พบผลลัพธ์ทั้งหมด 390 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5911/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันสัญญารับมอบสินค้าเชื่อ (ทรัสต์รีซีท) ไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ และไม่ขาดอายุความ
ตามคำฟ้องเดิมโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่1รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อแม้โจทก์กล่าวถึงสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.ทำกับโจทก์ก็เป็นเพียงการเท้าความให้เห็นถึงความเป็นมาของสัญญารับมอบสินค้าเชื่อเท่านั้นการที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยตัดข้อความที่เกี่ยวกับสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตออกจึงไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีและความรับผิดของจำเลยที่1เปลี่ยนแปลงไปที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องจึงชอบแล้ว โจทก์บรรยายฟ้องว่าในการทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อของห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.ที่ทำกับโจทก์มีจำเลยที่1ทำสัญญาค้ำประกันไว้และกล่าวถึงรายละเอียดของสัญญารับมอบสินค้าเชื่อตลอดจนภาระหนี้สินที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.และจำเลยที่1จะต้องร่วมกันรับผิดไว้ครบถ้วนคำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วส่วนรายละเอียดว่าเล็ตเตอร์ออฟเครดิตแต่ละฉบับเลขที่เท่าใดจำนวนเงินเท่าใดและสัญญารับมอบสินค้าเชื่อแต่ละฉบับเกี่ยวกับเล็ตเตอร์ออฟเครดิตฉบับใดนั้นเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ห้างหุ้นส่วนจำกัดจ. สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศผู้ขายส่งสินค้ามาประเทศไทยพร้อมกับส่งตั๋วแลกเงินและเอกสารกำกับสินค้าให้แก่ธนาคารตัวแทนของโจทก์ในต่างประเทศเพื่อส่งมาให้โจทก์เรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.แต่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.ไม่มีเงินชำระค่าสินค้าจึงทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทไว้แก่โจทก์เพื่อขอให้โจทก์มอบเอกสารต่างๆให้จะได้นำไปออกสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อนำไปจำหน่ายและนำเงินค่าสินค้ามาชำระให้โจทก์โดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าโจทก์คงเป็นเจ้าของสินค้าและห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.จะทำการขายสินค้าในฐานะตัวแทนโจทก์สัญญารับมอบสินค้าเชื่อดังกล่าวจึงเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าไปเป็นของโจทก์เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของสินค้าการครอบครองสินค้าของโจทก์จึงไม่ใช่การครอบครองในลักษณะจำนำการที่โจทก์มอบเอกสารกำกับสินค้าให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจ. เพื่อนำไปออกสินค้าจึงไม่ทำให้หนี้ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อระงับไป สัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทเป็นธุรกิจอันเป็นประเพณีที่ธนาคารพาณิชย์พึงกระทำได้ไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์มาตรา9ทวิ โจทก์ชำระค่าสินค้าแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.เมื่อปี2523โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่1ชำระค่าสินค้าแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดจ. ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่1ทำไว้แก่โจทก์ได้ภายใน10ปีนับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินค้าซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่26พฤษภาคม2532ยังไม่เกิน10ปีคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5911/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีผู้ค้ำประกันชำระหนี้ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อ ไม่ขาดอายุความ 10 ปี ศาลอนุญาตแก้ไขคำฟ้องได้
