พบผลลัพธ์ทั้งหมด 347 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4269/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากเหตุอาคารทรุดตัว, การคิดดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมาย, และการใช้ดุลพินิจของศาลในการกำหนดค่าเสียหาย
แม้จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสามจะมิได้ยกปัญหาว่าฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นอ้างในคำให้การ แต่กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสามจึงยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 252 โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของโครงการอาคารคอนโดมิเนียมพิพาทและผู้ดำเนินการก่อสร้างโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิมเพื่อก่อสร้างเสาเข็มทำฐานรากอาคารและก่อสร้างอาคารสูง 37 ชั้น ทำให้อาคารเรียนของโจทก์เสียหายและสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ครู นักเรียน และบุคลากรของโจทก์ ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย จึงเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วว่าประสงค์ให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 มิใช่ให้จำเลยรับผิดตามมาตรา 428 เพราะตามคำฟ้องไม่ได้บรรยายว่าจำเลยว่าจ้างใครและมีส่วนผิดในการงานที่สั่งให้ทำอย่างไร แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าจำเลยว่าจ้างบุคคลภายนอกรวมทั้งจำเลยร่วมที่ 1 และที่ 3 เป็นผู้ทำการก่อสร้างคอนโดมิเนียมพิพาท ก็ไม่มีปัญหาให้ต้องวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยตามมาตรา 428 ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์อ้างว่าก่อนวันนัดสืบพยาน โจทก์มอบหมายให้วิศวกรทำการตรวจสอบความเสียหายของอาคารเรียนของโจทก์พบว่ามีความเสียหายเพิ่มมากขึ้น กรณีจึงมีเหตุอันสมควรที่โจทก์จะขอเพิ่มเติมคำฟ้องเดิมโดยเพิ่มทุนทรัพย์ที่พิพาทภายหลังจากวันชี้สองสถานได้ ทั้งคำฟ้องเดิมและคำฟ้องภายหลังนี้เกี่ยวข้องพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 และมาตรา 180
เมื่อกระบวนการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการปฏิบัติตามขั้นตอนดำเนินการก่อสร้างตามที่ระบุไว้ในรายงานต้องดำเนินการภายใต้การตรวจสอบควบคุมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐภายใต้ พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 อันเป็นกฎหมายซึ่งมีที่ประสงค์เพื่อจะปกป้องชุมชนหรือบุคคลอื่น ๆ การที่จำเลย จำเลยร่วมที่ 1 และที่ 3 ฝ่าฝืนไม่กระทำการตามที่ระบุไว้ในรายงานดังกล่าว และเกิดความเสียหายขึ้นแก่อาคารเรียนของโจทก์ พื้นรอบอาคารรวมถึงรั้วกำแพงคอนกรีต โจทก์จึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 422
การก่อสร้างคอนโดมิเนียมของจำเลยก่อให้เกิดเสียงดัง แรงสั่นสะเทือน และฝุ่นละอองปลิวเข้ามาในห้องเรียน โจทก์ผู้เป็นเจ้าของกิจการโรงเรียนย่อมได้รับความเสียหายและมีสิทธิฟ้องเรียกให้ฝ่ายจำเลยรับผิดในผลแห่งละเมิดที่เกิดขึ้นได้ เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลย จำเลยร่วมที่ 1 และที่ 3 ร่วมรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากการขุดเจาะเสาเข็มและการก่อสร้างคอนโดมิเนียมของจำเลยซึ่งเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้างอาคารคอนโดมิเนียมของจำเลยทั้งกระบวนการนับตั้งแต่การเริ่มรื้อถอนอาคารหลังเดิมไปจนก่อสร้างแล้วเสร็จรวมทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากการก่อสร้างดังกล่าว อันเป็นกรณีที่ผู้ดำเนินการก่อสร้างทุกขั้นตอนต่างทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายเดียวกันแก่โจทก์ ไม่อาจแบ่งแยกความเสียหายว่าเกิดจากการกระทำละเมิดในขั้นตอนการก่อสร้างตอนใดตอนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงได้ ส่วนจำเลยแม้มิใช่ผู้ทำการก่อสร้าง แต่ในฐานะเจ้าของโครงการย่อมมีหน้าที่รับผิดชอบมิให้การทำงานก่อสร้างก่อความเสียหายแก่บุคคลอื่น แม้จำเลยจะว่าจ้างบุคคลใดทำการก่อสร้าง แต่จำเลยยังต้องควบคุมดูแลบุคคลผู้ทำการก่อสร้างผ่านข้อตกลงในสัญญาระหว่างจำเลยกับผู้ทำการก่อสร้าง ปัญหาระหว่างการก่อสร้างโครงการของจำเลยย่อมถือว่าอยู่ในความรับรู้และรู้เห็นของจำเลยทั้งสิ้น จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องดูแลตรวจสอบควบคุมมิให้การก่อสร้างโครงการคอนโดมิเนียมของจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น เมื่อการก่อสร้างคอนโดมิเนียมของจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และพฤติการณ์แห่งคดีนี้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามมาตรา 422 จำเลยจึงต้องร่วมกับจำเลยร่วมที่ 1 และที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 420
