำหรับกล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไว้ภายหลังจากครบกำหนดเวลาส่งมอบ
จำเลยได้ค้างชำระค่ากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับมอบไปจากโจทก์สำหรับการสั่งซื้อครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 3 และค้างชำระค่ากล่องกระดาษที่สั่งซื้อในครั้งที่ 4 บางส่วนด้วย โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระแล้ว จำเลยก็ไม่ชำระ จำเลยจึงได้ชื่อว่าผิดนัดและผิดสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 204 วรรคแรกและโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 387 เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว สัญญาจึงเลิกกัน โจทก์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องขายหรือส่งมอบกล่องกระดาษส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยอีกต่อไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากโจทก์สำหรับการที่โจทก์ไม่ส่งมอบกล่องกระดาษส่วนที่เหลือ
ที่จำเลยเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ส่งมอบกล่องกระดาษเกินกำหนด จึงทำให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาแก่พนักงานของจำเลยเป็นเงินจำนวนหนึ่งนั้น เมื่อการที่โจทก์ส่งมอบกล่องกระดาษแก่จำเลยเกินกำหนด มิได้เป็นการผิดนัดผิดสัญญา จำเลยจึงไม่อาจที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์ได้
ที่จำเลยเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุที่โจทก์ส่งไส้ในกล่องไม่ครบตามสัญญา 4,800 ชุด อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องจัดหาที่อื่นมาแทน ข้อนี้โจทก์มิได้ให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยอย่างไร จึงถือว่าโจทก์รับแล้ว โจทก์จึงต้องรับผิดใช้เงิน
ราคากล่องกระดาษที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องนั้นเป็นราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไว้แล้ว แม้โจทก์จะได้ส่งมอบกล่องกระดาษบางส่วนเกินกำหนดในสัญญา จำเลยก็ไม่มีเหตุใด ๆ ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องชำระราคากล่องกระดาษเหล่านั้น สัญญาข้อ 3 ก็ระบุว่า "ผู้ซื้อจะชำระเงินค่าสิ่งของตามใบสั่งนี้ให้แก่ผู้ขายโดยเร็วอย่างช้าไม่เกิน ... วัน นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการเจ้าหน้าที่ของฝ่ายผู้ซื้อได้ตรวจรับของไว้ถูกต้องแล้วเป็นต้นไป" มิได้มีความหมายว่าจำเลยจะต้องชำระเงินค่ากล่องกระดาษต่อเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบครบถ้วนตามสัญญาดังที่จำเลยกล่าวอ้างแต่อย่างไร จำเลยจึงต้องชำระราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไปแล้วแก่โจทก์
โจทก์ได้บรรยายในคำฟ้องแล้วว่า จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทกล่องกระดาษลูกฟูกสำหรับบรรจุน้ำส้มสายชูกลั่นชนิดขวดจากโจทก์รวม 4 ครั้งรายละเอียดการสั่งซื้อ ชนิด ขนาด และจำนวนสินค้า ปรากฏตามภาพถ่ายใบสั่งซื้อเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ถึงหมายเลข 5 ตามลำดับ โจทก์ได้จัดส่งสินค้าตามใบสั่งซื้อดังกล่าวให้จำเลยหลายคราว จำเลยได้รับสินค้าครบถ้วนแล้ว ปรากฏรายละเอียดวันส่งสินค้า ใบส่งสินค้า และจำนวนเงินค่าสินค้าที่จัดส่งให้แต่ละคราวตามภาพถ่ายรายการใบแจ้งหนี้เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 6 รวม 10 ฉบับ ยังคงค้างชำระอยู่ คำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้กล่าวโดยชัดแจ้งชอบด้วยกฎหมายแล้ว
สัญญาข้อ 2 มีว่า "ถ้าผู้ขายไม่สามารถส่งมอบสิ่งของที่ถูกต้องตามใบสั่งนี้ให้แก่ผู้ซื้อได้เลยหรือส่งมอบได้แต่เพียงบางส่วนภายในกำหนดที่กล่าวไว้ในสัญญาข้อ 1 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างหรือทุกอย่างดังต่อไปนี้ได้ตามแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควรคือ 2.1 ปรับผู้ขายเป็นเงินร้อยละ5 ของราคาที่ยังมิได้ส่งมอบให้ถูกต้อง" ตามสัญญาข้อนี้จึงมีการกำหนดเบี้ยปรับไว้2 ชนิด คือเบี้ยปรับเพื่อการไม่ชำระหนี้ และเบี้ยปรับเพื่อการชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสมควร
พฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลย เป็นเรื่องที่จำเลยรับเอากล่องกระดาษที่ส่งเกินกำหนดหลายต่อหลายครั้งตลอดมา โดยมิได้ทักท้วงอย่างใดเป็นการที่คู่กรณีไม่ถือเอากำหนดเวลาในการส่งมอบกล่องกระดาษเป็นสำคัญ ฉะนั้นแม้โจทก์มิได้ส่งมอบกล่องกระดาษแก่จำเลยภายในกำหนดตามสัญญา โจทก์ก็หาตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ นอกจากนี้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าขณะรับมอบกล่องกระดาษจำเลยได้สงวนสิทธิไว้ว่าจะเรียกเบี้ยปรับแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาข้อ 2 สำหรับกล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไว้ภายหลังจากครบกำหนดเวลาส่งมอบ
จำเลยได้ค้างชำระค่ากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับมอบไปจากโจทก์สำหรับการสั่งซื้อครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 3 และค้างชำระค่ากล่องกระดาษที่สั่งซื้อในครั้งที่ 4 บางส่วนด้วย โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระแล้ว จำเลยก็ไม่ชำระ จำเลยจึงได้ชื่อว่าผิดนัดและผิดสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 204 วรรคแรกและโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 387 เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว สัญญาจึงเลิกกัน โจทก์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องขายหรือส่งมอบกล่องกระดาษส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยอีกต่อไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากโจทก์สำหรับการที่โจทก์ไม่ส่งมอบกล่องกระดาษส่วนที่เหลือ
ที่จำเลยเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ส่งมอบกล่องกระดาษเกินกำหนด จึงทำให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาแก่พนักงานของจำเลยเป็นเงินจำนวนหนึ่งนั้น เมื่อการที่โจทก์ส่งมอบกล่องกระดาษแก่จำเลยเกินกำหนด มิได้เป็นการผิดนัดผิดสัญญา จำเลยจึงไม่อาจที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์ได้
ที่จำเลยเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุที่โจทก์ส่งไส้ในกล่องไม่ครบตามสัญญา 4,800 ชุด อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องจัดหาที่อื่นมาแทน ข้อนี้โจทก์มิได้ให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยอย่างไร จึงถือว่าโจทก์รับแล้ว โจทก์จึงต้องรับผิดใช้เงิน
ราคากล่องกระดาษที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องนั้นเป็นราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไว้แล้ว แม้โจทก์จะได้ส่งมอบกล่องกระดาษบางส่วนเกินกำหนดในสัญญา จำเลยก็ไม่มีเหตุใด ๆ ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องชำระราคากล่องกระดาษเหล่านั้น สัญญาข้อ 3 ก็ระบุว่า "ผู้ซื้อจะชำระเงินค่าสิ่งของตามใบสั่งนี้ให้แก่ผู้ขายโดยเร็วอย่างช้าไม่เกิน ... วัน นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการเจ้าหน้าที่ของฝ่ายผู้ซื้อได้ตรวจรับของไว้ถูกต้องแล้วเป็นต้นไป" มิได้มีความหมายว่าจำเลยจะต้องชำระเงินค่ากล่องกระดาษต่อเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบครบถ้วนตามสัญญาดังที่จำเลยกล่าวอ้างแต่อย่างไร จำเลยจึงต้องชำระราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไปแล้วแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4874/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การที่ไม่เป็นสาระต่อคดี เมื่อประเด็นข้อพิพาทหลักได้สละไปแล้ว คงเหลือเฉพาะประเด็นค่าเสียหาย
คำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยเป็นเรื่องเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทที่ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์หรือไม่ซึ่งคู่ความได้สละแล้ว คงเหลือประเด็นค่าเสียหายเท่านั้น แม้ศาลจะอนุญาตก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปจึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้แก้ไขคำให้การชอบแล้ว