พบผลลัพธ์ทั้งหมด 347 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1268/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการมอบอำนาจดำเนินคดี: การเปลี่ยนแปลงตัวผู้รับมอบอำนาจไม่ทำให้ฟ้องเสียหาย
ประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้เป็นเรื่อง เกี่ยวกับโจทก์มอบอำนาจให้ ม. ไม่ถูกต้อง เมื่อโจทก์มี ป. มาเบิกความยืนยันประกอบหนังสือมอบอำนาจว่าโจทก์ได้มอบอำนาจ ให้ ม.ดำเนินคดีแทน จำเลยมิได้สืบโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่นจึงฟังได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ม. ดำเนินคดีแทน การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ป. ดำเนินคดีแทนต่อจาก ม.เป็นสิทธิตามกฎหมายของโจทก์ที่จะกระทำในเวลาใดก็ได้ ไม่ทำให้ ฟ้องของโจทก์เสียหาย และหนังสือมอบอำนาจให้ ป. ดำเนินคดีแทนโจทก์ได้ยื่นต่อศาลรวมไว้ในสำนวนตั้งแต่มอบอำนาจใหม่แล้วกรณีนี้ หาจำต้องแก้ไขฟ้องและระบุอ้างหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่ในบัญชีพยานไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังวันชี้สองสถานต้องไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงประเด็นข้อหาเดิม หากทำเช่นนั้นถือเป็นการยื่นคำร้องที่ไม่ชอบ
ข้อความที่จำเลยขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การเป็นเรื่องจำเลยยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่เป็นข้อแก้ข้อหาเดิม เปลี่ยนแปลงข้ออ้างข้อเถียงเพื่อสนับสนุนข้อหา หรือเพื่อหักล้างข้อหาของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179(3)ไม่ใช่เป็นการแก้ไขข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดเล็กน้อยในรายละเอียดจำเลยจึงต้องขอแก้ไขเสียก่อนวันชี้สองสถาน เมื่อจำเลยได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การหลังจากวันชี้สองสถาน โดยไม่ปรากฏว่ามิอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขก่อนวันชี้สองสถานและมิใช่เรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3261/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้จัดการมรดก: บุตรทายาทลำดับที่หนึ่งมีสิทธิมากกว่าน้องร่วมบิดามารดา
ผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตาย เป็นทายาทลำดับที่หนึ่ง ทายาทอื่นของผู้ตายก็ให้ความยินยอมและไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดก ส่วนผู้ร้องเป็นน้องร่วมบิดามารดากับผู้ตาย เป็นทายาทลำดับถัดไปไม่มีสิทธิและส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกที่จะเป็นผู้จัดการมรดกได้ มีเหตุสมควรถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องของผู้คัดค้านเป็นการเพิ่มชื่อและนามสกุลของผู้ตายที่มีหลายชื่อและหลายนามสกุล เป็นเพียงรายละเอียดเล็กน้อย แม้ผู้คัดค้านจะไม่ขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องก็อาจนำสืบถึงความข้อนี้ในชั้นพิจารณาได้อยู่แล้ว ศาลชั้นต้นย่อมอนุญาตให้แก่ไขได้โดยไม่จำต้องส่งสำเนาคำร้องให้ผู้ร้องทราบล่วงหน้าก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 181.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินและลานจอดรถยนต์: การสิ้นสุดสัญญาและการคิดดอกเบี้ย
สัญญาเช่าที่ดินที่กำหนดให้ผู้เช่าสร้างลานจอดรถยนต์ แล้ว มอบ ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่านั้น เป็นสัญญาต่างตอบแทน ยิ่ง กว่า การ เช่าธรรมดา แม้ที่ดินตามสัญญาเช่าดังกล่าวจะเป็นที่ดิน ส่วนหนึ่ง ของ สัญญาเช่าอีกฉบับหนึ่งซึ่งระบุให้ผู้เช่ามีหน้าที่ต้อง สร้างอาคารพาณิชย์แล้ว จดทะเบียนยกกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ให้เช่า โดยผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าเช่าอาคารพาณิชย์มีกำหนด 25 ปี นับแต่ วันก่อสร้างเสร็จก็ตาม ก็ไม่เกี่ยว กับการเช่าที่ดินเพื่อทำลานจอดรถยนต์ จำเลยจะมีสิทธิเช่าที่ดินอันเป็นลานจอด รถยนต์ ได้ นานเพียงใดต้องดูระยะเวลาแห่งการเช่านั้นเป็นเกณฑ์ ท้ายหนังสือบอกเลิกการเช่าของโจทก์ที่มีมาถึงจำเลยมีข้อความว่า ถ้าจำเลยประสงค์จะเช่าต่อให้ติดต่อแผนกที่ดินและโรงเรือนของโจทก์ เป็นเพียงคำแนะนำของโจทก์เท่านั้น ไม่ใช่คำเสนอให้เช่า ของโจทก์ แม้จำเลยจะได้สนองตอบรับการเช่าก็ไม่ถือว่าโจทก์จำเลยได้ต่อสัญญาเช่ากันอีก ปัญหาเรื่องอายุความในทางแพ่งเป็นข้อที่ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เงินที่จำเลยนำไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์เป็นค่าเช่ารายเดือน มิใช่วางเป็นค่าเสียหาย โจทก์ไปขอรับเงินเป็นค่าเสียหาย แต่พนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานวางทรัพย์ไม่ยอมจ่ายให้ โจทก์จึง มีสิทธิ เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินสร้างลานจอดรถและอาคารพาณิชย์: สิทธิเช่าเป็นไปตามสัญญาแต่ละฉบับ และข้อเสนอเช่าต่อไม่ใช่ข้อผูกมัด