เมื่อจำเลยร่วมที่ 2 มิได้เป็นผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิด หากแต่เป็นเพียงผู้รับประกันภัยที่ต้องรับผิดในนามของผู้เอาประกันภัยต่อโจทก์ จำเลยร่วมที่ 2 จึงยังมิได้เป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันกระทำละเมิด แต่เมื่อมีการขอให้หมายเรียกจำเลยร่วมที่ 2 เข้ามาเป็นคู่ความ ย่อมเป็นเหตุให้จำเลยร่วมที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จึงให้ความรับผิดในส่วนดอกเบี้ยของจำเลยร่วมที่ 2 นับแต่วันที่จำเลยขอให้หมายเรียกจำเลยร่วมที่ 2 เข้ามาในคดี ปัญหาเรื่องการกำหนดความรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกฎหมายเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามมาตรา 142 (5)
อัตราค่าทนายความกำหนดตามทุนทรัพย์แห่งคดีหาใช่กำหนดตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 กำหนดให้จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสามร่วมกันใช้ค่าทนายความในศาลล่างทั้งสองแทนโจทก์รวมกัน 320,000 บาท ซึ่งเป็นอัตราร้อยละ 0.39 โดยประมาณจากทุนทรัพย์ 81,825,000 บาท จึงไม่เกินกว่าอัตราขั้นสูงสำหรับคดีมีทุนทรัพย์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 5 ในศาลชั้นต้น และร้อยละ 3 ในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.
โจทก์อ้างว่าก่อนวันนัดสืบพยาน โจทก์มอบหมายให้วิศวกรทำการตรวจสอบความเสียหายของอาคารเรียนของโจทก์พบว่ามีความเสียหายเพิ่มมากขึ้น กรณีจึงมีเหตุอันสมควรที่โจทก์จะขอเพิ่มเติมคำฟ้องเดิมโดยเพิ่มทุนทรัพย์ที่พิพาทภายหลังจากวันชี้สองสถานได้ ทั้งคำฟ้องเดิมและคำฟ้องภายหลังนี้เกี่ยวข้องพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 และมาตรา 180
เมื่อกระบวนการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการปฏิบัติตามขั้นตอนดำเนินการก่อสร้างตามที่ระบุไว้ในรายงานต้องดำเนินการภายใต้การตรวจสอบควบคุมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐภายใต้ พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 อันเป็นกฎหมายซึ่งมีที่ประสงค์เพื่อจะปกป้องชุมชนหรือบุคคลอื่น ๆ การที่จำเลย จำเลยร่วมที่ 1 และที่ 3 ฝ่าฝืนไม่กระทำการตามที่ระบุไว้ในรายงานดังกล่าว และเกิดความเสียหายขึ้นแก่อาคารเรียนของโจทก์ พื้นรอบอาคารรวมถึงรั้วกำแพงคอนกรีต โจทก์จึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 422
การก่อสร้างคอนโดมิเนียมของจำเลยก่อให้เกิดเสียงดัง แรงสั่นสะเทือน และฝุ่นละอองปลิวเข้ามาในห้องเรียน โจทก์ผู้เป็นเจ้าของกิจการโรงเรียนย่อมได้รับความเสียหายและมีสิทธิฟ้องเรียกให้ฝ่ายจำเลยรับผิดในผลแห่งละเมิดที่เกิดขึ้นได้ เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลย จำเลยร่วมที่ 1 และที่ 3 ร่วมรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากการขุดเจาะเสาเข็มและการก่อสร้างคอนโดมิเนียมของจำเลยซึ่งเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้างอาคารคอนโดมิเนียมของจำเลยทั้งกระบวนการนับตั้งแต่การเริ่มรื้อถอนอาคารหลังเดิมไปจนก่อสร้างแล้วเสร็จรวมทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากการก่อสร้างดังกล่าว อันเป็นกรณีที่ผู้ดำเนินการก่อสร้างทุกขั้นตอนต่างทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายเดียวกันแก่โจทก์ ไม่อาจแบ่งแยกความเสียหายว่าเกิดจากการกระทำละเมิดในขั้นตอนการก่อสร้างตอนใดตอนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงได้ ส่วนจำเลยแม้มิใช่ผู้ทำการก่อสร้าง แต่ในฐานะเจ้าของโครงการย่อมมีหน้าที่รับผิดชอบมิให้การทำงานก่อสร้างก่อความเสียหายแก่บุคคลอื่น แม้จำเลยจะว่าจ้างบุคคลใดทำการก่อสร้าง แต่จำเลยยังต้องควบคุมดูแลบุคคลผู้ทำการก่อสร้างผ่านข้อตกลงในสัญญาระหว่างจำเลยกับผู้ทำการก่อสร้าง ปัญหาระหว่างการก่อสร้างโครงการของจำเลยย่อมถือว่าอยู่ในความรับรู้และรู้เห็นของจำเลยทั้งสิ้น จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องดูแลตรวจสอบควบคุมมิให้การก่อสร้างโครงการคอนโดมิเนียมของจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น เมื่อการก่อสร้างคอนโดมิเนียมของจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และพฤติการณ์แห่งคดีนี้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามมาตรา 422 จำเลยจึงต้องร่วมกับจำเลยร่วมที่ 1 และที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 420
เมื่อจำเลยร่วมที่ 2 มิได้เป็นผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิด หากแต่เป็นเพียงผู้รับประกันภัยที่ต้องรับผิดในนามของผู้เอาประกันภัยต่อโจทก์ จำเลยร่วมที่ 2 จึงยังมิได้เป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันกระทำละเมิด แต่เมื่อมีการขอให้หมายเรียกจำเลยร่วมที่ 2 เข้ามาเป็นคู่ความ ย่อมเป็นเหตุให้จำเลยร่วมที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จึงให้ความรับผิดในส่วนดอกเบี้ยของจำเลยร่วมที่ 2 นับแต่วันที่จำเลยขอให้หมายเรียกจำเลยร่วมที่ 2 เข้ามาในคดี ปัญหาเรื่องการกำหนดความรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกฎหมายเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามมาตรา 142 (5)
