คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 179

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 347 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6936-6937/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการรับขนของทางทะเล: การส่งมอบสินค้าและการเริ่มนับระยะเวลาตามกฎหมาย
ผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งที่ท่าเรือเกาะสีชังโดยขนถ่ายสินค้าจากเรือลงบรรทุกในเรือลำเลียงและการขนถ่ายสินค้าลงเรือลำเลียงแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2539 ถือได้ว่า ผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าที่ขนส่งให้แก่ผู้รับตราส่งแล้วในวันดังกล่าว ซึ่งผู้รับตราส่งต้องฟ้องผู้ขนส่งเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายแห่งสินค้าที่ขนส่งภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของ ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 46 โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งจึงต้องฟ้องผู้ขนส่งภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวด้วย
ตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์เป็นการขอแก้ไขวันและสถานที่ที่ผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่ง จากวันที่ 7 มกราคม 2539 ที่ท่าเรือเกาะสีชัง เป็นวันที่ 16 มกราคม 2539 ที่ท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งก่อให้เกิดผลตามกฎหมายที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความรับผิดของผู้ขนส่ง และการเริ่มนับอายุความในการฟ้องร้องผู้ขนส่ง ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี จึงมิใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย ทั้งเป็นการขอแก้ไขภายหลังวันชี้สองสถาน ที่โจทก์อ้างว่าเพิ่งทราบข้อเท็จจริงตามที่ขอแก้ไขคำฟ้อง ก็ปรากฏว่าการส่งมอบสินค้าเกิดขึ้นก่อนโจทก์ขอแก้ไขฟ้องถึง 3 ปีเศษ กรณีไม่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น การแก้ไขคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบที่จะกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5473/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำให้การที่ไม่เพิ่มเติมประเด็นใหม่ ไม่กระทบผลคดี ศาลมีอำนาจไม่อนุญาตได้
คำร้องขอแก้ไขคำให้การจำเลยเป็นการสรุปคำให้การที่แสดงโดยชัดแจ้งแล้ว ไม่มีการเพิ่มเติมประเด็นข้อพิพาทระหว่างคู่ความขึ้นใหม่ให้แตกต่างไปจากคำให้การเดิม และไม่ติดใจบังคับตามฟ้องแย้งตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งแล้วแม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การได้หรือไม่ ก็ไม่ทำให้ข้อเท็จจริงหรือในที่สุดผลของคดีซึ่งศาลล่างทั้งสองได้วินิจฉัยตรงตามประเด็นข้อพิพาทตามที่จำเลยให้การต่อสู้แล้วเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งที่ให้ยกคำร้องขอแก้ไขคำให้การเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาหรือไม่ ไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่เป็นสาระแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5473/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การที่ไม่เปลี่ยนแปลงประเด็นข้อพิพาทเดิม ไม่ส่งผลต่อคำวินิจฉัยศาล
คำร้องขอแก้ไขคำให้การจำเลยเป็นการสรุปคำให้การที่แสดงโดยชัดแจ้งแล้ว ไม่มีการเพิ่มเติมประเด็นข้อพิพาทระหว่างคู่ความขึ้นใหม่ให้แตกต่างไปจากคำให้การเดิม และไม่ติดใจบังคับตามฟ้องแย้งตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งแล้วแม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การได้หรือไม่ ก็ไม่ทำให้ข้อเท็จจริงหรือในที่สุดผลของคดีซึ่งศาลล่างทั้งสองได้วินิจฉัยตรงตามประเด็นข้อพิพาทตามที่จำเลยให้การต่อสู้แล้วเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งที่ให้ยกคำร้องขอแก้ไขคำให้การเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาหรือไม่ ไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่เป็นสาระแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5473/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำให้การที่ไม่เพิ่มประเด็นใหม่ ไม่กระทบผลคดี ศาลมีดุลพินิจไม่อนุญาตได้
คำร้องขอแก้ไขคำให้การจำเลยในข้อที่เป็นการสรุปคำให้การที่แสดงโดยชัดแจ้งแล้วเท่านั้น ไม่มีการเพิ่มเติมประเด็นข้อพิพาทระหว่างคู่ความขึ้นใหม่ให้แตกต่างไปจากคำให้การเดิม ส่วนคำร้องขอแก้ไขคำให้การจำเลยในข้อที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับฟ้องแย้งเท่ากับไม่ติดใจบังคับตามฟ้องแย้งตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งแล้วคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ไม่ได้เพิ่มเติมประเด็นข้อพิพาทระหว่างคู่ความขึ้นใหม่แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การได้หรือไม่ก็ไม่ทำให้ข้อเท็จจริงหรือในที่สุดผลของคดีซึ่งศาลล่างทั้งสองได้วินิจฉัยตรงตามประเด็นข้อพิพาทตามที่จำเลยให้การต่อสู้แล้วเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งที่ให้ยกคำร้องขอแก้ไขคำให้การเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาหรือไม่ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่เป็นสาระแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลยืนตามเดิม แม้จำเลยอ้างมีการตกลงเลิกสัญญา แต่เป็นเหตุสนับสนุนข้ออ้างเรื่องประสิทธิภาพการทำงาน
จำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โดยจำเลยยกเหตุแห่งการปฏิเสธว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากการทำงานของโจทก์ไม่มีประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหายจึงไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การที่จำเลยขอแก้ไขคำให้การเป็นเหตุประการที่สองว่า โจทก์ตกลงเลิกสัญญากับจำเลยซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญาจ้างกัน เห็นได้ว่าหากจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยแสดงเจตนาฝ่ายเดียวตามเหตุประการแรกก็ไม่อาจมีกรณีตกลงเลิกสัญญาด้วยการแสดงเจตนาของโจทก์จำเลยร่วมกันทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นพร้อมกันอีก คำให้การที่จำเลยขอแก้ไขเพิ่มเติมที่อ้างว่า มีการตกลงเลิกสัญญาจ้างกันแล้วจึงเป็นเพียงเหตุผลสนับสนุนข้ออ้างของจำเลยที่ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะการทำงานของโจทก์ไม่มีประสิทธิภาพเท่านั้นหรืออีกนัยหนึ่งจำเลยอ้างว่า เมื่อโจทก์ไม่ลาออกจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ เหตุแห่งการปฏิเสธที่ว่า โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันจึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี ดังนั้นที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรมเพราะไม่มีเหตุอันสมควรในการเลิกจ้างตามเหตุแห่งการปฏิเสธในคำให้การของจำเลยประการแรกโดยไม่วินิจฉัยเหตุที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ประการที่สองจึงชอบแล้ว
อุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยเมื่อไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง ศาลไม่จำต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: เหตุผลการเลิกจ้างเป็นสาระสำคัญ แม้มีการอ้างตกลงเลิกสัญญา
จำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โดยจำเลยยกเหตุแห่งการปฏิเสธว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากการทำงานของโจทก์ไม่มีประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหาย จึงไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การที่จำเลยขอแก้ไขคำให้การเป็นเหตุประการที่สองว่า โจทก์ตกลงเลิกสัญญากับจำเลยซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญาจ้างกัน เห็นได้ว่าหากจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยแสดงเจตนาฝ่ายเดียวตามเหตุประการแรกก็ไม่อาจมีกรณีตกลงเลิกสัญญาด้วยการแสดงเจตนาของโจทก์จำเลยร่วมกันทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นพร้อมกันอีก คำให้การที่จำเลยขอแก้ไขเพิ่มเติมที่อ้างว่า มีการตกลงเลิกสัญญาจ้างกันแล้วจึงเป็นเพียงเหตุผลสนับสนุนข้ออ้างของจำเลยที่ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะการทำงานของโจทก์ไม่มีประสิทธิภาพเท่านั้น หรืออีกนัยหนึ่งจำเลยอ้างว่า เมื่อโจทก์ไม่ลาออกจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ เหตุแห่งการปฏิเสธที่ว่า โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันจึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี ดังนั้นที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรมเพราะไม่มีเหตุอันสมควรในการเลิกจ้างตามเหตุแห่งการปฏิเสธในคำให้การของจำเลยประการแรก โดยไม่วินิจฉัยเหตุที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ประการที่สองจึงชอบแล้ว
อุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยเมื่อไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง ศาลไม่จำต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4675/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมคำฟ้อง: ขอบเขตและข้อจำกัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179
ป.วิ.พ. มาตรา 179 มิได้ห้ามการเพิ่มเติมคำฟ้องเดิมโดยการเพิ่มสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับหรือข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแต่อย่างใด คำว่า เพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ มิได้หมายความว่าคำฟ้องเดิมมีความบกพร่องหรือไม่สมบูรณ์ ซึ่งโจทก์อาจขอเพิ่มเติมคำฟ้องเพียงเพื่อให้คำฟ้องเดิมถูกต้องและสมบูรณ์ แต่มีความหมายเพียงว่า ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่โจทก์ขอเพิ่มเติมจากคำฟ้องเดิมนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมเท่านั้น
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ แม้จะเป็นการขอแก้ไขเพิ่มเติมสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาขึ้นใหม่ต่างหากจากคำฟ้องเดิม แต่ก็เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม ถือเป็นการแก้ไขคำฟ้องโดยการเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ตามมาตรา 179 (2) และข้อเท็จจริงตามคำฟ้องเดิมและตามคำร้องขอแก้ไข คำฟ้องของโจทก์ที่ยื่นภายหลังเกี่ยวเนื่องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเข้าด้วยกันได้ ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 179

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3017/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้อง, สิทธิบังคับตามสัญญาซื้อขาย, และการเรียกค่าเสียหายจากเจ้าของรวม
ตามข้อตกลงของโจทก์และจำเลยในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาและเรียกค่าเสียหายเป็นค่าปรับที่คำนวณจากราคาที่ดินพิพาทกับค่าเสียหายอื่น ๆ ได้ เมื่อโจทก์ขอเพิ่มเติมคำฟ้องเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย การขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องดังกล่าวของโจทก์จึงเป็นการเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องให้บริบูรณ์ และคำฟ้องที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ทั้งจำเลยก็มีโอกาสที่จะซักค้านพยานโจทก์และนำสืบพยานของตนเต็มที่ แม้โจทก์จะขอแก้ไขเพิ่มเติมหลังจากจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีแล้ว ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบและหลงข้อต่อสู้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องดังกล่าวจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 179
คดีเดิมศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทบริเวณติดถนนสุวินทวงศ์ด้านทิศใต้อันเป็นการโอนตัวทรัพย์ซึ่งรวมถึงส่วนที่มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยด้วยแก่โจทก์ และระบุไว้ชัดเจนว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องบังคับตามสิทธิของโจทก์หรือเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่ง ฉะนั้น การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้แม้จะอ้างสิทธิตามสัญญาซื้อขายฉบับเดิม แต่ก็เป็นการขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะในส่วนของตนตามจำนวนในสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวแก่โจทก์ มิใช่เป็นการขอให้โอนตัวทรัพย์ดังเดิม ตลอดทั้งการเรียกค่าเสียหายและเงินค่าที่ดินที่จำเลยได้รับไปแล้วคืนแก่โจทก์ หากจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในส่วนของตนดังกล่าวแก่โจทก์ ก็ล้วนแต่เป็นการใช้สิทธิฟ้องตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว คำฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 (3)
แม้ศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนตามที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายตามฟ้อง อันเป็นการขายตัวทรัพย์แก่โจทก์ เนื่องจากผลการบังคับคดีย่อมไม่ผูกพัน ฉ. เจ้าของรวมในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและมิได้เข้ามาเป็นคู่ความให้จำต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาก็ตาม แต่ข้อสัญญาดังกล่าวก็ยังคงมีผลผูกพันจำเลยในฐานะคู่สัญญาที่เป็นเจ้าของรวมให้ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในส่วนของตน โดยไม่เจาะจงว่าต้องเป็นบริเวณใดอันเป็นการขายเฉพาะส่วนของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง แก่โจทก์ หากจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวจึงชอบที่โจทก์จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2095/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องโดยการเพิ่มชื่อโจทก์ และสถานะคู่ความของคณะบุคคลตามกฎหมายภาษีอากร
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์เป็นการเพิ่มเติมชื่อโจทก์ที่จะต้องระบุไว้แน่ชัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 เข้ามาในภายหลัง จึงเป็นการเพิ่มจำนวนผู้เป็นโจทก์เข้ามาในคำฟ้องเดิม มิใช่เป็นเรื่องขอแก้ไขคำฟ้องตามนัยบทกฎหมายดังกล่าว คำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่มีผลแต่อย่างใด เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าโจทก์เป็นคณะบุคคลตามกฎหมายใช้ชื่อว่า "คณะบุคคลกำชัย-มณฑา" ซึ่งเป็นเพียงคณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่รวมกันเป็นหน่วยภาษีตามประมวลรัษฎากรเท่านั้น มิใช่นิติบุคคลตามกฎหมาย โจทก์จึงมิใช่บุคคลธรรมดาและมิใช่นิติบุคคลอันอาจเป็นคู่ความในคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2082/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของคณะบุคคลทางภาษี: การแก้ไขคำฟ้องและการเป็นบุคคลตามกฎหมาย
การแก้ไขคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 จะต้องเป็นการแก้ไขข้อหาข้ออ้างที่มีต่อจำเลยอันกล่าวไว้ในคำฟ้อง ที่เสนอต่อศาลแต่แรกโดยการเพิ่มหรือลดทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิมหรือสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ แต่คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์เป็นการเพิ่มเติมชื่อโจทก์ที่จะต้องระบุ ไว้แน่ชัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 เข้ามาในภายหลัง จึงเป็นการเพิ่มจำนวนผู้เป็นโจทก์เข้ามาในคำฟ้องเดิม มิใช่เป็นเรื่องขอแก้ไขคำฟ้องตามนัยบทกฎหมายดังกล่าว คำสั่งศาลภาษีอากรกลางที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีผลแต่อย่างใด
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีจะต้องเป็นบุคคลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) ซึ่งคำว่า "บุคคล" ตาม ป.พ.พ. ได้แก่ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โจทก์เป็นเพียงคณะบุคคลที่รวมกันเป็นหน่วยภาษีตาม ป.รัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการเสียภาษีเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ทั้งยังไม่ปรากฏว่าเป็นการฟ้องคดีในฐานะส่วนตัว โจทก์จึงไม่ใช่ทั้งบุคคลธรรมดาและมิใช่นิติบุคคล จึงไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
of 35