สัญญาเช่าที่ดินที่กำหนดให้ผู้เช่าสร้างลานจอดรถยนต์แล้วมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่านั้น เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา แม้ที่ดินตามสัญญาเช่าดังกล่าวจะเป็นที่ดินส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าอีกฉบับหนึ่งซึ่งระบุให้ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องสร้างอาคารพาณิชย์แล้วจดทะเบียนยกกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ให้เช่า โดยผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าเช่าอาคารพาณิชย์มีกำหนด 25 ปี นับแต่วันก่อสร้างเสร็จก็ตาม ก็ไม่เกี่ยวกับการเช่าที่ดินเพื่อทำลานจอดรถยนต์ จำเลยจะมีสิทธิเช่าที่ดินอันเป็นลานจอดรถยนต์ได้นานเพียงใดต้องดูระยะเวลาแห่งการเช่านั้นเป็นเกณฑ์
ท้ายหนังสือบอกเลิกการเช่าของโจทก์ที่มีมาถึงจำเลยมีข้อความว่า ถ้าจำเลยประสงค์จะเช่าต่อให้ติดต่อแผนกที่ดินและโรงเรือนของโจทก์ เป็นเพียงคำแนะนำของโจทก์เท่านั้นไม่ใช่คำเสนอให้เช่าของโจทก์ แม้จำเลยจะได้สนองตอบรับการเช่าก็ไม่ถือว่าโจทก์จำเลยได้ต่อสัญญาเช่ากันอีก
ปัญหาเรื่องอายุความในทางแพ่งเป็นข้อที่ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
เงินที่จำเลยนำไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์เป็นค่าเช่ารายเดือน มิใช่วางเป็นค่าเสียหาย โจทก์ไปขอรับเงินเป็นค่าเสียหายแต่พนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานวางทรัพย์ไม่ยอมจ่ายให้โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้
ท้ายหนังสือบอกเลิกการเช่าของโจทก์ที่มีมาถึงจำเลยมีข้อความว่า ถ้าจำเลยประสงค์จะเช่าต่อให้ติดต่อแผนกที่ดินและโรงเรือนของโจทก์ เป็นเพียงคำแนะนำของโจทก์เท่านั้นไม่ใช่คำเสนอให้เช่าของโจทก์ แม้จำเลยจะได้สนองตอบรับการเช่าก็ไม่ถือว่าโจทก์จำเลยได้ต่อสัญญาเช่ากันอีก
ปัญหาเรื่องอายุความในทางแพ่งเป็นข้อที่ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
เงินที่จำเลยนำไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์เป็นค่าเช่ารายเดือน มิใช่วางเป็นค่าเสียหาย โจทก์ไปขอรับเงินเป็นค่าเสียหายแต่พนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานวางทรัพย์ไม่ยอมจ่ายให้โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6017/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเลขที่บ้าน ศาลไม่ควรยกคำพิพากษาเดิมหากไม่มีผลต่อประเด็นข้อพิพาท และควรพิจารณาอุทธรณ์ให้สิ้นสุด
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องจากบ้านเลขที่ 73 หมู่ 5 เป็นบ้านเลขที่ 73/1 หมู่ 5 เพื่อให้เป็นไปตามคำให้การของจำเลย เมื่อมีการชี้สองสถาน จำเลยไม่มาศาล ศาลนัดสืบพยานจำเลย ถึงวันนัดทนายจำเลยรับสำเนาคำร้องดังกล่าวก็ไม่ได้คัดค้าน แสดงว่าคู่ความเต็มใจที่จะดำเนินคดีกันตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลได้ชี้สองสถานไว้ ไม่ต้องการให้ดำเนินกระบวนพิจารณาล่าช้าเพราะเหตุนี้ ประเด็นเรื่องแก้ไขคำฟ้องจึงยุติแล้ว แม้ว่าศาลชั้นต้นจะมิได้ส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องให้แก่จำเลยทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วันก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้องนั้นก็ตามแต่การขอแก้ไขเลขบ้านตามคำฟ้องหาใช่การขอแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา181 ไม่ ศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบที่จะหยิบยกมาเป็นเหตุยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่ศาลอุทธรณ์ควรจะวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยไปให้สิ้นกระแสความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6017/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเลขที่บ้านและการวินิจฉัยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาข้ออุทธรณ์ของจำเลย