อัตราค่าทนายความกำหนดตามทุนทรัพย์แห่งคดีหาใช่กำหนดตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 กำหนดให้จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสามร่วมกันใช้ค่าทนายความในศาลล่างทั้งสองแทนโจทก์รวมกัน 320,000 บาท ซึ่งเป็นอัตราร้อยละ 0.39 โดยประมาณจากทุนทรัพย์ 81,825,000 บาท จึงไม่เกินกว่าอัตราขั้นสูงสำหรับคดีมีทุนทรัพย์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 5 ในศาลชั้นต้น และร้อยละ 3 ในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500-501/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยผิดสัญญา, อนุญาโตตุลาการ, การบังคับตามคำชี้ขาด, การโต้แย้งดุลพินิจ
คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 42 ซึ่งในการยื่นคำร้องขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้น ประเด็นที่ต้องพิจารณามีเพียงว่าศาลจะบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวหรือไม่เท่านั้น โดยศาลอาจปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดหากมีเหตุตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 43 และ 45 สำหรับคำร้องในส่วนที่ขอบังคับเกินไปกว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้น ศาลไม่อาจมีคำพิพากษาบังคับให้ได้ ดังนั้น การที่ผู้ร้องขอถอนคำร้องในส่วนที่ขอบังคับตามสัญญาจำนำหุ้นซึ่งไม่ได้อยู่ในคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการให้เหลือประเด็นเฉพาะการขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ย่อมไม่มีผลกระทบต่อประเด็นหลักที่ศาลต้องพิจารณาในคดีนี้ และไม่ทำให้ผู้คัดค้านที่ 2 ต้องเสียเปรียบแต่อย่างใด เพราะไม่ใช่ประเด็นที่ต้องพิจารณาในคดีขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการซึ่งจะพิจารณาเฉพาะตัวคำชี้ขาดตามคำร้องเท่านั้น ส่วนที่ผู้คัดค้านที่ 2 อุทธรณ์อ้างทำนองว่า การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องถอนคำร้องในส่วนที่เกี่ยวกับสัญญาจำนำหุ้นระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 6 ได้ คงให้เหลือเฉพาะประเด็นการขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ เท่ากับเป็นการอนุญาตให้แก้ไขคำร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาเป็นคำร้องที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 179 นั้น เห็นว่า ตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้นมีเนื้อหาเป็นการขอถอนคำร้องในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับจำนำหุ้นและขอแก้เป็นให้บังคับเฉพาะผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ อันมีลักษณะเป็นการสละข้อหาตามคำร้องเดิมบางข้อออกไป โดยไม่มีการเพิ่มเติมข้อหา ข้อกล่าวอ้าง หรือข้อเท็จจริงอื่นใดอันจะมีผลทำให้คำร้องในส่วนที่ไม่ชอบกลับมาเป็นคำร้องที่ชอบ เมื่อไม่ปรากฏว่าการที่ผู้ร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องขอบังคับตามคำชี้ขาดเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทั้งได้ความว่าการถอนคำร้องดังกล่าวไม่ทำให้ผู้คัดค้านที่ 2 ต้องเสียเปรียบดังที่วินิจฉัยมาข้างต้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งดังกล่าวมานั้นจึงชอบแล้ว
ส่วนที่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 อ้างว่า การที่สัญญาการเข้าร่วมกำหนดให้ผู้ร้องเป็นผู้เลือกใช้วิธีระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการเพียงฝ่ายเดียวนั้นขัดต่อ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 และข้อบังคับของสำนักงานศาลยุติธรรมที่กำหนดให้เป็นสิทธิของคู่พิพาท และยังถือเป็นการจำกัดสิทธิอันชอบธรรมของคู่สัญญาอีกฝ่ายในการแสวงหาหรือการเข้าถึงความยุติธรรมในศาล ขัดต่อหลักกฎหมายอังกฤษ หลักสิทธิมนุษยชน และหลักนิติกรรม ข้อสัญญาดังกล่าวจึงถือเป็นข้อสัญญาที่บังคับไม่ได้นั้น เห็นว่า วิธีอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นวิธีการระงับข้อพิพาทที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการระงับข้อพิพาททางการพาณิชย์ระหว่างประเทศดังที่ปรากฏตามหมายเหตุท้าย พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวก็นำกฎหมายแม่แบบว่าด้วยอนุญาโตตุลาการทางพาณิชย์ระหว่างประเทศของคณะกรรมาธิการว่าด้วยกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (UNCITRAL Model Law on International Commercial Arbitration) มาเป็นหลักในการพัฒนาระบบอนุญาโตตุลาการในประเทศไทย ทั้งประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์ต่างก็เป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับและบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ค.ศ.1958 แห่งสหประชาชาติ หรืออนุสัญญานิวยอร์ก (The United Nations Convention on the Recognition and Enforcement of Foreign Arbitral Awards, The New York Convention) ดังนั้น แม้สัญญาการเข้าร่วมจะกำหนดให้ผู้ร้องเป็นผู้เลือกใช้วิธีระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการเพียงฝ่ายเดียวก็ไม่ได้หมายความว่าผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 จะไม่ได้รับความเป็นธรรมในกระบวนการพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการ เพราะเมื่อผู้ร้องเลือกที่จะระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการแล้ว ก็ต้องดำเนินการตามข้อบังคับศูนย์อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศแห่งสิงคโปร์ (SIAC Rules) โดยผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 สามารถยื่นคำคัดค้านต่อสู้ในคดีดังกล่าวได้ ซึ่งก็ไม่ปรากฏว่าการดำเนินการอนุญาโตตุลาการที่ประเทศสิงคโปร์จะทำให้ผู้ร้องได้เปรียบผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 อย่างไร ทั้งเมื่อมีคำชี้ขาดแล้วหากผู้ร้องประสงค์จะให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวในประเทศไทยก็ต้องดำเนินการร้องขอต่อศาลตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 41 และ 42 ส่วนผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ก็อาจยื่นคำคัดค้านเพื่อให้ศาลปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดได้หากสามารถพิสูจน์ได้ตามมาตรา 43 ดังเช่นที่มีการดำเนินคดีนี้ ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ตกลงยินยอมให้ผู้ร้องเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้นที่มีสิทธิในการเลือกระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการจึงไม่ถือเป็นการจำกัดสิทธิของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ในการแสวงหาหรือเข้าถึงความยุติธรรมดังที่อ้างมาแต่อย่างใด ข้ออ้างในส่วนนี้ฟังไม่ขึ้น
ส่วนที่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 อ้างว่า คำชี้ขาดกำหนดให้คิดดอกเบี้ยทบต้นฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เห็นว่า ในส่วนของความเสี่ยงภัยของบริษัท ท. ซึ่งเป็นเงินที่สัญญาการเข้าร่วมกำหนดให้ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ชำระให้แก่ผู้ร้อง ต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และผลตอบแทนการมีส่วนร่วมที่ค้างชำระนั้น ได้ความตามที่อนุญาโตตุลาการและศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยไว้แล้วว่า เงินทั้งสามส่วนดังกล่าวไม่ใช่ดอกเบี้ยแต่เป็นภาระค่าใช้จ่ายที่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ต้องชำระให้แก่ผู้ร้อง ไม่ว่าผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 จะผิดสัญญาหรือไม่ การนำเงินสามส่วนแรกนี้มาคิดดอกเบี้ยจนถึงวันที่มีคำชี้ขาดจึงไม่ใช่การคิดดอกเบี้ยทบต้น ส่วนการคำนวณดอกเบี้ยหลังจากวันที่มีคำชี้ขาดที่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 อ้างว่ามีการคิดดอกเบี้ยทบต้นนั้น เห็นว่า ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยถึงความชัดแจ้งของสัญญาการเข้าร่วม ข้อ 12 หัวข้อ "ดอกเบี้ยผิดนัด (Default Interest)" ข้อ 12 (บี) ซึ่งระบุว่า ดอกเบี้ยผิดนัด (หากไม่ชำระ) ที่เกิดขึ้นจากเงินที่ค้างชำระนั้น สามารถคิดทบต้นกับเงินที่ค้างชำระได้ในวันครบกำหนดดอกเบี้ยค้างชำระเมื่อครบรอบปีแรก" อนุญาโตตุลาการเห็นว่าข้อสัญญาดังกล่าวทำให้ผู้ร้องสามารถคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ และเห็นด้วยกับผู้ร้องที่ขอให้คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายปี (Annual Basis) โดยให้เหตุผลว่าจะทำให้ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 รับภาระน้อยที่สุด ดังนี้ คำชี้ขาดในส่วนดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการนำส่วนของดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมารวมกับต้นเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณของปีถัดไปอันเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดในส่วนนี้ได้ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 44 อุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ในส่วนนี้ฟังขึ้น
ส่วนที่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 อ้างว่า การที่สัญญาการเข้าร่วมกำหนดให้ผู้ร้องเป็นผู้เลือกใช้วิธีระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการเพียงฝ่ายเดียวนั้นขัดต่อ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 และข้อบังคับของสำนักงานศาลยุติธรรมที่กำหนดให้เป็นสิทธิของคู่พิพาท และยังถือเป็นการจำกัดสิทธิอันชอบธรรมของคู่สัญญาอีกฝ่ายในการแสวงหาหรือการเข้าถึงความยุติธรรมในศาล ขัดต่อหลักกฎหมายอังกฤษ หลักสิทธิมนุษยชน และหลักนิติกรรม ข้อสัญญาดังกล่าวจึงถือเป็นข้อสัญญาที่บังคับไม่ได้นั้น เห็นว่า วิธีอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นวิธีการระงับข้อพิพาทที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการระงับข้อพิพาททางการพาณิชย์ระหว่างประเทศดังที่ปรากฏตามหมายเหตุท้าย พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวก็นำกฎหมายแม่แบบว่าด้วยอนุญาโตตุลาการทางพาณิชย์ระหว่างประเทศของคณะกรรมาธิการว่าด้วยกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (UNCITRAL Model Law on International Commercial Arbitration) มาเป็นหลักในการพัฒนาระบบอนุญาโตตุลาการในประเทศไทย ทั้งประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์ต่างก็เป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับและบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ค.ศ.1958 แห่งสหประชาชาติ หรืออนุสัญญานิวยอร์ก (The United Nations Convention on the Recognition and Enforcement of Foreign Arbitral Awards, The New York Convention) ดังนั้น แม้สัญญาการเข้าร่วมจะกำหนดให้ผู้ร้องเป็นผู้เลือกใช้วิธีระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการเพียงฝ่ายเดียวก็ไม่ได้หมายความว่าผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 จะไม่ได้รับความเป็นธรรมในกระบวนการพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการ เพราะเมื่อผู้ร้องเลือกที่จะระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการแล้ว ก็ต้องดำเนินการตามข้อบังคับศูนย์อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศแห่งสิงคโปร์ (SIAC Rules) โดยผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 สามารถยื่นคำคัดค้านต่อสู้ในคดีดังกล่าวได้ ซึ่งก็ไม่ปรากฏว่าการดำเนินการอนุญาโตตุลาการที่ประเทศสิงคโปร์จะทำให้ผู้ร้องได้เปรียบผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 อย่างไร ทั้งเมื่อมีคำชี้ขาดแล้วหากผู้ร้องประสงค์จะให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวในประเทศไทยก็ต้องดำเนินการร้องขอต่อศาลตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 41 และ 42 ส่วนผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ก็อาจยื่นคำคัดค้านเพื่อให้ศาลปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดได้หากสามารถพิสูจน์ได้ตามมาตรา 43 ดังเช่นที่มีการดำเนินคดีนี้ ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ตกลงยินยอมให้ผู้ร้องเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้นที่มีสิทธิในการเลือกระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการจึงไม่ถือเป็นการจำกัดสิทธิของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ในการแสวงหาหรือเข้าถึงความยุติธรรมดังที่อ้างมาแต่อย่างใด ข้ออ้างในส่วนนี้ฟังไม่ขึ้น
ส่วนที่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 อ้างว่า คำชี้ขาดกำหนดให้คิดดอกเบี้ยทบต้นฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เห็นว่า ในส่วนของความเสี่ยงภัยของบริษัท ท. ซึ่งเป็นเงินที่สัญญาการเข้าร่วมกำหนดให้ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ชำระให้แก่ผู้ร้อง ต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และผลตอบแทนการมีส่วนร่วมที่ค้างชำระนั้น ได้ความตามที่อนุญาโตตุลาการและศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยไว้แล้วว่า เงินทั้งสามส่วนดังกล่าวไม่ใช่ดอกเบี้ยแต่เป็นภาระค่าใช้จ่ายที่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ต้องชำระให้แก่ผู้ร้อง ไม่ว่าผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 จะผิดสัญญาหรือไม่ การนำเงินสามส่วนแรกนี้มาคิดดอกเบี้ยจนถึงวันที่มีคำชี้ขาดจึงไม่ใช่การคิดดอกเบี้ยทบต้น ส่วนการคำนวณดอกเบี้ยหลังจากวันที่มีคำชี้ขาดที่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 อ้างว่ามีการคิดดอกเบี้ยทบต้นนั้น เห็นว่า ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยถึงความชัดแจ้งของสัญญาการเข้าร่วม ข้อ 12 หัวข้อ "ดอกเบี้ยผิดนัด (Default Interest)" ข้อ 12 (บี) ซึ่งระบุว่า ดอกเบี้ยผิดนัด (หากไม่ชำระ) ที่เกิดขึ้นจากเงินที่ค้างชำระนั้น สามารถคิดทบต้นกับเงินที่ค้างชำระได้ในวันครบกำหนดดอกเบี้ยค้างชำระเมื่อครบรอบปีแรก" อนุญาโตตุลาการเห็นว่าข้อสัญญาดังกล่าวทำให้ผู้ร้องสามารถคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ และเห็นด้วยกับผู้ร้องที่ขอให้คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายปี (Annual Basis) โดยให้เหตุผลว่าจะทำให้ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 รับภาระน้อยที่สุด ดังนี้ คำชี้ขาดในส่วนดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการนำส่วนของดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมารวมกับต้นเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณของปีถัดไปอันเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดในส่วนนี้ได้ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 44 อุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ในส่วนนี้ฟังขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 746/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 746/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์ลดจำนวนทุนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมศาล ชอบที่ศาลจะรับอุทธรณ์ตามจำนวนที่ชำระ
