คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 180

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 390 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6794/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำฟ้องเรื่องประเภทสินค้าผิดพลาด: อนุญาตได้หากไม่กระทบสาระสำคัญและผลทางกฎหมาย
ชื่อประเภทของสินค้าที่แปลไม่ถูกต้องที่โจทก์ได้กล่าวมาในคำฟ้องและระบุไว้ในคำแปลท้ายฟ้อง ไม่ใช่สาระสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทในคดี การขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ในส่วนดังกล่าวไม่เป็นการเพิ่มหรือลดจำนวนทุนทรัพย์หรือเพิ่มหรือลดข้อหาในคำฟ้องเพียงแต่เป็นการแก้ไขคำฟ้องเดิมที่ผิดพลาดเพราะการแปลข้อความภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย เพื่อให้ข้อความถูกต้องตรงกับความเป็นจริงตามข้อความในต้นฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ทั้งไม่ทำให้ผลทางกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป จึงถือได้ว่าเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ซึ่งโจทก์อาจขอแก้ไขในเวลาใด ๆ ก็ได้ ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขชื่อจำเลยในคดีแรงงานและการรับฟังพยานนอกบัญชีรายชื่อเพื่อความยุติธรรม
ที่โจทก์แถลงขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับชื่อจำเลยก็เนื่องมาจากจำเลยยื่นคำให้การระบุชื่อจำเลยแทนชื่อบริษัทที่โจทก์ฟ้อง ทั้งจำเลยก็มิได้ให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย คงต่อสู้ว่าจำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยผิดตัว เพียงแต่ระบุชื่อจำเลยผิดเท่านั้น
การที่โจทก์แถลงขอแก้ไขชื่อจำเลยให้ตรงกับความเป็นจริงถือว่าเป็นการแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อย โจทก์สามารถแถลงขอให้แก้ไขได้ทันที การที่ศาลแรงงานอนุญาตให้แก้ไขจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 180 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
การอ้างและการยื่นบัญชีระบุพยานของคู่ความในคดีแรงงานมีบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 แล้ว จึงนำบทบัญญัติมาตรา 88 แห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับไม่ได้ นอกจากนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ยังให้อำนาจศาลแรงงานสามารถเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร
แม้โจทก์จะอ้างตนเองและนำ ย.เข้าเบิกความต่อศาลแรงงานโดยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้ แต่ศาลแรงงานก็อนุญาตให้โจทก์และ ย.เข้าเบิกความเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้ได้ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดี ศาลแรงงานจึงชอบที่จะรับฟังพยานของโจทก์ดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์มิได้กระทำผิด จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโดยอ้างว่าโจทก์ลาออกจากงานเอง การที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ มิใช่โจทก์ลาออกเองตามที่จำเลยให้การต่อสู้ แล้ววินิจฉัยต่อไปว่าเมื่อจำเลยมิได้ให้การว่าโจทก์กระทำผิด ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิดนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 84,177 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขชื่อจำเลยในคดีแรงงานและการรับฟังพยานที่ไม่ระบุชื่อ ศาลแรงงานพิพากษายืนตามเดิม
ที่โจทก์แถลงขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับชื่อจำเลยก็เนื่องมาจากจำเลยยื่นคำให้การระบุชื่อจำเลยแทนชื่อบริษัทที่โจทก์ฟ้อง ทั้งจำเลยก็มิได้ให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย คงต่อสู้ว่าจำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยผิดตัว เพียงแต่ระบุชื่อจำเลยผิดเท่านั้น
การที่โจทก์แถลงขอแก้ไขชื่อจำเลยให้ตรงกับความเป็นจริงถือว่าเป็นการแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อย โจทก์สามารถแถลงขอให้แก้ไขได้ทันที การที่ศาลแรงงานอนุญาตให้แก้ไขจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
การอ้างและการยื่นบัญชีระบุพยานของคู่ความในคดีแรงงานมีบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522แล้ว จึงนำบทบัญญัติมาตรา 88 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับไม่ได้ นอกจากนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ยังให้อำนาจศาลแรงงานสามารถเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร
แม้โจทก์จะอ้างตนเองและนำ ย. เข้าเบิกความต่อศาลแรงงานโดยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้ แต่ศาลแรงงานก็อนุญาตให้โจทก์และ ย. เข้าเบิกความเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้ได้ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดี ศาลแรงงานจึงชอบที่จะรับฟังพยานของโจทก์ดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์มิได้กระทำผิด จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโดยอ้างว่าโจทก์ลาออกจากงานเอง การที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ มิใช่โจทก์ลาออกเองตามที่จำเลยให้การต่อสู้ แล้ววินิจฉัยต่อไปว่าเมื่อจำเลยมิได้ให้การว่าโจทก์กระทำผิด ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิดนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84,177 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5133/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังสืบพยานจำเลย ศาลไม่อนุญาตหากทำให้การพิจารณาไม่สิ้นสุดและไม่กระทบความสงบเรียบร้อย
จำเลยขอแก้ไขคำให้การเป็นครั้งที่สองหลังจากสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งหากอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การได้ตามขอการพิจารณาคดีในส่วนของจำเลยก็ไม่มีที่สิ้นสุด แม้จำเลยจะอ้างว่า คำให้การที่ขอแก้ไขนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็หามีผลลบล้างพยานหลักฐานของจำเลยที่นำสืบไปเสร็จสิ้นแล้วไม่ กรณีไม่มีเหตุอนุญาตให้แก้ไขคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5133/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังสืบพยานจำเลย: ศาลไม่อนุญาตหากทำให้การพิจารณาคดีไม่สิ้นสุด
จำเลยขอแก้ไขคำให้การเป็นครั้งที่สองหลังจากสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งหากอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การได้ตามขอการพิจารณาคดีในส่วนของจำเลยก็ไม่มีที่สิ้นสุด แม้จำเลยจะอ้างว่า คำให้การที่ขอแก้ไขนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็หามีผลลบล้างพยานหลักฐานของจำเลยที่นำสืบไปเสร็จสิ้นแล้วไม่ กรณีไม่มีเหตุอนุญาตให้แก้ไขคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: เหตุผลการเลิกจ้างเป็นสาระสำคัญ แม้มีการอ้างตกลงเลิกสัญญา
จำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โดยจำเลยยกเหตุแห่งการปฏิเสธว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากการทำงานของโจทก์ไม่มีประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหาย จึงไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การที่จำเลยขอแก้ไขคำให้การเป็นเหตุประการที่สองว่า โจทก์ตกลงเลิกสัญญากับจำเลยซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญาจ้างกัน เห็นได้ว่าหากจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยแสดงเจตนาฝ่ายเดียวตามเหตุประการแรกก็ไม่อาจมีกรณีตกลงเลิกสัญญาด้วยการแสดงเจตนาของโจทก์จำเลยร่วมกันทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นพร้อมกันอีก คำให้การที่จำเลยขอแก้ไขเพิ่มเติมที่อ้างว่า มีการตกลงเลิกสัญญาจ้างกันแล้วจึงเป็นเพียงเหตุผลสนับสนุนข้ออ้างของจำเลยที่ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะการทำงานของโจทก์ไม่มีประสิทธิภาพเท่านั้น หรืออีกนัยหนึ่งจำเลยอ้างว่า เมื่อโจทก์ไม่ลาออกจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ เหตุแห่งการปฏิเสธที่ว่า โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันจึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี ดังนั้นที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรมเพราะไม่มีเหตุอันสมควรในการเลิกจ้างตามเหตุแห่งการปฏิเสธในคำให้การของจำเลยประการแรก โดยไม่วินิจฉัยเหตุที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ประการที่สองจึงชอบแล้ว
อุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยเมื่อไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง ศาลไม่จำต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลยืนตามเดิม แม้จำเลยอ้างมีการตกลงเลิกสัญญา แต่เป็นเหตุสนับสนุนข้ออ้างเรื่องประสิทธิภาพการทำงาน
จำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โดยจำเลยยกเหตุแห่งการปฏิเสธว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากการทำงานของโจทก์ไม่มีประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหายจึงไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การที่จำเลยขอแก้ไขคำให้การเป็นเหตุประการที่สองว่า โจทก์ตกลงเลิกสัญญากับจำเลยซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญาจ้างกัน เห็นได้ว่าหากจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยแสดงเจตนาฝ่ายเดียวตามเหตุประการแรกก็ไม่อาจมีกรณีตกลงเลิกสัญญาด้วยการแสดงเจตนาของโจทก์จำเลยร่วมกันทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นพร้อมกันอีก คำให้การที่จำเลยขอแก้ไขเพิ่มเติมที่อ้างว่า มีการตกลงเลิกสัญญาจ้างกันแล้วจึงเป็นเพียงเหตุผลสนับสนุนข้ออ้างของจำเลยที่ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะการทำงานของโจทก์ไม่มีประสิทธิภาพเท่านั้นหรืออีกนัยหนึ่งจำเลยอ้างว่า เมื่อโจทก์ไม่ลาออกจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ เหตุแห่งการปฏิเสธที่ว่า โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันจึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี ดังนั้นที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรมเพราะไม่มีเหตุอันสมควรในการเลิกจ้างตามเหตุแห่งการปฏิเสธในคำให้การของจำเลยประการแรกโดยไม่วินิจฉัยเหตุที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ประการที่สองจึงชอบแล้ว
อุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยเมื่อไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง ศาลไม่จำต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4153-4154/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การนอกเหนือกรอบเดิมและการไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ ศาลฎีกามีคำพิพากษาไม่รับวินิจฉัย
การที่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การภายหลังที่ยื่นคำให้การแล้วเกือบ 3 ปี และเป็นเวลาภายหลัง ที่สืบพยานโจทก์เสร็จสิ้นแล้ว โดยอ้างเพียงว่าเพิ่งค้นพบสำเนาตารางกรมธรรม์ ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งเรียกกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวไปยังจำเลยตามคำขอของโจทก์ แต่จำเลยก็มิได้ส่งต่อศาล เช่นนี้ การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การจึงชอบแล้ว ดังนั้นที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในวงเงินไม่เกิน 50,000 บาท ตามตารางกรมธรรม์ประกันภัยตามที่ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ จึงเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3043-3044/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิแก้ไขคำให้การในคดีแรงงาน: การนำมาตรา 180 ป.วิ.พ. มาใช้โดยอนุโลมเมื่อ พ.ร.บ.แรงงานไม่ได้บัญญัติไว้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำให้การไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ทนายจำเลยมาศาลในวันนัดพิจารณาและให้การด้วยวาจาศาลแรงงานตรวจคำฟ้องและคำให้การแล้วกำหนดประเด็นข้อพิพาท และมีคำสั่งให้ นัดสืบพยานจำเลย การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันสืบพยาน ดังกล่าว เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่จำต้องนำเรื่องการชี้สองสถานตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 มาใช้บังคับ ถือได้ว่าคดีแรงงานไม่มีการชี้สองสถาน จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การ ก่อนวันนัดสืบพยานจำเลยไม่น้อยกว่า 7 วัน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะยื่น คำร้องขอแก้ไขคำให้การได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่รับคำฟ้องกรณีคำฟ้องไม่สมบูรณ์และการแก้ไขคำฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
เมื่อไม่ปรากฏว่าคำฟ้องมีข้อบกพร่องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18ศาลภาษีอากรกลางก็ต้องจดแจ้งแสดงการรับคำคู่ความนั้นไว้ การที่ศาลภาษีอากรกลางให้โจทก์ทำคำฟ้องใหม่โดยไม่ปรากฏเหตุดังที่กล่าวข้างต้นจึงไม่ชอบ
ศาลภาษีอากรกลางเพียงแต่ให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์เท่านั้น หาได้มีคำสั่งยกคำฟ้องหรือไม่รับคำฟ้องของโจทก์ที่ยื่นพร้อมกับคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ คำฟ้องเดิมของโจทก์ยังคงมีอยู่เช่นเดิม
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ ไม่ปรากฏว่ามีข้อความในลักษณะเป็นการขอแก้ไขโดยสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือลดจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิมที่ศาลจะพิจารณาสั่งให้แก้ไขคำฟ้องได้ชอบที่จะให้โจทก์ยื่นคำร้องใหม่ให้ถูกต้อง
of 39