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องจากบ้านเลขที่ 73 หมู่ที่ 5เป็นบ้านเลขที่ 73/1 หมู่ 5 เพื่อให้เป็นไปตามคำให้การของจำเลยเมื่อมีการชี้ สองสถาน จำเลยไม่มาศาล ศาลนัดสืบพยานจำเลย ถึงวันนัดทนายจำเลยรับสำเนาคำร้องดังกล่าวก็ไม่ได้คัดค้าน แสดงว่าคู่ความเต็ม ใจที่จะดำเนินคดีกันตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลได้ชี้ สองสถานไว้ไม่ต้องการให้ดำเนินกระบวนพิจารณาล่าช้าเพราะเหตุนี้ ประเด็นเรื่องแก้ไขคำฟ้องจึงยุติแล้ว แม้ว่าศาลชั้นต้นจะมิได้ส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องให้แก่จำเลยทราบล่วงหน้าอย่างน้อย3 วัน ก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้องนั้นก็ตาม แต่การขอแก้ไขเลขบ้านตามคำฟ้องหาใช่การขอแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 181 ไม่ ศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบที่จะหยิบยกมาเป็นเหตุยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น หากแต่ควรจะวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยไปให้สิ้นกระแสความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านหนี้ในคดีล้มละลายเกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ทำให้คำคัดค้านและคำขอแก้ไขคำคัดค้านไม่เป็นผล
ผู้ร้องบรรยายคำร้องว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันหนี้ไปยังผู้ร้อง และผู้ร้องได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 10มีนาคม 2531 ครบกำหนดที่ผู้ร้องจะต้อง คัดค้านต่อศาลภายใน 14 วันในวันที่ 24 มีนาคม 2531 แต่ ผู้ร้องมายื่นคำร้องคัดค้านต่อ ศาลในวันที่ 8 เมษายน 2531 ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเกินกำหนดเวลาที่ต้องยื่นคำคัดค้าน ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องคัดค้าน จึงชอบด้วย กฎหมายแล้วและถือ ว่าไม่มีคำร้องคัดค้านที่ยื่นต่อศาลเมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องขอแก้ไขคำร้องคัดค้านเพื่อให้เห็นว่าผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย จึงไม่มีคำร้องคัดค้านที่จะต้อง แก้ไข ที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำร้องขอแก้ไขคำร้องคัดค้านจึงชอบด้วย กฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำคัดค้านหนี้เกินกำหนดตามกฎหมายล้มละลาย การแก้ไขคำร้องไม่มีผล
ผู้ร้องบรรยายคำร้องว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันหนี้ไปยังผู้ร้อง และผู้ร้องได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2531 ครบกำหนดที่ผู้ร้องจะต้องคัดค้านต่อศาลภายใน 14 วันในวันที่ 24 มีนาคม 2531 แต่ผู้ร้องมายื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลในวันที่ 8 เมษายน 2531 ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเกินกำหนดเวลาที่ต้องยื่นคำคัดค้าน ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องคัดค้าน จึงชอบด้วยกฎหมายแล้วและถือว่าไม่มีคำร้องคัดค้านที่ยื่นต่อศาล เมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องขอแก้ไขคำร้องคัดค้านเพื่อให้เห็นว่าผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย จึงไม่มีคำร้องคัดค้านที่จะต้องแก้ไข ที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำร้องขอแก้ไขคำร้องคัดค้านจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องต้องพิจารณาผลกระทบต่อทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะโจทก์ การถอนฟ้องเพื่อแก้ไขคำฟ้องใหม่เป็นการเอาเปรียบจำเลย
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์แล้วศาลจะต้องพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่ายด้วย มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงผลได้ผลเสียของโจทก์ผู้ขอถอนฟ้องแต่ฝ่ายเดียว โจทก์ทราบข้อบกพร่องของคำฟ้องจากคำให้การแล้วไม่ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเสียก่อนวันนัดชี้สองสถาน ในวันนัดชี้สองสถานทนายโจทก์แถลงด้วยวาจาว่า กรณีเดียวกันนี้ทนายโจทก์ยื่นฟ้องวันเดียวกัน 2 เรื่องการกลัดเอกสารท้ายคำฟ้องสับสนผิดเรื่อง โจทก์จะขอแก้ไขคำฟ้องเสียให้ถูกต้อง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 คัดค้าน โจทก์จึงขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 แถลงคัดค้าน ดังนี้ คดีเห็นได้ชัดว่าเมื่อไม่อาจแก้ไขข้อบกพร่องของคำฟ้องที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยกขึ้นต่อสู้คดีไว้ให้แจ้งชัดและถูกต้องได้แล้ว โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อนำคำฟ้องที่ได้เรียบเรียงใหม่แก้ไขข้อบกพร่องและความไม่ถูกต้องต่าง ๆที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยกขึ้นต่อสู้ไว้แล้วมายื่นใหม่เป็นการเอาเปรียบจำเลยในเชิงคดี ทำให้จำเลยเสียหายไม่ชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง