พบผลลัพธ์ทั้งหมด 347 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องต้องพิจารณาผลกระทบต่อทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะโจทก์ การถอนฟ้องเพื่อแก้ไขคำฟ้องใหม่เป็นการเอาเปรียบจำเลย
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์แล้วศาลจะต้องพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่ายด้วย มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงผลได้ผลเสียของโจทก์ผู้ขอถอนฟ้องแต่ฝ่ายเดียว โจทก์ทราบข้อบกพร่องของคำฟ้องจากคำให้การแล้วไม่ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเสียก่อนวันนัดชี้สองสถาน ในวันนัดชี้สองสถานทนายโจทก์แถลงด้วยวาจาว่า กรณีเดียวกันนี้ทนายโจทก์ยื่นฟ้องวันเดียวกัน 2 เรื่องการกลัดเอกสารท้ายคำฟ้องสับสนผิดเรื่อง โจทก์จะขอแก้ไขคำฟ้องเสียให้ถูกต้อง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 คัดค้าน โจทก์จึงขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 แถลงคัดค้าน ดังนี้ คดีเห็นได้ชัดว่าเมื่อไม่อาจแก้ไขข้อบกพร่องของคำฟ้องที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยกขึ้นต่อสู้คดีไว้ให้แจ้งชัดและถูกต้องได้แล้ว โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อนำคำฟ้องที่ได้เรียบเรียงใหม่แก้ไขข้อบกพร่องและความไม่ถูกต้องต่าง ๆที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยกขึ้นต่อสู้ไว้แล้วมายื่นใหม่เป็นการเอาเปรียบจำเลยในเชิงคดี ทำให้จำเลยเสียหายไม่ชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2868/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมฟ้องแย้งหลังชี้สองสถานต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หากเป็นเรื่องผิดสัญญาเพื่อเรียกค่าเสียหาย ไม่ใช่ความสงบเรียบร้อย
คำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องแย้งเป็นการขอแก้คำฟ้องอย่างหนึ่งจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 179,180 ด้วย เมื่อคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องแย้งของจำเลยระบุว่าโจทก์โกงน้ำหนักสินค้าอันเป็นการผิดสัญญาของโจทก์อีกประการหนึ่งนอกเหนือจากการผิดสัญญาตามฟ้องแย้ง จึงเป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวหาโจทก์ว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญาทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย หาใช่เรื่องหรือคดีที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องแย้งหลังวันชี้สองสถาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2337/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานและการแก้ไขคำให้การ: ศาลพิพากษาได้แม้จำเลยไม่ขอแก้ไขคำให้การก่อนฟังคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนการชี้สองสถานกับวันนัดสืบพยานและนัดฟังคำพิพากษา ดังนี้ จำเลยอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การได้ก่อนศาลพิพากษา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้หลังพ้นกำหนดในคดีล้มละลาย ไม่อาจอ้างอนุโลมมาตรา 179, 180 ป.วิ.พ.
ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้วจะยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนหนี้ เมื่อล่วงเลยกำหนดระยะเวลา 2 เดือน ตามบทบัญญัติมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 หาได้ไม่ เพราะบทบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องตามมาตรา 179,180 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาอนุโลมใช้ได้อีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้หลังพ้นกำหนดในคดีล้มละลาย ไม่อาจใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาอนุโลม
ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ไปแล้ว จะยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนหนี้เมื่อล่วงเลยกำหนดระยะเวลา 2 เดือน ตามบทบัญญัติมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้น หาอาจทำได้ไม่ เพราะบทบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการยื่นฟ้องการแก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 179,180 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาอนุโลมใช้ได้อีก.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งแบ่งสินสมรสมีเงื่อนไข: ศาลไม่รับ หากยังไม่มีเหตุหย่า
โจทก์ฟ้องขอหย่าโดยอ้างเหตุตามกฎหมาย จำเลยให้การปฏิเสธว่ามิได้กระทำการดังโจทก์กล่าวหา ขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้งขอให้แบ่งสินสมรส ดังนี้ ศาลจะต้องวินิจฉัยว่ามีเหตุหย่าตามฟ้องหรือไม่ถ้าไม่มีเหตุหย่า ศาลก็พิพากษายกฟ้องไป ไม่ต้องพิจารณาตามฟ้องแย้งของจำเลย การที่จำเลยฟ้องแย้งว่าถ้าศาลพิพากษาหย่าก็ให้แบ่งสินสมรส จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ศาลรับคำให้การแต่ไม่รับฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การแย่งสิทธิ vs. การลวงขายสินค้า - สินค้าคนละประเภท
แม้โจทก์จะได้ ฟ้องเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า3 คำขอซึ่ง ได้ ขอจดทะเบียนกับสินค้าต่าง จำพวกกัน คือ คำขอแรกเกี่ยวกับสินค้าจำพวก 47 คำขอที่สองเกี่ยวกับสินค้าจำพวก 12 และคำขอที่สามเกี่ยวกับสินค้าจำพวก 38 โดย มีเฉพาะ คำขอเดียว คือคำขอที่สามเป็นการขอจดทะเบียนกับสินค้าจำพวกเดียวกับที่จำเลยได้ ขอจดทะเบียนไว้ซึ่ง โจทก์ขอให้เพิกถอน แต่ โจทก์ได้ ขอให้ศาลสั่งว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยในสินค้าทั้ง 3 จำพวก และจำเลยฟ้องแย้งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าอันเดียวกัน การฟ้องแย้งขอให้แสดงสิทธิของจำเลย และขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับสินค้า 2 จำพวกแรกก็เป็นการฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าพิพาทที่โจทก์จดทะเบียนและฟ้องร้องอ้างสิทธินั่นเอง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเกี่ยวกับฟ้องเดิมอันชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา หนังสือมอบอำนาจมีใจความว่า "เพื่อเริ่มการฟ้องคดีและต่อสู้ คดี...ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งอาญาหรือคดีอื่น ๆ ..." เช่นนี้ย่อมหมายความว่า มอบอำนาจให้ฟ้องแย้งได้ ด้วย จำเลยบรรยายฟ้องแย้งว่า จำเลยได้ ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาท และได้ ใช้ เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของจำเลยมานาน อีกทั้งได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยก็ได้ จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวก 38โจทก์ไม่สุจริต แสวงหาประโยชน์อันมิชอบ ลอกเลียนเครื่องหมายการค้า ของจำเลยและนำไปยื่นขอจดทะเบียน เป็นการละเมิดขอให้เพิกถอน คำขอจดทะเบียนและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เช่นนี้เป็นคำฟ้อง ที่แสดงแจ้งชัดซึ่ง สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้าง ที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตาม กฎหมายแล้วหาจำต้องบรรยายว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าอะไร ประชาชนผู้ใดซื้อ หา จำหน่ายแพร่หลาย ณ ที่ใด มียอด ขายเพียงใด และจำหน่าย โดย ผ่านตัวแทนใด ดังที่โจทก์อ้างในฎีกาไม่ เพราะข้อเหล่านั้นเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้น พิจารณา โจทก์ได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทคืออักษรโรมันประดิษฐ์ "ST" กับสินค้าจำพวกที่ 47 คือ น้ำมันจักร และจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าพิพาทกับสินค้าจำพวก 12 คือ มีดซอย ผมทั้งได้ จำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า ตาม ที่ได้ จดทะเบียนไว้แล้ว ส่วนจำเลยเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาทและได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในต่างประเทศเฉพาะ กับสินค้าจำพวก 38 เครื่องนุ่งห่มและแต่งกาย มาก่อนโจทก์แต่ มิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาท สำหรับสินค้าจำพวก12 และ 47 แต่อย่างใด เช่นนี้ แม้คำฟ้องแย้งของจำเลยกล่าวอ้างว่า โจทก์ได้ ลอกเลียน เครื่องหมายการค้าของจำเลยนำไปจดทะเบียนและนำเครื่องหมายการค้าไปใช้ กับสินค้าของโจทก์ทำให้สาธารณชนหลงผิด ซึ่ง เป็นเรื่องอ้างว่าโจทก์ลวงขายสินค้าของโจทก์ให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นสินค้าของจำเลยอันจำเลยมีอำนาจฟ้องได้แม้เป็นสินค้าคนละจำพวกหรือคนละชนิดก็ตาม แต่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยส่งสินค้ามาจำหน่ายในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2522 ก่อนฟ้องคดีเพียง 4 ปี เท่านั้น ปริมาณก็ไม่มากนักและส่งมาขายแต่เฉพาะ ที่ศูนย์การค้า ส. กับที่ห้าง ซ. และจำเลยไม่เคยมีสินค้าจำพวก 12 และ 47 ส่วนสินค้าของโจทก์ปรากฏว่าโจทก์ใช้ เครื่องหมายการค้ารูปเอส ทีโดย ระบุชื่อร้าน แสงธิต ไว้ชัดเจน แสดงให้เห็นว่าสินค้านั้นเป็นของร้าน แสงธิต เช่นนี้ โจทก์ไม่ได้ทำให้ประชาชนเกิดสับสนในแหล่งกำเนิดหรือคุณภาพสินค้าของโจทก์ถึงขนาด ที่คนทั่วไปเมื่อเห็นสินค้าที่ใช้ เครื่องหมายการค้านั้นแล้ว เข้าใจว่าเป็นของบริษัทเดียวกันคือบริษัทจำเลยคดีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ ลวงขายสินค้าของตน ว่าเป็นสินค้าของจำเลย จำเลยจะขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าสินค้าจำพวก 12 และ 47 ของโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4604/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง: การเปลี่ยนแปลงข้อหาใหม่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179
ตามคำฟ้องเดิมโจทก์ขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อชำระราคาสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อจากต่างประเทศ และต่อมาโจทก์ได้ชำระราคาสินค้าแทนจำเลยแล้วก็เป็นแต่เพียงการบรรยายถึงมูลเหตุแห่งการทำสัญญาทรัสต์รีซีทที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยไม่ขอบังคับตามสัญญาทรัสต์รีซีท แต่ขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต เป็นการตั้งข้อหาใหม่เปลี่ยนแปลงข้อหาในคำฟ้องเดิมมิใช่เป็นการสละข้อหาบางข้อจึงไม่ชอบที่จะกระทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 179
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3275/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำคัดค้านหลังยื่น และการดำเนินคดีตามบทบัญญัติคดีมีข้อพิพาทเมื่อมีคำคัดค้าน
ในคดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านแล้วประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4)บังคับให้ต้องดำเนินคดีไปตามบทบัญญัติว่าด้วยคดีอันมีข้อพิพาท เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านในวันที่ 22 มิถุนายน 2527 ศาลจะต้องกำหนดวันสืบพยานขึ้นใหม่เพื่อเปิดโอกาสให้คู่ความได้ยื่นบัญชีระบุพยานตามกฎหมายเสียก่อน จะถือเอาวันนัดไต่สวนเดิมคือวันที่ 25 มิถุนายน 2527 เป็นวันสืบพยานหาได้ไม่ ดังนี้ในวันที่ 25 มิถุนายน 2527 อันเป็นวันนัดไต่สวนไว้เดิมผู้คัดค้านจึงยังมีสิทธิที่จะเสนอคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านต่อศาลได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3275/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีมรดกหลังมีคำคัดค้าน: ศาลต้องเปิดโอกาสให้เสนอพยานหลักฐานเพิ่มเติม และพิจารณาประเด็นสำคัญอย่างครบถ้วน
ในคดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านแล้วประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4) บังคับให้ต้องดำเนินคดีไปตามบทบัญญัติว่าด้วยคดีอันมีข้อพิพาท เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านในวันที่ 22 มิถุนายน 2527 ศาลจะต้องกำหนดวันสืบพยานขึ้นใหม่เพื่อเปิดโอกาสให้คู่ความได้ยื่นบัญชีระบุพยานตามกฎหมายเสียก่อนจะถือเอาวันนัดไต่สวนเดิมคือวันที่ 25 มิถุนายน2527 เป็นวันสืบพยานหาได้ไม่ ดังนี้ในวันที่ 25 มิถุนายน 2527 อันเป็นวันนัดไต่สวนไว้เดิมผู้คัดค้านจึงยังมีสิทธิที่จะเสนอคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านต่อศาลได้