การที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์ที่ได้ยื่นไว้ต่อศาลชั้นต้นโดยขอลดจำนวนทุนทรัพย์จาก 3,000,000 บาท ลงเหลือ 300,000 บาท มิใช่เป็นการแก้ไขประเด็นในอุทธรณ์ ย่อมไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ การขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้โจทก์ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ตามที่โจทก์ขอ อีกทั้งโจทก์เองก็ได้นำเงินค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์เท่ากับจำนวนทุนทรัพย์ที่ขอลดมาชำระภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด เช่นนี้ เมื่อเป็นกรณีที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์โดยขอลดจำนวนทุนทรัพย์ จึงไม่เกี่ยวกับการขอแก้ไขเพิ่มเติมในเนื้อหาหรือเพิ่มเติมประเด็นในอุทธรณ์ในอันที่จะให้จำเลยเสียเปรียบแต่ประการใด ทั้งเป็นกระบวนพิจารณาต่อเนื่องจากการที่ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดไม่อนุญาตให้โจทก์ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ จึงมีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์โดยลดจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นนี้ได้ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะรับอุทธรณ์ของโจทก์ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ได้ชำระค่าธรรมเนียมศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15722/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขชื่อจำเลยในคำฟ้องชั้นบังคับคดี: ไม่ขัดต่อกฎหมายหากเป็นบุคคลเดียวกัน
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำฟ้องของโจทก์ให้บริบูรณ์เพื่อแสดงและยืนยันตัวบุคคลว่าเป็นบุคคลคนเดียวกัน เมื่อ"นายสมเกียรติ" กับ "นายสมเกียรติ์" เป็นบุคคลคนเดียวกัน การขอแก้ไขเพิ่มเติมชื่อนายสมเกียรติ์เข้ามา จึงมิใช่เป็นกรณีฟ้องผิดตัวหรือฟ้องคดีต่างบุคคลกันและมิใช่เป็นการเพิ่มเติมข้อหาใหม่ หากแต่เป็นการเพิ่มเติมในรายละเอียดให้ชัดเจนถูกต้องตรงตามความเป็นจริง แม้จะอยู่ในชั้นบังคับคดี แต่ก็มิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาหรือเป็นการบังคับคดีนอกเหนือไปจากคำพิพากษาอย่างใด ทั้งมิใช่เป็นการแก้ไขคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 ฉะนั้น จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 180 และมาตรา 181 ที่จะต้องถูกจำกัดระยะเวลาการยื่นคำร้องว่าต้องยื่นก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยาน และไม่จำต้องส่งสำเนาคำร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15722/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขชื่อจำเลยในชั้นบังคับคดี: ไม่ถือเป็นการแก้ไขคำฟ้องใหม่ หากเป็นบุคคลเดียวกัน
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่านายสมเกียรติ คล้ายทอง กับนายสมเกียรติ์ คล้ายทอง เป็นบุคคลคนเดียวกัน การขอแก้ไขเพิ่มเติมชื่อนายสมเกียรติ์ เข้ามา จึงมิใช่เป็นกรณีฟ้องจำเลยที่ 3 ผิดตัวหรือฟ้องคดีต่างบุคคลกันและมิใช่เป็นการเพิ่มเติมข้อหาใหม่ หากแต่เป็นการเพิ่มเติมในรายละเอียดให้ชัดเจนถูกต้องตรงตามความเป็นจริง แม้จะอยู่ในชั้นบังคับคดี แต่ก็มิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาหรือเป็นการบังคับคดีนอกเหนือไปจากคำพิพากษาอย่างใด ทั้งกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 ฉะนั้น จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 180 และมาตรา 181 ที่จะต้องถูกจำกัดระยะเวลาการยื่นคำร้องว่าต้องยื่นก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยาน และไม่จำต้องส่งสำเนาคำร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12437/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: ค่าเสียหายจากภาระจำยอมที่ไม่จดทะเบียน แม้ฟ้องเพิ่มเติมหลังคดีเดิมดำเนินอยู่ ก็เป็นฟ้องซ้อน
คดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.129/2554 ของศาลชั้นต้น โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และ ฉ. เป็นผู้จัดสรรที่ดินมีหน้าที่ต้องดูแลและบำรุงรักษาสาธารณูปโภคให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานเพื่อประโยชน์ของผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ต้องสร้างถนนบนที่ดินพิพาทเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กสูงเทียบเท่าถนนสาธารณะ และจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องโดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกัน แต่อ้างเพิ่มเติมว่า การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และ ฉ. เพิกเฉยไม่ไปจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ เป็นเหตุให้สถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อในการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยเพื่อเป็นสวัสดิการที่พักให้แก่พนักงานของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายต้องจ่ายเงินชดเชยค่าเช่าที่พักให้แก่พนักงานของโจทก์และขอเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งเจ็ด ซึ่งค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และ ฉ. ไม่ไปจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ตามฟ้องในคดีก่อน อันเป็นค่าเสียหายที่โจทก์สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว
