คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 179

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 347 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำฟ้องนอกเหนือจากประเด็นเดิมและไม่สมบูรณ์ ทำให้ไม่สามารถรวมการพิจารณาได้
ตามคำฟ้องและคำขอแก้ไขคำฟ้องเดิมของโจทก์ สภาพแห่งข้อหาคือ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 และบุคคลอื่นเข้าหุ้นกัน มีลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขอเปิดบัญชีทดรองจ่ายเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินสดตามบัญชีทดรองจ่ายเลขที่ 1146555-1 โดยมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดร่วมหรือยินยอมชำระหนี้สินแทนทุกประเภทของจำเลยที่ 1 นอกจากนี้สภาพแห่งข้อหาของโจทก์ยังฟ้องเน้นหนักถึงความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องรับผิดแก่โจทก์โดยการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 และ/หรือจำเลยที่ 3เป็นผู้มีอำนาจสั่งให้โจทก์ดำเนินการซื้อขายหลักทรัพย์ตามบัญชีทดรองจ่ายของจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้สั่งให้โจทก์ซื้อหลักทรัพย์ (หุ้น) การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องครั้งที่ 2 โดยเพิ่มข้อความว่าระหว่างวันที่ 9 พฤศจิกายน 2535ถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2535 กับระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม 2535 ถึงวันที่ 24พฤศจิกายน 2535 จำเลยที่ 2 ได้สั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นของสามบริษัท ตามบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เลขที่ 1146888-1 ของจำเลยที่ 2 และเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2535จำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 2 โดยค้ำประกันเต็มมูลหนี้และยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ส่วนบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เลขที่ 1146012-1ของจำเลยที่ 3 นั้น วันที่ 5 พฤศจิกายน 2535 จำเลยที่ 3 สั่งซื้อหุ้นโดยมีจำเลยที่ 2ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 3 ดังนี้ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแห่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องครั้งที่ 2 นี้จึงไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ถึงที่ 8 ตามที่โจทก์ตั้งฟ้องมา และข้อหาของโจทก์ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องครั้งที่ 2 จะขอบังคับให้จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 8 ต้องร่วมรับผิดไม่ได้ ทั้งมีผลทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป การกระทำของจำเลยที่ 2ที่ 3 ตามบัญชีซื้อขายหุ้นดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญกับจำเลยอื่น ๆเห็นได้ประจักษ์ว่าความเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และความรับผิดเต็มตามมูลหนี้ ในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เลขที่ 1146888-1 ของจำเลยที่ 2 กับหนี้ในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เลขที่ 1146012-1 ของจำเลยที่ 3 เป็นจำนวนหนี้นอกเหนือจากสัญญาขอเปิดบัญชีทดรองจ่ายเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินสดที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ข้อความที่ขอแก้ไขคำฟ้องครั้งที่ 2จึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมและไม่ใช่การเพิ่มเติมข้อเท็จจริงในฟ้องเดิมให้สมบูรณ์ย่อมไม่อาจรวมการพิจารณาด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 179

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังพิจารณาคดี และการอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานที่ไม่รับอุทธรณ์การเลื่อนคดี
ศาลแรงงานสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ แม้มีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 228 (3) จำเลยย่อมอุทธรณ์คำสั่งได้ทันทีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 228 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 แต่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานดังกล่าวในระหว่างพิจารณาของศาลแรงงานเพื่อให้ศาลฎีกาสั่งให้ศาลแรงงานมีคำสั่งรับคำร้องขอแก้ไขคำให้การดังกล่าวของจำเลยไว้พิจารณานั้น เมื่อปรากฎว่าหลังจากศาลแรงงานสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่สั่งรับอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยไว้ และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของจำเลย และจำเลยได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้รวมมากับอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงาน ซึ่งศาลแรงงานได้สั่งรับอุทธรณ์ข้อนี้ไว้แล้วศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ให้
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การโดยอ้างว่าเพิ่งตรวจพบเอกสารและได้รับแจ้งจากการไฟฟ้านครหลวงหลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วจึงขอเพิ่มเติมคำให้การว่า โจทก์ที่ 1 และที่ 3 จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายและขณะที่โจทก์ทั้งสามเป็นลูกจ้างจำเลย โจทก์ที่ 1 และที่ 3 มาทำงานสายเป็นประจำอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ฟ้องโจทก์ทั้งสามเคลือบคลุมและโจทก์ทั้งสามได้ร้องต่อเจ้าหน้าที่แรงงานเขตบางเขนจึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ข้อเท็จจริงเป็นยุติตามที่ศาลแรงงานรับฟังว่า อ.พยานจำเลยเป็นผู้แจ้งการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามว่าเหตุที่จำเลยเลิกจ้างเนื่องจากจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ทั้งสามทำ ดังนั้น ขณะจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสาม จำเลยมิได้ติดใจหรือถือว่าโจทก์ทั้งสามกระทำความผิด จำเลยย่อมไม่อาจยกเหตุซึ่งอ้างว่าเพิ่งทราบการกระทำความผิดของโจทก์ทั้งสามหลังจากเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดในการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ แม้ศาลฎีกาจะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงได้ จึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การตามที่จำเลยอ้าง
ศาลแรงงานไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยเนื่องจากจำเลยขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งแล้ว ทั้งจำเลยเคยแถลงต่อศาลว่าจะสืบพยานจำเลยให้เสร็จภายในกำหนด หากไม่อาจสืบพยานได้ทันภายในกำหนดให้ถือว่าไม่ติดใจสืบพยานจำเลยอีกต่อไป อุทธรณ์ของจำเลยเช่นนี้เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานในการพิจารณาว่าสมควรจะอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตแก้ไขคำให้การและการเลื่อนคดีในคดีแรงงาน ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลแรงงาน
ศาลแรงงานสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ แม้มีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228(3) จำเลยย่อมอุทธรณ์คำสั่งได้ทันทีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 228 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 แต่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานดังกล่าวในระหว่างพิจารณาของศาลแรงงานเพื่อให้ศาลฎีกาสั่งให้ศาลแรงงานมีคำสั่งรับคำร้องขอแก้ไขคำให้การดังกล่าวของจำเลยไว้พิจารณานั้น เมื่อปรากฏว่าหลังจากศาลแรงงานสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่สั่งรับอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยไว้ และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของจำเลย และจำเลยได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้รวมมากับอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงาน ซึ่งศาลแรงงานได้สั่งรับอุทธรณ์ข้อนี้ไว้แล้วศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ให้ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การโดยอ้างว่าเพิ่งตรวจพบเอกสารและได้รับแจ้งจากการไฟฟ้านครหลวงหลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วจึงขอเพิ่มเติมคำให้การว่าโจทก์ที่ 1 และที่ 3 จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายและขณะที่โจทก์ทั้งสามเป็นลูกจ้างจำเลย โจทก์ที่ 1 และที่ 3มาทำงานสายเป็นประจำอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ฟ้องโจทก์ทั้งสามเคลือบคลุมและโจทก์ทั้งสามได้ร้องต่อเจ้าหน้าที่แรงงานเขตบางเขน จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ข้อเท็จจริงเป็นยุติตามที่ศาลแรงงานรับฟังว่า อ. พยานจำเลยเป็นผู้แจ้งการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามว่าเหตุที่จำเลยเลิกจ้างเนื่องจากจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ทั้งสามทำ ดังนั้น ขณะจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามจำเลยมิได้ติดใจหรือถือว่าโจทก์ทั้งสามกระทำความผิดจำเลยย่อมไม่อาจยกเหตุซึ่งอ้างว่าเพิ่งทราบการกระทำความผิดของโจทก์ทั้งสามหลังจากเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดในการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ แม้ศาลฎีกาจะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงได้จึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การตามที่จำเลยอ้าง ศาลแรงงานไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยเนื่องจากจำเลยขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งแล้ว ทั้งจำเลยเคยแถลงต่อศาลว่าจะสืบพยานจำเลยให้เสร็จภายในกำหนด หากไม่อาจสืบพยานได้ทันภายในกำหนดให้ถือว่าไม่ติดใจสืบพยานจำเลยอีกต่อไป อุทธรณ์ของจำเลยเช่นนี้เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานในการพิจารณาว่าสมควรจะอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งค่าเสียหายจากละเมิดที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับคำฟ้องแย้ง
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยเช่าบ้านโจทก์ เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าโจทก์บอกเลิกสัญญา แต่จำเลยไม่ยอมออกไป ขอให้บังคับจำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านเช่าและชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ การที่จำเลยฟ้องแย้งว่า โจทก์เกิดความโกรธแค้นจึงกลั่นแกล้งจำเลยด้วยการฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย อันเป็นกรณีที่จำเลยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์กระทำละเมิด ซึ่งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องแย้งของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยเช่าบ้านโจทก์ เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าโจทก์บอกเลิกสัญญา แต่จำเลยไม่ยอมออกไป ขอให้บังคับจำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านเช่าและชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ การที่จำเลยฟ้องแย้งว่า โจทก์เกิดความโกรธแค้นจึงกลั่นแกล้งจำเลยด้วยการฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย อันเป็นกรณีที่จำเลยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์กระทำละเมิด ซึ่งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องแย้งของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3460/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งในคดีหย่า: แม้คดีโจทก์จำหน่ายไป ฟ้องแย้งยังดำเนินต่อไปได้
จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ว่าโจทก์ประพฤติชั่ว ขอให้ถอนอำนาจ ปกครองบุตรของโจทก์ โดยให้จำเลยเป็นผู้มีอำนาจปกครองบุตร แต่ผู้เดียว ให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร กับให้ชำระ ค่าเลี้ยงชีพแก่จำเลย เมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับฟ้องเดิม พอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้แล้ว แม้ต่อมาโจทก์จะทิ้งฟ้องเดิมเป็นเหตุให้ศาลมีคำสั่งจำหน่าย คดีโจทก์ ก็คงมีผลเฉพาะคดีโจทก์ว่าไม่มีฟ้องเดิมที่จะ ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเท่านั้น หามีผลให้ฟ้องแย้งของ จำเลยตกไปด้วยไม่ เพราะยังมีตัวโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยของฟ้องแย้ง อยู่พร้อมที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง การที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องว่า ฟ้องแย้งย่อมตกไปด้วยกรณีจึงไม่ต้องพิจารณาสั่งคำร้องขอให้โจทก์ขาดนัดยื่น คำให้การแก้ฟ้องแย้งอีกต่อไป จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม หากเป็นเรื่องละเมิดต่างหาก ศาลไม่รับฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเช่า สัญญาเช่าเลิกกันดังที่ระบุไว้ในสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่อยู่ในห้องเช่าพิพาทอีกต่อไป ดังนี้การที่จำเลยฟ้องแย้งว่า โจทก์จงใจหรือกลั่นแกล้งจำเลยให้ได้รับความเดือดร้อน โดยไม่ให้ความร่วมมือเซ็นเอกสารต่างๆที่จำเลยต้องนำไปใช้ในการจดทะเบียนประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่ยินยอมมอบตราประทับสำหรับจอดรถฟรีของลูกค้าให้แก่จำเลย ทำให้ได้รับความเสียหาย อันเป็นเรื่องละเมิด ทั้งข้ออ้างของจำเลยมิได้มีข้อกำหนดให้โจทก์ต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่าประการใด จึงไม่เป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7852/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีละเมิดเดิมซ้ำ โดยควรแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเดิมแทน
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 จงใจทุจริตยักยอกเงินค่าภาษีและค่าธรรมเนียมรถจักรยานยนต์ โดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการส่วนจำเลยที่ 5 จงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำการฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งที่โจทก์วางไว้ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ทุจริตยักยอกเงินดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ แม้จะได้ความว่ายอดเงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกจะมาจากใบเสร็จรับเงินต่างเล่มและคนละเลขที่กัน ทั้งการตรวจพบการกระทำทุจริตยักยอกจะเป็นคนละครั้งก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 5กระทำละเมิดต่อโจทก์ในระยะวันเวลาเดียวกันที่โจทก์ได้ฟ้องคดีก่อนไว้แล้ว ฟ้องของโจทก์คดีนี้ย่อมเป็นเรื่องเดียวกับที่โจทก์ฟ้องในคดีดังกล่าว ซึ่งโจทก์ชอบที่จะแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ เพราะเป็นการขอเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ในฟ้องเดิมที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาและมีความเกี่ยวข้องกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 179,180 การที่โจทก์กลับมาฟ้องเป็นคดีนี้อีกจึงเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกัน ซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7852/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำเรื่องละเมิด: การฟ้องคดีซ้ำในเรื่องละเมิดเดิมที่ยังอยู่ระหว่างพิจารณา และการแก้ไขฟ้อง
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 จงใจทุจริตยักยอกเงินค่าภาษีและค่าธรรมเนียมรถจักรยานยนต์ โดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการส่วนจำเลยที่ 5 จงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำการฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งที่โจทก์วางไว้ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ทุจริตยักยอกเงินดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ แม้จะได้ความว่ายอดเงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกจะมาจากใบเสร็จรับเงินต่างเล่มและคนละเลขที่กัน ทั้งการตรวจพบการกระทำทุจริตยักยอกจะเป็นคนละครั้งก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 กระทำละเมิดต่อโจทก์ในระยะวันเวลาเดียวกันที่โจทก์ได้ฟ้องคดีก่อนไว้แล้ว ฟ้องของโจทก์คดีนี้ย่อมเป็นเรื่องเดียวกับที่โจทก์ฟ้องในคดีดังกล่าว ซึ่งโจทก์ชอบที่จะแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ เพราะเป็นการขอเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ในฟ้องเดิมที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาและมีความเกี่ยวข้องกันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 179, 180 การที่โจทก์กลับมาฟ้องเป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกัน ซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7408/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับฟ้องแย้งเรื่องละเมิดหากไม่เกี่ยวเนื่องกับพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ตามคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องที่กล่าวหาว่าจำเลยสร้างรั้วคอนกรีตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่พิพาทของโจทก์ตลอดแนวที่ดินด้านที่ติดกันกับที่ดินจำเลย จำเลยให้การปฏิเสธอันเป็นการพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่พิพาท ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวหาว่า โจทก์ใช้สิทธิปลูกห้องน้ำห้องส้วมบนที่ดินของตนเอง แต่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือเดือดร้อนรำคาญแก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ติดต่อกันอันเป็นการละเมิด ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
of 35