ตามคำฟ้องเดิมโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อ แม้โจทก์กล่าวถึงสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.ทำกับโจทก์ก็เป็นเพียงการเท้าความให้เห็นถึงความเป็นมาของสัญญารับมอบสินค้าเชื่อเท่านั้น การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยตัดข้อความที่เกี่ยวกับสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตออกจึงไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีและความรับผิดของจำเลยที่ 1 เปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องจึงชอบแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อของห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.ที่ทำกับโจทก์มีจำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันไว้ และกล่าวถึงรายละเอียดของสัญญารับมอบสินค้าเชื่อตลอดจนภาระหนี้สินที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.และจำเลยที่ 1 จะต้องร่วมกันรับผิดไว้ครบถ้วน คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนรายละเอียดว่าเล็ตเตอร์ออฟเครดิตแต่ละฉบับเลขที่เท่าใด จำนวนเงินเท่าใด และสัญญารับมอบสินค้าเชื่อแต่ละฉบับเกี่ยวกับเล็ตเตอร์ออฟเครดิตฉบับใดนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ผู้ขายส่งสินค้ามาประเทศไทยพร้อมกับส่งตั๋วแลกเงินและเอกสารกำกับสินค้าให้แก่ธนาคารตัวแทนของโจทก์ในต่างประเทศเพื่อส่งมาให้โจทก์เรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. แต่ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.ไม่มีเงินชำระค่าสินค้า จึงทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทไว้แก่โจทก์เพื่อขอให้โจทก์มอบเอกสารต่าง ๆ ให้จะได้นำไปออกสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปจำหน่ายและนำเงินค่าสินค้ามาชำระให้โจทก์ โดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าโจทก์คงเป็นเจ้าของสินค้า และห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.จะทำการขายสินค้าในฐานะตัวแทนโจทก์สัญญารับมอบสินค้าเชื่อดังกล่าวจึงเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าไปเป็นของโจทก์เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของสินค้า การครอบครองสินค้าของโจทก์จึงไม่ใช่การครอบครองในลักษณะจำนำ การที่โจทก์มอบเอกสารกำกับสินค้าให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.เพื่อนำไปออกสินค้าจึงไม่ทำให้หนี้ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อระงับไป
สัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทเป็นธุรกิจอันเป็นประเพณีที่ธนาคารพาณิชย์พึงกระทำได้ ไม่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์มาตรา 9 ทวิ
โจทก์ชำระค่าสินค้าแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. เมื่อปี 2523โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าสินค้าแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์ได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินค้าซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่26 พฤษภาคม 2532 ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อของห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.ที่ทำกับโจทก์มีจำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันไว้ และกล่าวถึงรายละเอียดของสัญญารับมอบสินค้าเชื่อตลอดจนภาระหนี้สินที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.และจำเลยที่ 1 จะต้องร่วมกันรับผิดไว้ครบถ้วน คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนรายละเอียดว่าเล็ตเตอร์ออฟเครดิตแต่ละฉบับเลขที่เท่าใด จำนวนเงินเท่าใด และสัญญารับมอบสินค้าเชื่อแต่ละฉบับเกี่ยวกับเล็ตเตอร์ออฟเครดิตฉบับใดนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ผู้ขายส่งสินค้ามาประเทศไทยพร้อมกับส่งตั๋วแลกเงินและเอกสารกำกับสินค้าให้แก่ธนาคารตัวแทนของโจทก์ในต่างประเทศเพื่อส่งมาให้โจทก์เรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. แต่ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.ไม่มีเงินชำระค่าสินค้า จึงทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทไว้แก่โจทก์เพื่อขอให้โจทก์มอบเอกสารต่าง ๆ ให้จะได้นำไปออกสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปจำหน่ายและนำเงินค่าสินค้ามาชำระให้โจทก์ โดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าโจทก์คงเป็นเจ้าของสินค้า และห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.จะทำการขายสินค้าในฐานะตัวแทนโจทก์สัญญารับมอบสินค้าเชื่อดังกล่าวจึงเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าไปเป็นของโจทก์เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของสินค้า การครอบครองสินค้าของโจทก์จึงไม่ใช่การครอบครองในลักษณะจำนำ การที่โจทก์มอบเอกสารกำกับสินค้าให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.เพื่อนำไปออกสินค้าจึงไม่ทำให้หนี้ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อระงับไป
สัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทเป็นธุรกิจอันเป็นประเพณีที่ธนาคารพาณิชย์พึงกระทำได้ ไม่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์มาตรา 9 ทวิ
โจทก์ชำระค่าสินค้าแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. เมื่อปี 2523โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าสินค้าแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์ได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินค้าซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่26 พฤษภาคม 2532 ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5411/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญาจำนองเป็นเอกสารมหาชน คู่ความต้องนำสืบหักล้างหากอ้างว่าไม่ถูกต้อง อำนาจฟ้องมีอยู่แล้ว
หนังสือสัญญาจำนองเป็นเอกสารราชการที่เจ้าพนักงานที่ดินได้ทำขึ้นและเป็นเอกสารมหาชน จึงต้องถือว่าข้อความถูกต้องตรงตามความเป็นจริงผู้ที่อ้างว่าไม่ถูกต้องจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างว่าเอกสารไม่ถูกต้องอย่างไร ตามป.วิ.พ. มาตรา 127
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้ สัญญาค้ำประกัน และสัญญาจำนอง จำเลยทั้งสี่ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญากับโจทก์ตามฟ้อง ภายหลังวันชี้สองสถานและสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว จำเลยทั้งสี่ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ไม่มีหนังสือมอบอำนาจของโจทก์จากสำนักงานใหญ่ให้ผู้จัดการสาขาของโจทก์ที่จังหวัดพิษณุโลกหรือพนักงานอื่นใดทำสัญญาดังกล่าวแทน จึงขอตัดฟ้องว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องทั้งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสี่จึงยื่นภายหลังวันชี้สองสถานได้ ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าตามฟ้องและพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสี่เป็นคู่สัญญากู้ สัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองกับโจทก์โดยตรง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยทั้งสี่ตามสัญญากู้ สัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองได้อยู่แล้ว แม้จำเลยทั้งสี่จะอ้างว่าข้อตัดฟ้องนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ตาม ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์ที่มีอยู่แล้วเสียไป ทั้งไม่ทำให้รูปคดีของจำเลยทั้งสี่ดีขึ้นแต่อย่างใด กรณีจึงไม่มีเหตุอนุญาตให้จำเลยทั้งสี่แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้ สัญญาค้ำประกัน และสัญญาจำนอง จำเลยทั้งสี่ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญากับโจทก์ตามฟ้อง ภายหลังวันชี้สองสถานและสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว จำเลยทั้งสี่ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ไม่มีหนังสือมอบอำนาจของโจทก์จากสำนักงานใหญ่ให้ผู้จัดการสาขาของโจทก์ที่จังหวัดพิษณุโลกหรือพนักงานอื่นใดทำสัญญาดังกล่าวแทน จึงขอตัดฟ้องว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องทั้งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสี่จึงยื่นภายหลังวันชี้สองสถานได้ ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าตามฟ้องและพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสี่เป็นคู่สัญญากู้ สัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองกับโจทก์โดยตรง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยทั้งสี่ตามสัญญากู้ สัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองได้อยู่แล้ว แม้จำเลยทั้งสี่จะอ้างว่าข้อตัดฟ้องนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ตาม ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์ที่มีอยู่แล้วเสียไป ทั้งไม่ทำให้รูปคดีของจำเลยทั้งสี่ดีขึ้นแต่อย่างใด กรณีจึงไม่มีเหตุอนุญาตให้จำเลยทั้งสี่แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2712/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำฟ้องเล็กน้อย & ประเด็นใหม่ในฎีกา: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำขอท้ายฟ้องเป็นคำขอบังคับที่สืบเนื่องมาจากคำฟ้องโจทก์ที่บรรยายมาในตอนต้น เมื่อคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงสาเหตุความรับผิดของจำเลยทั้งสาม รวมทั้งได้บรรยาจำนวนเงินที่จำเลยแต่ละคนต้องรับผิด ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่แตกต่างกันมาด้วย การขอแก้ไขคำฟ้องตามคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2เป็นขอให้บังคับจำเลยที่ 3 ให้ตรงกับที่บรรยายฟ้องมาในตอนต้น จึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดบกพร่องในคำฟ้องเพียงเล็กน้อย ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180 ที่จะต้องขอแก้ไขก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยาน
แม้จำเลยจะให้การเป็นประเด็นต่อสู้ในเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น แต่เหตุที่จำเลยอ้างว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมในฎีกาเป็นคนละเรื่องแตกต่างจากที่อ้างในศาลชั้นต้น และในศาลอุทธรณ์ ถือว่าฎีกาของจำเลยเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุม มิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้จำเลยจะให้การเป็นประเด็นต่อสู้ในเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น แต่เหตุที่จำเลยอ้างว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมในฎีกาเป็นคนละเรื่องแตกต่างจากที่อ้างในศาลชั้นต้น และในศาลอุทธรณ์ ถือว่าฎีกาของจำเลยเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุม มิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2712/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอท้ายฟ้องที่พิมพ์ผิดพลาดไม่เข้าข่ายต้องห้ามตามมาตรา 180 และประเด็นฟ้องเคลือบคลุมที่มิได้ยกขึ้นต่อสู้ตั้งแต่ต้น
การ ขอแก้ไขคำขอท้ายฟ้องซึ่ง พิมพ์ผิดพลาดให้ตรงกับที่ บรรยายฟ้องมาในตอนต้นเป็นการ แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย ไม่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา180ที่ต้องขอแก้ไขก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยาน ปัญหาว่า ฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อจำเลยที่2และที่3มิได้ยกขึ้นต่อสู้ตั้งแต่ศาลชั้นต้นโดยยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค2วินิจฉัยให้ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ส่วนจำเลยที่1ให้การว่าฟ้องเคลือบคลุมเนื่องจาก เอกสารท้ายฟ้องมีข้อความขัดกันกับคำฟ้องแต่อุทธรณ์และฎีกาว่าฟ้องเคลือบคลุมโดยเหตุอื่นจึงถือว่ามิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2712/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำฟ้องหลังชี้สองสถานชอบธรรมหากเป็นแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย และประเด็นฟ้องเคลือบคลุมต้องยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
คำขอท้ายฟ้องเป็นคำขอบังคับที่สืบเนื่องมาจากคำฟ้องโจทก์ที่บรรยายมาในตอนต้นเมื่อคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงสาเหตุความรับผิดของจำเลยทั้งสามรวมทั้งได้บรรยายจำนวนเงินที่จำเลยแต่ละคนต้องรับผิดซึ่งเป็นจำนวนเงินที่แตกต่างกันมาด้วยการขอแก้ไขคำฟ้องตามคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยที่2เป็นขอให้บังคับจำเลยที่3ให้ตรงกับที่บรรยายฟ้องมาในตอนต้นจึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดบกพร่องในคำฟ้องเพียงเล็กน้อยไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา180ที่จะต้องขอแก้ไขก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยาน แม้จำเลยจะให้การเป็นประเด็นต่อสู้ในเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นแต่เหตุที่จำเลยอ้างว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมในฎีกาเป็นคนละเรื่องแตกต่างจากที่อ้างในศาลชั้นต้นและในศาลอุทธรณ์ถือว่าฎีกาของจำเลยเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดจากวัวกินอ้อย: ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำฟ้องได้และวินิจฉัยความรับผิดชอบตามส่วน
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยทั้งแปดฎีกาว่า จำเลยทั้งแปดไม่เคยนำวัวไปเลี้ยงในไร่อ้อยของโจทก์ จึงไม่ได้ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งฟังว่าจำเลยทั้งแปดซึ่งเป็นคู่สามีภรรยากันต่างคู่ต่างปล่อยวัวของตนเข้าไปกินอ้อยของโจทก์อันเป็นละเมิด เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งแปดร่วมกันไล่ต้อนวัวเข้าไปกินอ้อยในไร่ของโจทก์ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทั้งแปดต่างคู่สามีภรรยาต่างปล่อยวัวของตนเข้าไปกินอ้อยของโจทก์ ก็เป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดซึ่งเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่ถึงกับเป็นเรื่องนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง จำเลยทั้งแปดก็สามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่แล้ว ไม่มีเหตุที่จะยกฟ้องโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยแต่ละคู่แยกกันรับผิดในความเสียหายตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 จึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องย่อมทำให้คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องตลอดทั้งแผนที่สังเขปที่แนบมาท้ายคำร้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องด้วย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงชอบที่จะนำมาใช้ในการวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ได้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องพอเข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งแปดปล่อยปละละเลยไม่ดูแลเลี้ยงดูฝูงวัวของตนเป็นเหตุให้ฝูงวัวของจำเลยทั้งแปดเข้าไปกินต้นอ้อยใบอ้อยและเหยียบย่ำต้นอ้อยของโจทก์เสียหายประมาณ 60 ไร่เศษ ส่วนคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก็ระบุอาณาเขตความกว้างยาวของที่ดินในการปลูกอ้อยด้านทิศเหนือ ทิศใต้ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกว่าจดที่ดินของผู้ใดตามแผนที่สังเขปท้ายคำร้อง จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งแปดร่วมกันไล่ต้อนวัวเข้าไปกินอ้อยในไร่ของโจทก์ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทั้งแปดต่างคู่สามีภรรยาต่างปล่อยวัวของตนเข้าไปกินอ้อยของโจทก์ ก็เป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดซึ่งเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่ถึงกับเป็นเรื่องนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง จำเลยทั้งแปดก็สามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่แล้ว ไม่มีเหตุที่จะยกฟ้องโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยแต่ละคู่แยกกันรับผิดในความเสียหายตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 จึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องย่อมทำให้คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องตลอดทั้งแผนที่สังเขปที่แนบมาท้ายคำร้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องด้วย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงชอบที่จะนำมาใช้ในการวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ได้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องพอเข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งแปดปล่อยปละละเลยไม่ดูแลเลี้ยงดูฝูงวัวของตนเป็นเหตุให้ฝูงวัวของจำเลยทั้งแปดเข้าไปกินต้นอ้อยใบอ้อยและเหยียบย่ำต้นอ้อยของโจทก์เสียหายประมาณ 60 ไร่เศษ ส่วนคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก็ระบุอาณาเขตความกว้างยาวของที่ดินในการปลูกอ้อยด้านทิศเหนือ ทิศใต้ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกว่าจดที่ดินของผู้ใดตามแผนที่สังเขปท้ายคำร้อง จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, การร่วมรับผิดของเจ้าของรถ, ห้างหุ้นส่วน, และผู้จัดการ
เดิมโจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่1และที่2ร่วมกันหรือจำเลยที่1เชิดจำเลยที่2ออกแสดงเป็นตัวแทนจ้างจำเลยที่3ขับรถยนต์บรรทุกซึ่งมีป้ายชื่อ"โรงสีชัยเจริญ4"อันเป็นชื่อกิจการค้าโรงสีซึ่งจำเลยที่1และที่2มีผลประโยชน์ร่วมกันติดอยู่ที่หลังคาหน้ารถโดยเปิดเผยการที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มข้อความว่าโรงสีชัยเจริญ4 เป็นโรงสีข้าวในกิจการของห้างหุ้นส่วนโรงสีไฟชัยเจริญซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดพิจิตรซึ่งจำเลยที่1และที่2เป็นหุ้นส่วนโดยจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเข้าไปนั้นข้อความที่ขอแก้ไขเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมทั้งโจทก์ขอแก้ไขก่อนวันสืบพยานเป็นกรณีที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา179และมาตรา180โจทก์จึงมีสิทธิแก้ไขคำฟ้องได้ ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องพิการและทนทุกข์ทรมานเป็นความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินอย่างหนึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา446 ขณะเกิดเหตุจำเลยที่1เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุและจำเลยที่1กับห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงสีไฟชัยเจริญร่วมกันประกอบการขนส่งเพื่อหาผลประโยชน์ร่วมกันจำเลยที่3เป็นลูกจ้างและกระทำละเมิดในทางการที่จ้างของห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงสีไฟชัยเจริญ และจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดจึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1077(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการขนส่งและการแก้ไขคำฟ้อง
เดิมโจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกัน หรือจำเลยที่ 1เชิดจำเลยที่ 2 ออกแสดงเป็นตัวแทนจ้างจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์บรรทุกซึ่งมีป้ายชื่อ"โรงสีชัยเจริญ 4" อันเป็นชื่อกิจการค้าโรงสีซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีผลประโยชน์ร่วมกันติดอยู่ที่หลังคาหน้ารถโดยเปิดเผย การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มข้อความว่า โรงสีชัยเจริญ 4 เป็นโรงสีข้าวในกิจการของห้างหุ้นส่วนโรงสีไฟชัยเจริญซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดพิจิตร ซึ่งจำเลยที่ 1และที่ 2 เป็นหุ้นส่วน โดยจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเข้าไปนั้น ข้อความที่ขอแก้ไขเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ทั้งโจทก์ขอแก้ไขก่อนวันสืบพยาน เป็นกรณีที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 และมาตรา 180 โจทก์จึงมีสิทธิแก้ไขคำฟ้องได้
ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องพิการและทนทุกข์ทรมานเป็นความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินอย่างหนึ่ง โจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา 446
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ และจำเลยที่ 1 กับห้างหุันส่วนจำกัดโรงสีไฟชัยเจริญร่วมกันประกอบการขนส่งเพื่อหาผลประโยชน์ร่วมกัน จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างและกระทำละเมิดในทางการที่จ้างของห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงสีไฟชัยเจริญ และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2)
ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องพิการและทนทุกข์ทรมานเป็นความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินอย่างหนึ่ง โจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา 446
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ และจำเลยที่ 1 กับห้างหุันส่วนจำกัดโรงสีไฟชัยเจริญร่วมกันประกอบการขนส่งเพื่อหาผลประโยชน์ร่วมกัน จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างและกระทำละเมิดในทางการที่จ้างของห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงสีไฟชัยเจริญ และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้อง, อุทธรณ์, ฎีกา, จำนวนทุนทรัพย์, ค่าธรรมเนียมผิดนัด: ข้อจำกัดและข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การวินิจฉัยว่าการแก้ไขอย่างไรเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยจำต้องดูคำบรรยายฟ้องของโจทก์โจทก์ขอแก้ไขตัวเลขจำนวนเงินในคำขอบังคับท้ายฟ้องให้สอดคล้องกับข้ออ้างอันเป็นที่อาศัยแห่งข้อหาซึ่งได้บรรยายในคำฟ้องของโจทก์แต่เดิมโดยคำขอท้ายฟ้องได้พิมพ์ผิดพลาดคลาดเคลื่อนถือว่าเป็นการผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยโจทก์ย่อมยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมได้แม้ภายหลังวันชี้สองสถานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา180 คดีที่จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งจำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้ไม่ชอบแม้ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยโดยยกเหตุผลคนละเหตุและจำเลยฎีกาในข้อกฎหมายว่าศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยไม่ชอบและศาลชั้นต้นรับฎีกามาก็ถือได้ว่าไม่ใช่ข้อที่ยกว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา249 ตามวิธีการใช้บัตรสินเชื่อ ไดเนอร์สคลับ เมื่อจำเลยทำบัตรสินเชื่อของโจทก์ไปใช้โจทก์จะชำระหนี้แทนจำเลยจำเลยมีหน้าที่จะชำระเงินคืนโจทก์ภายในกำหนดซึ่งจำเลยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมผิดนัดแต่หากจำเลยไม่ชำระเงินคืนภายในกำหนดโจทก์จะเรียกค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ2ต่อเดือนไม่ใช่ดอกเบี้ยตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯแต่มีลักษณะคล้ายเบี้ยปรับ