เดิมโจทก์ฟ้องคดีก่อนเป็นคดีผู้บริโภค คดีแพ่งหมายเลขดำที่ ผบ.1543/2552 ของศาลชั้นต้น ต่อมาประธานศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่า ไม่เป็นคดีผู้บริโภค และศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคดีไว้พิจารณาเป็นคดีแพ่งสามัญ คดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.129/2554 ให้งดชี้สองสถานและกำหนดวันนัดพิจารณาต่อเนื่อง แต่ค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เกิดจากสถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อซึ่งได้แจ้งให้โจทก์ทราบตามหนังสือแจ้งอนุมัติสินเชื่อ โจทก์จึงชอบที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องได้ในคดีก่อน ซึ่งเป็นการขอเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ในฟ้องเดิมที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาและมีความเกี่ยวข้องกัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 และ 180 การที่โจทก์กลับมาฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีนี้อันเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.129/2554 ของศาลชั้นต้น ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
เดิมโจทก์ฟ้องคดีก่อนเป็นคดีผู้บริโภค คดีแพ่งหมายเลขดำที่ ผบ.1543/2552 ของศาลชั้นต้น ต่อมาประธานศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่า ไม่เป็นคดีผู้บริโภค และศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคดีไว้พิจารณาเป็นคดีแพ่งสามัญ คดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.129/2554 ให้งดชี้สองสถานและกำหนดวันนัดพิจารณาต่อเนื่อง แต่ค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เกิดจากสถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อซึ่งได้แจ้งให้โจทก์ทราบตามหนังสือแจ้งอนุมัติสินเชื่อ โจทก์จึงชอบที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องได้ในคดีก่อน ซึ่งเป็นการขอเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ในฟ้องเดิมที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาและมีความเกี่ยวข้องกัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 และ 180 การที่โจทก์กลับมาฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีนี้อันเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.129/2554 ของศาลชั้นต้น ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12437/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: ค่าเสียหายจากการไม่อนุมัติสินเชื่อเป็นส่วนหนึ่งของข้อพิพาทเดิม ต้องขอแก้ไขคำฟ้องเดิม
คดีก่อนและคดีนี้โจทก์ฟ้องโดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกัน แต่คดีนี้อ้างเพิ่มเติมว่า การที่จำเลยกับพวกเพิกเฉยไม่ไปจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ เป็นเหตุให้สถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อในการก่อสร้างที่พักให้แก่พนักงานโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย ต้องจ่ายเงินค่าที่พักให้แก่พนักงานโจทก์ และขอเรียกค่าเสียหาย ซึ่งค่าเสียหายดังกล่าวสืบเนื่องมาจากจำเลยกับพวกไม่ไปจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ตามฟ้องในคดีก่อน อันเป็นค่าเสียหายที่โจทก์สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว ที่โจทก์อ้างว่าค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้เกิดขึ้นภายหลังจากที่ฟ้องคดีก่อนนั้น ข้อเท็จจริงได้ความว่า เดิมโจทก์ฟ้องคดีก่อนเป็นคดีผู้บริโภค ต่อมาประธานศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่า ไม่เป็นคดีผู้บริโภค และศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคดีไว้พิจารณาเป็นคดีแพ่งสามัญให้งดชี้สองสถานและกำหนดวันนัดพิจารณาต่อเนื่อง แต่ค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้เกิดจากสถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อซึ่งได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้ว โจทก์จึงชอบที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องได้ในคดีก่อน ซึ่งเป็นการขอเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ในฟ้องเดิมที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาและมีความเกี่ยวข้องกัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 และ 180 การที่โจทก์กลับมาฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีนี้อันเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10811/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมข้อเรียกร้องและทุนทรัพย์: ศาลรับคำฟ้องได้หากยื่นก่อนกำหนด
สาระสำคัญในคำฟ้องภายหลังที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องคือ โจทก์ได้ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องในการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ทำกับจำเลย ให้แก่บริษัท อ. ในราคา 370,000,000 บาท โดยโจทก์รับเงินมัดจำมาแล้ว 20,000,000 บาท การที่จำเลยนำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไปขายให้แก่บุคคลอื่นทำให้โจทก์ขาดกำไรอีก 169,990,001 บาท รวมค่าเสียหายตามคำฟ้องเดิมและคำฟ้องภายหลังที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ทั้งสิ้น 232,990,001 บาท คำฟ้องภายหลังนี้เป็นการเพิ่มเติมคำฟ้องเดิมที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขาย จำเลยนำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไปขายให้บุคคลอื่น ทำให้โจทก์เสียหาย โดยเพิ่มเติมว่าการกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ต้องผิดสัญญากับบริษัท อ. และขาดกำไรไปอีก 169,990,001 บาท จึงเป็นการเพิ่มเติมคำฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ และเพิ่มทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิม ทั้งคำฟ้องเดิมและคำฟ้องภายหลังนี้ก็เกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 (1) (2) และวรรคท้าย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้แก้ไขคำฟ้องโดยทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะรับคำฟ้องภายหลังของโจทก์ไว้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินรวมกับคำฟ้องเดิมของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3365/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเรียกค่าเสียหายและการมอบอำนาจดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่ปฏิรูปที่ดิน ชอบด้วยกฎหมาย
ฟ้องเดิมโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปลูกต้นปาล์มน้ำมันและเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมันและปลูกสร้างอาคารสำนักงาน และที่พักคนงานและลูกจ้าง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ ทั้งไม่มีสิทธิใด ๆ และไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับกรมป่าไม้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และโจทก์ หลังจากนั้นโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยพร้อมบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่สามารถนำที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินมาทำการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามอำนาจหน้าที่ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ การแก้ไขคำฟ้องอันสืบเนื่องมาจากการกระทำตามฟ้องเดิม จึงเป็นการแก้ไขคำฟ้องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเข้าด้วยกันได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 โดยหาจำต้องแก้ไขข้อหาหรือข้ออ้างได้เฉพาะการสละข้อหาในฟ้องเดิมบางข้อหรือเพิ่มเติมฟ้องให้บริบูรณ์ไม่ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องเกี่ยวกับการเรียกค่าเสียหายนั้นชอบแล้ว
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 7 บัญญัติให้โจทก์เป็นทบวง มีฐานะเทียบเท่ากรม โจทก์จึงเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 7 เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นผู้แทนโจทก์ย่อมมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินคดีแทนได้ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 38 และคำสั่งของโจทก์ที่ 767/2548 เรื่องมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ระบุแจ้งชัดว่า หากผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรก็จะมอบอำนาจให้ปฏิรูปที่ดินจังหวัดปฏิบัติราชการแทนก็ได้ ดังนั้น การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีมอบอำนาจช่วงให้โจทก์ดำเนินคดีแก่จำเลยเป็นคดีนี้จึงชอบแล้ว
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 7 บัญญัติให้โจทก์เป็นทบวง มีฐานะเทียบเท่ากรม โจทก์จึงเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 7 เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นผู้แทนโจทก์ย่อมมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินคดีแทนได้ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 38 และคำสั่งของโจทก์ที่ 767/2548 เรื่องมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ระบุแจ้งชัดว่า หากผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรก็จะมอบอำนาจให้ปฏิรูปที่ดินจังหวัดปฏิบัติราชการแทนก็ได้ ดังนั้น การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีมอบอำนาจช่วงให้โจทก์ดำเนินคดีแก่จำเลยเป็นคดีนี้จึงชอบแล้ว